ปีใหม่แล้ว หลายคนอาจเริ่มต้นปีด้วยการวางแผนทำสิ่งใหม่ ๆ แต่สำหรับมนุษย์เงินเดือนและคนที่มีรายได้ ยังมีสิ่งที่ค้างคาจากปีเก่า นั่นก็คือ “การยื่นภาษีเงินได้” ซึ่งเป็นการยื่นแบบแสดงรายได้ของทั้งปี 2565 ที่ผ่านมา โดยยื่นปีละ 1 ครั้ง คนที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน จะต้องยื่นภาษีในช่วง ม.ค. - มี.ค. 2566 ซึ่งวิธีการยื่นภาษีสามารถทำได้ทั้งการยื่นภาษีด้วยตนเองผ่านสำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน และการยื่นผ่านออนไลน์
การยื่นภาษีออนไลน์นั้นถือว่าเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกมาก ๆ ซึ่งสามารถยื่นได้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2566 ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนการยื่นภาษีออนไลน์
- เอกสารแสดงรายได้ อย่างหนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากบริษัท ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุว่าในปีนั้น ๆ เรามีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักภาษีล่วงหน้าเท่าไหร่บ้าง
- รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบุตร
- เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี, เบี้ยประกันชีวิต, เบี้ยประกันสุขภาพ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปของช้อปดีมีคืน เป็นต้น
แต่ในปี 2565 ที่ผ่านมา หากใครลืมแจ้งสิทธิลดหย่อนภาษี SSF และ RMF ก็ยังสามารถแจ้งความประสงค์ไปยัง บลจ. ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อให้บลจ.นำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรได้ ซึ่งผู้ลงทุนจะยังคงสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของปี 2565 ได้เช่นเดิม แต่กรมสรรพากรจะใช้เวลาดำเนินการนานกว่าปกติ ทำให้อาจได้เงินคืนภาษีล่าช้า ผู้ลงทุนกองทุน SSF/RMF ผ่านทีทีบี ท่านใดที่ยังไม่ได้แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี SSF/RMF กับ บลจ. ที่ซื้อหน่วยลงทุน ยังสามารถแจ้งความประสงค์ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
วิธียื่นภาษีออนไลน์ปี 2566 ด้วยตนเอง
STEP 1 เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/
- กด “ยื่นแบบออนไลน์” (สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 เม.ย. 66)
- ทำการ “เข้าสู่ระบบ” ด้วยเลขบัตรประชาชน แต่หากใครที่ยื่นครั้งแรกให้กด “สมัครสมาชิก” แล้วทำตามขั้นตอนก่อน
- ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้
- กดยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91
-
- ภ.ง.ด.90 คือ คนที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ขายของออนไลน์แบบบุคคลธรรมดา หรือเงินปันผล
- ภ.ง.ด.91 คือ คนที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้เสริมจากช่องทางอื่น
STEP 2 ดึงข้อมูลค่าลดหย่อนอัตโนมัติ
- กรอกข้อมูลรหัสหลังบัตรประชาชน แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
- ระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่เรามีให้อัตโนมัติ จากนั้นกด “ตรวจสอบข้อมูลสำหรับยื่นแบบ”
- เลือกข้อมูลที่จะใช้ในการยื่นภาษี จากนั้นกด “เริ่มยื่นแบบ”
STEP 3 ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว และใส่สถานะ
ระบบจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ของเรา ทั้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร, ชื่อ-นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, สถานที่ติดต่อ, ร้านค้า/กิจการส่วนตัว (ถ้ามี) ให้เราทำการตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นให้ระบุ “สถานะ” โสด / สมรส / หม้าย
STEP 4 ระบุข้อมูลตามแหล่งที่มาของรายได้
ระบบจะแสดงหน้ารายได้ต่าง ๆ โดยแยกตามแหล่งที่มาของรายได้ เช่น รายได้จากเงินเดือน, รายได้จากฟรีแลนซ์, รายได้จากทรัพย์สิน, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหากเป็นพนักงานประจำที่มีรายได้ช่องทางเดียวจากเงินเดือน ให้เลือก “ระบุข้อมูลช่อง 40(1)”
STEP 5 กรอกรายได้ทั้งปีตามใบ 50 ทวิ
ในหน้านี้ให้เรากรอกรายได้ทั้งปีตามใบ 50 ทวิ ที่ทางบริษัทให้มา ดังนี้
- เงินได้ทั้งหมด คือ รายได้ในปีที่ผ่านมาของเราทั้งหมด
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้ดูว่าบริษัทมีการหักภาษีล่วงหน้าไปหรือไม่ หากไม่มีให้ระบุ 0 หรือถ้ามีก็ให้ระบุตามใบ 50 ทวิ
- เลขผู้จ่ายเงินได้ของบริษัทที่เราทำงานอยู่
STEP 6 ตรวจสอบค่าลดหย่อนทั้งหมด
ในระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนที่เรามีมาให้อัตโนมัติอยู่แล้ว แต่หากมีค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมในปี 2565 ที่ผ่านมา ก็สามารถใส่เพิ่ม หรือปรับแก้ไขได้
STEP 7 ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด
จากการที่เราใส่ข้อมูลรายได้ทั้งปี และค่าลดหย่อนต่าง ๆ ระบบจะทำการคำนวณเงินที่ต้องเสียภาษี หรือได้คืนภาษีมาให้อัตโนมัติ โดยให้เราตรวจสอบความถูกต้อง แล้วเลือกว่าจะขอคืนภาษีและอุดหนุนพรรคการเมืองหรือไม่ จากในตัวอย่างจะได้คืนภาษีทั้งหมด 10,215 บาท
STEP 8 กดยืนยันการยื่นแบบ
ให้ทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง หากเรียบร้อย ถูกต้องแล้ว ให้ “กดยืนยันการยื่นแบบ” ก็เป็นการเสร็จสิ้นการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ต้องอัปโหลดเอกสารค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เพื่อความรวดเร็วในการขอคืนภาษี
วิธีประหยัดภาษีในปีหน้า ด้วยการ DCA ใน ttb smart port SSF
จากในตัวอย่างการยื่นภาษีออนไลน์ปี 2566 จะได้เงินคืนภาษีอยู่ที่ 10,215 บาท หากใครต้องการที่จะประหยัดภาษีในปีหน้า แต่ไม่รู้ว่าจะลงทุนอะไรดี สามารถใช้เงินในส่วนนี้ โยกจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา อย่างการทยอยลงทุนหรือ DCA ในกองทุนลดหย่อนภาษี RMF SSF หรือกองทุน ttb smart port-ssf ของ ttb ได้ เรียกว่ายิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว ได้ทั้งลงทุน และได้ทั้งลดหย่อนภาษีไปเลย
สำหรับใครที่ต้องการหากองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ทาง ttb advisory ก็มีกองทุนให้เลือกสรรมากมายตามความเสี่ยงที่รับได้ และนอกจากนี้ ยังสามารถวางแผนการลงทุนตามเป้าหมายพร้อมลดหย่อนภาษีได้ ด้วย ttb calculator และลงทุนผ่าน ttb smart port – SSF ที่มีผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลบริหารจัดการพอร์ตให้อีกด้วย
สนใจทดลองตั้งเป้าหมายและลงทุนได้เลย เพียง 1 บาท ก็เริ่มลงทุนได้ด้วย ttb smart port สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal สามารถเปิดบัญชีกองทุน และลงทุนผ่านแอป ttb touch ได้ง่ายๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ttb investment line หรือโทร. 1428 กด#4 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9:00 น. – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
โปรโมชันพิเศษสำหรับกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2566
เมื่อซื้อหรือสับเปลี่ยนเข้ากองทุน RMF/ SSF ของ บลจ. 5 แห่ง ที่เข้าร่วมโปรโมชัน หรือโอนกองทุน LTF จาก บลจ.อื่นเข้ากองทุน LTF ของ บลจ. 4 แห่ง ที่เข้าร่วมโปรโมชัน (ยกเว้น ONEAM) ทุกๆ 50,000 บาท ของการลงทุนในแต่ละ บลจ.
จะได้รับเงินลงทุนเพิ่มในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) จำนวน 100 บาท (ตาม บลจ. ที่ได้ลงทุน) ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 29 ธันวาคม 2566 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
รายละเอียดเพิ่มเติม
- กิจกรรมส่งเสริมการตลาดนี้ สำหรับลูกค้าที่มีบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนผ่าน ttb และลงทุนในกองทุน RMF และ/หรือ SSF ที่เข้าร่วมโปรโมชันหรือโอนกองทุน LTF จาก บลจ. อื่น เข้ากองทุน LTF ของ บลจ. ที่เข้าร่วมโปรโมชัน (ทั้งนี้เฉพาะหน่วยลงทุนกองทุน LTF ที่มีอยู่ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563) ในช่วงเวลาส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 3 ม.ค.- 29 ธ.ค.2566
ทั้งนี้ กองทุนเปิด อเบอร์ดีน สมาร์ทอินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ABSI-RMF) และกองทุนเปิดวรรณเดลี่ หน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออม (1AM-DAILY-SSF) ไม่ร่วมรายการส่งเสริมการตลาดนี้ - การคำนวณสิทธิรับเงินคืนจะคำนวณจากยอดเงินลงทุนสุทธิในกองทุน RMF และ/หรือ SSF ที่อยู่ภายใต้ บลจ. เดียวกันรวมกับยอดโอนกองทุน LTF เข้า บลจ.เดียวกัน โดยผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้สิทธิรับเงินคืนจากยอดเงินลงทุนสุทธิในกองทุน RMF และ/หรือ SSF และยอดโอนกองทุน LTF จะต้องมีเลขบัตรประจำตัวประชาชนเดียวกัน และจะต้องถือหน่วยลงทุนไว้จนถึงวันที่ 30 เม.ย. 2567
- ยอดเงินลงทุนสุทธิ คือ ยอดรวมของรายการซื้อและยอดรับโอนจาก บลจ. อื่น หักด้วยยอดรวมของรายการขายคืนที่ผิดเงื่อนไขทางภาษีของกรมสรรพากร และยอดโอนไปยัง บลจ. อื่น ระหว่างวันที่ 3 ม.ค.- 29 ธ.ค.2566 โดยไม่นับรวมการโอนยอดหน่วยลงทุนภายในและระหว่าง บลจ. 5 แห่งที่เข้าร่วมโปรโมชัน
- ttb จะทำการโอนหน่วยลงทุนกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) ที่ ttb กำหนดให้ลูกค้าตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่ได้รับตามโปรโมชันนี้ โดยโอนเข้าบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนที่เปิดไว้กับ ttb ภายในวันที่ 30 มิ.ย.2567
- ttb ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงของสมนาคุณที่มีมูลค่าเทียบเท่า รวมทั้งเงื่อนไข ข้อกำหนดของรายการส่งเสริมการตลาดนี้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคำตัดสินของ ttb และให้ถือเป็นที่สุด
หมายเหตุ: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุนการลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน / ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการออม ก่อนตัดสินใจลงทุน / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับพร้อมเงินเพิ่ม รวมทั้งเสียภาษีสำหรับกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน
ระยะเวลาโปรโมชัน : 3 มกราคม – 29 ธันวาคม 2566
คำเตือน : การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด / กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ /การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / กองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการลงทุนให้ครบถ้วน / สอบถามข้อมูล และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ttb ทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 - 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
หมายเหตุ : ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว