สำหรับใครที่มีรายได้พอจะมีเงินเก็บแล้ว แต่ยังคิดไม่ออกว่าควรเก็บเงินไว้ที่ไหนดี หรือควรนำเงินไปลงทุนอะไรให้งอกเงยได้บ้าง บทความนี้จะขอมาแนะนำ 5 ทางเลือก ว่าถ้าหากเรานำเงินของเราไปลงทุนในแต่ละทางเลือก ทางเลือกไหนจะให้ผลตอบแทนประมาณเท่าไหร่ และแต่ละทางเลือกมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด
1. ออมเงินในเงินฝากออมทรัพย์
เชื่อว่าทุกคนน่าจะมีบัญชีออมทรัพย์กันอยู่แล้ว แล้วส่วนใหญ่จะเก็บไว้ที่นี่กัน แต่รู้ไหมว่าผลตอบแทน หรือดอกเบี้ยที่ได้จากเงินฝากออมทรัพย์นั้น ไม่สามารถสู้เงินเฟ้อได้เลย โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปนั้นอยู่ที่ 1.25% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จะอยู่ที่ประมาณ 0.125% - 1.00% ซึ่งดอกเบี้ยส่วนที่เกิน 20,000 บาท ผู้ฝากเงินจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับอีกด้วย
ผลตอบแทน : ประมาณ 0.125% - 1.00%
ความเสี่ยง : ต่ำ (แต่ทั้งนี้หากเรานำเงินเฟ้อมาหักลบกับดอกเบี้ยแล้ว ถือว่าเงินต้นเรามีอำนาจในการจับจ่ายลดลง พูดง่าย ๆ ก็คือ เงินเท่าเดิม แต่ซื้อของได้ไม่เท่าเดิมนั่นเอง)
2. ฝากเงินกับเงินฝากประจำ
ขยับขึ้นมาหน่อยจากเงินฝากออมทรัพย์ เป็นการฝากเงินแบบกำหนดระยะเวลาฝากถอนชัดเจน ซึ่งจะมีระยะเวลาให้เลือก เช่น 3, 6, 12, 24 เดือน ดอกเบี้ยเงินฝากประจำจะมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และพอจะสู้กับเงินเฟ้อได้นิดหน่อย แต่ต้องแลกมากับสภาพคล่อง ส่วนดอกเบี้ยจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เลือก โดยจะอยู่ที่ประมาณ 0.30% – 1.35% ซึ่งหากมีการถอนเงินก่อนครบกำหนดก็อาจจะไม่ได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่ธนาคารประกาศ และหากดอกเบี้ยส่วนที่เกิน 20,000 บาท ผู้ฝากเงินจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับเช่นเดียวกัน
ผลตอบแทน : ประมาณ 0.30% – 1.35%
ความเสี่ยง : ต่ำ (แต่ข้อจำกัดของการออมเงินประเภทนี้คือ อาจทำให้เราขาดสภาพคล่องได้ เนื่องจากหากเราถอนเงินก่อนครบกำหนด ก็อาจจะไม่ได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่ควรจะได้ในตอนแรก)
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ วันที่ 8 เมษายน 2565
ที่มา :https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx
3. ลงทุนในหุ้น
ในปัจจุบันการลงทุนในหุ้นเรียกได้ว่าเป็นที่นิยม และเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น หากเราเลือกหุ้นได้ถูกตัว ก็จะสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างมากมาย แต่ทั้งนี้ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นก็ไม่ค่อยแน่นอน ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งถือเป็น “ความเสี่ยง” หากเราลงทุนในหุ้นผิดตัว ก็สามารถขาดทุนได้เช่นกัน ดังคำกล่าวที่ว่า High Risk... High Return ดังนั้นการจะลงทุนในหุ้นนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
ผลตอบแทน : สามารถกำไร หรือขาดทุนได้มากกว่า 50% ทำให้นักลงทุนมือใหม่หลายคนเลือกที่จะกระจายความเสี่ยงไปเป็นการซื้อ “กองทุนรวมหุ้น” แทน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยใกล้เคียงกับ SET Index ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 8-10% ต่อปีหากลงทุนเป็นระยะยาวอย่าง 10 ปีขึ้นไป
ความเสี่ยง : สูง (หากซื้อหุ้นถูกตัวก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้มาก กลับกันหากซื้อหุ้นผิดตัวก็สามารถขาดทุนได้มากเช่นกัน)
4. ลงทุนในกองทุนรวม
กองทุนรวมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักลงทุนทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า เพราะเราสามารถลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์ ไม่ใช่เฉพาะหุ้นอย่างเดียว โดยมีตั้งแต่ เงินฝาก ตราสารหนี้ในประเทศ ตราสารหนี้ต่างประเทศ หุ้นในประเทศ และหุ้นนอกประเทศ ฯลฯ
อีกทั้งยังได้ในเรื่องของการกระจายความเสี่ยงอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น “กองทุนรวมหุ้น” จากการที่เราจะซื้อหุ้นเป็นตัว ๆ การซื้อกองทุนรวมหุ้น ก็จะทำให้เงินของเราสามารถกระจายไปในหุ้นหลาย ๆ ตัวได้ โดยใช้เงินเท่าเดิม เป็นต้น อีกทั้งการลงทุนในกองทุนรวมนั้น ยังมี Fund Manager หรือผู้เชี่ยวชาญ คอยเลือกสินทรัพย์ให้เราอีกด้วย ซึ่งจะแตกต่างกับการลงทุนในหุ้นที่เราต้องศึกษา และเลือกหุ้นลงทุนด้วยตัวเอง
ผลตอบแทน : เนื่องจากกองทุนรวมนั้นมีหลากหลายประเภท และลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์ ผลตอบแทนจากกองทุนรวมจึงขึ้นอยู่กับประเภทของสินทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละช่วงเวลา ก็จะให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน
ความเสี่ยง : ต่ำ - สูง (อยู่ที่เราจะเลือกลงทุนในประเภทไหน เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนรวมหุ้น หรือกองทุนทองคำ ผลตอบแทนก็จะสูงขึ้นมาตามแต่ละสินทรัพย์ เห็นไหมว่าแม้เราจะกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในกองทุนแล้ว แต่เราก็ยังกระจายไม่พอ หากเราไม่มีการลงทุนแบบกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์อื่น ๆ)
ภาพแสดงผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละประเภททั่วโลก
ที่มา : https://novelinvestor.com/asset-class-returns/
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะสนใจลงทุนผ่านกองทุนรวม เพราะเราสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายประเภทได้ โดยดูจากนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมนั้น ๆ
แต่จะดีกว่าไหม หากเราสามารถจัดพอร์ตการลงทุนตามความเสี่ยงที่เรารับได้ พร้อมกับมีผู้เชียวชาญคอยดูแลคัดสรรกองทุน พร้อมการจัดและปรับพอร์ตการลงทุนตามสถานการณ์ที่สำคัญให้เรา ขณะเดียวกันเรายังสามารถกระจายการลงทุนไปในหลากหลายสินทรัพย์ เช่น ตราสารหนี้ในประเทศ ตราสารหนี้ต่างประเทศ หุ้นในประเทศ และหุ้นต่างประเทศ มาดูทางเลือกอย่างที่ 5 กันเลย
5. ลงทุนด้วย ttb smart port
ttb smart port คือ เครื่องมือทางการลงทุน ที่ออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนการลงทุนให้เป็นเรื่องง่ายขึ้น ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนที่ยังไม่มีเวลาติดตามสภาวะตลาด หรือไม่รู้ว่าจะเลือกลงทุนในกลุ่มไหนดี โดย ttb smart port จะมีมืออาชีพซึ่งเป็นผู้เชียวชาญด้านการลงทุนระดับโลกมาช่วยดูแล คัดสรรกองทุน จัดและปรับสัดส่วนการลงทุนให้อย่างสม่ำเสมอ ตามสภาวะของตลาด อีกทั้งยังมีหลากหลายโมเดลให้เราเลือกตามความเสี่ยงที่เหมาะสมกับเรา ทำให้เรามั่นใจได้ว่าจะมีโอกาสไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น
ต่อไปเรามาดูสัดส่วนการลงทุนกระจายความเสี่ยงของ ttb smart port แต่ละแผนกันว่ามีหน้าตาอย่างไรกันบ้าง
สัดส่วนการลงทุนในแต่ละแผนของ ttb smart port
1. tsp1-preserver - ลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ 80% และตราสารหนี้ต่างประเทศ 20%
ผลตอบแทน : กองทุนนี้เหมาะกับคนที่ต้องการควบคุมความเสี่ยงเป็นหลัก เน้นรักษาเงินต้น
ความเสี่ยง : ระดับ 4 (ต่ำสุดใน ttb smart port ทั้งหมด)
2. tsp2-nurturer - กองทุนนี้ลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ 40% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 40% หุ้นในประเทศ 10% และหุ้นต่างประเทศ 10%
ผลตอบแทน : กองทุนนี้เหมาะกับคนที่ต้องการชนะเงินเฟ้อ และไม่ต้องการรับความผันผวน
ความเสี่ยง : ระดับ 5
3. tsp3-balancer - กองทุนนี้ลงทุนแบบสมดุล 50/50 เพราะมีหุ้น 50% และตราสารหนี้ 50% มีทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ผลตอบแทน : กองทุนนี้เหมาะกับคนที่อยากกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย ผลตอบแทนกำลังพอดี ไม่เสี่ยงมากไปหรือน้อยไป
ความเสี่ยง : ระดับ 5
4. tsp4-explorer - กองทุนนี้ลงทุนในหุ้นต่างประเทศ 45% หุ้นในประเทศ 25% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 20% ตราสารหนี้ในประเทศ 10%
ผลตอบแทน : กองทุนนี้เหมาะกับคนที่เน้นเรื่องการเติบโตโดยเฉพาะ และพร้อมจะรับความเสี่ยงและความผันผวนที่สูงขึ้นได้ในระยะเวลา 3-5 ปี
ความเสี่ยง : ระดับ 5
5. tsp5-gogetter - กองทุนนี้ลงทุนในหุ้น 100% แบ่งเป็นหุ้นในประเทศ 30% และหุ้นต่างประเทศ 70%
ผลตอบแทน : กองทุนนี้เหมาะกับคนที่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนสูงสุด จาการลงทุนในหุ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ความเสี่ยง : ระดับ 6 (สูงสุดใน ttb smart port ทั้ง 5 แผน)
จะเห็นได้ว่า จากทางเลือกที่เราเสนอมาทั้งหมด 5 ทางเลือก การลงทุนแบบจัดพอร์ตกับ tsp นั้นดูจะมีความยืดหยุ่นที่สุด เพราะเราสามารถเลือกระดับความเสี่ยงเองได้ และได้ทำการกระจายการลงทุนไปด้วย โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอย คัด จัด ปรับพอร์ต ให้เรา ซึ่งเราสามารถนำเงินเก็บในแต่ละเดือนของเรามาลงทุนใน ttb smart port ได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
สุดท้ายขอจากกันด้วยรูปตัวอย่างผลตอบแทนย้อนหลัง ด้วยการลงทุนเดือนละ 5,000 บาท ระหว่าง ttb smart port กับการลงทุนในดัชนี SET Index เพียงอย่างเดียว ว่าผลตอบแทน และความเสี่ยงที่ได้จะเป็นอย่างไร โดยในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเป็น tsp3-balancer สำหรับคนชอบทางสายกลางกันนะครับ
https://www.investing.com/indices/thailand-set-historical-data
จากตารางจะเห็นได้ว่าหากเราลงทุนต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โอกาสจะเป็นเจ้าของเงินล้าน ก็อยู่ไม่ไกลเกินฝัน เพียงเราเลือกลงทุนให้ถูกที่ และมีวินัยสม่ำเสมอ จากเงิน 5,000 บาท ก็มีโอกาสกลายเป็นเงินล้านได้ ไม่ยากเกินฝันเช่นกัน
หากใครต้องการเครื่องมือช่วยลงทุนดี ๆ แบบนี้ สามารถเริ่มต้นลงทุนได้ง่าย ๆ ด้วย ttb smart port ซึ่งมีโปรโมชันพิเศษ 3 ต่อ !!
- ต่อแรก รับ 5 wow เมื่อลงทุนกับกองทุน ttb smart port ผ่านแอป ttb touch ทุก ๆ 10,000 บาท จำกัดคะแนน wow สูงสุด จำนวน 50 wow ต่อคน ต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 ธันวาคม 2565
- ต่อที่ 2 รับ 60 wow เมื่อตั้งแผนลงทุนรายเดือนอัตโนมัติ (DCA) กับกองทุน ttb smart port ผ่านแอป ttb touch เป็นระยะเวลา 6 เดือนติดต่อกัน และมีเงินลงทุนสะสมตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 – 30 ธันวาคม 2565
- ต่อที่ 3 รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติ กับกองทุน ttb smart port เมื่อลงทุนขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ติดต่อกัน 12 เดือน โดยเริ่มตั้งแผนการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติ ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 ธันวาคม 2565
ขั้นตอนการตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch
รายละเอียดและเงื่อนไข การรับ 5 wow
- สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อกองทุนรวม ttb smart port กับธนาคาร ผ่านแอป ttb touch เท่านั้น ทุก ๆ 10,000 บาท รับคะแนน 5 wow (ลูกค้าจะได้รับคะแนน wow เป็นจำนวนเต็มเท่านั้น ปัดเศษทิ้ง) จำกัดคะแนน wow สูงสุด จำนวน 50 wow ต่อคน ต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 ธันวาคม 2565
- ธนาคารจำกัดสิทธิ์การให้คะแนน wow เฉพาะรายการซื้อกองทุนที่มีสถานะสำเร็จและได้รับการบันทึกในระบบกลางของธนาคารเท่านั้น
- กองทุนที่เข้าร่วมรายการส่งเสริมการขายนี้ ได้แก่ กองทุนเปิด ttb smart port 1 preserver (tsp1-preserver), กองทุนเปิด ttb smart port 2 nurturer (tsp2-nurturer), กองทุนเปิด ttb smart port 3 balancer (tsp3-balancer), กองทุนเปิด ttb smart port 4 explorer (tsp4-explorer) และ กองทุนเปิด ttb smart port 5 go – getter (tsp5-gogetter) สามารถดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ www.ttbbank.com/tsp
- ธนาคารจำกัดสิทธิ์การให้คะแนน wow เฉพาะลูกค้าที่เคยเข้าสู่ระบบ wow บนแอป ttb touch มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง เท่านั้น
- ขอสงวนสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการ เฉพาะลูกค้าที่มีสถานะการเข้าใช้งานแอป ttb touch ปกติ ไม่ได้ยกเลิกการติดตั้งแอป ttb touch จนถึงวันที่ธนาคารดำเนินการให้คะแนน wow เท่านั้น
- ลูกค้าจะได้รับคะแนน wow ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป (นับเฉพาะวันทำการ) หลังจากกองทุนรวมที่ทำรายการซื้อมีสถานะสำเร็จ และได้รับการบันทึกในระบบกลางของธนาคารเท่านั้น โดยรายการที่ทำหลังเวลา 22.00 น. ถือเป็นรายการในวันถัดไป
- ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณา เปลี่ยนแปลงรายละเอียดเงื่อนไข ข้อกำหนด ระยะเวลาของโครงการ โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงธนาคารจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ของธนาคาร
- ธนาคารขอสงวนสิทธิ์การให้เป็นคะแนน wow เท่านั้น โดยรายการส่งเสริมการขายนี้ ไม่สามารถ แลก เปลี่ยน ทอน เป็นเงินสดหรือโอนสิทธิ์ ให้ผู้อื่นได้
- ลูกค้าสามารถใช้คะแนน wow เพื่อใช้จ่ายแทนเงินสด (1wow = 1บาท) หรือแลกรับสิทธิพิเศษของรางวัลต่าง ๆ ผ่านเมนู wow ในแอป ttb touch
รายละเอียดและเงื่อนไข การรับ 60 wow
- สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่สมัครบริการหักบัญชีเพื่อซื้อกองทุน ttb smart port รายเดือนแบบอัตโนมัติ และตั้งแผนลงทุนรายเดือนเป็นครั้งแรกสำเร็จ ผ่านแอป ttb touch ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2565 - 30 ธันวาคม 2565 เท่านั้น และมีการหักเงินอัตโนมัติเพื่อลงทุน (ซื้อ) ในกองทุนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ตั้งแต่เดือนแรกที่สมัคร จนครบ 6 เดือน และมียอดเงินลงทุนรวมสะสมทั้ง 6 เดือน เป็นมูลค่า 30,000 บาทขึ้นไปต่อกองทุน รับ 60 wow ต่อ 1 กองทุน
- ลูกค้าจะได้รับคะแนน wow ในวันที่ 2 ของเดือนถัดไปหลังจากลงทุนครบ 6 เดือน โดยจะได้รับคะแนน wow ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 - กรกฎาคม 2566
- กองทุนที่เข้าร่วมรายการส่งเสริมการขายนี้ ได้แก่ กองทุนเปิด ttb smart port 1 preserver (tsp1-preserver), กองทุนเปิด ttb smart port 2 nurturer (tsp2-nurturer), กองทุนเปิด ttb smart port 3 balancer (tsp3-balancer), กองทุนเปิด ttb smart port 4 explorer (tsp4-explorer) และ กองทุนเปิด ttb smart port 5 go – getter (tsp5-gogetter) สามารถดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ www.ttbbank.com/tsp
- ธนาคารจำกัดสิทธิ์การให้คะแนน wow เฉพาะลูกค้าที่เคยเข้าสู่ระบบ wow บนแอป ttb touch มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง เท่านั้น
- ธนาคารขอสงวนสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการ เฉพาะลูกค้าที่มีสถานะการเข้าใช้งานแอป ttb touch ปกติ โดยไม่ได้ยกเลิกการติดตั้งแอป ttb touch จนถึงวันที่ธนาคารดำเนินการให้คะแนน wow เท่านั้น
- ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณา และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเงื่อนไข ข้อกำหนด ระยะเวลาของโครงการ โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าผ่านช่องทางธนาคาร
รายละเอียดและเงื่อนไข ของการรับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2%
- รายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน พิจารณาจากเงินลงทุนครั้งแรกที่เกิดจากการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน โดยยอดเงินลงทุนครั้งแรกต้องเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 – 30 ธันวาคม 2565 และต้องเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือน จำนวน 12 เดือน นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องลงทุนในชุดกองทุนใน ttb smart port ซึ่งประกอบด้วยกองทุน 1) tsp1-preserver 2) tsp2-nurturer 3) tsp3-balancer 4) tsp4-explorer 5) tsp5-gogetter
- รายการส่งเสริมการขายตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนต้องมีการตั้งแผนการลงทุน (โดยไม่รวมการซื้อเป็นครั้ง ๆ) และลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือน ในกองทุนเดียวกันของชุดกองทุนใน ttb smart port ทั้งนี้จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) และคำนวณเป็นรายกองทุน โดยนับเฉพาะยอดซื้อในกองทุน ttb smart port ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port
- Thanachart Fund Eastspring จะสรุปยอดเงินลงทุนที่เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน และจ่ายหน่วยลงทุนให้กับผู้ถือหน่วยที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เป็นกองทุน ttb smart port ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนอยู่ เมื่อลงทุนครบจำนวน 12 เดือน ตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) โดยจะเริ่มดำเนินการจ่าย 4 รอบ ได้แก่
- รอบที่ 1 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2565 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
- รอบที่ 2 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเดือนเมษายน - มิถุนายน 2565 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 สิงหาคม 2566
- รอบที่ 3 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนดือนกรกฎาคม - กันยายน 2565 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566
- รอบที่ 4 ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567
- (หากวันที่ทำการจ่ายหน่วยลงทุนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะดำเนินการจ่ายในวันทำการถัดไป)
- Thanachart Fund Eastspring ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วันทำรายการโอนหน่วยลงทุนพิเศษเพื่อซื้อกองทุนเพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลงของสมนาคุณที่มีมูลค่าเทียบเท่า และกำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยมิต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า และคำตัดสินของ Thanachart Fund Eastspring ไม่ว่าประเด็นใด ๆ ให้ถือเป็นที่สุด
คำเตือน:
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด / กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / สอบถามข้อมูล และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ttbทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 - 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
หมายเหตุ:
ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้นธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว