ใครที่กำลังวางแผนภาษีปีนี้อยู่ และอยากประหยัดภาษีให้คุ้ม ๆ ต้องอ่านบทความนี้เลย เพราะเรารวบรวมรายการลดหย่อนภาษีปี 2566 มาให้แล้ว พร้อมกองทุน SSF แนะนำสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะลดหย่อนภาษีปีนี้ด้วยกองทุนไหนดีมาฝากกันด้วย
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าเงินเดือนเท่าไรต้องเสียภาษีบ้าง และต้องเสียเท่าไรหากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเลย
เงินเดือนเท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไร?
ตัวอย่างเช่น นาย A เงินเดือน 50,000 บาท มีรายได้รวม 600,000 บาทต่อปี โดยคิดเป็นเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย 50% และค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาทแล้วเท่ากับ 440,000 บาท หากไม่นับรวมเงินโบนัสหรือเงินพิเศษอื่น ๆ ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอื่น ๆ นาย A จะต้องเสียภาษี 21,500 บาท
สรุปรายการลดหย่อนภาษีปี 2566
ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว: 60,000 บาท สำหรับผู้ยื่นภาษีทุกคน
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส: 60,000 บาท โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
- ค่าลดหย่อนบุตร: คนละ 30,000 บาท และสำหรับบุตรคนที่ 2 ที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา: คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน โดยบิดามารดาต้องมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
- ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดครรภ์ละ 60,000 บาท โดยการตั้งครรภ์ลูกแฝดจะนับว่าเป็นครรภ์เดียว
- ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ: คนละ 60,000 บาท สำหรับคนที่ดูแลคนพิการหรือทุพพลภาพ โดยผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและประกันสะสมทรัพย์: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพ: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์แล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และไม่จำกัดอายุของบิดามารดา
- เงินประกันสังคม: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
- เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise): ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับผู้ที่ลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ: 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน: 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.): 30% ของเงินได้ และเมื่อรวมกันกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.): ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
- กองทุนเพื่อการออม (SSF): 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF): 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
ทั้งนี้ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนเพื่อการออม (SSF) และกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
- เงินบริจาคทั่วไป: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ: 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคพรรคการเมือง: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับการซื้อบ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด และอาคาร โดยอาจจะเป็นการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่งก็ได้
- ช้อปดีมีคืน 2566: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566 โดยต้องเป็นสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ รวมถึง E-Book ทั้งนี้ 30,000 บาทแรกจะเป็นค่าซื้อสินค้าและบริการที่มีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ และอีก 10,000 บาท เป็นค่าซื้อสินค้าและบริการที่มีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
มือใหม่เริ่มลดหย่อนภาษี ลงทุนอะไรดี?
มือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนอะไรดี วันนี้เราขอแนะนำกองทุนลดหย่อนภาษี “ttb smartport SSF” ที่สามารถเลือกความสบายใจได้จากกองทุนทั้ง 5 รูปแบบ ตามเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่รับได้ คัด จัดปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติทุกเดือนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนระดับโลกอย่าง Amundi และ Eastspring ที่จะคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในทุกสภาวะตลาด เริ่มต้นลงทุนได้ไม่มีขั้นต่ำ
1. tsp1-preserver-SSF (ระดับความเสี่ยง 4)
กองทุนเปิด ttb smart port 1 preserver เพื่อการออม (ttb smart port 1 preserver Super Savings Fund) แบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ 30% และตราสารหนี้ในประเทศ 70% เหมาะกับคนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ ต้องการควบคุมความเสี่ยงเป็นหลัก
2. tsp2-nurtuner-SSF (ระดับความเสี่ยง 5)
กองทุนเปิด ttb smart port 2 nurturer เพื่อการออม (ttb smart port 2 nurturer Super Savings Fund) แบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ในประเทศ 35% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 45% และหุ้นต่างประเทศ 20% เหมาะกับคนที่สามารถรับความผันผวนได้ค่อนข้างน้อยและต้องการลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ
3. tsp3-balancer-SSF (ระดับความเสี่ยง 5)
กองทุนเปิด ttb smart port 3 balancer เพื่อการออม (ttb smart port 3 balancer Super Savings Fund) แบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ในประเทศ 15% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 35% หุ้นในประเทศ 10% และหุ้นต่างประเทศ 40% เหมาะกับคนที่ต้องการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายด้วยระดับความเสี่ยงสายกลาง ไม่เสี่ยงมากหรือน้อยไป และมีเป้าหมายให้เงินทำงานแทนในระยะยาว
4. tsp4-explorer-SSF (ระดับความเสี่ยง 5)
กองทุนเปิด ttb smart port 4 explorer เพื่อการออม (ttb smart port 4 explorer Super Savings Fund) แบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ในประเทศ 10% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 20% หุ้นในประเทศ 15% และหุ้นต่างประเทศ 55% เหมาะกับคนที่สามารถรับความผันผวนได้ค่อนข้างสูง เพื่อเป้าหมายให้เงินเติบโต และสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
5. tsp5-gogetter-SSF (ระดับความเสี่ยง 6)
กองทุนเปิด ttb smart port 5 go-getter เพื่อการออม (ttb smart port 5 go-getter Super Savings Fund) แบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นหุ้นต่างประเทศ 80% และหุ้นในประเทศ 20% เหมาะกับคนที่สามารถรับความผันผวนได้สูงและต้องการสร้างโอกาสทำกำไรจากหุ้นทั่วโลก
ส่วนใครเป็นสายชอบเลือกลงทุนเอง สามารถเลือกได้เลย กับ “โพยกองเด็ด SSF/RMF” ที่ทาง ทีทีบี คัดมาให้แล้ว ทั้งกองทุน SSF เช่น UOBSD-SSF, UESG-SSF, UESG-SSF-D, T-ES-CG-SSF, TES-GTECH-SSF, UEV-SSF และกองทุน RMF เช่น TMBGRMF, TMBGINCOMERMF, TMBGQGRMF, T-ES-GCG-RMF, TMB-ES-VIETNAM-RMF เลือกลงทุนได้เลยตามนโยบายและความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตัวเอง พร้อมเติบโตไปกับเศรษฐกิจโลก
พิเศษ ! เมื่อซื้อหรือสับเปลี่ยนเข้ากองทุน RMF/SSF ที่เข้าร่วมโปรโมชัน หรือโอนกองทุน LTF จาก บลจ. อื่นเข้ากองทุน LTF ของ บลจ. 5 แห่งที่เข้าร่วมโปรโมชัน ทุก ๆ 50,000 บาท ของการลงทุนในแต่ละ บลจ. รับเงินลงทุนเพิ่ม ในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) ของบลจ.ที่ธนาคารกำหนด จำนวน 100 บาท (ตาม บลจ.ที่ได้ลงทุน) ตั้งแต่วันนี้ - 28 ธ.ค. 66 ศึกษารายละเอียดเพิ่มติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/rmf-ssf-2023
ลงทุนง่ายๆ ด้วย แอป ttb touch www.ttbbank.com/ttbtouch/tsp
ปรึกษาเรื่องการลงทุน ผ่าน ttb investment line หรือ โทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9:00 น. – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร) หรือ ที่ ทีทีบี ทุกสาขา
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF หรือ RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษีจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการลงทุนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต สนใจลงทุนและรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ทีทีบี ทุกสาขา
ขั้นตอนการตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch
คำเตือน
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุน
- กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- สนใจลงทุน ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน ได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb investment line โทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 – 17:30 น. ยกเว้น วันหยุดธนาคาร