external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

รู้ทันสภาพคล่องทางการเงิน เช็กตัวเองง่าย ใช้จ่ายไม่มีสะดุด

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #สภาพคล่องทางการเงิน #บัตรกดเงินสด #บัตรกดเงินสดทีทีบีแฟลช #ttbflash
3 ต.ค. 2567

คุณเคยรู้สึกว่าเงินในบัญชีไม่พอใช้ หรือต้องเบิกเงินจากบัตรเครดิตบ่อย ๆ ไหม? นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน โดยไม่รู้ตัว! วันนี้เรามาทำความรู้จักกับสภาพคล่องให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้คุณสามารถจัดการการเงินได้ดีขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง ในเวลาที่ต้องการใช้เงินอย่างเร่งด่วน ไปเรียนรู้พร้อมกันเลย


สภาพคล่องทางการเงิน คืออะไร

สภาพคล่องทางการเงิน หรือ liquidity คือความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่สูญเสียมูลค่า เพื่อนำไปใช้จ่ายหรือชำระหนี้สินระยะสั้น ง่าย ๆ คือเรามีเงินพร้อมใช้ในยามจำเป็นนั่นเอง ในทางกลับกัน หากเรามีสินทรัพย์ที่ยากต่อการเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือมีหนี้สินที่สูงเกินไป ก็อาจทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องได้ ซึ่งส่งผลให้เราไม่สามารถจัดการบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ควรมีสภาพคล่องทางการเงินเท่าไร

การมีสภาพคล่องทางการเงินที่เหมาะสม หมายถึงการมีเงินสดหรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยทั่วไปในสถานการณ์ปกติ แนะนำว่าควรมีเงินสดสำรองหรือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 3-6 เดือน เช่น หากเรามีค่าใช้จ่ายเดือนละ 30,000 บาท ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินประมาณ 90,000-180,000 บาท ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะสามารถหยิบเงินตรงนี้มาใช้ได้

เพราะการมีสภาพคล่องทางการเงินที่เพียงพอจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ เช่น การซ่อมแซมบ้าน ค่ารักษาพยาบาล หรือการสูญเสียรายได้ชั่วคราว โดยไม่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก ๆ นั่นเอง

ทั้งนี้ในกรณีที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน หาทางออกไม่เจอ อย่าเพิ่งมองหาการเงินกู้นอกระบบ เพราะสามารถสมัครขอสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสดทีทีบี แฟลช ตัวช่วยคุณในยามฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเห็นอันไม่คาดฝัน หรือเรื่องสำคัญในชีวิต สินเชื่อบุคคลจากทีทีบีก็พร้อมเป็นตัวช่วยให้คุณ เพราะมีบริการเบิกถอนเงินสดได้ตลอด 24 ชม. ผ่านทั้งตู้ ATM และแอปพลิเคชัน ttb touch ได้ ง่าย ๆ ไม่มีค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสด ค่าแรกเข้าและรายปี จะเกิดเรื่องฉุกเฉินตอนไหนก็ไม่มีสะดุด เพราะสมัครง่าย อนุมัติไว ทั้งนี้ควรกู้เท่ากู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว ดอกเบี้ย 18% - 25% ต่อปี

ขาดสภาพคล่องทางการเงิน


หากขาดสภาพคล่องทางการเงินจะเกิดอะไรขึ้น

การขาดสภาพคล่องอาจนำไปสู่ปัญหาทางการเงิน เช่น

  • ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตรงเวลา ส่งผลต่อเครดิตบูโร
  • ต้องกู้ยืมเงินด่วนที่มีดอกเบี้ยสูง
  • ขาดโอกาสในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดี
  • เกิดความเครียดและกระทบต่อคุณภาพชีวิต


สัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังขาดสภาพคล่อง

  • ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตรงเวลา เช่น ค่าบัตรเครดิต ค่าผ่อนบ้าน หรือค่าผ่อนรถยนต์ เป็นต้น
  • ไม่มีเงินออม หรือต้องถอนเงินออมบ่อย ๆ
  • รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย
  • ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน
  • ต้องขายสินทรัพย์เพื่อนำเงินมาใช้จ่าย


วิธีเช็กสภาพคล่องทางการเงิน

การรู้จักเช็กสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองเป็นประจำ จะช่วยให้เราวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันปัญหาการขาดสภาพคล่องในอนาคต มาดูวิธีเช็กกันเลย!

1. เช็กรายรับ-รายจ่าย

เริ่มจากการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างละเอียด อาจใช้แอปพลิเคชันช่วยบันทึก หรือจดลงสมุดก็ได้ สิ่งสำคัญคือต้องทำอย่างสม่ำเสมอและครบถ้วน

2. ตรวจสอบงบดุลส่วนบุคคล

จัดทำงบดุลส่วนตัว โดยรวบรวมข้อมูลสินทรัพย์ เช่น เงินสด เงินฝาก การลงทุน และหนี้สินทั้งหมด เพื่อดูฐานะทางการเงินโดยรวม ซึ่งจะจะช่วยให้เรารู้ว่าสภาพคล่องของเราอยู่ในระดับไหน

3. คำนวณอัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)

อัตราส่วนสภาพคล่อง เป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของเรา การคำนวณนี้สามารถทำได้โดยการนำสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ เช่น เงินสดในบัญชีธนาคาร หารด้วยหนี้สินระยะสั้นที่เรามี

Liquidity Ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน

ตัวอย่าง : หากเรามีเงินสดและเงินฝาก 100,000 บาท และมีหนี้บัตรเครดิต 20,000 บาท Liquidity Ratio = 100,000 / 20,000 = 5

ค่าที่ได้ควรมากกว่า 1 ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงว่าเรามีสภาพคล่องที่ดี และสามารถชำระหนี้ระยะสั้นได้

4. คำนวณอัตราส่วนการออม (Savings Ratio)

อัตราส่วนการออม เป็นตัวชี้วัดว่าเราสามารถออมเงินได้มากน้อยแค่ไหนจากรายได้ของเรา การคำนวณนี้สามารถทำได้โดยการนำจำนวนเงินออมที่เราเก็บไว้ในแต่ละเดือน หารด้วยรายได้รวมของเรา

อัตราส่วนการออม = (รายได้ - ค่าใช้จ่าย) / รายได้ x 100

ตัวอย่าง : หากเรามีรายได้ 50,000 บาท และค่าใช้จ่าย 40,000 บาท อัตราส่วนการออม = (50,000 - 40,000) / 50,000 x 100 = 20%

หากอัตราส่วนนี้อยู่ที่ 20% ขึ้นไป ถือว่าเรามีการออมที่ดี โดยปกติแล้ว อัตราส่วนการออมควรอยู่ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 10% ซึ่งจะเป็นการตัวบ่งลอกได้ว่าเราสามารถจัดการและบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สภาพคล่องทางการเงิน


สรุปเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน

การรักษาสภาพคล่องทางการเงินให้ดีเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางการเงิน ไม่ว่าเราจะอยู่ในช่วงไหนของชีวิต การเช็กสภาพคล่องอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เรารู้สถานะทางการเงินของตัวเอง และสามารถวางแผนป้องกันปัญหาการขาดสภาพคล่องได้ทันท่วงที

หากคุณกำลังประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ทีทีบี มีสินเชื่อทางการเงินที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้คุณมีเงินสำรองสำหรับใช้จ่ายในเวลาที่จำเป็น อย่างสินเชื่อบุคคล กู้เงินไปใช้ในสถานการณ์ด่วน หรือเร่งรีบได้ ในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม และยังสามารถเลือกผ่อนจ่ายได้แบบเท่ากันทุกเดือนได้ ลดภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้เบาลง เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้คุณได้แน่นอน

การรักษาสภาพคล่องที่ดีไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เริ่มต้นวางแผนและติดตามสถานะทางการเงินอย่างสม่ำเสมอเท่านี้คุณก็จะสามารถสร้างความมั่นคงทางการเงินและพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ได้อย่างมั่นใจ

***ควรกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี