external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

เริ่มต้นลงทุนในกองทุน SSF/ RMF ง่าย ๆ พร้อมวางแผนลดหย่อนภาษี

9 พ.ย. 2564

แค่ 1 บาทก็ลงทุนในกองทุน SSF RMF ได้ พร้อมวางแผนลดหย่อนภาษี

บรรยากาศปลายปีแบบนี้ ใครก็ตามที่มีรายได้ย่อมต้องเสียภาษี มนุษย์เงินเดือนแบบเราจึงไม่รอดที่ต้องจ่าย แต่การจ่ายภาษีถือเป็นความรับผิดชอบอย่างหนึ่งนะครับอย่าเพิ่งน้อยใจไป ที่สำคัญเราอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต้องจ่าย หรือจ่ายมากจ่ายน้อยแค่ไหน ลองมาดูวิธีคิดกันครับ


รายได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนส่วนตัว = รายได้สุทธิ x อัตราภาษี

แต่การเสียภาษีมันมีขั้นบันไดนะ ถ้าหักลบแล้วเราไม่อยู่ในช่วงตามตารางดังกล่าวก็ยังไม่เสีย ส่วนคนที่เสียมากเสียน้อยสามารถลองเช็คได้ตามตารางนี้เลยครับ

ตารางอัตราการจ่ายภาษีบุคคลธรรมดา


แต่แหม่...ใครจะอยากรายได้น้อยตลอดชีวิตละจริงไหม ซึ่งการมีรายได้เยอะก็เสียภาษีเยอะ แต่ถ้ามีการวางแผนและบริหารภาษีดีๆ ก็มีประโยชน์อีกมากนะจะบอกให้ ซึ่งบทความวันนี้จะขอมาแชร์ การวางแผนภาษีด้วยการเริ่มต้นลงทุนในกองทุน SSF RMF ที่เริ่มใช้เงินเพียงบาทเดียว!


กองทุนลดหย่อนภาษีอย่าง RMF และ SSF

RMF (Retirement Mutual Fund) มีชื่อไทยว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมที่อยากให้คนไทยออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ โดยคอนเซปต์เหมือนกับกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ของบริษัทของใครหลายๆ คน รวมถึงกองทุนบําเหน็จบํานาญ ข้าราชการ (กบข.) ของข้าราชการนั่นแหละครับ แต่บริษัทบางคนไม่มีกองทุนเหล่านี้ RMF ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางในการนำเงินที่ลงทุนในกองทุนไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคลธรรมดาได้ครับ

โดยการลดหย่อนภาษีของกองทุน RMF นั่นสามารถนำไปลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาทกรณีนำไปรวมกับ PVD กบข. หรือประกันแบบบำนาญ และเงินจากกองทุน RMF ก้อนนี้จะนำเงินออกมาได้เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องมีการลงทุนต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี หรือมีการลงทุนปีเว้นปี แต่ถ้าปล่อยนานมากกว่าหนึ่งปีถือว่าผิดเงื่อนไข


TMBGQGRMF

หลายคนอาจถามอีกว่ามีกองทุนไหนมาแนะนำบ้าง ซึ่งครั้งนี้เราขอแนะนำกองทุนหุ้นต่างประเทศจาก ttb นั่นคือกองทุน TMBGQGRMF (TMB Global Quality Growth RMF) ซึ่ง 99.29% ของกองทุนนี้ลงทุนอยู่ในกองทุน Wellington Global Quality Growth Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักที่เน้นกระจายการลงทุนในหุ้นคุณภาพที่มีโอกาสในการเติบโตในระยะยาวทั่วโลก

ผลงานของกองทุน TMBGQGRMF นับตั้งแต่จดทะเบียนกองทุนมาในปี 2558 ภาพรวมผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 11.43% ต่อปี และเคยทำผลตอบแทนสูงสุดย้อนหลังถึง 27.22% ต่อปี เอาชนะภาพรวมของตลาดได้อย่างสม่ำเสมอ โดยกองทุนนี้ไม่มีนโยบายให้เงินปันผล และมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6 สามารถเริ่มต้นลงทุนกับกองทุนนี้เริ่มเพียงแค่ 1 บาทก็ซื้อได้แล้ว แถมซื้อครั้งถัดไปขั้นต่ำก็ยังราคา 1 บาทเหมือนกัน


TMBGINCOMERMF

เดี๋ยวหลายคนจะหาว่าเราเสนอทางเลือกน้อยไปสำหรับกองทุน RMF เลยขออนำเสนออีกกองทุนหนึ่งนั่นคือ TMBGINCOMERMF กองทุนเปิดทีเอ็มบี Global Income ซึ่งมีกองทุนหลักคือ PIMCO GIS Income Fund กระจายการลงทุนไปยังอุตสาหกรรมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นธนาคาร เกม เทคโนโลยี สุขภาพ และอวกาศ

ผลการดำเนินงานเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมาอยู่ที่ 3.74% และเคยทำได้สูงสุดย้อนหลังอยู่ที่ 9.32% ต่อปี ส่วนความเสี่ยงของกองทุนนี้อยู่ในระดับ 5 เท่านั้น เริ่มต้นลงทุนกับกองนี้เริ่มเพียงแค่ 1 บาทก็ซื้อได้แล้ว แถมซื้อครั้งถัดไปขั้นต่ำก็ยังราคา 1 บาทเหมือนกัน

ใครกำลังมองหากองทุน RMF เพื่อลดหย่อนภาษีและออมเงินให้เติบโตในระยะยาวสำหรับวัยเกษียณ ทั้งกองทุน TMBGQGRMF และ TMBGINCOMERMF ก็เป็นกองทุนหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั่วโลก


Super Saving Fund

หากใครมองว่า RMF นั้นต้องใช้เวลาถือยาวนานเกินไป ลองแวะมาทำความรู้จักกองทุนลดหย่อนอีกกองคือ SSF (Super Saving Funds) ยังคงเป็นกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว สามารถนำเงินที่ลงทุนในกองทุนไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป โดยจะลดหย่อนแบบปีต่อปี ซื้อปีไหน ก็ลดหย่อนปีนั้น ไม่กำหนดจำนวนขั้นตํ่าในการซื้อต่อปี และไม่บังคับซื้อต่อเนื่อง

ส่วนการลดหย่อนภาษีนั้น ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้และไม่เกิน 200,000 บาท หากมีการรวมกับกองทุนอื่น ๆ เช่น RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ) จะลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาทนะครับ ที่สำคัญหากคิดจะถอนเงินออกจากกองทุน SSF นี้ต้องรอ 10 ปีนะ มิเช่นนั้นจะโดนบทลงโทษย้อนหลังทั้งเรื่องลดหย่อนภาษีและกำไรส่วนต่างที่ได้มา

มาถึงตรงนี้เรามีกองทุน SSF มาแนะนำให้เห็นภาพรวมทั้งหมด 3 กองทุนที่เราคัดมาเน้น ๆ ด้วยกันซึ่งมีทั้งกองทุนหุ้นไทยและต่างประเทศได้แก่ UOBEQ-SSF , T-ES-GCG-SSF และ T-ES-GTECH-SSF

UOBEQ-SSF เป็นกองทุนในหุ้นไทยเป็นหลัก โดยมีหุ้นทรัพย์สิน 5 อันดันแรกที่หลายคนน่าจะรู้จักอยู่พอสมควร เช่น PTT, AOT, CPALL, SCCC และ BDMS โดยกองทุนนี้มีความเสี่ยงระดับ 6 ไม่มีนโยบายปันผล และไม่มีการกำหนดขั้นต่ำในการลงทุน ส่วนเรื่องผลการดำเนินงานเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่ตั้งกองทุนมานั้นอยู่ที่ 15.89% ต่อปี

T-ES-GCG-SSF กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง Global Capital Growth เป็นกองทุนต่างประเทศที่ลงทุน ผ่านกองทุน AMUNDI FUNDS POLEN CAPITAL GLOBAL GROWTH ซึ่งเน้นกระจายการลงทุนในหุ้นทั่วโลก โดยปัจจุบันมีการลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยี สุขภาพ และการสื่อสารเป็นหลัก โดยกองทุนนี้มีความเสี่ยงในระดับ 6 ไม่มีนโยบายปันผล และมีการกำหนดขั้นต่ำในการลงทุนเริ่มต้นเพียง 1 บาทเท่านั้น

T-ES-GTECH-SSF กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง Global Technology เป็นกองทุนต่างประเทศที่ลงทุน ผ่านกองทุน POLAR CAPITAL FUNDS PLC-GLOBAL TECHNOLOGY FUNDS ซึ่งเน้นการลงทุนในกลุ่ม เทคโนโลยีทั่วโลกเป็นหลัก โดยกองทุนนี้มีความเสี่ยงในระดับ 7 ซึ่งสูงมาก ไม่มีนโยบายปันผล และมีการกำหนดขั้นต่ำในการลงทุนเริ่มต้นเพียง 1 บาทเท่านั้น

ทั้งหมดนี้คือ 3 กองทุนเพื่อการออมจาก SSF ที่เราคัดเลือกมาให้มนุษย์เงินเดือนที่กำลังมองหากองทุนเพื่อการออมระยะยาวอย่างน้อย 10 ปี แถมยังได้สิทธิลดหย่อนภาษีมาให้ได้เลือกกันครับ

แถมพิเศษตอนนี้ ttb มีโปรโมชันลดหย่อนภาษีปี 2564 โดยทุก ๆ 50,000 บาท รับเงินลงทุนเพิ่มในกองทุนตราสารตลาดเงิน (Money Market) จำนวน 100 บาท (ตามบลจ.ที่ลงทุน) โดยยอดรวมซื้อและสับเปลี่ยนเข้าต้องไม่เกิน 500,000 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ และสามารถรูดซื้อด้วยบัตรเครดิต ttb ได้ทุกกองทุน SSF/RMF

แต่เราอยากจะบอกว่าการเลือกกองทุนเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะการต่อยอดจากนี้ต้องอาศัยพฤติกรรมด้านวินัยการออมเพื่อเป็นการสร้างขั้นบันไดไปสู่เป้าหมายแผนการเกษียณนั่นเอง


สร้างวินัยการออม

เมื่อเรามีการวางแผนภาษีด้วยการเลือกกองทุนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของเรา รวมถึงระดับความเสี่ยงที่รับได้แล้ว ประโยชน์ขั้นตอนที่ 2 ที่เราจะได้รับหากเราโฟกัสกับมันอย่างจริงจังนั่นคือ การออมด้วยการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสำหรับมือใหม่นั้นไม่ต้องกังวลว่าต้องใช้เงินเยอะขนาดนั้น เพราะเราสามารถใช้หลัก DCA หรือ Dollar Cost Average ซึ่งเป็นการทยอยลงทุนแบบรายได้เดือนนั่นเอง

เช่น ออมลงทุนในกองทุน RMF 1,000 บาทต่อเดือน หลังเงินเดือนออก 1 วัน ทำแบบนี้ทุกเดือนเท่ากับ 1 ปี เราจะมีเงินลงทุนในกองทุนถึง 12,000 บาท นี่ยังไม่รวมโอกาสการสร้างกำไรส่วนต่างจากกองทุน หรือที่เราเรียกว่า Capital Gain อีกนะ นั่นหมายความว่ามูลค่าจริงๆ ของเงินที่เราลงทุนไปนั้นอาจมากกว่า 12,000 บาทก็ได้ แถมเงินจำนวนที่ใส่ลงไปต่อปียังสามารถนำมาคิดลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย


สร้างแผนเกษียณควบคู่ไปด้วยทุกปี

ประโยชน์ต่อสุดท้าย คือประโยชน์ระยะยาวที่ดีต่อชีวิตของมนุษย์เงินเดือนอย่างเรานั่นคือ แผนเกษียณ แม้ว่าหลายคนอาจบอกกับตัวเองว่า ฉันอายุยังน้อย ยังไม่ต้องออม ไม่ต้องลงทุนลดหย่อนหรอก จ่ายๆ ไปก่อนแล้วเดี๋ยวค่อยเก็บออมและลงทุน แต่อยากจะดึงสติและลองให้ตั้งสมมติฐานเล่นๆ ก่อนว่า คุณคิดว่าในวัยเกษียณคือหลังอายุ 55 – 60 ปี ไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต คิดว่าจะใช้เงินเดือนละเท่าไหร่ ถ้าคิดไม่ออกผมขออนุญาตคิดให้นะครับ

เช่น นายออฟฟิศทำงานเอกชน คาดว่าเกษียณตอนอายุ 55 ปี และประเมินว่าต้องใช้เงินเดือนละ 50,000 บาทต่อเดือนไปจนถึงอายุ 80 ปีก็จากโลกนี้ไปแล้ว นั่นเท่ากับ (50,000 x 12) x 25 จะเท่ากับ 15,000,000 บาท ใช่ครับนี่คือเงินที่นายออฟฟิศต้องมีในวันที่เขาอายุ 55 ปี หากลองคิดย้อนไปว่า ถ้าต้องออมให้ถึง 15 ล้านบาท มันเป็นเรื่องยากมากสำหรับมนุษย์เงินเดือนแบบเรา

สุดท้ายแล้ว เราจะเห็นได้ว่าการเตรียมตัวเรื่องแผนการเงินสำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะเรื่องวินัยการออมที่สามารถเริ่มต้นจากเงินจำนวนน้อย ๆ และอาศัยความสม่ำเสมอเข้าช่วย บวกกับการตั้งเป้าหมายเงินก้อนในวัยเกษียณก็จะทำให้เรารู้ว่าในแต่ละเดือนและในแต่ละปี เราควรออมเงินควบคู่ไปกับการลงทุนในกองทุนด้วยอัตราที่เท่าไหร่เพื่อให้บรรลุเป้าหายที่วางไว้นั่นเอง

ดังนั้น ปัจจัยสำคัญจึงประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ระยะเวลา เงินต้น และอัตราผลตอบแทน ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถลงมือทำได้ตั้งแต่วันนี้ไม่ว่าเราจะอยู่ในเกณฑ์จ่ายภาษีหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าอยู่ในเกณฑ์ก็ถือว่าการวางแผนภาษีจะทำให้เราได้ประโยชน์ถึง 3 ต่ออย่างที่บอกไปทั้งเรื่องของ ค่าลดหย่อน การออมเพื่อลงทุน และแผนเกษียณระยะยาว

ผมหวังว่านี่จะเป็นอีกหนึ่งบทความที่มีประโยชน์สำหรับชาวออฟฟิศ 0.4 ทุกคนนะครับ


หมายเหตุ:

  • ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว


คำเตือน:
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยง รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
- ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องมิได้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- กองทุนรวมที่มีการลงทุนในต่างประเทศ และไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- ผู้ลงทุนสามารถรับหนังสือชี้ชวน และลงทุนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb investment line โทร. 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9:00 – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)

บทความนี้เป็นลิขสิทธ์จากเพจออฟฟิศ 0.4 โพสต์ ณ วันที่ 29 ต.ค. 64