เข้าสู่โค้งสุดท้ายของปีกันแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คน ทั้งคนที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีไปแล้ว รวมถึงคนที่กำลังเตรียมตัวจะซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี ที่ติดตามบทความของเรามา คงรู้กันอยู่แล้วว่ารายได้เท่าไหร่ที่ต้องเสียภาษี? เงินเดือนเท่าไหร่เสียภาษี ? ภาษีที่ต้องเสียเป็นเงินเท่าไหร่? สิทธิลดหย่อนมีอะไรบ้าง? เพื่อจะได้นำคิดคำนวณวางแผนลดหย่อนภาษีของเราได้ โดยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้สามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ไม่ยาก
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เชื่อว่า หลาย ๆ คนคงได้ยินกันมาบ้างแล้ว เรื่องประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ เรื่องการใช้สิทธิลดหย่อนจากค่าซื้อกองทุนรวม SSF / RMF นั้นสิ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงกำลังสงสัยหรือยังมีคำถามมากมาย ว่าต้องทำอย่างไรบ้างกับประกาศนี้ เดี๋ยววันนี้เราจะมาอธิบายเรื่องนี้ให้ทุกคนเข้าใจกันอย่างหายข้อสงสัย เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์!
โดยในปีนี้กรมสรรพากรได้มีการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ เรื่องการใช้สิทธิลดหย่อนจากค่าซื้อกองทุนรวม SSF / RMF ตั้งแต่ปีภาษี 2565 เป็นต้นไป โดยให้แจ้งความประสงค์ที่ใช้สิทธิต่อบริษัทจัดการกองทุนรวม (บลจ.) ที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อไว้ จากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ทั้ง 2 ฉบับ ได้ระบุให้ บลจ.แต่ละแห่งเป็นผู้นำส่งข้อมูลการซื้อกองทุน SSF/ RMF ให้กรมสรรพากร เพื่อให้มีผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ โดยเริ่มตั้งแต่การซื้อ SSF/ RMF ในปีภาษี 2565 (ยื่นภายในเดือน มี.ค. 66) เป็นต้นไป แต่เนื่องจากมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ที่ระบุว่า หากบุคคลหรือนิติบุคคลใด ต้องการส่งข้อมูลของบุคคลอื่นให้กับบุคคลที่สาม จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน จึงเป็นที่มา ว่า ถึงแม้ บลจ. จะมีข้อมูลของผู้มีเงินได้อยู่ แต่ไม่สามารถส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรได้โดยตรง หากยังไม่ได้รับความยินยอมจากผู้มีเงินได้ก่อน
คำถามคือ แล้วเราควรต้องแจ้งภายในเมื่อไหร่ และแจ้งอย่างไร? ณ จุดนี้ อยากแนะนำให้แจ้งภายในวันที่ 30 ธ.ค. 65 เพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าในการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ในช่วงต้นปี 2566 โดยแจ้งกับ บลจ.ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนโดยตรง และเป็นการแจ้งยินยอมครั้งเดียว มีผลต่อการยินยอมในปีถัด ๆ ไปด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ปีภาษี 2565 ใช้สิทธิซื้อกองทุน SSF/ RMF กับ บลจ. 2 แห่ง คือ บลจ. A และ บลจ. B ดังนั้นถ้าปีภาษี 2566 ซื้อกับ บลจ. A และ/หรือ บลจ. B อีกก็ไม่ต้องแจ้งความยินยอมแล้ว แต่หากปีภาษี 2566 ซื้อกับ บลจ. C ที่เรายังไม่เคยแจ้ง เราก็จำเป็นที่จะต้องแจ้งความยินยอมกับ บลจ. C เพิ่มเติมเพื่อให้ใช้สิทธิลดหย่อนในปี 2566 ได้นั่นเอง
แล้วถ้าหากเราไม่แจ้งความประสงค์ภายในกำหนดล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น? คำตอบคือ เราจะไม่สามารถนำค่าซื้อกองทุน SSF และ/หรือ RMF มาลดหย่อนภาษีได้นั่นเอง ถือว่าแผนภาษีที่อุตส่าห์วางไว้อย่างดีต้องมาผิดแผนเพราะไม่ได้แจ้งความประสงค์เสียนี่
ซึ่งไม่ได้มีเพียงเฉพาะค่าซื้อกองทุน SSF และ/หรือ RMF ที่ใช้วิธีการยินยอมให้ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ยังมีพวกค่าเบี้ยประกันชีวิต / สุขภาพที่เริ่มทำในปีภาษี 2563 ต้องให้ความยินยอมกับบริษัทประกันชีวิต หรือ บริษัทประกันภัย เท่านั้น จึงจะใช้สิทธิลดหย่อนได้ และ ดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืมเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย ที่ซื้อใหม่และทำสัญญา ตั้งแต่ปี 2564 ต้องให้ความยินยอมกับสถาบันการเงิน เช่นกัน จึงจะใช้สิทธิลดหย่อนได้
ดังนั้นสิ่งใหม่สำหรับชาวกองทุนลดหย่อนภาษีที่ต้องเพิ่มเข้ามาในแผนการวางแผนภาษีที่ต้องทำก่อนปลายปี 2565 ก็คือการแจ้งสิทธิลดหย่อนภาษี SSF/RMF นั่นเอง ซึ่งไม่ต้องห่วงเพราะเรารวมลิ้งก์สำหรับใช้แจ้งสิทธิลดหย่อนภาษี SSF/ RMF ของแต่ละ บลจ. ไว้ให้แล้ว
รวมรายชื่อ บลจ. และช่องทางแจ้งขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี SSF/RMF ออนไลน์
ABERDEEN – บลจ. อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) จำกัด
https://responses.abrdn.com/tax-deduction-2022-th
ASSETFUND – บลจ. แอสเซท พลัส จำกัด
https://www.assetfund.co.th/portal/tax-consent
BBLAM – บลจ. บัวหลวง จำกัด
https://mutualfunddocument.bblam.co.th
DAOL INVESTMENT – บลจ. ดาโอ จำกัด
https://onepeace.daolsecurities.co.th/otp-gateway?from=daolinv&reques=consentrmf
EASTSPRING – บลจ. อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด
https://order.eastspring.co.th/login/request-consent/index.jsp
KAsset – บลจ. กสิกรไทย จำกัด
https://k-invest.kasikornbankgroup.com/TaxConsent/
KKPAM – บลจ. เกียรตินาคินภัทร จำกัด
https://kkpamonline.kkpfg.com/FormAndConsent/guest
KSAM – บลจ. กรุงศรี จำกัด
https://www.krungsriassetonline.com/TaxRequest/
KTAM – บลจ. กรุงไทย
https://www.ktam.co.th/tax-request.aspx
KWIAM – บลจ. เคดับบลิวไอ จำกัด
https://www.kwiam.com/th/news-pr/view/tax-consent
LHFUND – บลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด
https://online.lhfund.co.th/#/consentrmf
MFC – บมจ. บลจ. เอ็มเอฟซี
https://smarttrade.mfcfund.com/ConsentsRD/contact/TH
ONEAM – บลจ. วรรณ จำกัด
https://www.one-asset.com/client-report/AITE
PAMC – บลจ. ฟิลลิป จำกัด
www.phillipasset.co.th/taxconsent1/
Principal – บลจ. พรินซิเพิล จำกัด
https://easyinvest.principal.th/click/OnlineConsent_RMF_SSF.aspx
SCBAM – บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด
https://e-service.scbam.com/
TALISAM – บลจ. ทาลิส จำกัด
https://www.talisam.co.th/terms-and-conditions/
TISCOAM – บลจ. ทิสโก้ จำกัด
https://forms.tiscoasset.com/form/tiscoasset_taxexemptionrequest
UOBAM – บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด
https://www.uobam.co.th/th/Certificate/TaxConsent
XSpring AM – บลจ. เอ็กซ์สปริง จำกัด
https://www.xspringam.com/tax_request
เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะเข้าใจเรื่องประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ เรื่องการใช้สิทธิลดหย่อนจากค่าซื้อกองทุนรวม SSF / RMF และวิธีการแจ้งออนไลน์กันแล้วนะครับ
สำหรับใครที่ยังไม่รู้จะซื้อกองทุนไหนดี? ในที่นี้เราขอแนะนำกองทุน ttb smartport เพื่อการลดหย่อนภาษี เนื่องจาก ttb smartport มีโมเดลพอร์ตให้เราเลือกถึง 5 โมเดล ตามความเสี่ยงที่รับได้ และบริหารจัดการกองทุนโดยผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่จะคอยดูแลกองทุนแต่ละโมเดลให้แบบอัตโนมัติ ซึ่งแต่ละโมเดลจะมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. tsp1-preserver-SSF
กองทุนนี้จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ กองทุนเปิด ttb smart port 1 preserver (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว มีกลยุทธ์การลงทุนคือ ลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ 70% และตราสารหนี้ต่างประเทศ 30% เหมาะกับคนที่ต้องการควบคุมความเสี่ยงเป็นหลัก
2. tsp2-nurturer-SSF
กองทุนนี้จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ กองทุนเปิด ttb smart port 2 nurturer (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว มีกลยุทธ์การลงทุนคือ ลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ 35% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 45% หุ้นต่างประเทศ 20% เหมาะกับคนที่ต้องการชนะเงินเฟ้อ และไม่ต้องการรับความผันผวน
3. tsp3-balancer-SSF
กองทุนนี้จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ กองทุนเปิด ttb smart port 3 balancer (กองทุนหลัก) กองทุนมีความเสี่ยงในระดับ 5 กระจายการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ 25% ต่างประเทศ 35% และ ตราสารทุนในประเทศ 10% ต่างประเทศ 35% เหมาะกับคนที่เน้นลงทุนเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายระยะยาว รับความเสี่ยงได้ระดับปานกลาง
4. tsp4-explorer-SSF
กองทุนนี้จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ กองทุนเปิด ttb smart port 4 explorer (กองทุนหลัก) ระจายการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ 10% ต่างประเทศ 20% และ ตราสารทุนในประเทศ 15% ต่างประเทศ 55% เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง รับความเสี่ยงได้ระดับค่อนข้างสูง
5. tsp5-gogetter-SSF
กองทุนนี้จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ กองทุนเปิด ttb smart port 5 go-getter (กองทุนหลัก) กองทุนมีความเสี่ยงในระดับ 6 เน้นลงทุนในหุ้นหรือตราสารทุน โดยลงทุนในตราสารทุนในประเทศ 20% และต่างประเทศ 80% เหมาะสำหรับคนที่เน้นกระจายลงทุนในหุ้นทั่วโลก มีความผันผวนสูง คาดหวังผลตอบแทนสูง เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงการลงทุนได้สูงมาก
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ ttb smartport เพื่อการลดหย่อนภาษี ทั้ง 5 โมเดล 5 ความสบายใจให้เราเลือกตามความเสี่ยงที่เรารับได้ ที่เดียวมีครบทุกพอร์ตการลงทุนในแต่ละระดับความเสี่ยงสินทรัพย์ อีกทั้ง ttb smartport SSF ยังมีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกคอยดูแล
จุดเด่นสำคัญของ ttb smart port คือ คัด - จัด - ปรับ
“คัด” กองทุนเด่นจากทั่วโลก
“จัด” สัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสม และ
“ปรับ” พอร์ตให้โดยทีมงานมืออาชีพระดับโลกจากทั้ง จาก Amundi บริษัทจัดการกองทุนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในยุโรป และ บลจ.อีสท์สปริง ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับแถวหน้าของเอเชีย ที่ดูแลใกล้ชิด โดยปรับพอร์ทการลงทุนอัตโนมัติ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ
โดยทาง Amundi จะทำหน้าที่ช่วยคัดสรรกองทุนจาก บลจ. ต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยคัดเลือกกองทุนที่เหมาะสมและกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อมุ่งหวังในการสร้างทางเลือกและผลตอบแทนอย่างยั่งยืนในระยะยาวให้แก่นักลงทุนในทุกสถานการณ์
เหมาะกับคนไม่มีเวลาติดตามตลาด และต้องการลงทุนระยะยาว ในเมื่อลงทุนทั้งที นอกจากจะได้ลดหย่อนภาษีแล้ว การลงทุนที่ถูกต้องนั้นยังสามารถช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินของเรางอกเงย และมีเงินเก็บในอนาคตได้อีกด้วย และที่สำคัญอย่าลืมไปแจ้งขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี SSF/RMF ออนไลน์กันด้วยนะครับ
ยิ่งไปกว่านั้น ตอนนี้เรามี โปรโมชันลดหย่อนภาษีปี 2565 ดีๆ มาให้นักลงทุนอีกด้วย เมื่อ ซื้อ หรือสับเปลี่ยนเข้ากองทุน RMF/ SSF ที่เข้าร่วมโปรโมชัน หรือโอนกองทุน LTF จากบลจ. อื่นเข้ากองทุน LTF ของบลจ. 5 แห่งที่เข้าร่วมโปรโมชัน ทุก ๆ 50,000 บาท ของการลงทุนในแต่ละบลจ. จะได้รับเงินลงทุนเพิ่มในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) จำนวน 100 บาท (ตามบลจ.ที่ได้ลงทุน) ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 – 30 ธันวาคม 2565
รายละเอียดและเงื่อนไขโปรโมชันลดหย่อนภาษีปี 2565
- กิจกรรมส่งเสริมการตลาดนี้ สำหรับลูกค้าที่มีบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนผ่าน ttb และลงทุนในกองทุน RMF และ/หรือ SSF ที่เข้าร่วมโปรโมชันหรือโอนกองทุน LTF จากบลจ. อื่น เข้ากองทุน LTF ของบลจ. ที่เข้าร่วมโปรโมชัน (ทั้งนี้เฉพาะหน่วยลงทุนกองทุน LTF ที่มีอยู่ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563) ระหว่างช่วงเวลาส่งเสริมการขายวันที่ 4 มกราคม 2565 – 30 ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ กองทุนเปิด อเบอร์ดีนสมาร์ทอินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Aberdeen Smart Income RMF) ไม่ร่วมรายการส่งเสริมการตลาดนี้ และ กองทุนที่เข้าร่วมรายการส่งเสริมการตลาดของ บลจ.วรรณ ได้แก่กองทุนเปิดวรรณเดลี่ หน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออม (1AM-DAILY-SSF) และ กองทุนเปิดวรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ หน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออม แบบไม่จ่ายเงินปันผล (ONE-UGG-ASSF)
- การคำนวณสิทธิรับเงินคืนจะคำนวณจากยอดเงินลงทุนสุทธิในกองทุน RMF และ/หรือ SSF ที่อยู่ภายใต้ บลจ.เดียวกันรวมกับยอดโอนกองทุน LTFเข้า บลจ.เดียวกัน โดย ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้สิทธิรับเงินคืนจากยอดเงินลงทุนในกองทุน RMF และ/หรือ SSF และยอดโอนกองทุน LTF จะต้องมีเลขบัตรประจำตัวประชาชนเลขเดียวกัน และจะต้องคงยอดเงินลงทุนสุทธิไว้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2566
- ยอดเงินลงทุนสุทธิ คือ ยอดรวมของรายการซื้อและยอดรับโอนจาก บลจ.อื่น หักด้วยยอดรวมของรายการขายคืนที่ผิดเงื่อนไขทางภาษีของกรมสรรพากร และยอดโอนไปยังบลจ.อื่น ระหว่างวันที่ 4 มกราคม 2565 – 30 ธันวาคม 2565 โดยไม่นับรวมการโอนยอดหน่วยลงทุนภายในและระหว่าง บลจ. 5 แห่งที่เข้าร่วมโปรโมชันนี้
- ttb จะทำการโอนหน่วยลงทุนกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) ที่ ttb กำหนด ให้ลูกค้าตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่ได้รับตามโปรโมชันนี้โดยโอนเข้าบัญชี ของผู้ถือหน่วยลงทุนที่เปิดไว้กับ ttb ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566
- ttb ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงของสมนาคุณที่มีมูลค่าเทียบเท่า รวมทั้งเงื่อนไข ข้อกำหนดของรายการส่งเสริมการตลาดนี้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคำตัดสินของ ttb และ ให้ถือเป็นที่สุด หากใครต้องการเครื่องมือช่วยลงทุนดี ๆ แบบนี้ สามารถเริ่มต้นลงทุนได้ง่าย ๆ ด้วย ttb smart port ซึ่งมีโปรโมชัน
พิเศษ 3 ต่อ !!
- ต่อแรก รับ 5 wow เมื่อลงทุนกับกองทุน ttb smart port ผ่านแอป ttb touch ทุก ๆ 10,000 บาท จำกัดคะแนน wow สูงสุด จำนวน 50 wow ต่อคน ต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 ธันวาคม 2565
- ต่อที่ 2 รับ 60 wow เมื่อตั้งแผนลงทุนรายเดือนอัตโนมัติ (DCA) กับกองทุน ttb smart port ผ่านแอป ttb touch เป็นระยะเวลา 6 เดือนติดต่อกัน และมีเงินลงทุนสะสมตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 – 30 ธันวาคม 2565
- ต่อที่ 3 รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติ กับกองทุน ttb smart port เมื่อลงทุนขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ติดต่อกัน 12 เดือน โดยเริ่มตั้งแผนการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติ ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 ธันวาคม 2565
ขั้นตอนการตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch
รายละเอียดและเงื่อนไข การรับ 5 wow
- สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อกองทุนรวม ttb smart port กับttb ผ่านแอป ttb touch เท่านั้น ทุก ๆ 10,000 บาท รับคะแนน 5 wow (ลูกค้าจะได้รับคะแนน wow เป็นจำนวนเต็มเท่านั้น ปัดเศษทิ้ง) จำกัดคะแนน wow สูงสุด จำนวน 50 wow ต่อคน ต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 ธันวาคม 2565
- ttb จำกัดสิทธิ์การให้คะแนน wow เฉพาะรายการซื้อกองทุนที่มีสถานะสำเร็จและได้รับการบันทึกในระบบกลางของttb เท่านั้น
- กองทุนที่เข้าร่วมรายการส่งเสริมการขายนี้ ได้แก่ กองทุนเปิด ttb smart port 1 preserver (tsp1-preserver), กองทุนเปิด ttb smart port 2 nurturer (tsp2-nurturer), กองทุนเปิด ttb smart port 3 balancer (tsp3-balancer), กองทุนเปิด ttb smart port 4 explorer (tsp4-explorer) และ กองทุนเปิด ttb smart port 5 go – getter (tsp5-gogetter) สามารถดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ www.ttbbank.com/tsp
- ttb จำกัดสิทธิ์การให้คะแนน wow เฉพาะลูกค้าที่เคยเข้าสู่ระบบ wow บนแอป ttb touch มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง เท่านั้น
- ttb ขอสงวนสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการ เฉพาะลูกค้าที่มีสถานะการเข้าใช้งานแอป ttb touch ปกติ ไม่ได้ยกเลิกการติดตั้งแอป ttb touch จนถึงวันที่ttb ดำเนินการให้คะแนน wow เท่านั้น
- ลูกค้าจะได้รับคะแนน wow ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป (นับเฉพาะวันทำการ) หลังจากกองทุนรวมที่ทำรายการซื้อมีสถานะสำเร็จ และได้รับการบันทึกในระบบกลางของttb เท่านั้น โดยรายการที่ทำหลังเวลา 22.00 น. ถือเป็นรายการในวันถัดไป
- ttb ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณา และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเงื่อนไข ข้อกำหนด ระยะเวลาของโครงการ โดยหากมีการเปลี่ยนแปลง ttb จะประกาศให้ทราบล่วงหน้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ของ ttb
- ttb ขอสงวนสิทธิ์ในการให้เป็นคะแนน wow เท่านั้น โดยรายการส่งเสริมการขายนี้ ไม่สามารถ แลก เปลี่ยน ทอน เป็นเงินสดหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นได้
- ลูกค้าสามารถใช้คะแนน wow เพื่อใช้จ่ายแทนเงินสด (1wow = 1บาท) หรือแลกรับสิทธิพิเศษของรางวัลต่าง ๆ ผ่านเมนู wow ในแอป ttb touch
รายละเอียดและเงื่อนไข การรับ 60 wow
- สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่สมัครบริการหักบัญชีเพื่อซื้อกองทุน ttb smart port รายเดือนแบบอัตโนมัติ และตั้งแผนลงทุนรายเดือนเป็นครั้งแรกสำเร็จ ผ่านแอป ttb touch ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2565 - 30 ธันวาคม 2565 เท่านั้น และมีการหักเงินอัตโนมัติเพื่อลงทุน (ซื้อ) ในกองทุนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ตั้งแต่เดือนแรกที่สมัคร จนครบ 6 เดือน และมียอดเงินลงทุนรวมสะสมทั้ง 6 เดือน เป็นมูลค่า 30,000 บาทขึ้นไปต่อกองทุน รับ 60 wow ต่อ 1 กองทุน
- ลูกค้าจะได้รับคะแนน wow ในวันที่ 2 ของเดือนถัดไปหลังจากลงทุนครบ 6 เดือน โดยจะได้รับ wow ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 - กรกฎาคม 2566
- กองทุนที่เข้าร่วมรายการส่งเสริมการขายนี้ ได้แก่ กองทุนเปิด ttb smart port 1 preserver (tsp1-preserver), กองทุนเปิด ttb smart port 2 nurturer (tsp2-nurturer), กองทุนเปิด ttb smart port 3 balancer (tsp3-balancer), กองทุนเปิด ttb smart port 4 explorer (tsp4-explorer) และ กองทุนเปิด ttb smart port 5 go – getter (tsp5-gogetter) สามารถดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ www.ttbbank.com/tsp
- ธนาคารจำกัดสิทธิ์การให้คะแนน wow เฉพาะลูกค้าที่เคยเข้าสู่ระบบ wow บนแอป ttb touch มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง เท่านั้น
- ธนาคารขอสงวนสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการ เฉพาะลูกค้าที่มีสถานะการเข้าใช้งานแอป ttb touch ปกติ โดยไม่ได้ยกเลิกการติดตั้งแอป ttb touch จนถึงวันที่ธนาคารดำเนินการให้คะแนน wow เท่านั้น
- ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณา และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเงื่อนไข ข้อกำหนด ระยะเวลาของโครงการ โดยหากมีการเปลี่ยนแปลง ธนาคารจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ของธนาคาร
รายละเอียดและเงื่อนไข ของการรับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2%
- รายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน พิจารณาจากเงินลงทุนครั้งแรกที่เกิดจากการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน โดยยอดเงินลงทุนครั้งแรกต้องเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 – 30 ธันวาคม 2565 และต้องเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือน จำนวน 12 เดือน นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องลงทุนในชุดกองทุนใน ttb smart port ซึ่งประกอบด้วยกองทุน 1) tsp1- preserver 2) tsp2-nurturer 3) tsp3-balancer 4) tsp4-explorer 5) tsp5-gogetter
- รายการส่งเสริมการขายตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนต้องมีการตั้งแผนการลงทุน (โดยไม่รวมการซื้อเป็นครั้ง ๆ) และลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือน ในกองทุนเดียวกันของชุดกองทุนใน ttb smart port ทั้งนี้จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) และคำนวณเป็นรายกองทุน โดยนับเฉพาะยอดซื้อในกองทุน ttb smart port ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port
- บลจ.อีสท์สปริง จะสรุปยอดเงินลงทุนที่เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน และจ่ายหน่วยลงทุนให้กับผู้ถือหน่วยที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เป็นกองทุน ttb smart port ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนอยู่ เมื่อลงทุนครบจำนวน 12 เดือน ตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) โดยจะเริ่มดำเนินการจ่าย 4 รอบ ได้แก่
- รอบที่ 1 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2565 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
- รอบที่ 2 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเดือนเมษายน - มิถุนายน 2565 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 สิงหาคม 2566
- รอบที่ 3 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนดือนกรกฎาคม - กันยายน 2565 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566
- รอบที่ 4 ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ทั้งนี้ (หากวันที่ทำการจ่ายหน่วยลงทุนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะดำเนินการจ่ายในวันทำการถัดไป)
- บลจ.อีสท์สปริง ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วันทำรายการโอนหน่วยลงทุนพิเศษเพื่อซื้อกองทุนเพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลงของสมนาคุณที่มีมูลค่าเทียบเท่า และกำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยมิต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า และคำตัดสินของ บลจ.อีสท์สปริง ไม่ว่าประเด็นใด ๆ ให้ถือเป็นที่สุด
- โปรโมชันที่ได้รับนับรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ/ หรือภาษีอื่นใดในทำนองเดียวกัน (ถ้ามี) ซึ่งผู้รับสิทธิ์เป็นผู้รับผิดชอบในภาษีที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยผู้ได้รับสิทธิ์ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามที่กรมสรรพากรกำหนด
คำเตือน:
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด / กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการลงทุนให้ครบถ้วน / สอบถามข้อมูล และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ttb ทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 - 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
หมายเหตุ:
ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว