- เงินเดือนไม่พอใช้ ปัญหาใหญ่ของพนักงานเงินเดือน
- 4 เคล็ดลับ บริหารเงินให้พอใช้ตลอดทั้งเดือน
- ขาดสภาพคล่องทำอย่างไรดี ทีทีบี ช่วยได้
ปัญหาส่วนใหญ่ที่พนักงานเงินเดือนมักเจอ คือเงินเดือนไม่พอใช้จนถึงสิ้นเดือน หรือใช้เงินแบบเดือนชนเดือน ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และมีเงินสำรองฉุกเฉินไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดเป็นปัญหาการเงินระยะยาวได้ ทีทีบี อยากให้พนักงานเงินเดือนมีสุขภาพการเงินที่ดีทั้งวันนี้และอนาคต จึงมี 4 เคล็ดลับที่จะชุบชีวิตพนักงานเงินเดือน พลิกการใช้เงินแบบเดือนชนเดือนให้กลายเป็นเงินเก็บในบัญชี
4 เคล็ดลับ บริหารเงินให้พอใช้ตลอดทั้งเดือน
หากต้องการหยุดวงจรการใช้เงินแบบเดือนชนเดือน คุณเองก็สามารถทำได้ด้วย 4 เคล็ดลับบริหารเงิน ที่จะมาช่วยจัดระเบียบการเงินของคุณให้มั่นคงยิ่งขึ้น และเมื่อคุณทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัยได้แล้ว คุณก็จะพบสุขภาพการเงินที่ดี พร้อมทั้งมีเงินออมในบัญชีมากขึ้นอีกด้วย ที่สำคัญ 4 เคล็ดลับนี้ ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ถ้าพร้อมแล้วมาวางแผนไปด้วยกันเลย!
แบ่งสัดส่วนเงิน 50 – 20 – 30
เทคนิคการแบ่งเงิน 50 – 20 – 30 เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะสามารถทำได้ง่าย และช่วยให้จัดการเงินเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากการแบ่งเงินสุทธิหลังหักภาษีเป็น 3 ส่วน ดังนี้
50% สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
รายจ่ายที่ต้องเจอทุกเดือนของพนักงานเงินเดือน มักเป็นรายจ่ายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าอาหาร และสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแบ่งสัดส่วนเงินในส่วนนี้ให้มากกว่าส่วนอื่น
20% สำหรับการชำระหนี้สิน หรือแบ่งไปเป็นเงินออม หรือนำไปใช้เพื่อการลงทุน เงินในส่วนนี้จะเป็นเงินที่ใช้สำหรับการสร้างความมั่นคงในอนาคต โดยจะแบ่งไปใช้ในการชำระหนี้สินเพื่อลดภาระ หรือแบ่งไปเป็นเงินออมเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินก็ได้ หรือใครที่ชอบการลงทุน ก็สามารถนำเงินในส่วนนี้ไปต่อยอดให้งอกเงยได้เช่นกัน
30% สำหรับซื้อสิ่งของที่ต้องการ
เพื่อไม่ให้ชีวิตการเงินตึงมากเกินไป จึงจำเป็นต้องแบ่งเงินสำหรับซื้อของเพื่อเติมเต็มความสุขบ้าง แต่ควรจัดการไม่ให้ช้อปเพลินเกิน 30% ที่แบ่งไว้ หากในเดือนไหนเงินส่วนนี้เหลือใช้ ก็สามารถนำไปสมทบกับเดือนถัดไปเพื่อซื้อของชิ้นใหญ่ หรือจะนำไปเก็บเป็นเงินออมเพื่ออนาคตก็ได้
ตั้งเป้าหมายทางการเงิน
การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน จะช่วยให้คุณจัดการเงินที่มีได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าการตั้งเป้าหมายทางการเงิน คือการกำหนดว่าจะเก็บเงินก้อนให้ได้ภายในกี่ปี แต่ความจริงแล้วการตั้งเป้าหมายทางการเงินนั้น สามารถครอบคลุมได้มากกว่านั้น ซึ่งควรแบ่งเป้าหมายเป็น 3 อย่าง
1. เป้าหมายการออม: เงินออมสามารถแบ่งไปได้อีก 2 ประเภทคือ เงินออมฉุกเฉิน และเงินออมสำหรับใช้จ่าย หากคุณมีการวางแผนการเงินที่ดีก็สามารถมีเงินออมทั้ง 2 ประเภทได้พร้อม ๆ กัน แต่หากคุณยังเป็นมือใหม่ ก็ควรเริ่มต้นจากการออมอย่างเดียวก่อน และควรออมเท่าที่ไหว เพื่อให้สามารถทำได้อย่างยั่งยืน
2. เป้าหมายกำจัดหนี้: หากคุณมีหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยสูง คุณควรกำหนดเป้าหมายในการชำระหนี้สิน และควรกำหนดระยะเวลาที่ต้องการจะปิดหนี้ หรือลดภาระหนี้ด้วยการรวบหนี้ทั้งหลายที่ดอกเบี้ยสูงมาเป็นหนี้ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า เพื่อไม่ให้ยอดหนี้บานปลายนั่นเอง
3. เป้าหมายในการลงทุน: หลายคนมักละเลยในการวางแผนการเงินส่วนนี้ แต่การวางแผนลงทุนเพื่ออนาคตนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก นั่นเป็นเพราะเงินในส่วนนี้จะนำไปใช้ในวัยเกษียณนั่นเอง ดังนั้นจึงควรมองที่ผลตอบแทนระยะยาวเป็นหลัก การลงทุนในที่นี้จะเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ไม่ใช่การลงทุนเพื่อผลตอบแทนในปัจจุบัน ทุกคนจึงสามารถแบ่งเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ มาเพื่อลงทุนได้
สร้างสมดุลในการใช้จ่าย
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเงินไม่พอใช้ของพนักงานเงินเดือนนั้นมักมาจาก การขาดสมดุลในการใช้จ่าย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือการที่มีรายจ่ายมากกว่ารายรับนั่นเอง ซึ่งสามารถแก้ไขได้หากรู้จักหาจุดสมดุลในการใช้จ่ายของตนเอง โดยเริ่มจากการกำหนดเงินที่จะใช้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้รู้ถึงขอบเขตการใช้เงินของตัวเอง ควบคู่ไปกับการทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ที่จะทำให้คุณเห็นภาพรวมของการใช้เงินมากขึ้น เมื่อรู้ว่าหมดเงินส่วนใหญ่ไปกับอะไร ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
ปรับเปลี่ยนแผนการเงินอยู่เสมอ
แม้ว่าวิธีต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในทุกยุคสมัย แต่สิ่งที่ห้ามละเลยในการวางแผนการบริหารเงินนั่นคือ การปรับเปลี่ยนแผนการเงินอยู่เสมอ เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และเศรษฐกิจมีความผันผวนอยู่เสมอ เราจึงต้องปรับแผนการเงินเพื่อตอบรับทุกสถานการณ์ โดยอาจกำหนดระยะเวลาเป็นทุก 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน ตามความเหมาะสม เพื่อมาวิเคราะห์ และดูผลลัพธ์ว่าแผนการเงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ผลดีไหม ควรปรับปรุงอย่างไรบ้าง
หลายครั้งที่ความไม่แน่นอนของอนาคต ทำให้กระทบกับสภาพคล่องทางการเงิน จนอาจเกิดปัญหาหนี้สินเรื้อรังได้ เมื่อเจอปัญหาการเงินจนผ่อนชำระหนี้ต่อไปไม่ไหว ไม่ต้องกังวลไปเพราะ ทีทีบี พร้อมเคียงข้างพนักงานเงินเดือนให้ผ่านวิกฤตการเงินด้วย สินเชื่อสวัสดิการอเนกประสงค์ ทีทีบี ที่จะมาช่วยลดภาระ รวมหนี้ดอกเบี้ยสูงจากที่อื่นมาผ่อนสบาย ๆ แบบลดต้นลดดอก พร้อมอัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษ เริ่มต้น* 7.99% ต่อปี (CPR-10.010% ต่อปี) จากปกติ 25% ต่อปี ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกัน ได้เงินพร้อมใช้ในยามฉุกเฉิน สิทธิพิเศษสำหรับพนักงานที่รับเงินเดือนผ่านบัญชี ทีทีบี เท่านั้น รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก (รอเติมลิ้งค์)
*อัตราดอกเบี้ย CPR เป็นไปตามประกาศธนาคาร
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
ที่มา : https://www.indeed.com/career-advice/starting-new-job/50-20-30-rule
fintips by ttb – ตัวช่วยที่รู้ใจพนักงานเงินเดือน เพื่อชีวิตการเงินที่ดีขึ้นทั้งวันนี้และอนาคต