เผลอแป๊บเดียวก็เข้าสู่ช่วงกลางปี 2566 แล้ว สำหรับช่วงกลางปีแบบนี้ เราขอชวนทุกคนมาตรวจสอบสุขภาพทางการเงินกันว่าผ่านมาแล้วครึ่งปี สุขภาพทางการเงินของเราเป็นอย่างไรกันบ้าง ยังโอเคกันอยู่หรือไม่? พร้อมนำเครื่องมือที่จะทำให้การวางแผนการเงินง่ายยิ่งขึ้น ด้วยการลงทุนแบบ DCA ในกองทุนรวม มาแนะนำให้ทุกคนทราบ
4 ขั้นตอนตรวจสอบสุขภาพทางการเงิน
การตรวจสอบสุขภาพทางการเงิน (Financial Health Check) สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง โดยการตรวจสอบผ่านตัวเลข 4 แบบ ได้แก่ รายได้, สภาพคล่อง, ภาระหนี้ และเงินออม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายได้
เราสามารถตรวจสอบได้ว่ารายได้ของเราตอนนี้เพียงพอต่อการอยู่รอดหรือไม่ด้วย “อัตราส่วนการอยู่รอด” (Survival Ratio) เป็นอัตราส่วนที่บอกถึงความสามารถในการอยู่รอดจากรายได้ปัจจุบัน โดยมีสูตรคำนวณดังนี้
อัตราส่วนการอยู่รอด (Survival Ratio) = รายได้ต่อเดือน / รายจ่ายต่อเดือน
หากผลลัพธ์มีค่ามากกว่า 1 แสดงว่ารายได้ตอนนี้ทำให้คุณอยู่รอดได้ และยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางการเงินของคุณ เพราะรายได้มากกว่ารายจ่าย แต่หากผลลัพธ์มีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่ารายได้น้อยกว่ารายจ่าย และจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทางการเงินของคุณ
ตัวอย่างเช่น นาย A มีรายได้ต่อเดือนเท่ากับ 30,000 บาท โดยมีรายจ่ายต่อเดือนเท่ากับ 15,000 บาท ดังนั้นอัตราส่วนการอยู่รอด (Survival Ratio) ของนาย A จะเท่ากับ 30,000 / 15,000 = 2 แสดงว่ารายได้ของนาย A ตอนนี้ยังทำให้นาย A อยู่รอดได้และมีสุขภาพทางการเงินที่ดีอยู่
สภาพคล่อง
เราสามารถตรวจสอบสภาพคล่องทางการเงินได้จาก “เงินออมฉุกเฉิน” คือเงินก้อนแรกที่ทุกคนควรมี โดยเป็นเงินที่มีสภาพคล่องสูง สามารถถอนออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น เช่น ช่วงที่ว่างงานขาดรายได้ ช่วงที่เกิดเจ็บป่วยกะทันหัน และช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย เป็นต้น ทั้งนี้เงินออมฉุกเฉินที่ควรมีจะอยู่ที่ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน โดยมีสูตรคำนวณดังนี้
เงินออมฉุกเฉิน = ค่าใช้จ่ายต่อเดือน x 6
ตัวอย่างเช่น นาย A มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่ากับ 20,000 บาท ดังนั้น เงินออมฉุกเฉินที่นาย A ต้องมีจะเท่ากับ 20,000 x 6 = 120,000 บาท ซึ่งหากนาย A มีเงินออมฉุกเฉินน้อยกว่าจำนวนดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพการเงินของนาย A ได้
ภาระหนี้
เราสามารถตรวจสุขภาพทางการเงินในส่วนของภาระหนี้ได้จาก “อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้” (Debt Service Ratio: DSR) เป็นอัตราส่วนที่บอกถึงความสามารถในการชำระหนี้สินที่กู้ยืมมา โดยมีสูตรคำนวณดังนี้
อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) = (ภาระหนี้ต่อเดือน / รายได้รวมต่อเดือน) x 100
ทั้งนี้ สมาคมธนาคารไทยได้กำหนดให้ภาระผ่อนชำระหนี้ไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน ดังนั้นหากคำนวณอัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้แล้วผลลัพธ์ออกมามากกว่า 40% ภาระหนี้นั้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางการเงิน
ตัวอย่างเช่น นาย A มีรายได้รวมต่อเดือนเท่ากับ 30,000 บาท และมีภาระหนี้ต่อเดือนเท่ากับ 10,000 บาท ดังนั้น อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ของนาย A จะเป็น (10,000/30,000) x 100 = 30% แสดงว่าภาระหนี้ต่อรายได้ของนาย A ยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางการเงิน
เงินออม
เราสามารถตรวจสอบสุขภาพทางการเงินในส่วนของเงินออมได้จาก “อัตราส่วนการออม” (Savings Ratio) เป็นอัตราส่วนที่บอกถึงความสามารถในการออมจากรายได้ โดยมีสูตรคำนวณดังนี้
อัตราส่วนการออม (Savings Ratio) = (เงินออมต่อเดือน/รายได้ต่อเดือน) x 100
ทั้งนี้ อัตราส่วนการออมควรมีค่ามากกว่า 10% ซึ่งหมายความว่ามีการบริหารจัดการเงินออมได้ดี โดยรายได้ที่นำมาคำนวณควรเป็นรายได้หลังจากหักภาษีแล้ว
ตัวอย่างเช่น นาย A มีรายได้ต่อเดือนเท่ากับ 30,000 บาท และออมเงินเดือนละ 6,000 บาท ดังนั้นอัตราส่วนการออม (Savings Ratio) ของนาย A จะเป็น (6,000/30,000) x 100 = 20% แสดงว่านาย A มีการบริหารจัดการเงินออมได้ดี
ใครที่ตรวจสุขภาพทางการเงินแล้วพบปัญหาในส่วนไหนก็รีบแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะสายเกินไป ส่วนใครที่ตรวจสอบครบทั้ง 4 ข้อแล้วผลออกมาว่ายังมีสุขภาพทางการเงินที่ดีอยู่ วันนี้เราก็มีทริคต่อยอดเงินออมให้เติบโตมาฝากอีกเช่นเคย
ต่อยอดเงินออมให้เติบโตด้วยการลงทุนกองทุนรวม แบบ DCA
อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค่อนข้างต่ำ ทั้งบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และบัญชีเงินฝากประจำ การออมเงินเพียงอย่างเดียว อาจไม่ทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ ดังนั้นใครที่ตรวจสุขภาพทางการเงินแล้วผลออกมาว่ายังมีสุขภาพดีอยู่ แนะนำให้แบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนด้วย เพราะการลงทุนจะช่วยต่อยอดให้เงินของเราเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
การลงทุนสามารถทำได้ผ่านสินทรัพย์หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ ฯลฯ โดยสินทรัพย์แต่ละประเภทก็มีลักษณะและความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป ซึ่งวันนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับการลงทุนแบบ DCA ผ่านกองทุนรวม
วิธีการลงทุนแบบ DCA เป็นอีกหนึ่งทางเลือกต่อยอดให้เงินเติบโต แถมยังสร้างวินัยในการออมเงินได้อีกด้วย เพราะเป็นการลงทุนถัวเฉลี่ยในทุกเดือน โดยมีหัวใจสำคัญคือความสม่ำเสมอในการลงทุน ซึ่งการลงทุนแบบ DCA สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านกองทุนรวม “ttb smart port” เครื่องมือที่จะช่วยทำให้การวางแผนการเงินของคุณเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น เพราะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนระดับโลกอย่าง Amundi และ Eastspring คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี เลือกความสบายใจได้จากกองทุนรวมทั้ง 5 รูปแบบ ตามเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายการเงินของคุณ
สำหรับตัวอย่างในบทความนี้ จะเป็นการนำเงินเดือนละ 5,000 บาท มาต่อยอดให้เงินเติบโต ด้วยการลงทุนใน ttb smart port 3 รูปแบบ ตามระดับความเสี่ยงต่ำ กลาง และสูง ได้แก่ ttb smart port 1 - preserver, ttb smart port 3 - balancer และ ttb smart port 5 - gogetter มาดูกันว่า ถ้าเราลงทุนทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยจำนวนเงินดังกล่าวแล้ว ในระยะเวลา 10 ปี โอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้ของแผนการลงทุนแต่ละรูปแบบจะเป็นอย่างไรบ้าง
ต่อยอดให้เงินออมเติบโตด้วยกองทุนรวม tsp 1 - preserver
ttb smart port 1 - preserver เป็นโมเดลกองทุนรวมที่เหมาะสำหรับคนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ ต้องการควบคุมความเสี่ยงเป็นหลัก
เน้นกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวที่มากกว่าเงินฝาก โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ 30% และตราสารหนี้ในประเทศ 70% มีผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมอยู่ที่ 2.9%* ต่อปี
หากเรานำเงินเดือนละ 5,000 บาท มาต่อยอดให้เงินเติบโตด้วยการลงทุนแบบ DCA ผ่านกองทุนรวม tsp1-preserver ในระยะเวลา 10 ปี จำนวนเงินรวมที่เราได้รับจะเท่ากับ 695,090 บาท โดยโอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้คือ 95,090 บาท
ต่อยอดให้เงินออมเติบโตด้วยกองทุนรวม tsp 3 - balancer
ttb smart port 3 - balancer เป็นโมเดลกองทุนรวมที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายด้วยระดับความเสี่ยงสายกลาง ไม่เสี่ยงมากหรือน้อยไป และมีเป้าหมายให้เงินทำงานแทนในระยะยาว
เน้นกระจายลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภทเพื่อรักษาสมดุลพอร์ตการลงทุน โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ในประเทศ 15%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 35%, หุ้นในประเทศ 10% และหุ้นต่างประเทศ 40% มีผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมอยู่ที่ 4.0%* ต่อปี
หากเรานำเงินเดือนละ 5,000 บาท มาต่อยอดให้เงินเติบโตด้วยการลงทุนแบบ DCA ผ่านกองทุนรวม tsp1-preserver ในระยะเวลา 10 ปี จำนวนเงินรวมที่เราได้รับจะเท่ากับ 801,850 บาท โดยโอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้คือ 201,850 บาท
ต่อยอดให้เงินออมเติบโตด้วยกองทุนรวม tsp 5 - gogetter
ttb smart port 5 - gogetter โมเดลกองทุนรวมที่เหมาะสำหรับคนที่สามารถรับความผันผวนได้สูงและต้องการสร้างโอกาสทำกำไรจากหุ้นทั่วโลก
เน้นลงทุนในหุ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นหุ้นต่างประเทศ 80% และหุ้นในประเทศ 20% มีผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมอยู่ที่ 7.7%* ต่อปี
หากเรานำเงินเดือนละ 5,000 บาท มาต่อยอดให้เงินเติบโตด้วยการลงทุนแบบ DCA ผ่านกองทุนรวม tsp5-gogetter ในระยะเวลา 10 ปี จำนวนเงินรวมที่เราได้รับจะเท่ากับ 899,579 บาท โดยโอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้คือ 299,579 บาท
*อ้างอิงผลตอบแทนจากพอร์ตจำลองโดยใช้สัดส่วนดัชนีชี้วัด (Benchmark) ในการคำนวณข้อมูลในอดีตย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ของกองทุน ttb smart port 1, 3 และ 5
เป็นอย่างไรกันบ้างกับตัวอย่างการต่อยอดเงินออมให้เติบโตด้วยการลงทุนแบบ DCA ผ่านกองทุนรวม ttb smart port ที่เราได้นำมาฝากกัน หวังว่าตัวอย่างนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่กำลังวางแผนการเงินหรือกำลังมองหาเครื่องมือดี ๆ ที่จะช่วยให้การวางแผนการเงินเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น
การวางแผนการเงินที่ดีมีความสำคัญ เพราะจะเป็นตัวกำหนดความมั่งคั่งทางการเงินของเราในอนาคต คอยสำรวจตัวเองอยู่เสมอว่าตอนนี้สุขภาพทางการเงินของเราเป็นอย่างไร ถ้าตรวจสอบแล้วพบปัญหาให้รีบแก้ไขโดยเร็ว พร้อมต่อยอดให้เงินเติบโตด้วยการลงทุน และที่สำคัญควรเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรารับได้ด้วย เพื่อให้เงินของเราเติบโตไปได้อย่างมั่นคงในระยะยาว
สำหรับผู้ที่สนใจอยากลองสร้างแผนต่อยอดเงินออมให้เติบโตด้วยวิธีการลงทุนแบบ DCA ผ่าน ttb smart port ทั้ง 5 รูปแบบ สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal
ซึ่งวันนี้เรามีโปรโมชันสุดพิเศษมามอบให้ลูกค้าที่ลงทุนแบบ DCA กับกองทุนรวม ttb smart port ด้วย โดยลูกค้าที่ลงทุน DCA ขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป ติดต่อกัน 12 เดือน จะได้รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port โดยต้องเริ่มตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 ธันวาคม 2566 เท่านั้น รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/tspdca2023
ลงทุนง่ายๆ ด้วย แอป ttb touch ได้ที่ www.ttbbank.com/ttbtouch/tsp ขั้นตอนการตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch
ขั้นตอนการตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch
เงื่อนไขของรายการส่งเสริมการขาย
- รายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน (DCA) พิจารณาจากเงินลงทุนครั้งแรก ที่เกิดจากการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน โดยยอดเงินลงทุนครั้งแรกต้องเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - วันที่ 29 ธันวาคม 2566 และต้องเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือนจำนวน 12 เดือน นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องลงทุนในกองทุน ttb smart port ซึ่งประกอบด้วยกองทุน 1) tsp1-preserver 2) tsp2-nurturer 3) tsp3-balancer 4) tsp4-explorer 5) tsp5-gogetter
- รายการส่งเสริมการขายตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนต้องมีการตั้งแผนการลงทุน (โดยไม่รวมการซื้อเป็นครั้งๆ) และลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือนในกองทุนเดียวกันของชุดกองทุนใน ttb smart port ทั้งนี้จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) และคำนวณเป็นรายกองทุน โดยนับเฉพาะยอดซื้อในกองทุน ttb smart port ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน
- บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด จะสรุปยอดเงินลงทุนที่เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน และจ่ายหน่วยลงทุนของกองทุน ttb smart port ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถืออยู่ ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เมื่อลงทุนครบจำนวน 12 เดือน ตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) โดยจะเริ่มดำเนินการจ่าย 4 รอบ ได้แก่
รอบที่ 1 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 - มีนาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
รอบที่ 2 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเมษายน 2566 - มิถุนายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 สิงหาคม 2567
รอบที่ 3 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกรกฎาคม 2566 - กันยายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
รอบที่ 4 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
(หากวันที่ทำการจ่ายหน่วยลงทุนตรงกับ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะดำเนินการจ่ายในวันทำการถัดไป) - บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วันทำรายการโอนหน่วยลงทุนพิเศษเพื่อซื้อกองทุนเพิ่ม และกำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยจะแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้าผ่านช่องทางของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด และธนาคาร คำตัดสินของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ว่ากรณี ใดๆ ให้ถือเป็นที่สุด
- บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ หากผู้ลงทุนได้รับโปรโมชันจากรายการส่งเสริมการขายนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิในการพิจารณารายการส่งเสริมการขายอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน
- กรณีมีภาระภาษีเกิดขึ้นจากโปรโมชันที่ผู้ลงทุนได้รับ ผู้ลงทุนต้องเป็นผู้รับผิดชอบในภาษีที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
คำเตือน:
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- สนใจลงทุน ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน ได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb investment line โทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 – 17:30 น. ยกเว้น วันหยุดธนาคาร
ระยะเวลาโปรโมชัน 1 ก.พ. 66 - 29 ธ.ค. 66