- บัตรเครดิตคืออะไร ทำไมควรสมัคร ?
- บัตรเครดิตมีประเภทไหนบ้าง แบบไหนที่เหมาะกับคุณ ?
- ประโยชน์และข้อดีของการมีบัตรเครดิต
- บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดแตกต่างกันอย่างไร ?
- การสมัครบัตรเครดิตที่มือใหม่ต้องรู้!
- วิธีคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต
- ข้อควรระวังในการใช้งานบัตรเครดิต
- บัตรเครดิต ttb so chill และ ttb so fast ตัวช่วยทางการเงินสำหรับคนรุ่นใหม่
ในปัจจุบัน สังคมของเรากำลังก้าวเข้าสู่ Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสด ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป จากที่เคยพกเงินสดเพื่อใช้จ่ายก็กลายเป็นพกบัตรเครดิตแทน แต่สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยใช้งานบัตรเครดิตมาก่อนคงจะมีคำถามมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิตคืออะไร วงเงินเครดิตคืออะไร ทำไมเราต้องสมัครบัตรเครดิต และวิธีใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาดมีอะไรบ้าง?
ในบทความนี้ เราจะพามาทำความรู้จักกับบัตรเครดิต และแนะนำข้อมูลเบื้องต้นในการใช้งาน เพื่อให้มือใหม่ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับบัตรเครดิตเข้าใจ และสามารถใช้บัตรเครดิตได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย ห่างไกลหนี้เกินตัว
บัตรเครดิตคืออะไร ทำไมควรสมัคร?
บัตรเครดิต คือ เครื่องมือทางการเงินที่ออกโดยธนาคารหรือสถาบันการเงิน เมื่อใช้บัตรเครดิต ผู้ถือบัตรสามารถใช้จ่ายสินค้าและบริการแทนเงินสด โดยธนาคารจะเป็นผู้จ่ายเงินให้ร้านค้าก่อน หลังจากนั้นธนาคารจะเรียกเก็บเงินจากผู้ถือบัตรในภายหลัง ถ้าผู้ถือบัตรเครดิตจ่ายบัตรเครดิตช้ากว่า 50 วันนับจากวันแรกของรอบบัญชีไปจนถึงวันกำหนดชำระเงินจะต้องเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิต จึงเหมาะสำหรับการใช้จ่ายทั่วไปที่ต้องการผ่อนชำระ เช่น การซื้อสินค้าราคาแพงอย่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สำหรับทำงาน โดยบัตรเครดิตและเครดิตการ์ดคือสิ่งเดียวกันนั่นเอง
หลายคนอาจจะสับสนว่า ความแตกต่างของบัตรเดบิตและบัตรเครดิตคืออะไร? บัตรเดบิตเป็นบัตรที่เชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารของผู้ถือบัตร เมื่อทำการซื้อสินค้าหรือบริการ เงินจะถูกหักออกจากบัญชีทันที ทำให้ไม่สามารถใช้จ่ายเงินที่เกินกว่ายอดเงินในบัญชีได้
ในขณะที่บัตรเครดิตคือการยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ผู้ถือบัตรต้องชำระเงินคืนในภายหลัง จึงสามารถใช้ซื้อสินค้าหรือบริการได้ตามวงเงินที่กำหนด โดยวงเงินในบัตรเครดิตคือจำนวนเงินสูงสุดที่ผู้ถือบัตรสามารถยืมใช้จ่ายได้ ซึ่งถูกกำหนดขึ้นตามประวัติเครดิต รายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ถือบัตร
ประเภทของบัตรเครดิตมีอะไรบ้าง แบบไหนที่เหมาะกับคุณ?
International Credit Card สำหรับใช้งานทั่วโลก
สำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อย ๆ หรือมีความจำเป็นต้องซื้อของจากเว็บไซต์ต่างประเทศคงสงสัยว่าบัตรเครดิตใช้ต่างประเทศได้ไหม? บัตรเครดิตสามารถนำไปใช้งานที่ต่างประเทศได้ แต่ต้องเลือกใช้งาน International Credit Card ซึ่งใช้งานได้ทั่วโลกและสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายในสกุลเงินที่คุณสะดวกได้ อย่างไรก็ตาม ควรระวังค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน และค่าธรรมเนียมรายปีที่สูงกว่าบัตรเครดิตประเภทอื่น ๆ
Local Credit Card สำหรับใช้งานในประเทศ
สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายและไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายในต่างประเทศ ควรทำบัตรเครดิตประเภท Local Credit Card เนื่องจากเหมาะกับการใช้งานได้ภายในประเทศ บัตรประเภทนี้จะออกโดยสถาบันการเงินหรือธนาคารในประเทศไทย จึงมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันตามธนาคาร และมักจะไม่มีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน อีกทั้งมีค่าธรรมเนียมรายปีที่ต่ำกว่า International Credit Card โดยผู้ถือบัตรมักจะได้รับโปรโมชันบัตรเครดิตและส่วนลดกับร้านค้าในประเทศ
Private Label Card สำหรับลูกค้าประจำของแบรนด์
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบและเป็นลูกค้าประจำของแบรนด์ต่าง ๆ สามารถเลือกใช้งานบัตร Private Label Card หรือบัตรเครดิตเฉพาะกิจ เป็นบัตรเครดิตที่ออกโดยห้างสรรพสินค้า ร้านค้า หรือกลุ่มธุรกิจเฉพาะ จุดเด่น ของบัตรประเภทนี้คือ มีโปรโมชันและส่วนลดพิเศษสำหรับสินค้าหรือบริการของร้านค้าในเครือ เช่น บัตรเครดิตสะสมคะแนนเพื่อแลกเป็นส่วนลดหรือสินค้าฟรีภายในร้านค้าอย่างการใช้บัตรเครดิตเติมน้ำมันนั่นเอง
Cashback Credit Card หรือบัตรเครดิตเงินคืน
Cashback Credit Card หรือบัตรเครดิตเงินคืนที่มอบโอกาสให้ผู้ถือบัตรได้รับเงินคืนบางส่วนจากยอดซื้อที่ทำในแต่ละรายการ โดยมักจะกำหนดเป็นร้อยละของยอดซื้อหรือจำนวนเงินที่กำหนดไว้ เช่น 1% หรือ 2% เป็นต้น การรับเงินคืนนี้มักจะเป็นเงินที่จ่ายกลับในบัญชี หรือจะนำมาใช้หักจากบิลค่าใช้จ่ายต่อไปได้ตามกฎระเบียบของแต่ละธนาคารหรือผู้ออกบัตรเครดิต
Corporate Executive Card หรือบัตรเครดิตนิติบุคคล
สำหรับธุรกิจที่ต้องการสมัครบัตรเครดิตก็อาจลองทำความรู้จักกับบัตรเครดิต นิติบุคคล โดยบัตรเครดิตนิติบุคคล คือ บัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารหรือสถาบันการเงินให้กับองค์กรธุรกิจหรือบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการการเงินและการใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครบัตรเครดิตประเภทนี้จะต้องจดทะเบียนนิติบุคคลอย่างถูกต้อง มีสถานประกอบการที่แน่นอน รวมถึงมีเอกสารแสดงรายได้ของบริษัท
Main Card หรือบัตรหลัก
นอกจากบัตรเครดิตข้างต้นแล้ว หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า บัตรหลัก บัตรเสริม โดยบัตรหลัก คือบัตรที่ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินออกให้กับผู้ที่สมัครบัตร โดยผู้สมัครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อยอดใช้จ่ายทั้งหมด ที่เกิดขึ้นกับบัตร และมีสิทธิ์สมัครบัตรเสริม ให้กับคนอื่นด้วย เช่น สมาชิกในครอบครัว
Supplementary Cards หรือบัตรเสริม
บัตรเสริม คือบัตรเครดิตที่ผูกกับบัตรหลัก โดยออกให้กับคนอื่น ๆ มีวงเงินใช้จ่ายภายในวงเงินของผู้ถือบัตรหลัก กำหนดโดยผู้ถือบัตรหลัก ผู้ใช้บัตรเสริมสามารถใช้จ่ายสินค้าและบริการ ชำระค่าธรรมเนียม และสะสมคะแนนได้เช่นเดียวกับบัตรหลัก แต่ผู้ถือบัตรหลักจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อยอดใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับบัตรเสริม
เครือข่ายบัตรเครดิตมีอะไรบ้าง?
เครือข่ายบัตรเครดิต หรือตัวแทนบัตรเครดิต เปรียบเสมือนตัวกลางระหว่างธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ออกบัตรกับผู้ใช้บัตรเครดิต โดยบริษัทต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนบัตรเครดิตจะมีบทบาทในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้บัตรกับร้านค้า ได้แก่
- Visa : บัตรเครดิต Visa คือบัตรของผู้ให้บริการเครือข่ายจากสหรัฐอเมริกาที่รองรับการใช้งานทั่วโลก และมีความนิยมอันดับต้น ๆ ใช้งานได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- Mastercard : บัตรเครดิต Mastercard คือบัตรของผู้ให้บริการเครือข่ายจากสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน สามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการทั่วโลก ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก Visa มีโปรโมชันและสิทธิพิเศษในการใช้บริการต่าง ๆ เช่น บริการห้องรับรองในสนามบิน เป็นต้น
- JCB (Japan Credit Bureau) : บัตรเครดิตที่มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น มีความนิยมในภูมิภาคเอเชีย เหมาะสำหรับใช้จ่ายไปกับแบรนด์ญี่ปุ่นเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นหรือเสื้อผ้าแบรนด์ญี่ปุ่น
- American Express (Amex) : ผู้ให้บริการเครือข่ายที่เน้นกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมียม ให้ความสำคัญกับบริการและสิทธิพิเศษ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่หรูหรา เหนือระดับ โดยมีโปรโมชันและสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
- UnionPay (CUP) : บัตรเครดิตของผู้ให้บริการเครือข่ายจากประเทศจีน มีลูกค้าหลายล้านคนในประเทศจีนและทั่วโลก นับเป็นตัวแทนบัตรเครดิตที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
รวมประโยชน์ของบัตรเครดิต
หลังจากที่เราได้รู้จักว่าบัตร Visa และบัตร Mastercard คืออะไรกันไปแล้ว สิ่งต่อไปที่มือใหม่ควรรู้ก็คือ ประโยชน์และข้อดีต่าง ๆ ของบัตรเครดิต ยกตัวอย่างได้แก่
- สะดวกสบายในการใช้จ่าย : หนึ่งในข้อดีของบัตรเครดิตคือ ไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากในการซื้อสินค้าหรือบริการ สามารถใช้ชำระเงินออนไลน์ได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้การใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างสะดวกสบาย
- ปลอดภัยกว่าการใช้เงินสด : การซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิตมีการคุ้มครองผู้บริโภค หากเกิดกรณีสินค้าชำรุดหรือไม่ได้รับสินค้า นอกจากนี้ บัตรเครดิตมักมีระบบรักษาความปลอดภัยที่สูง เช่น OTP (One-Time Password) หรือการตรวจสอบผ่าน SMS เพื่อป้องกันการทุจริต เป็นต้น
- จัดการการเงินได้อย่างยืดหยุ่น : สามารถผ่อนชำระยอดเงินได้ในภายหลัง ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการการเงินได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมผ่อนชำระที่ดอกเบี้ยต่ำหรือไม่มีดอกเบี้ยเลยในบางกรณี
- สะสมคะแนนและรับสิทธิประโยชน์ : หลายบัตรเครดิตมีโปรแกรมสะสมคะแนนหรือเงินคืน ซึ่งสามารถนำไปแลกของรางวัลหรือส่วนลดในการซื้อสินค้าและบริการได้ บางบัตรยังมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เช่น ส่วนลดร้านอาหาร ส่วนลดโรงแรม และประกันการเดินทาง
- สร้างเครดิต : การชำระหนี้บัตรเครดิตตรงเวลาทุกเดือนช่วยสร้างประวัติการชำระหนี้ที่ดี ซึ่งส่งผลดีต่อคะแนนเครดิต เพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อในอนาคต โดยสินเชื่อบัตรเครดิตคือเงินกู้ที่ออกโดยสถาบันการเงินหรือธนาคารให้กับผู้ถือบัตรเครดิต โดยสามารถใช้วงเงินในบัตรเครดิตเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการและชำระเงินคืนในภายหลังในอนาคต
บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดแตกต่างกันอย่างไร?
บัตรเครดิต คือ บัตรที่เน้นการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการโดยไม่ต้องจ่ายเงินสดทันที สามารถสะสมคะแนนหรือรับสิทธิพิเศษจากการใช้จ่าย เช่น เงินคืน หรือส่วนลดต่าง ๆ โดยมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย ซึ่งผู้ถือบัตรสามารถชำระเงินคืนเต็มจำนวนภายในระยะเวลานั้นโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย นอกจากนี้ บัตรเครดิตกดเงินสดได้โดยที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าบัตรกดเงินสด แต่อาจมีค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสดล่วงหน้าที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินที่เบิก
ในขณะที่บัตรกดเงินสดเน้นการเบิกเงินสดเป็นหลักโดยไม่มีค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสดเพิ่มเติม แต่ดอกเบี้ยจะเริ่มคิดทันทีเมื่อมีการเบิกเงินสด และไม่มีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย อีกทั้งยังไม่มีการสะสมคะแนนจากการใช้งานนั่นเอง
รวมทุกเรื่องของการสมัครบัตรเครดิตที่มือใหม่ต้องรู้!
บัตรเครดิต คือกุญแจสู่โลกแห่งความสะดวกสบาย เต็มไปด้วยโปรโมชัน สิทธิประโยชน์ และความคุ้มค่า แต่ก่อนที่จะสมัครบัตรเครดิตจะต้องมีคุณสมบัติครบตามที่กำหนด และเตรียมเอกสารให้ครบก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้
คุณสมบัติของผู้สมัครบัตรเครดิต
- มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และบางธนาคารอาจกำหนดอายุสูงสุดที่ 60-65 ปี
- รายได้ขั้นต่ำสำหรับบัตรเครดิตทั่วไปอยู่ที่ 15,000-20,000 บาทต่อเดือน โดยเงินเดือนจะเป็นตัวกำหนดวงเงินบัตรเครดิต ซึ่งก็คือ วงเงินสูงสุดที่สามารถใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตทั้งหมด ที่ถืออยู่ โดยรวมทั้งบัตรหลักและบัตรเสริม ตัวอย่างวงเงินบัตรเครดิตคร่าว ๆ ตามรายได้ เช่น
- รายได้ต่อเดือน 15,000 บาท ถึง 30,000 บาท วงเงินอนุมัติ 1.5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
- รายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 30,000 บาท ถึง 50,000 บาท วงเงินอนุมัติ 3 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
- รายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป วงเงินอนุมัติ 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
- ผู้สมัครจะต้องมีงานทำอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับธนาคาร
- มีถิ่นที่อยู่ถาวร
- ไม่มีประวัติเครดิตเสีย
ขั้นตอนการสมัครบัตรเครดิต
- เลือกบัตรเครดิตที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์และการใช้จ่ายของคุณ โดยเปรียบเทียบบัตรเครดิตจากโปรโมชัน สิทธิประโยชน์ และค่าธรรมเนียมจากธนาคารต่าง ๆ ให้เรียบร้อย
- เตรียมเอกสาร ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, สลิปเงินเดือนล่าสุด 6 เดือน, เอกสารแสดงรายได้อื่น ๆ (กรณีประกอบอาชีพอิสระ), หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (สำหรับนิติบุคคล) และหนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- ดาวน์โหลดใบสมัครบัตรเครดิตจากเว็บไซต์ของธนาคาร หรือสมัครผ่านแอปพลิเคชัน กรอกข้อมูลในใบสมัครให้ครบถ้วน แนบเอกสารประกอบตามที่ธนาคารกำหนด
- ยื่นใบสมัครที่สาขาของธนาคาร หรือสมัครบัตรเครดิตออนไลน์
- รอผลอนุมัติ โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 7-15 วันทำการ
ค่าธรรมเนียมในการสมัครบัตรเครดิต
ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต คือ ค่าบริการในการใช้บัตรเครดิต โดยในส่วนของค่าธรรมเนียมการสมัครบัตรเครดิตจะเรียกอีกชื่อว่าค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งเก็บในตอนที่สมัครบัตรเครดิตเพียงครั้งแรกเท่านั้น แต่บัตรเครดิตบางประเภท อาจจะยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า เช่น บัตรเครดิต ttb so fast คือ บัตรเครดิตที่มีไว้สำหรับนักสะสมแต้ม รับคะแนนเร็ว แลกของรางวัลทันใจ
วิธีคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต
จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ออกบัตรจะเรียกเก็บดอกเบี้ย, ค่าปรับ, ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม รวมกันได้ไม่เกิน 16% ต่อปี โดยมีวิธีคำนวณดังนี้
- ชำระค่าสินค้าและบริการไม่เต็มจำนวนภายในวันที่กำหนด หรือชำระล่าช้า
คิดดอกเบี้ยตามการใช้จ่าย จากวันที่มีการบันทึกรายการซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ- คิดเต็มจำนวนจนถึงวันก่อนครบกำหนดชำระเงิน
- คิดตามยอดคงค้าง (หักส่วนที่ชำระแล้วออก) นับจากวันที่ชำระจนถึงวันสรุปยอดถัดไป
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวัน (ตั้งแต่วันที่ทำรายการถึงวันก่อนวันชำระ 1 วัน)/ 365
เข่น A ใช้บัตรเครดิตซื้อโทรศัพท์มือถือราคา 40,000 บาท ในวันที่ 2 ตุลาคม ต่อมาครบกำหนดชำระหนี้วันที่ 15 พฤศจิกายน A ไม่ได้ชำระหนี้ แต่ไปชำระวันที่ 30 พฤศจิกายน กรณีนี้ผู้ออกบัตรจะเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันที่ทำรายการซื้อสินค้า ไม่ใช่วันครบกำหนดชำระ ทำให้ A ต้องเสียดอกเบี้ยเป็นเวลา 60 วัน หรือเท่ากับ (40,000 x 16% x 60) /365 = 1,052 บาท
- เบิกถอนเงินสด
คำนวณตั้งแต่วันที่เบิกถอนเงินสดออกมาโดยใช้สูตร(ยอดเงินที่เบิก x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันที่เบิก / 365) + ค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสดล่วงหน้า
เช่น A เบิกเงินสด 40,000 บาท ในวันที่ 27 ตุลาคม และชำระคืนวันที่ 30 พฤศจิกายน โดยบัตรเครดิตของเขามีอัตราดอกเบี้ยต่อปี 16% และค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสดล่วงหน้า 3% หมายความว่า A จะเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตเท่ากับ
(40,000 x 16% x 35 /365) + (40,000 X 3%) = 613.69 + 1,200 = 1,813.69 บาท
ข้อควรระวังในการใช้งานบัตรเครดิต
แม้ข้อดีของบัตรเครดิตคือการช่วยให้ใช้จ่ายได้อย่างสะดวก, สบาย, สามารถสะสมแต้มคะแนน และสิทธิประโยชน์มากมายได้ แต่ก็มีข้อควรระวังที่ควรรู้ได้แก่
- รู้เท่าทันดอกเบี้ย : จ่ายเท่าไหร่ ชำระเต็มจำนวน ดอกเบี้ยก็ไม่บานปลาย
- ชำระตรงเวลา : เลี่ยงค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากการชำระล่าช้า
- เลือกบัตรให้เหมาะ : เปรียบเทียบโปรโมชัน สิทธิประโยชน์ และค่าธรรมเนียมก่อนสมัคร
- ใช้อย่างมีสติ : วางแผนการใช้จ่าย อย่ารูดเกินตัว รู้จักควบคุมใจ
- ตรวจสอบยอดบัญชี : หมั่นตรวจยอดคงเหลือและประวัติการใช้จ่าย ป้องกันความผิดพลาด
- แจ้งธนาคารทันที : หากบัตรสูญหายหรือถูกขโมย เพื่อป้องกันความเสียหาย
บัตรเครดิต ตัวช่วยทางการเงิน สำหรับคนรุ่นใหม่
บัตรเครดิต คือ ตัวช่วยทางการเงินของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการใช้จ่ายอย่างสะดวกสบาย เพียงแค่พกบัตรใบเดียวแทนการใช้เงินสด นอกจากนี้ยังสามารถผ่อนชำระยอดเงินได้ในภายหลัง ช่วยให้สามารถจัดการการเงินได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม บางบัตรเครดิตอาจมีค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยที่แตกต่างกันออกไป
- สำหรับใครที่กังวลเรื่องของค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปี อาจลองพิจารณาบัตรเครดิต ttb เพราะเป็นบัตรเครดิตฟรึค่าธรรมเนียมตั้งแต่แรกเข้า และฟรีค่าธรรมเนียมแบบรายปี โดยที่ไม่ต้องโทรเวฟค่าธรรมเนียมกับธนาคาร อีกทั้งยังมีสิทธิพิเศษที่ทุกบัตรเครดิต ttb มี คือ บริการ ttb so goood ที่ผ่อน ดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน ทุกรายการ เมื่อมียอดใช้จ่ายขั้นต่ำ 1,000 บาท/เซลล์สลิป สามารถทำรายการได้ด้วยตัวเองผ่านแอป ttb touch และฟรีประกันอุบัติเหตุจากการเดินทาง เมื่อชําระค่าโดยสารยานพาหนะสาธารณะผ่านบัตรเครดิต ซึ่งบัตรเครดิต ttb มีให้เลือกสมัครบัตรเครดิตได้ตามไลฟ์สไตล์ มีดังต่อไปนี้
- บัตรเครดิต ttb so fast บัตรเครดิตสะสมแต้ม รับคะแนนเร็วทุกการใช้จ่าย ทุก 10 บาท รับ 1 คะแนน
- บัตรเครดิต ttb so smart บัตรเครดิตเงินคืน รับเงินคืน 1% ทุกการใช้จ่ายตามเงื่อนไขธนาคารที่กำหนด
- บัตรเครดิต ttb so chill บัตรเครดิตกดเงินสด คล่องตัวทุกไลฟ์สไตล์ กดเงินสดก็ชิลล์ ช้อปก็ชิลล์
- บัตรเครดิต ttb absolute บัตรเครดิตเที่ยวต่างประเทศ สุดคุ้ม ใช้จ่ายต่างประเทศ FX Rate เหลือเพียง 1% (จากปกติ 2.5%)
- บัตรเครดิต ttb Global House บัตรเครดิตแต่งบ้านสุดคุ้มที่ต้องมี ใช้บริการที่โกลบอลเฮ้าส์ ลดทันที 3% ตั้งแต่บาทแรก (ยกเว้นวัสดุก่อสร้าง) และลด 5% สำหรับค่าบริการที่โกลบอลเฮ้าส์
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัตรเครดิต เงื่อนไขการพิจารณาบัตรเครดิตเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด สามารถดูรายละเอียดผ่านทางเว็บไซต์หรือติดต่อสอบถามได้ที่ ttb contact center 1428
*ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี