- บัญชีเงินฝาก เป็นบัญชีพื้นฐานที่ทุกคนน่าจะใช้งานกันด้วยความคุ้นเคยเป็นอย่างดี
- ร่วมสำรวจไปด้วยกันว่ายังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องบัญชีเงินฝากเรื่องไหนกันอยู่บ้าง
- เช็กแล้วรีบเปลี่ยน หากยังเชื่อแบบเดิม…เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตทางการเงินดีขึ้น
“บัญชีเงินฝาก” นับเป็นบัญชีพื้นฐานที่ทุกคนน่าจะเคยใช้งานกันในชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังมีความเชื่อ และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องบัญชีเงินฝากที่ไม่ถูกต้อง
วันนี้เรามาดู และเช็กไปพร้อม ๆ กันว่ามีเรื่องใดบ้างที่เราเข้าใจผิดมาตลอดเกี่ยวกับบัญชีเงินฝาก เพื่อจะได้รีบปรับเปลี่ยนความเข้าใจ พฤติกรรม และวางแผนการเงินให้ดียิ่งขึ้น
ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับบัญชีเงินฝาก
1. สมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดาหายต้องไปทำใหม่ที่สาขาที่เปิดบัญชี
ไม่จริง สามารถขอออกสมุดบัญชีเงินฝากใหม่ พร้อมแจ้งอายัดสมุดบัญชีเงินฝากเล่มเดิมที่สูญหาย
ได้ทุกสาขา เพียงนำบัตรประชาชนมาติดต่อที่สาขาธนาคาร พร้อมชำระค่าธรรมเนียมขอออกสมุดใหม่
(ค่าธรรมเนียมตามประกาศธนาคาร)
2. บัญชีเงินฝากแบบไหน ก็ใช้ทำธุรกรรมได้เหมือนกัน
ไม่เหมือนกัน หากเลือกใช้บัญชีที่ฟรีค่าธรรมเนียม เช่น ทำธุรกรรมการเงิน ถอน โอน หรือจ่ายค่าอุปโภค บริโภค
อย่างน้อย ๆ ใน 1 ปี จะเทียบเท่ากับได้ดื่มกาแฟในราคาแก้วละ 100 บาทฟรี ประมาณเดือนละ 2 แก้ว
3. ฝากออมทรัพย์ ดอกเบี้ยที่ได้ ยังไงก็ไม่ต้องเสียภาษี
ไม่จริง ธนาคารหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของจำนวนดอกเบี้ยที่ได้รับ หากดอกเบี้ยที่ได้รับรวมทุกบัญชี ทุกธนาคาร เกิน 20,000 บาท/ปี ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
4. บัญชีเงินฝากที่ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุ จะได้ค่ารักษาด้วย
ไม่จริงเสมอไป บัญชีเงินฝากส่วนใหญ่ให้วงเงินความคุ้มครองอุบัติเหตุในลักษณะชดเชยเงินเป็นจำนวนเท่าของเงินในบัญชี เมื่อเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพ จึงจะได้เงินความคุ้มครอง แต่ไม่ได้รวมความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาล ยกเว้นบางบัญชีอย่างเช่น บัญชี ทีทีบี ออลล์ฟรี ที่นอกจากให้ฟรีค่าธรรมเนียมการใช้ธุรกรรม แล้วยังให้ฟรีค่ารักษา และความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุอีกด้วย
บัญชี ทีทีบี ออลล์ฟรี ให้ฟรี ทั้ง เบิกค่ารักษาจากอุบัติเหตุ สูงสุด 3,000 บาท ต่อครั้งต่ออุบัติเหตุ แบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง พร้อมดูแลค่ารักษาพยาบาล โดยไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงโชว์บัตร E-Care Card กับสถานพยาบาลที่เข้ารักษา และมีวงเงินความคุ้มครองชีวิตให้ 20 เท่าของจำนวนเงินฝากคงเหลือในบัญชี สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท ไว้เป็นหลักประกันให้คนข้างหลัง เพียงคงเงินฝากไว้ในบัญชี ออลล์ฟรี ไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ตั้งแต่ วันที่ 1 - สิ้นเดือน ก็ได้ฟรี ความคุ้มครองจากอุบัติเหตุ คงเงินฝากไว้ต่อเนื่องทุกเดือน ได้ฟรีทุกเดือน ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารฯกำหนด
5. “ผู้ประกอบการ” ใช้บัญชีเดียว ทั้งร้าน ทั้งตัวเอง ได้กำไรค่อยแบ่งเก็บ
การรวมบัญชีใช้จ่ายส่วนตัวกับบัญชีร้านค้าเข้าด้วยกันทำให้สับสน และบริหารจัดการเงินได้ยากกว่าเดิม
สิ่งที่ควรทำสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจค้าขาย หรือผู้ประกอบการ
- แยกบัญชีรายรับ-รายจ่ายของส่วนตัว และร้านค้าให้ชัดเจน
- ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ติดตามการใช้จ่ายของตัวเอง
- ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของร้าน เพื่อไม่ให้เราสับสนในการคำนวณค่าใช้จ่าย ง่ายต่อการคำนวณต้นทุนกำไร รู้ว่าเมื่อไหร่ที่กำลังจะขาดทุน และหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที
- แบ่งกำไรจากร้านค้ามาออม โดยอาจจะเริ่มออมจากเงินสำรองฉุกเฉินสัก 6 เดือน และทยอยแบ่งออม พร้อมลงทุนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวเพื่อความมั่นคงทางการเงินมากยิ่งขึ้น
บัญชีเงินฝากที่ทุกคนใช้งานกันเป็นประจำ หากได้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้งานตาม 5 ข้อด้านบน
จะช่วยให้จัดการด้านการเงินในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น และยังช่วยให้ได้รับประโยชน์จากการใช้บัญชีเงินฝากอีกด้วย