ธุรกิจและอุตสาหกรรม
Suggest Keywords
คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่
https://www.ttbbank.com/
ธุรกิจและอุตสาหกรรม
ttb analytics มองว่า ยอดขายรถยนต์ในประเทศอาจไม่สามารถกลับเข้าสู่ระดับก่อนการเกิดสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2562 ได้ในระยะเวลาอันใกล้ จากการชะลอตัวของภาคอุปสงค์ในระยะยาวเนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้าง 5 ปัจจัยหลัก
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics มองการใช้รถยนต์ไฟฟ้าควรคำนึงถึงต้นทุนผันแปรทางอ้อม และต้นทุนคงที่เฉลี่ยต่อการใช้งาน โดยความคุ้มค่าจะเกิดขึ้นในส่วนของต้นทุนพลังงานที่ต่ำกว่า ในขณะที่ส่วนของต้นทุนผันแปรทางอ้อม และต้นทุนประกันภัยเฉลี่ย ยังเป็นปัจจัยที่ลดทอนความคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม ในทางเศรษฐศาสตร์ความคุ้มค่าอาจไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมดที่ตัดสินใจเลือกซื้อ
ttb analytics มองว่าเทรนด์การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ของไทยในระยะต่อไปจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และจะส่งผลให้ส่วนแบ่งยอดขายรถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ทยอยลดลงจาก 77.9% ของยอดขายทั้งหมดในปี 2566 เหลือเพียง 57.9% ภายในปี 2573 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตยานยนต์ ICE รุนแรงขึ้
ttb analytics ประเมินยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2566 อยู่ที่ 8.35 แสนคัน หรือ หดตัว 1.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังเผชิญแรงกดดันรอบด้านทั้งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แผ่วลงค่อนข้างเร็ว กำลังซื้ออ่อนแอจากหนี้ครัวเรือนสูง รายได้เกษตรกรเปราะบาง ตลอดจนการชะลอซื้อรถของภาคธุรกิจเพื่อรอความชัดเจนจากมาตรการรัฐ ขณะเดียวกันกับที่สถาบันการเงินก็เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถ จากคุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อที่มีแนวโน้มแย่ลง และต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มสูงขึ้นตามวัฎจักรดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงยาวนานเช่นนี้
ttb analytics ประเมินว่า จุดชาร์จ EV สาธารณะทั่วประเทศสะสมทั้งแบบกระแสสลับ (AC) และแบบกระแสตรง (DC) จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 29.1% ซึ่งจะทำให้ไทยมีจำนวนที่ชาร์จ EV สะสมแตะ 1 หมื่นหัวจ่ายได้ในปี 2569 ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการแล้ว การลงทุนตั้งต้นในการติดตั้งที่ชาร์จ EV เชิงพาณิชย์ยังมีต้นทุนค่อนข้างสูง จากอัตราคืนทุนในการลงทุนที่ชาร์จแบบกระแสสลับ (AC level 1) และกระแสตรง (DC fast charge) ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.0-2.9 ปี และ 2.3-7.0 ปี ตามลำดับ
ttb analytics คาดว่าในปี 2566 ยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่ง EV จะสูงถึง 40,812 คัน หรือขยายตัว 321.7% ส่วนหนึ่งจากแรงสนับสนุนของภาครัฐที่ตั้งเป้าให้ไทยผลิตรถยนต์ EV ให้ได้ 30% ภายในปี 2573 อย่างไรก็ดี ในระยะเริ่มต้น ไทยอาจต้องพึ่งการนำเข้าจากจีนมาจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก ก่อนจะสามารถผลิตเพื่อรองรับความต้องการในประเทศได้อย่างมีนัยในช่วงปี 2567-2568 ซึ่งจะทำให้การผลิตเพื่อส่งออกอาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 3-5 ปี
คาดปี 2566 มูลค่าตลาดรถเช่าเติบโต 10.2% อยู่ที่ 5.1 หมื่นล้านบาท ประเมินตลาดรถเช่าระยะสั้นฟื้นตัว ในขณะที่ตลาดรถเช่าระยะยาวทรงตัว ชี้แนวโน้มการแข่งขันสูงขึ้น แนะผู้ประกอบการรุกทำช่องทางออนไลน์ร่วมกับการบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น
ttb analytics ประเมินว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดตามการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้รถยนต์นั่งไฟฟ้า (EV) ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังค่ายผู้ผลิตเร่งปรับแผนธุรกิจครั้งใหญ่เพื่อมุ่งสู่ยานยนต์พลังงานสะอาด (ZEV) เร็วกว่าที่คาดไว้มาก ทำให้ตัวเลือกรถยนต์นั่งไฟฟ้าทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ส่งผลให้ปริมาณรถยนต์นั่งมือสองถูกผลักออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมากตามวัฏจักรการใช้รถที่สั้นลงจากอัตราการยอมรับของผู้บริโภคต่อรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และมีผลต่อราคาขายต่อที่ตกลงอย่างรวดเร็ว
ttb analytics คาดว่า ปี 2566 ยอดขายรถยนต์ในประเทศจะอยู่ที่ 9.3 แสนคัน ปรับเพิ่มขึ้น 8.1% จากปี 2565 ที่ประเมินว่ายอดขายจะอยู่ที่ 8.6 แสนคัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัว การเปิดประเทศทำให้การท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว ภาคเกษตรยังเติบโตต่อเนื่อง ชี้ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นจะกระตุ้นความต้องการด้านเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคพุ่งขึ้น แต่ยังห่วงปัจจัยฉุดรั้ง ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นและหนี้ภาคครัวเรือนสูง ที่ต้องติดตาม
ttb analytics ประเมินปี 2565 รถยนต์นั่งไฟฟ้ากลุ่ม xEV พุ่ง 48% รับอานิสงส์มาตรการสนับสนุนรถพลังงานไฟฟ้าและราคาน้ำมันแพง แนะธุรกิจเกี่ยวข้องเร่งปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง