external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Liquidity
Management

มาทำความรู้จักกับเครื่องมือบริหารสภาพคล่องกองทุนรวม ตัวช่วยที่จะทำให้การบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5 ก.ค. 2565

กองทุนรวมเป็นเครื่องมือการลงทุนรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลาย ครอบคลุมสินทรัพย์หลายประเภททั่วโลก โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้นน้อย และมีทีมผู้จัดการกองทุนมืออาชีพที่เชี่ยวชาญคอยบริหารกองทุนให้ได้ผลตอบแทนและความเสี่ยงตามนโยบายของกองทุนที่กำหนดไว้

การบริหารกองทุนของทีมผู้จัดการกองทุนนอกจากจะต้องสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีแก่นักลงทุนแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย โดยหนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญคือการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม เพื่อให้มั่นใจว่ากองทุนมีเงินสดเพียงพอสำหรับการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของผู้ขายคืนหน่วยลงทุนตามระยะเวลาที่กำหนดได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่สภาวะตลาดมีความผันผวนสูงกว่าปกติที่สภาพคล่องในตลาดน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้เกิดราคาของสินทรัพย์ผันผวนไปได้มากกว่าปกติ หากนักลงทุนกังวลใจ ต้องการถือเงินสดไว้ใช้และเทขายกองทุนที่ถืออยู่ อาจทำให้กองทุนรวมต้องเทขายสินทรัพย์ออกในจังหวะสภาพตลาดและราคาที่ไม่ปกติ ดังเช่นที่เห็นในช่วงต้นของสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 ส่งผลให้มีภาระค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นกับกองทุน ทำให้เกิดผลเสียหายกับการดำเนินงานของกองทุนและไม่เป็นธรรมกับผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นที่ไม่ได้ทำรายการซื้อขาย ซึ่งอาจกระทบต่อการไถ่ถอนหน่วยลงทุนตามมาในวงกว้าง

การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากองทุนรวมมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับรองรับการไถ่ถอนของผู้ถือหน่วยลงทุน และสามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นธรรมกับผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม ดังนั้น สำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านการลงทุนจึงได้ออกมาตรการเพื่อยกระดับการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และกำหนดให้ บลจ. มีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องสำหรับกองทุนรวมที่หลากหลาย เพียงพอ เหมาะสมกับลักษณะของกองทุน รวมถึงสามารถเลือกใช้งานเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมตามความหนักเบาของเหตุการณ์ที่ไม่ได้เป็นไปตามสภาวะปกติ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม และลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหายแก่กองทุน รวมถึงความเสี่ยงต่อระบบการเงินในวงกว้าง

เครื่องมือบริหารสภาพคล่องกองทุนรวม (Liquidity Management – LMTs) 7 เครื่องมือ ที่ก.ล.ต. กำหนดให้กองทุนรวมสามารถเลือกใช้ได้ ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. มีดังนี้

  1. Liquidity Fee - การเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อขายคืนหน่วยลงทุนเกินจำนวนหรือเงื่อนไขที่กำหนด
  2. Swing Pricing - การปรับ NAV ที่ใช้คำนวณราคาซื้อขายหน่วยลงทุนให้สะท้อนต้นทุนในการปรับพอร์ตของกองทุน
  3. Anti-dilution Levies (ADLs) - การเก็บค่าธรรมเนียม เพื่อให้สะท้อนต้นทุนในการปรับพอร์ตของกองทุน
  4. Notice period - การกำหนดให้ผู้ถือหน่วยแจ้งขายคืนหน่วยลงทุนล่วงหน้าตามเงื่อนไขของกองทุน
  5. Redemption Gate - การจำกัดการขายคืนหน่วยลงทุนไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดไว้
  6. Side Pocket - การแยกตราสารที่ขาดสภาพคล่องออก ไม่นำมาคำนวณ NAV
  7. Suspension of Dealings - การระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนชั่วคราว

การดำเนินการใช้เครื่องมือบริหารสภาพคล่อง บลจ.จะคำนึงถึงการดูแลและปกป้องผลประโยชน์โดยรวมของกองทุนและผู้ถือหน่วยเป็นสำคัญ สอดคล้องกับหลักความไว้วางใจ (Fiduciary) และการกำกับดูแลที่ดี

สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจสอบเครื่องมือบริหารสภาพคล่องได้ในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม หรือศึกษารายละเอียดของเครื่องมือบริหารสภาพคล่องที่กองทุนรวม ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ที่