external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

รู้ลึกจับกระแสคอนซูมเมอร์ยุคดิจิทัล พิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย... พร้อมปรับยังไงให้รอด


จากงานสัมมนาออนไลน์ “รู้ลึกจับกระแสค้าปลีก พิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย...พร้อมปรับยังไงให้รอด” โดย finbiz by ttb สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคที่ผ่านมา พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรม ด้านข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค และด้านการเงิน การธนาคาร อย่าง คุณเสาวรัตน์ โอภาสยานนท์ จาก Head of Mother/ Child and Home Care Marketing บมจ. โอสถสภา คุณสมวลี ลิมป์รัชตามร อดีตกรรมการผู้จัดการ บจก. นีลเส็น (ประเทศไทย) และ คุณศมน คุ้มธรรมพินิจ จาก ทีทีบี ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์ จับประเด็นทิศทางอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค เทรนด์ผู้บริโภค และทิศทางโอกสในอนาคต


อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคแนวโน้มไปได้แน่...คาดขยายตัวได้ 5% ต่อปีในปีหน้า

จากข้อมูลของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี เผยว่าอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่สุดอันดับต้นของประเทศ คิดเป็น 17% ของ GDP ในประเทศไทย มูลค่าอยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาทต่อปี คาดว่าปีนี้จะขยายตัวเล็กน้อยได้อีก 2.5% และจะขยายตัวได้อีก 5.4% ต่อปี ในปีหน้า แม้ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปีนี้ยังคงไม่แน่นอน ทั้งนี้ปัจจัยบวกและลบสนับสนุนการเติบโต

ปัจจัยบวก ได้แก่

  • มาตรการกระตุ้นภาครัฐ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง
  • การส่งออกฟื้นตัว
  • รายได้เกษตรกรดี ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง
  • การฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากร > 70%ภายในปี 64

ปัจจัยลบ ได้แก่

  • การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  • การล็อคดาวน์ในไตรมาส 3/2564
  • ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัว


ทั้งนี้ GDP ภาคการค้าส่ง ค้าปลีก ยังเติบโตสูงกว่า GDP รวมประเทศ +5.4% ถือยังมีช่องว่างโอกาสให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้

ซึ่งคุณศมน คุ้มธรรมพินิจ ได้ให้มุมมองสำหรับโอกาสว่า การขยายช่องทางการขาย จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภค โดยเฉพาะช่องทางการขายออนไลน์ ที่สามารถทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง



3 เทรนด์หลักที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก และสินค้าอุปโภคในอนาคต

  1. การขยายตัวของเมือง ก่อให้เกิดตลาดในประเทศที่มีโอกาสเติบโตสูง หัวเมืองจังหวัดใหญ่ พื้นที่ EEC ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดน ตั้งอยู่ใน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กาญจนบุรี นราธิวาส หนองคาย นครพนม ตราด สงขลา ตาก สระแก้ว และมุกดาหาร
  2. ผสมผสานช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค Omni – Channel (online, offline) มีหลาย ๆ ช่องทางในการเปิดประตูรับเงินของผู้บริโภค การเข้าถึงเรา เราเข้าถึงผู้บริโภค รวมถึงช่องทาง social commerce ที่ผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกต้องตั้งรับให้ทัน
  3. ปรับใช้ Digital Ecosystem อย่างลงตัว E-Commerce E-Payment E-Transportation E-Inventory Management ซึ่ง SME ยุคใหม่ ควรเตรียมพร้อมการรับชำระเงินแบบไม่ต้องสัมผัสและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน

แค่รู้ใจผู้บริโภคก็ได้ใจไปกว่าครึ่ง… รู้จัก 10 พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

10 พฤติกรรมผู้บริโภคยุคโควิดที่เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ ทำความรู้จัก และเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

  1. ระมัด ระวังมากขึ้น ทุกที่ ตลอดเวลา ด้วยสถานการณ์โควิด ทำให้ผู้บริโภคมีการระมัดระวังตัวอยู่เสมอ
  2. การเลือกใช้พื้นที่หรือสถานที่เปิดมากขึ้น
  3. ให้คุณค่าพื้นที่ส่วนตัว
  4. จำกัดจุดสัมผัส ลดการสัมผัส เราจะพบการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วย หรือการจ่ายเงินแบบไร้การสัมผัส การจ่ายด้วย QR code เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
  5. ให้ค่าโลกเสมือนจริงกว่าโลกทางกายภาพ
  6. ใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เกิดจากการที่เมืองขยายตัว จึงเกิดเป็นชุมชนกลุ่มเล็กในอนาคตโดยทุก ๆ 800 เมตรถึง 1 กิโลเมตร เราสามารถเข้าถึงสถานที่สำคัญ ๆ ได้ อาจจะเป็น Vending machine หรือว่าห้างเล็ก ๆ ซึ่งเทรนด์ในช่วงที่ผ่านมาห้างใหญ่ ๆ ก็ไปเปิดในพื้นที่เล็ก ๆ มากขึ้น เรียกว่า small footprint อย่างธนาคารก็ไปเปิดตามที่เล็ก ๆ มากขึ้น เช่น สถานีรถไฟฟ้า พื้นที่ชุมชน
  7. อุดหนุนท้องถิ่น คนในท้องถิ่นจะอยากอุดหนุนของในท้องถิ่นตัวเอง อยากรู้เรื่องราว รู้จักสินค้าให้มากขึ้นกว่าเดิม ส่วนผู้ขาย ก็จะมีการพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้นกว่าเดิม ให้ทันสมัย สะดวก เข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น จุดนี้จะเป็นโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมเชิงสินค้า และบริการได้
  8. วางแผน และควบคุมทางการเงิน ผู้บริโภคจะวางแผนการใช้เงิน ระมัด ระวังมากขึ้น
  9. ความถูกต้องของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ
  10. ส่งผลต่อความต้องการสินค้าจำเป็น ซึ่งพบว่าความต้องการของผู้บริโภคมีแนวโน้มของความต้องการเชิงอารมณ์มากขึ้นด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องของความจำเป็นเชิงกายภาพ ความคุ้มค่าเกี่ยวกับความรู้สึกด้วย เพราะฉะนั้นเราต้องทำความเข้าใจผู้บริโภคของเราว่าอะไรคือความต้องการทั้งทางกายภาพ และความรู้สึก


อ่านเกมส์ให้ออก..ปรับตัวให้ทัน กับการเปลี่ยนแปลงแบบ New Normal

ในส่วนมุมมองของ คุณเสาวรัตน์ โอภาสยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญในตลาดสินค้าอุปโภค ที่อยู่ในตลาดมานาน ได้แชร์กระแสโลก แนะ 6 เทรนด์ใหญ่ที่น่าจับตามองสำหรับการตลาดและโลกแห่งการค้าปลีก ที่จะเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอุปโภค หลังยุค New normal ที่จะนำไปสู่ความต้องการของผู้บริโภคในรูปแบบใหม่ครั้งใหญ่

  1. Tech driven world โลกจะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้บริโภค
  2. Environmental awareness โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้มาก ผู้ประกอบการจะต้องดูว่าเราตอบโจทย์เหล่านี้แล้วหรือยัง เช่น การใช้ถุงเติม, eco packaging ซึ่งเห็นชัดว่าบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมีความต้องการเติบโตเฉลี่ย +25% ต่อปี
  3. Aging society ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คนจะมีลูกน้อยลง การใช้สินค้าลดลง แต่จะเปลี่ยนจากการใช้สินค้าน้อยลง ด้วยผู้สูงอายุที่กำลังซื้อสูง เริ่มมีเวลาว่างมากขึ้น เน้นการแสวงหาคุณภาพชีวิต เสาะหาการหาความสุข หันไปสู่สินค้าที่แพงมากขึ้น เราจะต้องปรับเปลี่ยนสินค้าให้ตรงกับความต้องการ
  4. Natural / herbal and mild การเติบโตของเทรนด์สินค้าออแกนิค สมุนไพร อ่อนโยน เติบโตสูงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิด เช่น ความนิยมของการหันมาใช้สมุนไพร เป็นส่วนผสมหลัก หรืออย่างกัญชง กัญชา
  5. Hygiene and health เป็นอีกหนึ่ง segment ที่เติบโตสูง ด้วยกระแสโควิด และ PM 2.5 หากเราสามารถจับกระแสส่วนนี้ ก็จะช่วยในการเติบโตได้
  6. Online shopping โควิดทำให้การซื้อของออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด เราเริ่มเห็นสินค้า บริการที่เป็นรูปแบบออนไลน์ 100% เพิ่มสูงมากขึ้น อย่าง การสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านออนไลน์แพลตฟอร์ม อย่าง Grab, Line Man ธุรกิจใหม่ ๆ เหล่านี้ ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง


เตรียมพัฒนานวัตกรรมให้พร้อม พิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย

และจากมุมมองของคุณสมวลี ผู้คร่ำหวอดในวงการการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แนะหมวดหมู่สินค้าที่จะเติบโตต่อเนื่อง ผู้ประกอบการต้องเตรียมพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการให้พร้อมปรับให้ทัน พร้อมนำเสนอสินค้าที่ตรงความต้องการเพื่อพิชิตใจกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคยุคใหม่

  1. หมวดหมู่สินค้าที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยกระแสการรักสุขภาพที่เพิ่มสูงมากขึ้น
  2. หมวดหมู่สินค้าตอบเรื่องความสะดวก เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้การรับประทานสะดวกขึ้น, การเพิ่มจุดขายที่สะดวกสบาย, การเพิ่มช่องทางการขายอย่าง omni channel เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย
  3. หมวดหมู่สินค้าที่มี shelf life ยาวขึ้น สามารถรักษาอายุของสินค้าได้นานขึ้น เพราะคนใส่ใจเรื่องสุขภาพ และผู้บริโภคยุคโควิด รู้สึกว่า ความไม่แน่นอนสูง คนจะดูว่ามันจะสามารถเก็บได้นานแค่ไหน


5 เทคนิค วิเคราะห์ คาดการณ์ความต้องการผู้บริโภค



ไม่เพียงรู้เท่าทันเทรนด์เท่านั้น คุณศมน ได้เสริมถึงเครื่องมือที่จัดว่าเป็นผู้ช่วยให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอุปโภค สามารถปรับธุรกิจให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการดูแลพนักงานซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำเนินธุรกิจ

  • บริการจ่ายเงินเดือน และดูแลสวัสดิการพนักงาน ทีทีบี เพย์โรลพลัส (ttb payroll plus) เลือกดูแลพนักงานได้มากกว่า ด้วยบริการเสริมพิเศษ 4 พลัส ที่ช่วยทั้งในด้านประโยชน์ของพนักงาน การทำประกันกลุ่ม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และยังมีระบบ บริหารจัดการ งานบุคคลแบบดิจิทัล (Digital HRM) ที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ทั้งในองค์กรและพนักงาน และยังเป็นการทำงานผ่านระบบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • กลุ่มบริการ Digital Collections เพื่อให้ SME ยุคใหม่ เตรียมพร้อมการรับชำระเงินแบบไม่ต้องสัมผัส วิธีการจ่ายเงินที่ช่วยให้ลูกค้ามีทางเลือกในการชำระเงินได้หลากหลาย สะดวก รวดเร็ว ลดการสัมผัสที่อาจเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อโรค และยังช่วยให้ผู้ประกอบการรับชำระเงินได้ สะดวก รวดเร็ว บริหารเงินที่รับมาแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ทีทีบี ยังมุ่งมั่นที่จะเป็นธนาคารพันธมิตร ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เอสเอ็มอีประสบความสำเร็จ ด้วยโซลูชันและบริการที่ครบครันที่ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ เพื่อช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานในแง่มุมต่าง ๆ ประกอบไปด้วย เป็นแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม มีดิจิทัลโซลูชันยกระดับประสิทธิภาพ มีระบบดูแลพนักงานเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดูแลพนักงานได้อย่างครบครัน และการเสริมความรู้ เสริมศักยภาพของผู้ประกอบการให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ทีทีบีพร้อมเป็นทั้งพันธมิตรและผู้ให้คำปรึกษาทางการเงินที่จะทำให้ผู้ประกอบการเติบโตในธุรกิจไปด้วยกัน




เครดิต:   งานสัมมนาออนไลน์รู้ลึกจับกระแสคอนซูมเมอร์ยุคดิจิทัล พิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย... พร้อมปรับยังไงให้รอด

โดย

คุณเสาวรัตน์ โอภาสยานนท์ จาก Head of Mother/ Child and Home Care Marketing บมจ. โอสถสภา

คุณสมวลี ลิมป์รัชตามร อดีตกรรมการผู้จัดการ บจก. เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย)

คุณศมน คุ้มธรรมพินิจ จาก ทีทีบี