“ลงทุนอะไรดี?” นี่คงเป็นคำถามที่นักลงทุนมือใหม่ส่วนใหญ่สงสัยกันก่อนที่จะเริ่มลงทุน เพราะในปัจจุบันมีสินทรัพย์ลงทุนให้เลือกลงทุนมากมายหลายประเภท แถมแต่ละประเภทก็มีลักษณะและความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป
วันนี้เราจึงขอมาเฉลยคำถามยอดฮิตที่นักลงทุนมือใหม่มักสงสัยก่อนเริ่มลงทุน พร้อมนำเทคนิคลงทุนอย่างไรให้พิชิตได้ทุกสถานการณ์ตลาดมาฝากกันด้วย
เฉลยคำถามยอดฮิตที่นักลงทุนมือใหม่สงสัยก่อนเริ่มลงทุน
1. ลงทุนอะไรดี?
เชื่อว่านักลงทุนมือใหม่ส่วนใหญ่จะต้องเคยถามตัวเองกันแน่ ๆ ว่า “เราควรลงทุนอะไรดี?” อย่างที่ทราบกันดีว่าสินทรัพย์ลงทุนนั้นมีมากมายหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ หุ้น กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ แต่ละประเภทก็มีลักษณะและความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป ดังนั้นควรตอบตัวเองให้ได้เสียก่อนว่าเราลงทุนไปเพื่ออะไร มีเป้าหมายอะไร ถ้าตอบได้แล้วก็จะสามารถวางแผนได้ว่าเราควรลงทุนสินทรัพย์อะไรในสัดส่วนเท่าไร เพื่อให้สามารถไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้สำเร็จ
2. ลงทุนเมื่อไรดี?
“เราควรเริ่มลงทุนเมื่อไรดี” คงเป็นคำถามที่นักลงทุนมือใหม่หลาย ๆ คนสงสัยไม่น้อยไปกว่าคำถามที่ว่าเราควรลงทุนอะไรดี สำหรับคำตอบของคำถามดังกล่าวคือ “เวลาที่ดีที่สุดในการลงทุน เริ่มวันนี้ดีที่สุด” เพราะยิ่งเริ่มลงทุนเร็ว ก็ยิ่งได้เปรียบจากพลังของผลตอบแทนทบต้น แถมยังมีเวลาคิดทบทวนแผนการลงทุนระหว่างทางได้ หากผิดพลาดตรงไหนจะได้ปรับแก้ได้ทันท่วงที
3. ลงทุนเท่าไรดี?
สำหรับคำตอบของคำถามข้อนี้ ไม่มีคำตอบตายตัว เพราะอย่างที่กล่าวไปตั้งแต่คำถามข้อ 1 ว่าเราควรตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเป้าหมายการลงทุนของเราคืออะไร เพราะหากรู้แล้วก็จะสามารถวางแผนจัดสรรเงินลงทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเริ่มแรกอาจจะเริ่มลงทุนด้วยเงินจำนวนไม่มากก่อน แล้วทยอยเพิ่มเงินลงทุนไปเรื่อย ๆ หากมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ควรเป็นจำนวนเงินที่ลงทุนแล้วสบายใจ ไม่เป็นการเบียดเบียนตัวเองมากเกินไปจนทำให้การใช้ชีวิตติดขัด
4. ลงทุนที่ไหนดี?
ปัจจุบันมีบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เปิดให้บริการมากมาย แต่เราควรเลือกลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเงินลงทุนของเราอยู่กับบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย มีระบบการซื้อขายที่มั่นคง
5. ลงทุนระยะสั้น กลาง และยาว คืออะไร แบบไหนเหมาะกับเรา?
การลงทุนระยะสั้น คือการลงทุนในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ส่วนการลงทุนระยะกลาง คือการลงทุนในระยะเวลาระหว่าง 1-5 ปี และการลงทุนระยะยาว คือการลงทุนในระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
หากมีเป้าหมายระยะสั้นอาจจะลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ส่วนระยะกลางอาจจะลงทุนในกองทุนผสมที่มีนโยบายกระจายลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท และสุดท้ายระยะยาวอาจจะลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีอย่าง SSF หรือ RMF เนื่องจากมีเงื่อนไขการถือครองอย่างน้อย 10 ปี ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวแล้ว ยังได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีอีกด้วย
6. ปันผล vs ไม่ปันผล แบบไหนดีกว่ากัน?
หากถามว่าเลือกลงทุนในหุ้นหรือกองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลหรือไม่จ่ายเงินปันผลแบบไหนดีกว่ากัน ก็คงต้องย้อนกลับมาดูวัตถุประสงค์ในการลงทุนของเราก่อน ถ้าลงทุนเพื่อต้องการกระแสเงินสดกลับมาอย่างสม่ำเสมอ การเลือกหุ้นหรือกองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลจะเหมาะกับคุณมากกว่า แต่ถ้าลงทุนเพื่อต้องการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนในอนาคตจากส่วนต่างของราคา การเลือกหุ้นหรือกองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลจะเหมาะกับคุณมากกว่า
7. ลงทุนแบบ Passive หรือ Active ดีกว่ากัน?
การลงทุนเชิงรับ (Passive Investment) เป็นการลงทุนที่เน้นสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับตลาด ส่วนการลงทุนเชิงรุก (Active Investment) เป็นการลงทุนที่เน้นสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าตลาด
ซึ่งหากถามว่าระหว่างการลงทุนแบบ Passive กับ Active อะไรดีกว่ากัน ก็คงขึ้นอยู่กับเป้าหมายและความเสี่ยงที่นักลงทุนแต่ละท่านยอมรับได้ ดังนั้นนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงจะจึงเหมาะกับการลงทุนแบบ Active เพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าหรือน้อยกว่าตลาด แต่หากนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างน้อย อาจเหมาะกับการลงทุนแบบ Passive มากกว่า
8. เอาชนะตลาดผันผวนด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบไหนดี?
กลยุทธ์การลงทุนนั้นมีให้เราเลือกใช้มากมายหลายวิธี แต่หากพูดถึงกลยุทธ์การลงทุนที่ได้รับความนิยมแล้วก็คงหนีไม่พ้น 2 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่
- การลงทุนแบบ Lumpsum คือการลงทุนด้วยเงินก้อนครั้งเดียวโดยการจับจังหวะตลาด (Market Timing) และเข้าลงทุนในช่วงเวลานั้น จึงมีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีหากเข้าซื้อถูกจังหวะ แต่หากจับจังหวะไม่ถูกอาจขาดทุนอย่างมหาศาลเช่นกัน ดังนั้นการลงทุนแบบ Lumpsum จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการลงทุน
- การลงทุนแบบ DCA คือการลงทุนถัวเฉลี่ยด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันในแต่ละงวดโดยไม่จับจังหวะตลาด ไม่สนใจว่าราคาสินทรัพย์ที่ลงทุนจะเป็นเท่าใด เน้นความสม่ำเสมอในการลงทุนเป็นหลัก
กลยุทธ์การลงทุนแบบ DCA เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เหมาะกับการลงทุนในช่วงตลาดผันผวน แต่การลงทุนแบบ DCA จะช่วยให้เราเอาชนะตลาดผันผวนได้อย่างไร? ลองมาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันเลย
พิชิตทุกสถานการณ์ตลาดด้วยการลงทุนแบบ DCA
ในช่วงที่สภาวะตลาดผันผวน นักลงทุนหลาย ๆ คน โดยเฉพาะมือใหม่คงเกิดความกังวลใจในการลงทุนและเกิดคำถามขึ้นมาว่าจะมีกลยุทธ์การลงทุนอะไรบ้างรึเปล่าที่จะช่วยให้พอร์ตของเราเอาชนะตลาดได้?
วันนี้เราขอแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับเทคนิคการลงทุนที่จะช่วยให้เราพิชิตได้ทุกสถานการณ์ตลาด นั่นคือการลงทุนแบบ “DCA” โดย DCA เป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันทุกเดือน โดยมีหัวใจสำคัญคือความสม่ำเสมอในการลงทุน ไม่จับจังหวะตลาด ไม่ได้ให้ความสำคัญกับราคาของสินทรัพย์ที่เข้าซื้อลงทุน แถมยังช่วยสร้างวินัยในการลงทุนได้อีกด้วย
อย่างที่ทราบกันดีว่าการลงทุนกับความผันผวนเป็นของคู่กัน เมื่อลงทุนแล้วก็คงต้องเจอช่วงที่ตลาดผันผวนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การมีระยะเวลาลงทุนที่มากพอนั้น จะทำให้เงินลงทุนของเราเติบโตได้ดีในระยะยาว ดังนั้น DCA จึงมี “ความสม่ำเสมอ” และ “ระยะเวลา” เป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดผันผวน โดยเราได้สรุปข้อดีของ DCA แบบเน้น ๆ มา 5 ข้อ ดังนี้
- ช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน เนื่องจาก DCA เป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับราคาของสินทรัพย์ที่ลงทุน
- ตัดอารมณ์ส่วนตัวออกจากการลงทุน เพราะ DCA เป็นการลงทุนที่ไม่ได้จับจังหวะตลาด
- สร้างวินัยในการลงทุน เพราะ DCA เป็นการลงทุนอย่างสม่ำเสมอในทุกเดือน
- ใช้เงินลงทุนจำนวนไม่มาก สามารถจัดสรรและกำหนดเงินลงทุนได้เองในแต่ละเดือน
- เหมาะสำหรับนักลงทุนทุกประเภทที่ต้องการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว
ซึ่งการลงทุนแบบ DCA สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่าน “ttb smart port” กองทุนรวมที่ตอบโจทย์นักลงทุนทุกประเภท โดยเฉพาะนักลงทุนมือใหม่อย่างเรา ๆ เนื่องจากเป็นตัวช่วยบริหารความเสี่ยงได้อย่างดี เพราะมีกองทุนให้เลือกลงทุนถึง 5 รูปแบบ ตามเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายการเงิน ปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติทุกเดือน แถมมีมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนระดับโลกอย่าง Amundi และ Eastspring ช่วยบริหารจัดการเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว โดยกองทุนทั้ง 5 รูปแบบของ ttb smart port มีรายละเอียด ดังนี้
1. ttb smart port 1 - preserver
โมเดลกองทุนรวมที่เน้นกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวที่มากกว่าเงินฝาก แบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ 30% และตราสารหนี้ในประเทศ 70% เหมาะสำหรับคนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ ต้องการควบคุมความเสี่ยงเป็นหลัก
2. ttb smart port 2 - nurtuner
โมเดลกองทุนรวมที่เหมาะกับคนที่สามารถรับความผันผวนได้ค่อนข้างน้อยและต้องการลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ แบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ในประเทศ 35%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 45% และหุ้นต่างประเทศ 20%
3. ttb smart port 3 - balancer
โมเดลกองทุนรวมที่เน้นกระจายลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภทเพื่อรักษาสมดุลพอร์ตการลงทุน แบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ในประเทศ 15%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 35%, หุ้นในประเทศ 10% และหุ้นต่างประเทศ 40% เหมาะสำหรับคนที่ต้องการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายด้วยระดับความเสี่ยงสายกลาง ไม่เสี่ยงมากหรือน้อยไป และมีเป้าหมายให้เงินทำงานแทนในระยะยาว
4. ttb smart port 4 - explorer
โมเดลกองทุนรวมที่เน้นลงทุนเพื่อเป้าหมายให้เงินเติบโต และสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น แบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ในประเทศ 10%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 20%, หุ้นในประเทศ 15% และหุ้นต่างประเทศ 55% เหมาะสำหรับคนที่สามารถรับความผันผวนได้ค่อนข้างสูง
5. ttb smart port 5 - gogetter
โมเดลกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นหุ้นต่างประเทศ 80% และหุ้นในประเทศ 20% เหมาะสำหรับคนที่สามารถรับความผันผวนได้สูงและต้องการสร้างโอกาสทำกำไรจากหุ้นทั่วโลก
ทำไม ttb smart port จึงตอบโจทย์นักลงทุนมือใหม่?
- เลือกลงทุนได้ตามความเสี่ยงในระดับที่คุณสบายใจผ่านกองทุนรวมทั้ง 5 รูปแบบ
- บริหารพอร์ตการลงทุนโดยผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง Amundi และ Eastspring
- ปรับสัดส่วนการลงทุนให้อัตโนมัติตามสภาวะตลาดสำคัญเพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
- ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เริ่มต้นแค่ 1 บาทก็ลงทุนได้
- ลงทุนง่ายผ่านแอปพลิเคชัน ttb touch ตั้งแต่เปิดพอร์ตการลงทุน ซื้อ ขาย สับเปลี่ยน และติดตามผลการดำเนินงาน ครบจบในแอปฯ เดียว
เป็นอย่างไรกันบ้างกับเทคนิคพิชิตทุกสถานการณ์ตลาดที่เราได้นำมาฝากกัน สำหรับนักลงทุนมือใหม่แนะนำให้ลองตั้งเป้าหมายทางการเงินของตัวเองก่อน เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นและสามารถวางแผนต่อไปได้ว่าเราควรลงทุนในสินทรัพย์อะไรในสัดส่วนเท่าไรจึงจะเหมาะกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ ซึ่งแม้เราจะเป็นมือใหม่ในโลกการลงทุน แต่หากมีเครื่องมือดี ๆ อย่าง ttb smart port มาช่วยเราแล้ว การวางแผนการเงินก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
สำหรับผู้ที่สนใจอยากลองสร้างแผนการลงทุนแบบ DCA ผ่านกองทุนรวม ttb smart port ทั้ง 5 รูปแบบ สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal
ซึ่งวันนี้เรามีโปรโมชันสุดพิเศษมามอบให้ลูกค้าที่ลงทุนแบบ DCA กับกองทุนรวม ttb smart port ด้วย โดยลูกค้าที่ลงทุน DCA ขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป ติดต่อกัน 12 เดือน จะได้รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port โดยต้องเริ่มตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 ธันวาคม 2566 เท่านั้น ศึกษาขั้นตอนการเปิดพอร์ตการลงทุนผ่านแอป ttb touch ได้ที่ https://www.ttbbank.com/archive/howto/app/open-inv-port.php
ลงทุนง่ายๆ ด้วย แอป ttb touch ได้ที่ www.ttbbank.com/ttbtouch/tsp
ขั้นตอนการตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch
เงื่อนไขของรายการส่งเสริมการขาย
- รายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน (DCA) พิจารณาจากเงินลงทุนครั้งแรก ที่เกิดจากการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน โดยยอดเงินลงทุนครั้งแรกต้องเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - วันที่ 29 ธันวาคม 2566 และต้องเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือนจำนวน 12 เดือน นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องลงทุนในกองทุน ttb smart port ซึ่งประกอบด้วยกองทุน 1) tsp1-preserver 2) tsp2-nurturer 3) tsp3-balancer 4) tsp4-explorer 5) tsp5-gogetter
- รายการส่งเสริมการขายตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนต้องมีการตั้งแผนการลงทุน (โดยไม่รวมการซื้อเป็นครั้งๆ) และลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือนในกองทุนเดียวกันของชุดกองทุนใน ttb smart port ทั้งนี้จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) และคำนวณเป็นรายกองทุน โดยนับเฉพาะยอดซื้อในกองทุน ttb smart port ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน
- บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด จะสรุปยอดเงินลงทุนที่เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน และจ่ายหน่วยลงทุนของกองทุน ttb smart port ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถืออยู่ ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เมื่อลงทุนครบจำนวน 12 เดือน ตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) โดยจะเริ่มดำเนินการจ่าย 4 รอบ ได้แก่
รอบที่ 1 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 - มีนาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
รอบที่ 2 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเมษายน 2566 - มิถุนายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 สิงหาคม 2567
รอบที่ 3 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกรกฎาคม 2566 - กันยายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
รอบที่ 4 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
(หากวันที่ทำการจ่ายหน่วยลงทุนตรงกับ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะดำเนินการจ่ายในวันทำการถัดไป) - บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วันทำรายการโอนหน่วยลงทุนพิเศษเพื่อซื้อกองทุนเพิ่ม และกำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยจะแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้าผ่านช่องทางของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด และธนาคาร คำตัดสินของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ว่ากรณี ใดๆ ให้ถือเป็นที่สุด
- บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ หากผู้ลงทุนได้รับโปรโมชันจากรายการส่งเสริมการขายนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิในการพิจารณารายการส่งเสริมการขายอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน
- กรณีมีภาระภาษีเกิดขึ้นจากโปรโมชันที่ผู้ลงทุนได้รับ ผู้ลงทุนต้องเป็นผู้รับผิดชอบในภาษีที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
คำเตือน:
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- สนใจลงทุน ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน ได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb investment line โทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 – 17:30 น. ยกเว้น วันหยุดธนาคาร
ระยะเวลาโปรโมชัน 1 ก.พ. 66 - 29 ธ.ค. 66