external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ลดหย่อนภาษีด้วย SSF และ RMF ซื้อเท่าไหร่ให้คุ้ม

9 ธ.ค. 2564

ใกล้จะถึงสิ้นปีแล้ว สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี คงกำลังมองหาวิธีวางแผนภาษีให้คุ้มค่ากันอยู่ ซึ่งปัจจุบันก็มีเครื่องมือที่ช่วยลดหย่อนภาษีให้เลือกมากมายตามเป้าหมายของแต่ละคน

ในวันนี้ ttb advisory จะพามารู้จักเครื่องมือการลงทุนที่ช่วยให้เราประหยัดภาษีลงได้ และยังสามารถออมเงินในระยะยาวเพื่อเพิ่มเงินเก็บในอนาคต หรือวางแผนสร้างเงินก้อนยามเกษียณได้อีกด้วย นั่นคือกองทุนรวม SSF (Super Savings Fund) และ RMF (Retirement Mutual Fund) ซึ่งจะพามาดูกันว่าแต่ละอันคืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร


ทบทวนเงื่อนไข SSF RMF คืออะไร ต่างกันอย่างไร

กองทุนรวม SSF หรือ Super Savings Fund เป็นกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว ซึ่งมาทดแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF (Long Term Equity Fund) ถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นปี 2563

ส่วน RMF หรือ Retirement Mutual Fund เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ส่งเสริมการออมระยะยาวสำหรับใช้จ่ายยามเกษียณอายุ

จะเห็นว่าทั้ง 2 กองทุนดังกล่าวข้างต้นเป็นกองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีควบคู่การลงทุนในระยะยาวไปด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีเงื่อนไขในรายละเอียดหลายอย่างที่แตกต่างกันอยู่ ดังนี้


เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง SSF และ RMF

เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง SSF และ RMF

จะเห็นว่าโดยรวมแล้วข้อแตกต่างระหว่างกองทุนรวม SSF และ RMF คือ

1. เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของรายได้ ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วน RMF จะลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท แต่ทั้ง 2 กองทุนนี้ เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วย

2. ระยะเวลาการลงทุนและเงื่อนไขการซื้อ คือ SSF จะต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ แต่ไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ส่วน RMF ต้องถือไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก ขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรือซื้อปีเว้นปี

3. เป้าหมายการลงทุน โดย SSF ออกแบบมาเพื่อคนที่ต้องการออมระยะกลาง-ยาว ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และเหมาะกับคนที่อายุยังไม่มากนัก หรืออายุต่ำกว่า 45 ปี ในขณะที่ RMF ออกแบบมาเพื่อการวางแผนสร้างเงินก้อนให้มีเงินใช้ยามเกษียณ


วิธีคำนวณภาษี ก่อนวางแผนซื้อ SSF RMF

ก่อนที่เราจะวางแผนแบ่งเงินไปซื้อ SSF หรือ RMF อันดับแรกจะต้องคำนวณเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีก่อน โดยเราสามารถคำนวณได้จากสูตร

เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

ยกตัวอย่าง คุณที เป็นพนักงานออฟฟิศ รายได้ต่อเดือน 50,000 บาท สามารถลดหย่อนส่วนตัวได้ 60,000 บาท และลดหย่อนจากเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ 5,100 บาท คุณทีจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่?

ก่อนจะดูว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ มาเริ่มด้วยคำนวณเงินได้สุทธิ จากการนำเงินได้ต่อปีหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนพื้นฐาน ดังนี้

  • เงินได้ต่อปี 600,000 บาท
  • หักค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
  • หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • หักเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 5,100 บาท (เฉพาะปีภาษี 2564 อ้างอิงจากกรมสรรพากร)

ดังนั้น จะมีเงินได้สุทธิ เท่ากับ 600,000 - 100,000 - 60,000 - 5,100 = 434,900 บาท

ต่อมาให้เรานำเงินได้สุทธิจำนวนนี้ไปคำนวณตามฐานภาษีดังตารางข้างล่าง

เงินได้สุทธิ (บาท) อัตราภาษี เสียภาษีสูงสุด
1 – 150,000 บาท ยกเว้น -
150,001 – 300,000 5% 7,500
300,001 – 500,000 10% 20,000
500,001 – 750,000 15% 37,500
750,001 – 1,000,000 20% 50,000
1,000,001 – 2,000,000 25% 250,000
2,000,001 – 5,000,000 30% 900,000
5,000,001 บาทขึ้นไป 35% -

โดยเราสามารถคำนวณภาษีที่ต้องเสียได้จากสูตร

ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด

จากเงินได้สุทธิจำนวน 434,900 บาท คุณทีจะต้องเสียภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งเงินได้ดังกล่าว ตกอยู่ในฐาน 300,001 – 500,000 บาท คุณทีอยู่ในฐานภาษีที่ 10% และจะต้องนำไปรวมกับเงินที่ต้องเสียภาษีสูงสุดจากขั้นก่อนหน้าด้วย ในกรณีนี้คือฐาน 1 – 150,000 บาท ซึ่งได้รับการยกเว้น และ ฐาน 150,001 – 300,000 บาท เสียภาษีสูงสุด 7,500 บาท

ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้วคุณทีมีภาษีต้องจ่ายที่ (434,900 - 300,000) x 10% + 7,500 = 20,990 บาท

อย่างไรก็ดี หากคุณทีอยากจะเปลี่ยนค่าใช้จ่ายภาษีข้างต้นเป็นเงินออมไว้ใช้ตอนเกษียณในอนาคต สามารถเลือกลงทุนในกองทุน SSF หรือ RMF เพื่อนำไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ โดยวิธีคำนวณยอดเงินลงทุนใน SSF และ RMF สูงสุดที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี เริ่มที่ดูยอดค่าลดหย่อนภาษีทั้งหมดที่ต้องการคือเท่าไหร่ ซึ่งคำนวณได้จาก

จำนวนเงินที่ซื้อ SSF และ RMF ได้สูงสุด = เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น

เมื่อคำนวณแล้ว จำนวนเงินดังกล่าว เท่ากับ 434,900 – 150,000 = 284,900 บาท

แต่เนื่องจากเงื่อนไขของ SSF ที่ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 ส่วน RMF ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 ดังนั้น คุณทีสามารถซื้อ SSF และ RMF เพื่อประหยัดภาษีได้สูงสุดอย่างละไม่เกิน 180,000 บาท (600,000 x 30%) โดยรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 284,900 บาท

3 ขั้นตอนวางแผน SSF และ RMF

 

คราวนี้มาดูกันว่าสำหรับคนที่มีรายได้ต่อปีต่ำกว่าและสูงกว่าตัวอย่าง จะวางแผนภาษีอย่างไรดี มาลองคำนวณแบบรวดเร็วกัน

1. เงินได้ต่อปี 360,000 บาท
เงินได้สุทธิ เท่ากับ 360,000 – 100,000 – 60,000 – 5,100 = 194,900 บาท
หากไม่ซื้อ SSF RMF จะต้องเสียภาษี (194,900 – 150,000) x 5% = 2,245 บาท
หากต้องการประหยัดภาษีได้สูงสุด สามารถซื้อกองทุน SSF และ RMF รวมกัน หรือลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้ไม่เกิน 194,900 – 150,000 = 44,900 บาท

2. เงินได้ต่อปี 1,200,000 บาท
เงินได้สุทธิ เท่ากับ 1,200,000 – 100,000 – 60,000 – 5,100 = 1,034,900 บาท
ถ้าไม่ซื้อ SSF RMF จะต้องเสียภาษีถึง (1,034,900 – 1,000,000) x 25% + 50,000 + 37,500 + 20,000 + 7,500 = 123,725 บาท

หากต้องการลดหย่อนภาษีด้วย SSF และ RMF ตามสูตร จะได้ 1,034,900 – 150,000 = 884,900 บาท แต่เนื่องจากเงื่อนไขของทั้ง 2 กองทุนสามารถซื้อรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท และแต่ละกองทุนสามารถซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ วงเงินลดหย่อนของกองทุนแต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไป โดย SSF จะซื้อได้ไม่เกิน 200,000 บาท และ RMF ซื้อได้ไม่เกิน 500,000 บาท และทั้ง 2 กองทุนข้างต้น เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วย

ในกรณีนี้ หากต้องการลดหย่อนภาษีให้พอดี สามารถซื้อรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท โดย
กรณีแรก แบ่งซื้อ SSF ได้สูงสุด 200,000 บาท และยอดที่เหลืออีก 300,000 บาท นำไปซื้อ RMF
กรณีที่ 2 แบ่งซื้อ RMF ได้สูงสุด 360,000 บาท และยอดที่เหลือ 140,000 บาท นำไปซื้อ SSF

ดังนั้น เงินได้สุทธิสำหรับลดหย่อนภาษีเป็น 1,034,900 – 500,000 = 534,900 บาท และเสียภาษีน้อยลงกว่าเดิม เป็น (534,900 – 500,000) x 15% + 20,000 + 7,500 = 32,735 บาท ซึ่งประหยัดได้ถึง 90,990 บาท กันเลยทีเดียว


สรุปผลการคำนวณภาษีจากตัวอย่าง

สรุปผลการคำนวณภาษีจากตัวอย่าง

จากข้อมูลด้านบนจะเห็นถึงวิธีการคำนวนภาษีและการวางแผนซื้อกองทุน SSF RMF ตามฐานเงินเดือน โดยการลงทุนในกองทุน SSF RMF นอกจากจะช่วยเรื่องลดหย่อนภาษีแล้ว ยังช่วยให้ผู้ลงทุนมีเงินออมระยะยาวและให้คุณมีเงินใช้ในยามเกษียณอีกด้วย เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ก็ควรเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่วันนี้เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ถ้ายังไม่รู้จะซื้อกองทุนไหนดี ttb advisory ขอแนะนำ ttb smart port SSF กองทุนลดหย่อนภาษีที่มีนโยบายการลงทุนให้เลือกถึง 5 รูปแบบ ตามเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้

โดยจะนำเงินไปลงทุนผ่านกองทุนหลัก (Master Fund) ของกองทุน ttb smart port แบบปกติ ด้วยกลยุทธ์กระจายเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญดูแลบริหารเงินและปรับพอร์ตให้อัตโนมัติเมื่อตลาดเปลี่ยนแปลง

ttb smart port SSF จะช่วยให้เป้าหมายการลงทุนของเราเป็นจริงได้ง่ายขึ้น แถมยังสามารถลงทุนได้ทั้งแบบเงินก้อนทีเดียวหรือทยอยลงทุนแบบ DCA ทุกเดือนก็ทำได้ เพื่อประหยัดภาษีแบบสบายใจ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก


พิเศษ !! ลดหย่อนภาษีคุ้มค่า 2 ต่อ กับโปรโมชันลดหย่อนภาษี ปี 2564 จาก ttb

ต่อที่ 1 เมื่อซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี SSF RMF ทุก ๆ 50,000 บาท รับเงินลงทุนเพิ่มเติมในกองทุนตราสารตลาดเงิน (Money Market) จำนวน 100 บาท (ตามบลจ.ที่ลงทุน) โดยสามารถรูดซื้อด้วยบัตรเครดิต ttb ได้ทุกกอง ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 64 – 30 ธ.ค. 64

ต่อที่ 2 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิต ttb ให้คะแนนสะสมของคุณ ต่อยอดความมั่งคั่งผ่านการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าใคร เพียงใช้คะแนนสะสม ttb rewards plus แลกรับเครดิตเงินคืนเมื่อซื้อกองทุนรวมกับ ttb สามารถขอรายละเอียดและแลกคะแนนสะสมผ่าน ttb reserve line 02-010-1428 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิต ttb reserve และ ttb investment line โทร. 1428 กด #4 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิต ttb ประเภทอื่น ๆ ที่มีคะแนนสะสม ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 64 – 30 ธ.ค. 64

ดูรายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/rmf-ssf-2021

  • กิจกรรมส่งเสริมการตลาดนี้ สำหรับลูกค้าที่มีบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนผ่าน ttb และลงทุนในกองทุน SSF หรือ RMF หรือ ttb smart port SSF ระหว่างวันที่ 4 ม.ค. – 30 ธ.ค. 2564
  • การคำนวณสิทธิ์รับเงินคืนจะคำนวณจากยอดเงินลงทุนสุทธิในกองทุน SSF หรือ RMF หรือ ttb smart port SSF ที่อยู่ภายใต้ บลจ.เดียวกัน โดย ttb จะคำนวณสิทธิ์รับหน่วยลงทุนคืนต่อชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนตามเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนต่อ บลจ. และผู้ถือหน่วยลงทุนต้องคงยอดเงินลงทุนสุทธิจนถึงวันที่ 30 เม.ย. 2565
  • ยอดเงินลงทุนสุทธิ คือ ยอดรวมของรายการซื้อและยอดรับโอนจาก บลจ.อื่น หักด้วยยอดรวมของรายการขายคืนที่ผิดเงื่อนไขทางภาษีของกรมสรรพากร และยอดโอนไปยังบลจ.อื่น ระหว่างวันที่ 4 ม.ค. – 30 ธ.ค. 2564 โดยไม่นับรวมการโอนยอดหน่วยลงทุนภายในและระหว่าง บลจ. ที่ ttb เป็นตัวแทนผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
  • ttb จะทำการโอนหน่วยลงทุนกองทุนตราสารตลาดเงิน (Money Market) ที่ธนาคารกำหนด ให้ลูกค้าที่ได้รับตามโปรโมชันนี้โดยโอนเข้าบัญชี ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เปิดไว้กับ ttb ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2565
  • ttb ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงของสมนาคุณที่มีมูลค่าเทียบเท่า รวมทั้งเงื่อนไข ข้อกำหนดของรายการส่งเสริมการตลาดนี้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ ttb และคำตัดสินของ ttb ให้ถือเป็นที่สุด

หมายเหตุ: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน / การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน / ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ก่อนตัดสินใจลงทุน / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับพร้อมเงินเพิ่ม รวมทั้งเสียภาษีสำหรับกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน

หมายเหตุ:

  • ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชน หรือโดยทางอื่นใด ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว
  • การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน /ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต /ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน /ผู้ลงทุนสามารถรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb Investment Line โทร. 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9:00 – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)