external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

สัญญาเพิ่มเติม
ค่าชดเชยรายวัน

สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวัน (ทีทีบี เอชไอ)

รายได้ไม่สะดุด เมื่อต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

จุดเด่นผลิตภัณฑ์

คุ้มครองค่าชดเชยรายวัน

สูงสุด 4,000 บาทต่อวัน

คุ้มครองสูงสุด 365 วัน

กรณีผู้ป่วยในทั้งการบาดเจ็บและเจ็บป่วย

คุ้มครอง ครอบคลุม

กรณีผู้ป่วยในและเสมือนผู้ป่วยใน (Day Case)

ความคุ้มครองและผลประโยชน์

  • กรณีผู้เอาประกันภัยได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง บริษัทจะจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นรายวันตามทุนประกันภัย ตลอดระยะเวลาที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในเป็นเวลาไม่เกิน 365 วัน ต่อการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง


ตัวอย่างผลประโยชน์

พนักงานออฟฟิศ เพศชาย อายุ 35 ปี ต้องการสร้างความอุ่นใจให้กับตัวเอง หากต้องรับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) 
โดยเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวัน วันละ 3,000 บาท ชำระค่าเบี้ยประกันภัยรายปี เป็นเงิน 4,500 บาท



แผนผลประโยชน์ความคุ้มครอง


ผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวัน
ค่าชดเชยรายวัน (บาท) เบี้ยประกันภัยรายปี (บาท)
ชั้นอาชีพ 1 ชั้นอาชีพ 2 ชั้นอาชีพ 3
1,500 2,250 2,775 3,750
2,500 3,750 4,625 6,250
3,000 4,500 5,550 7,500
4,000 6,000 7,400 10,000

หมายเหตุ ไม่รับประกันภัยในชั้นอาชีพ 4

ผลประโยชน์โดยละเอียด

อายุรับประกันภัย

6 - 60 ปี (ต่ออายุได้ถึง 64 ปี)

ระยะเวลาความคุ้มครอง

ถึงอายุ 65 ปี

ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย

ถึงอายุ 65 ปี

ทุนประกันภัย (ค่าชดเชยรายวัน)

วันละ 1,5000 / 2,500 / 3,000 / 4,000 บาท

- คุ้มครองไม่เกิน 1 เท่าของรายได้ต่อวัน
- ผลประโยชน์สูงสุดไม่เกิน 1,500 บาท สำหรับเยาวชน (อายุ 6 - 16 ปี) นักเรียน (อายุ 16 ปีขึ้นไป) นักศึกษา พ่อบ้านแม่บ้าน และพระภิกษุ
- คุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่อการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง

เบี้ยประกันภัย

เบี้ยประกันภัยคงที่ แตกต่างตามชั้นอาชีพ และทุนประกันภัย (ค่าชดเชยรายวัน)

งวดการชำระเบี้ยประกันภัย

รายปี

ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting Period)

  • 30 วัน สำหรับการเจ็บป่วยใด ๆ นับจากวันทำสัญญาเพิ่มเติมนี้
  • 120 วัน สำหรับการเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ นับจากวันทำสัญญาเพิ่มเติมนี้
    1. เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด
    2. ริดสีดวงทวาร
    3. ไส้เลื่อนทุกชนิด
    4. ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก
    5. การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์
    6. นิ่วทุกชนิด
    7. เส้นเลือดขอดที่ขา
    8. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ความคุ้มครองกรณีผู้ป่วยในที่ไม่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล (Day Case)

1. การสลายนิ่ว
2. การตรวจเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี
3. การผ่าตัดต้อกระจก
4. การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง Laparoscopic ทุกชนิด
5. การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง Endoscope ทุกชนิด
6. การผ่าตัดหรือเจาะไซนัส
7. การตัดก้อนเนื้อที่เต้านม
8. การตัดชิ้นเนื้อจากกระดูก
9. การตัดนิ้วมือหรือนิ้วเท้า
10. การเจาะตับ
11. การเจาะไขกระดูก
12. การเจาะช่องเยื่อหุ้มไขสันหลัง
13. การเจาะช่องเยื่อหุ้มปอด
14. การเจาะช่องเยื่อบุช่องท้อง
15. การขูดมดลูก
16. การตัดชิ้นเนื้อจากปากมดลูก
17. การรักษา Bartholin’s Cyst
18. การรักษาโรคด้วยรังสีแกมม่า (บริษัทฯ สามารถระบุการรักษาดังกล่าวเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมกับการรักษาตามวิทยาการใหม่)

เงื่อนไขผลิตภัณฑ์

เอกสารประกัน
  1. ใบคำขอเอาประกันภัย
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  3. กรณีชาวต่างชาติ ใช้สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport), วีซ่า (Visa) และสำเนาใบอนุญาตการทำงานในประเทศไทย (Work Permit) ที่มีข้อมูลจนถึงปัจจุบัน และตอบคำถามในถ้อยแถลงสำหรับชาวต่างชาติ


ดาวน์โหลดโบรชัวร์ (PDF File)

หมายเหตุ
  1. ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาและทำความเข้าใจในเอกสารประกอบการเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว โปรดศึกษารายละเอียด ข้อกำหนด และเงื่อนไขในกรมธรรม
รับประกันโดย

บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ทีเอ็มบีธนชาต เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิตและรับผิดชอบในฐานะนายหน้าเท่านั้น

คำถามที่พบบ่อย

fin tips เคล็ดลับเรื่องเงิน

3-5 นาที

รถใหม่ป้ายแดง VS รถมือสอง แบบไหนเหมาะกับเราที่สุด ?

สำหรับใครที่กำลังมองหารถยนต์สักคัน แต่ยังลังเลว่าควรซื้อรถใหม่ป้ายแดง หรือรถมือสองสภาพเยี่ยมที่ราคาในปัจจุบันกำลังน่าสนใจดี ลองเล่นเช็กลิสต์ต่อไปนี้เพื่อหาคำตอบที่ลงตัว

3-5 นาที

วิธีเช็กรถเบื้องต้น ทำเองได้ ไม่ต้องง้อศูนย์

สำหรับคนที่ใช้รถยนต์ในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ บทความนี้จะมาชวนคุณตรวจเช็กรถยนต์เบื้องต้นด้วยตัวเอง เพื่อที่จะได้รู้ทันท่วงที ถ้าหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับตัวรถยนต์ ก่อนที่จะลุกลามใหญ่โตทำให้เสียทั้งเงินและเวลา

3-5 นาที

ทำอย่างไร ? ถ้าจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำท่วมขัง

ความกังวลของคนมีรถในช่วงหน้าฝน พายุเข้า ก็คือ การขับรถลุยน้ำท่วมเพราะมีความเสี่ยงต่อเครื่องยนต์และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เรามีวิธีเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์นี้มาฝาก