หากพูดถึงหน้าร้อน หลายคนคงนึกถึง “ทะเล” และทะเลที่หาดสวย น้ำใสก็หนีไม่พ้น ทะเลในฝันของคนรักทะเล อย่าง “มัลดีฟส์” วันนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องดีๆ ที่ควรรู้ก่อนเดินทางไป รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต้องเตรียมสำหรับการไปมัลดีฟส์ พร้อมนำทริควางแผนเก็บเงินให้ได้ไปเที่ยวมัลดีฟส์แบบติดสปีดมาฝากทุกคนกัน
5 เรื่องควรรู้ ก่อนไปเที่ยวมัลดีฟส์
1. เที่ยวมัลดีฟส์ช่วงไหนดีสุด?
มัลดีฟส์มี 2 ฤดูหลัก ได้แก่ ฤดูร้อน คือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน โดยอุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ที่ 28-30 องศาฯ และฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 27-30 องศาฯ
ดังนั้นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการท่องเที่ยวมัลดีฟส์ (High Season) คือช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูร้อนของมัลดีฟส์ โดยเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับทำกิจกรรมทางน้ำต่าง ๆ เช่น การดำน้ำตื้นและลึก โต้คลื่น ฯลฯ เนื่องจากทะเลปราศจากคลื่นลม และปะการังมีสีสันสดใส ทำให้ตั๋วเครื่องบินและโรงแรมที่พักมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย
และช่วงเดือนพฤษภาคมจะเป็นเดือนที่เริ่มต้นฤดูฝนของมัลดีฟส์ โดยมีฝนตกเกือบทุกวันหรืออาจจะมีพายุฝนในบางวัน จึงทำให้ตั้งแต่ในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปตั๋วเครื่องบินและโรงแรมต่าง ๆ ราคาเริ่มถูกลง
2. มัลดีฟส์ใช้สกุลเงินอะไร?
มัลดีฟส์ใช้สกุลเงิน “รูฟียาห์มัลดีฟส์” (MVR) โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน 1 MVR ≈ 2.20 THB อย่างไรก็ตาม โรงแรมรีสอร์ทรวมถึงร้านอาหารและร้านค้าส่วนใหญ่มักจะรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ในการชำระค่าสินค้าและบริการด้วย จึงแนะนำให้แลกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไปใช้ในมัลดีฟส์แทนสกุลเงินรูฟียาห์มัลดีฟส์ได้เลย เนื่องจากสกุลเงินรูฟียาห์มัลดีฟส์หาแลกค่อนข้างยากและหากแลกมาแล้วก็จะแลกคืนกลับไปเป็นเงินบาทได้ยากเช่นกัน
3. ไปมัลดีฟส์ต้องขอวีซ่าไหม?
นักท่องเที่ยวที่ถือหนังสือเดินทาง (Passport) ประเทศไทย สามารถเดินทางไปเที่ยวมัลดีฟส์ได้ 30 วัน โดยไม่ต้องขอวีซ่า ทั้งนี้หนังสือเดินทางต้องมีอายุเหลือมากกว่า 6 เดือนก่อนเดินทาง ดังนั้นหากจองตั๋วเครื่องบินแล้วควรตรวจสอบวันหมดอายุของหนังสือเดินทางให้ดี หากมีอายุเหลือไม่ถึง 6 เดือน ต้องรีบทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ทันที
4. วันศุกร์คือวันหยุดของมัลดีฟส์!
วันศุกร์ถือเป็นวันหยุดของประเทศมัลดีฟส์ โดยร้านค้าส่วนใหญ่ รวมถึงเรือเฟอร์รี่จะหยุดให้บริการ อย่างไรก็ตาม ร้านอาหารใหญ่ ๆ อาจจะมีเปิดให้บริการอยู่บ้าง ดังนั้นแนะนำให้วางแผนบินมาเที่ยวมัลดีฟส์ในวันเสาร์และกลับก่อนวันศุกร์ จะได้ไม่ตรงกับวันหยุดของมัลดีฟส์
5. สิ่งที่ห้ามทำเมื่อไปเที่ยวมัลดีฟส์
เนื่องจากกว่า 97% ของประชากรมัลดีฟส์นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่จะไปเที่ยวมัลดีฟส์จึงห้ามนำเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหมูเข้าประเทศ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด สุนัข สัตว์อันตราย อาวุธสงครามและระเบิด
นอกจากนี้ยังไม่ควรนำสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น หอย ทราย ปะการัง ฯลฯ ออกจากมัลดีฟส์ รวมถึงห้ามเปลือยกายในที่สาธารณะ และห้ามสวมใส่เสื้อสายเดี่ยว เกาะอก กางเกงขาสั้นเที่ยวในเมืองมาเล เนื่องจากเป็นเมืองที่ค่อนข้างเคร่งเรื่องศาสนา
Checklist ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมสำหรับทริปมัลดีฟส์
1. ตั๋วเครื่องบิน
สายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินจากประเทศไทยสู่มัลดีฟส์มีทั้งแบบบินตรงและแบบแวะพักเปลี่ยนเครื่อง โดยสายการบินที่ได้รับความนิยม ได้แก่ Air Asia, Bangkok Airways และ Srilankan Airlines ซึ่งแต่ละสายการบินก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป เช่น Air Asia เป็นสายการบินราคาประหยัด (Low Cost) ราคาจึงค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับสายการบินอื่นที่ให้บริการบินไปมัลดีฟส์ บินตรงจากไทยไปมัลดีฟส์ ใช้เวลาเดินทางเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น เช่นเดียวกับ Bangkok Airways ที่ให้บริการเที่ยวบินตรงจากไทยไปมัลดีฟส์ แต่จะให้บริการแบบ Full Service ทำให้ราคาจะสูงกว่าสายการบินโลว์คอส ส่วน Srilankan Airlines ให้บริการแบบ Full Service เช่นกัน แต่จะต้องแวะพักเปลี่ยนเครื่องที่ศรีลังกา ทำให้ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง
สำหรับราคาตั๋วเครื่องบินไปมัลดีฟส์ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับเวลาที่จองและวันที่เดินทางว่าเป็นช่วง High Season หรือ Low Season
2. โรงแรมที่พัก
ที่พักในมัลดีฟส์มีให้เลือกหลายประเภท โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ที่พักบนเกาะชุมชน และที่พักบนเกาะส่วนตัว ซึ่งแต่ละประเภทก็มีราคาที่แตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ที่พักบนเกาะชุมชน (Local): ใครอยากสัมผัสวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวมัลดีฟส์แบบใกล้ชิดก็สามารถเลือกจองที่พักบนเกาะชุมชนได้ ข้อดีคือราคาค่อนข้างถูก มีที่พักให้เลือกมากมายหลายราคา โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณคืนละ 2,000 บาท
- ที่พักบนเกาะส่วนตัว (Private): แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ 1.) ที่พักริมชายหาดมัลดีฟส์ (Beach Villa) ที่ทำให้เราสามารถดื่มด่ำไปกับวิวชายหาดสวย ๆ ของมัลดีฟส์ พร้อมเดินเล่นรับลมทะเลสบาย ๆ ได้ โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท/คืน และ 2.) ที่พักกลางทะเลมัลดีฟส์ (Water Villa) ราคาจะสูงที่สุดในบรรดาที่พักในมัลดีฟส์ แต่แลกกับบรรยากาศถือว่าคุ้มมาก ๆ เพราะจะได้รับชมวิวทะเลแบบ 360 องศา ดื่มด่ำกับบรรยากาศของทะเลมัลดีฟส์ได้แบบเต็มอิ่ม โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท/คืน
ทั้งนี้ราคาที่พักจะขึ้นอยู่กับเวลาที่จองและวันที่เดินทางด้วยว่าเป็นช่วง High Season หรือ Low Season เช่นเดียวกับตั๋วเครื่องบิน
3. ค่าเดินทางจากสนามบินไปที่พัก
เนื่องจากมัลดีฟส์มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ การเดินทางจากสนามบินไปที่พักแต่ละแห่งจึงมีวิธีที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่
- เรือเร็ว (Speed Boat) ใช้กับที่พักที่อยู่ไม่ไกลจากสนามบินมากนัก ไม่เกิน 40 กิโลเมตร
- เครื่องบินน้ำ (Seaplane) สามารถนำเครื่องขึ้นและลงบนน้ำได้ ใช้สำหรับเดินทางไปที่พักที่อยู่ห่างออกไปตั้งแต่ 40-100 กิโลเมตร โดยมีค่าบริการสูงกว่า Speed Boat
- เที่ยวบินภายในประเทศ (Domestic Fight) ใช้ในกรณีที่ที่พักอยู่ห่างจากสนามบินค่อนข้างมาก ตั้งแต่ 100-300 กิโลเมตร และหลังจากลงจอดที่สนามบินเล็กแล้วอาจจะต้องต่อ Speed Boat เพื่อเข้าที่พักอีกที
โดยราคาทั้ง 3 รูปแบบก็จะขึ้นอยู่กับระยะทางจากสนามบินสู่ที่พัก เริ่มต้นตั้งแต่ 65 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2,200 บาท เป็นต้นไป ในขณะที่การเดินทางในประเทศสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชันได้เลย ค่าบริการจะอยู่ที่ราว ๆ 7 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 240 บาท
4. ค่าอาหาร
หากเลือกพักที่รีสอร์ทในมัลดีฟส์ จะมีบริการแพ็กเกจ Meal Plans โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ 1.) Daily Breakfast แพ็กเกจอาหารเช้า ไม่รวมเครื่องดื่ม 2.) Half Board แพ็กเกจอาหารเช้าและค่ำ ไม่รวมเครื่องดื่ม 3.) Full Board แพ็กเกจอาหารเช้า กลางวัน และเย็น ไม่รวมเครื่องดื่ม และ 4.) All Inclusive แพ็กเกจอาหารรวม 3 มื้อ ทั้งอาหารเช้า กลางวัน และเย็น ตลอดจนเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ
แต่ใครที่ไม่ได้เลือกพักในรีสอร์ทหรือใครที่พักรีสอร์ทแล้วไม่อยากซื้อแพ็กเกจเพิ่มในกรณีที่รีสอร์ทไม่ได้บังคับซื้อก็สามารถเลือกทานอาหารที่ร้านอาหารบริเวณรอบเกาะมัลดีฟส์ได้เช่นกัน โดยราคาเฉลี่ยของอาหารเช้าจะอยู่ที่ 300-500 บาท อาหารกลางวันอยู่ที่ 400-700 บาท และอาหารเย็นอยู่ที่ 800-1,000 บาท ทั้งนี้ราคาอาหารจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานที่ด้วย
5. ค่าชอปปิง
ใครเป็นสายชอปปิง มัลดีฟส์ก็มีร้านค้าท้องถิ่นให้เลือกซื้อของฝากมากมาย เช่น แม่เหล็กติดตู้เย็น พวงกุญแจรูปสัตว์ เครื่องแก้ว เป็นต้น รวมถึงร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) ในสนามบิน ส่วนราคาก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทสิ่งของ ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะขึ้นอยู่นักท่องเที่ยวแต่ละคน บางคนอาจจะเป็นสายเที่ยวไม่เน้นชอปปิงก็สามารถตัดงบส่วนนี้ออกได้เช่นกัน
6. ค่าทำกิจกรรม
เนื่องจากพื้นที่กว่า 99% จาก 90,000 ตารางกิโลเมตรของประเทศมัลดีฟส์เป็นทะเล นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาทำกิจกรรมทางน้ำกันในมัลดีฟส์ ไม่ว่าจะเป็น ดำน้ำตื้นชมปะการัง ดำน้ำลึกสกูบา โต้คลื่น เล่นสกีน้ำ และล่องเรือ เป็นต้น ค่าทำกิจกรรมในมัลดีฟส์จะอยู่เริ่มต้นตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวเลือก
แถม! สำหรับสายรักสบาย ไม่ชอบแพลนเที่ยวก็สามารถซื้อแพ็กเกจเที่ยวกับทัวร์ได้เช่นกัน ราคาแพ็กเกจทัวร์มัลดีฟส์ 3 วัน 2 คืน จะเริ่มต้นตั้งแต่ 30,000 บาท ขึ้นไป โดยราคาแพ็กเกจทัวร์ส่วนใหญ่เป็นราคาที่รวมทุกอย่างแล้ว ตั้งแต่ค่าที่พัก ค่าอาหาร และเรือรับส่งจากสนามบินไปที่พัก ดังนั้นใครที่เลือกซื้อแพ็กเกจเที่ยวกับทัวร์ให้เตรียมเงินไว้สำหรับชอปปิงก็เพียงพอแล้ว ทั้งนี้ราคาแพ็กเกจทัวร์ก็จะขึ้นอยู่กับวันที่เดินทางด้วย หากเป็นช่วง High Season ราคาก็จะสูงกว่าช่วง Low Season
สรุปค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องเตรียมไปทริปมัลดีฟส์ 4 วัน 3 คืนกันสักหน่อย ในที่นี้ขอแบ่งเป็น 2 สาย คือสายเที่ยวประหยัด และสายเที่ยวหรู โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- สายเที่ยวประหยัด: ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมอยู่ที่ประมาณ 23,000 บาท โดยแบ่งเป็นค่าตั๋วเครื่องบินแบบ Low Cost 12,000 บาท ค่าที่พัก 4,000 บาท/คน สำหรับ 3 คืน ค่าเดินทางในประเทศ 1,000 บาท ค่าอาหาร 4,000 บาท (เฉลี่ยมื้อละ 400 บาท) ค่าชอปปิง 1,000 บาท และค่าทำกิจกรรม 1,000 บาท
- สายเที่ยวหรู: ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมอยู่ที่ประมาณ 70,000 บาท โดยแบ่งเป็นค่าตั๋วเครื่องบินแบบ Full Service 20,000 บาท ค่าที่พัก 35,000 บาท/คน สำหรับ 3 คืน รวมค่าอาหารเช้า กลางวัน เย็น และเครื่องดื่มแล้ว ค่าเดินทางด้วย Speed Boat ไปกลับสนามบิน-ที่พัก 6,000 บาท ค่าชอปปิง 4,000 บาท และค่าทำกิจกรรม 5,000 บาท
หมายเหตุ: เป็นการประมาณค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสไตล์การเที่ยวของแต่ละคน
สำหรับใครที่กำลังวางแผนเก็บเงินไปเที่ยวมัลดีฟส์อยู่ วันนี้เรามีเทคนิคการวางแผนเก็บเงินมาฝากกัน โดยเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ได้ไปเที่ยวมัลดีฟส์แบบติดสปีดด้วย จะมีรายละเอียดอย่างไร ติดตามไปพร้อมกันต่อจากนี้ได้เลย
เก็บเงินไปเที่ยวมัลดีฟส์แบบติดสปีดด้วย ttb smart port
วิธีการลงทุนแบบ DCA ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเก็บเงินเที่ยวมัลดีฟส์ เพราะเป็นการลงทุนที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เน้นความสม่ำเสมอ แถมยังเพิ่มโอกาสติดสปีด ให้เราสามารถพิชิตเป้าหมายทริปมัลดีฟส์ในฝันได้ไวกว่าการออมเงินเพียงอย่างเดียวอีกด้วยด้วย
ซึ่งในบทความนี้ขอยกตัวอย่างการเก็บเงินไปเที่ยวมัลดีฟส์ด้วยการลงทุนแบบ DCA ผ่านกองทุนเปิด “ttb smart port” เครื่องมือที่จะช่วยทำให้การวางแผนการเงินของคุณเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น เพราะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนระดับโลกอย่าง Amundi และ Eastspring คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติทุกเดือนเพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในทุกสภาวะตลาด เลือกความสบายใจได้จากกองทุนทั้ง 5 รูปแบบ ตามเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างมา 3 รูปแบบ ตามระดับความเสี่ยงต่ำ กลาง และสูง ได้แก่ ttb smart port 1 - preserver, ttb smart port 3 - balancer และ ttb smart port 5 - gogetter
โดยตัวอย่างในบทความนี้ จะเป็นการเก็บเงินเดือนละ 4,000 บาท มาลงทุนใน ttb smart port ทั้ง 3 รูปแบบ มาดูกันว่าถ้าเราเริ่มเก็บเงินตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อให้ได้ไปเที่ยวช่วง High Season ของปีหน้า ในระยะเวลา 1 ปี จะเป็นอย่างไร แผนการลงทุนแต่ละรูปแบบจะทำให้เรามีเงินเก็บไปทริปมัลดีฟส์ในฝันเท่าไรกันบ้าง
ttb smart port 1 - preserver
โมเดลกองทุนที่เหมาะสำหรับคนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ เน้นรักษาเงินต้น ต้องการควบคุมความเสี่ยงเป็นหลัก มีการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ไทยและต่างประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาวที่มากกว่าเงินฝาก โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ 30% และตราสารหนี้ในประเทศ 70% โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ 2.9%* ต่อปี
หากเราเก็บเงินเดือนละ 4,000 บาท มาลงทุนผ่านกองทุนเปิด ttb smart port 1 - preserver ในระยะเวลา 1 ปี เราจะมีโอกาสมีเงินเก็บไปทริปมัลดีฟส์ในฝันเท่ากับ 48,643 บาท โดยโอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้คือ 643 บาท
ttb smart port 3 - balancer
โมเดลกองทุนที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายด้วยระดับความเสี่ยงสายกลาง ไม่เสี่ยงมากหรือน้อยไป และมีเป้าหมายให้เงินทำงานแทนในระยะยาว โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ในประเทศ 15%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 35%, หุ้นในประเทศ 10% และหุ้นต่างประเทศ 40% โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ 5.6%* ต่อปี
หากเราเก็บเงินเดือนละ 4,000 บาท มาลงทุนผ่านกองทุนเปิด ttb smart port 3 - balancer ในระยะเวลา 1 ปี เราจะมีโอกาสมีเงินเก็บไปทริปมัลดีฟส์ในฝันเท่ากับ 49,251 บาท โดยโอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้คือ 1,251 บาท
ttb smart port 5 - gogetter
โมเดลกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นหุ้นต่างประเทศ 80% และหุ้นในประเทศ 20% เหมาะสำหรับคนที่สามารถรับความผันผวนได้สูงและต้องการสร้างโอกาสทำกำไรจากหุ้นทั่วโลก โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ 7.7%* ต่อปี
หากเราเก็บเงินเดือนละ 4,000 บาท มาลงทุนผ่านกองทุนเปิด ttb smart port 5 - gogetter ในระยะเวลา 1 ปี เราจะมีโอกาสมีเงินเก็บไปทริปมัลดีฟส์ในฝันเท่ากับ 49,731 บาท โดยโอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้คือ 1,731 บาท
*อ้างอิงผลตอบแทนจากดัชนีชี้วัด (Benchmark) คำนวณจากข้อมูลในอดีตย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ของกองทุน ttb smart port 1, 3, และ 5 ทั้งนี้ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องมิได้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
และนี่ก็เป็นตัวอย่างการเก็บเงินไปเที่ยวทริปมัลดีฟส์ในฝัน ผ่าน ttb smart port 3 รูปแบบ ที่เราได้นำมาฝากกัน ทั้งนี้ควรเลือกลงทุนในรูปแบบและแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของตัวเอง เพื่อให้เงินของเราสามารถเติบโตต่อไปได้อย่างสบายใจ ผู้ที่อยากลองสร้างแผน DCA เป็นของตัวเอง สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal
และวันนี้เรามีโปรโมชันสุดพิเศษมามอบให้ลูกค้าที่ลงทุนแบบ DCA กับกองทุน ttb smart port ด้วย โดยลูกค้าที่ลงทุน DCA ขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป ติดต่อกัน 12 เดือน จะได้รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port โดยต้องเริ่มตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 29 ธันวาคม 2566 เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/tspdca2023 และ ศึกษาขั้นตอนการเปิดพอร์ตการลงทุนผ่านแอป ttb touch ได้ที่ https://www.ttbbank.com/archive/howto/app/open-inv-port.php
ข้อมูลอ้างอิงจาก
https://www.clubmed.co.th/l/blog/maldives-trip?locale=th-TH
https://www.wayfairertravel.com/th/destinations/maldives/when-to-go-to-maldives/
https://th.trip.com/hot/articles/เที่ยวมัลดีฟส์+ใช้เงินเท่าไหร่.html
https://www.wonderfulpackage.com/article/v/1132/
https://www.wonderfulpackage.com/article/v/1404/
https://www.wonderfulpackage.com/article/v/768/
http://ibreak2travel.com/2017/10/05/15-things-to-khow-maldives/
https://maldivestour.guide/maldives-transportation-ferry-speedboat-transfers.html
ขั้นตอนการตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch
เงื่อนไขของรายการส่งเสริมการขาย
- รายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน (DCA) พิจารณาจากเงินลงทุนครั้งแรก ที่เกิดจากการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน โดยยอดเงินลงทุนครั้งแรกต้องเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 29 ธันวาคม 2566 และต้องเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือนจำนวน 12 เดือน นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องลงทุนในกองทุน ttb smart port ซึ่งประกอบด้วยกองทุน 1) tsp1-preserver 2) tsp2-nurturer 3) tsp3-balancer 4) tsp4-explorer 5) tsp5-gogetter
- รายการส่งเสริมการขายตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนต้องมีการตั้งแผนการลงทุน (โดยไม่รวมการซื้อเป็นครั้งๆ) และลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือนในกองทุนเดียวกันของชุดกองทุนใน ttb smart port ทั้งนี้จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) และคำนวณเป็นรายกองทุน โดยนับเฉพาะยอดซื้อในกองทุน ttb smart port ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน
- บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด จะสรุปยอดเงินลงทุนที่เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน และจ่ายหน่วยลงทุนของกองทุน ttb smart port ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถืออยู่ ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เมื่อลงทุนครบจำนวน 12 เดือน ตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) โดยจะเริ่มดำเนินการจ่าย 4 รอบ ได้แก่
รอบที่ 1 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกุมภาพันธ์- มีนาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
รอบที่ 2 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเมษายน- มิถุนายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 สิงหาคม 2567
รอบที่ 3 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกรกฎาคม- กันยายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
รอบที่ 4 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนตุลาคม- ธันวาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
(หากวันที่ทำการจ่ายหน่วยลงทุนตรงกับ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะดำเนินการจ่ายในวันทำการถัดไป) - บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วันทำรายการโอนหน่วยลงทุนพิเศษเพื่อซื้อกองทุนเพิ่ม และกำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยจะแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้าผ่านช่องทางของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด หรือธนาคาร และคำตัดสินของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ว่ากรณี ใดๆ ให้ถือเป็นที่สุด
- บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ หากผู้ลงทุนได้รับโปรโมชันจากรายการส่งเสริมการขายนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิในการพิจารณารายการส่งเสริมการขายอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน
- โปรโมชันที่ได้รับนับรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีอื่นใดในทำนองเดียวกัน (ถ้ามี) ซึ่งผู้ได้รับสิทธิ์เป็นผู้รับผิดชอบในภาษีที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยผู้ได้รับสิทธิ์ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
คำเตือน:
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- สนใจลงทุน ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน ได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb investment line โทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 – 17:30 น. ยกเว้น วันหยุดธนาคาร