external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

1 ปีของคนมีรถ หมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #ttb #บัตรเครดิต #บัตรเครดิตttb #บัตรเครดิตเติมน้ำมัน #เคล็ดลับใช้บัตรเครดิต #ttbcreditcard #MakeREALChange
9 ต.ค. 2567

  • เคล็ดลับวางแผนก่อนซื้อรถยนต์
  • 1 ปีมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่เจ้าของรถต้องจ่าย
  • บัตรเครดิตเติมน้ำมัน ตัวช่วยของคนรักรถ

คนมีรถคงเข้าใจกันดีว่า เมื่อซื้อรถสักคันแล้ว ค่าใช้จ่ายจะยังไม่จบแค่วันที่ขับรถออกจากศูนย์ เพราะในทุก ๆ ปีจะมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เจ้าของรถจำเป็นต้องใช้เงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าดูแลสภาพรถ ค่าน้ำมัน ค่าผ่อนงวดรถ ค่าประกันภัย ค่าภาษีและพรบ. หรือค่าจอดรถและค่าทางด่วน ดังนั้นผู้ขับขี่ทุกคนต้องวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อให้รายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนอยู่ในสภาพคล่อง ไม่ให้เงินที่ดูแลรถกระทบค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และไม่ให้ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ กระทบเงินที่ต้องใช้เกี่ยวกับรถ เราจึงอยากให้คนมีรถวางแผนค่าใช้จ่ายอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สภาพการเงินหลังซื้อรถราบรื่น


ก่อนซื้อรถสักคัน วางแผนค่าใช้จ่ายสำคัญอย่างไร

หากคุณกำลังอยากได้รถสักคัน การตัดสินใจซื้อโดยไม่วางแผน ถือเป็นเรื่องน่ากังวล ‘มีรถเมื่อพร้อม’ เป็นวลีที่คนอยากมีรถต้องให้ความสำคัญ เพราะรถ 1 คัน ไม่ได้มีแค่ค่าซื้อรถ แต่ยังพ่วงค่าใช้จ่ายที่คุณปฏิเสธไม่ได้อีกหลายอย่าง ก่อนที่จะซื้อรถคุณต้องมีทั้งเงินออม เงินสำรองและเงินฉุกเฉิน หากไม่มีการวางแผนที่รอบคอบ และเกิดบริหารเงินผิดพลาดขึ้นมา รถในฝันที่จะช่วยอำนวยความสะดวก อาจกลายเป็นภาระติดค้างที่ทำให้คุณเครียดอยู่รอมร่อ

แน่นอนว่าก่อนจะซื้อรถสักคัน คุณต้องเช็กและเปรียบเทียบราคารถ สำรวจว่ารถแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของคุณหรือไม่ รวมถึงราคาค่าใช้จ่ายในการซื้อรถต้องอยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้ หากเจอรถรุ่นที่ชอบแต่ราคาสูงเกินงบ คุณอาจชะลอการซื้อ กลับไปเก็บออมเพิ่มเติมให้มีเงินเพียงพอกับรถรุ่นนั้น แต่เราไม่แนะนำให้ไปกู้หนี้ยืมสินเพิ่มเข้ามาอีก เพราะหลังจากซื้อรถไปแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายหลายอย่างที่คนขับรถต้องเจอ

วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณรู้ว่า เงินที่มีเพียงพอต่อการมีรถหรือไม่ คือการทดลองออมเงินก่อนซื้อจริง โดยแบ่งเงินจากรายได้ให้มีจำนวนเท่ากับค่าผ่อนรถแต่ละงวด และจดบันทึกว่าเมื่อต้องแบ่งรายได้ไปจ่ายค่าผ่อนรถนั้นเป็นอย่างไร หากคุณไม่สามารถใช้ชีวิตร่วมกับค่าผ่อนรถได้ ต้องตัดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นไปช่วยค่าผ่อนรถ เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ่อนบ้าน ค่าเทอมลูก ค่าดูแลพ่อแม่ คุณอาจต้องมองหารถยี่ห้ออื่นหรือรถรุ่นอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ดีกว่ารถรุ่นที่เล็งไว้


วางแผนก่อนซื้อรถ ค่าใช้จ่าย 1 ปีมีอะไรบ้าง

คนอยากมีรถที่สงสัยว่านอกจากค่ารถยนต์ แล้วยังมีค่าใช้จ่ายอะไรที่เจ้าของรถต้องแบ่งเงินจากรายได้มาใช้ในส่วนนี้ ‘มีรถเมื่อพร้อม’ คือวลีที่ไม่เกินจริง ฉะนั้นเรามาดูกันว่าเมื่อมีรถเป็นของตัวเอง 1 คัน ภายใน 1 ปีจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

1 ปีมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่เจ้าของรถจะต้องจ่าย

ค่าผ่อนรถยนต์ และดอกเบี้ย

หลายคนเลือกซื้อรถยนต์ด้วยการผ่อน แบ่งชำระเป็นงวด ๆ เพราะรถยนต์เป็นทรัพย์สินมูลค่าสูง การควักเงินก้อนใช้ซื้อรถในครั้งเดียว อาจไม่สะดวกต่อใครหลายคน การผ่อนชำระรถยนต์มีการคำนวณดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) ซึ่งเป็นรูปแบบที่เงินต้นลด แต่ดอกเบี้ยไม่ลดตาม คุณต้องชำระค่าผ่อนรถจำนวนเต็มให้ตรงกำหนดทุกงวด หากไม่ชำระและมียอดค้างหลาย ๆ งวด คุณอาจถูกยึดรถคันนั้นไปอย่างน่าเสียดาย คนอยากมีรถสามารถวางแผนการจ่ายค่าใช้จ่าย ด้วยสูตรที่ใช้คำนวณจำนวนเงินผ่อนรถต่อเดือน ดังนี้

วิธีคำนวณดอกเบี้ยผ่อนชำระรถยนต์

จำนวนเงินผ่อนต่อเดือน = จำนวนเงินกู้ + (จำนวนเงินกู้xอัตราดอกเบี้ยxจำนวนปีที่กู้)
จำนวนเดือนที่ต้องผ่อน

จำนวนเงินผ่อนต่อเดือน =
จำนวนเงินกู้ + (จำนวนเงินกู้xอัตราดอกเบี้ยxจำนวนปีที่กู้)
จำนวนเดือนที่ต้องผ่อน

ค่าน้ำมัน และ ค่าไฟฟ้า

ค่าน้ำมันเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ เงินที่ใช้ไปกับการเติมน้ำมันถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำสำหรับคนมีรถ เมื่อใช้รถบ่อยก็ต้องเติมน้ำมันบ่อยขึ้น แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันกลับไม่มีทีท่าว่าจะถูกลง ทำให้หลายคนมองหาทางเลือกใหม่อย่าง รถยนต์ไฟฟ้าที่มีค่าเติมพลังงานราคาถูกกว่า แต่เจ้าของรถยนต์เติมน้ำมันไม่ต้องกังวลไป เพราะสามารถแบ่งเบาภาระค่าน้ำมันได้ด้วยการชำระผ่านบัตรเครดิต ทีทีบี ที่ไม่เพียงแค่รูดจ่ายได้สะดวกรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังมีโปรโมชั่นจากบัตรเครดิตที่คุ้มค่าได้มากขึ้น เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊มบางจากและปั๊มคาลเท็กซ์ รับเครดิตเงินคืนได้สูงสุดถึง 5% โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขดังนี้

โปรโมชัน “เติมสบายรับชิลๆ ที่ปั๊มบางจาก”

  • เติมน้ำมันผ่านบัตรเครดิต ttb reserve infinite และบัตรเครดิต ttb reserve signature ครบ 600 บาท/เซลล์สลิป รับเครดิตเงินคืน 5% จำกัดเครดิตเงินคืนสูงสุด 30 บาท/ครั้ง จำนวนสูงสุด 4 ครั้ง/เดือน และยอดรวมสูงสุด 1,440 บาท/บัญชีบัตรหลักตลอดรายการส่งเสริมการขาย
  • เติมน้ำมันผ่านบัตรเครดิต ttb absolute, ttb so fast, ttb so smart, ttb so chill และ ttb global house ครบ 600 บาท/เซลล์สลิป รับเครดิตเงินคืน 3% จำกัดเครดิตเงินคืนสูงสุด 18 บาท/ครั้ง จำนวนสูงสุด 4 ครั้ง/เดือน และยอดรวมสูงสุด 864 บาท/บัญชีบัตรหลักตลอดรายการส่งเสริมการขาย

โปรโมชัน “ถังนี้…เติมสุดคุ้ม”

สำหรับโปรโมชันจากปั๊มคาลเท็กซ์แบ่งเป็นการชำระ 2 รูปแบบที่ให้ความคุ้มค่าต่างกัน ดังนี้

ชำระผ่านเครื่อง EDC

  • เติมน้ำมันผ่านบัตรเครดิต ttb reserve infinite และบัตรเครดิต ttb reserve signature ครบ 700 บาท/เซลล์สลิป รับเครดิตเงินคืน 5% จำกัดเครดิตเงินคืนสูงสุด 35 บาท/ครั้ง จำนวนสูงสุด 2 ครั้ง/เดือน และยอดรวมสูงสุด 840 บาท/บัญชีบัตรหลักตลอดรายการส่งเสริมการขาย
  • เติมน้ำมันผ่านบัตรเครดิต ttb absolute, ttb so fast, ttb so smart, ttb so chill และ ttb global house ครบ 700 บาท/เซลล์สลิป รับเครดิตเงินคืน 3% จำกัดเครดิตเงินคืนสูงสุด 21 บาท/ครั้ง จำนวนสูงสุด 2 ครั้ง/เดือน และยอดรวมสูงสุด 504 บาท/บัญชีบัตรหลักตลอดรายการส่งเสริมการขาย

ชำระผ่าน CaltexGo Application

  • เติมน้ำมันผ่านบัตรเครดิต ttb reserve infinite และบัตรเครดิต ttb reserve signature ครบ 700 บาท/เซลล์สลิป รับเครดิตเงินคืน 6% จำกัดเครดิตเงินคืนสูงสุด 42 บาท/ครั้ง จำนวนสูงสุด 2 ครั้ง/เดือน และยอดรวมสูงสุด 1,008 บาท/บัญชีบัตรหลักตลอดรายการส่งเสริมการขาย
  • เติมน้ำมันผ่านบัตรเครดิต ttb absolute, ttb so fast, ttb so smart, ttb so chill และ ttb global house ครบ 700 บาท/เซลล์สลิป รับเครดิตเงินคืน 4% จำกัดเครดิตเงินคืนสูงสุด 28 บาท/ครั้ง จำนวนสูงสุด 2 ครั้ง/เดือน และยอดรวมสูงสุด 672 บาท/บัญชีบัตรหลักตลอดรายการส่งเสริมการขาย

*กรณีชำระผ่าน CaltexGo ต้องลงทะเบียนภายในเดือนที่ทำรายการเพื่อรับสิทธิ์ผ่านแอป ttb touch หรือส่ง sms พิมพ์ CTX ตามด้วยหมายเลขบัตรเครดิต 12 หลักสุดท้าย ส่งมาที่ 4806026

*โปรโมชันบัตรเครดิตเติมน้ำมันจาก ttb ทั้งปั๊มบางจากปั๊มคาลเท็กซ์ จะมีระยะเวลาโปรโมชัน 1 ม.ค. 67 – 31 ธ.ค. 67 เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรโมชันดังกล่าวได้ที่ตามเว็บไซต์

  • เติมสบายรับชิลๆ ที่ปั๊มบางจาก https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/bangchak-jan24
  • ถังนี้เติมสุดคุ้มกับปั๊มคาลเท็กซ์ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/caltex-jan24

ค่าเบี้ยประกันรถยนต์

ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ถือเป็นอีกอย่างที่คนมีรถต้องเจอ เพราะเราไม่รู้ว่าการเดินทางครั้งไหนจะเกิดอุบัติเหตุ รถทุกคันควรมีกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อเป็นหลักประกันความเสียหายในอนาคต ประกันรถยนต์มีราคาหลากหลาย แบ่งตามความคุ้มครองที่ผู้ซื้อประกันจะได้รับ ก่อนเจ้าของรถจะตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันภัยสักฉบับ ควรสำรวจให้ดีว่าตนเองมีพฤติกรรมการใช้รถยนต์อย่างไร โดยแผนประกันภัยมีความแตกต่าง ดังนี้

  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 : คุ้มครองอุบัติเหตุทั้งเจ้าของรถและสภาพรถยนต์ ให้ความคุ้มครองมากกว่าประกันภัยประเภทอื่น ๆ เหมาะกับผู้ขับขี่มือใหม่หรือรถใหม่ป้ายแดง
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ /2 : ประกันชั้น 2 จะคุ้มครองความเสียหายแค่ภายนอกของรถ และแผนประกันแบบชั้น 2+ จะเพิ่มความคุ้มครองรถยนต์ในกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเท่านั้น เหมาะกับเจ้าของรถที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญการขับขี่
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+ /3 : ไม่คุ้มครองสภาพรถยนต์ ประกันชั้น 3 จะชดเชยค่าเสียหายให้คู่กรณีเท่านั้น แต่ถ้าซื้อประกันรถยนต์ชั้น 3+ จะได้รับการดูแลรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างรถชนรถ เหมาะกับรถยนต์ที่ไม่ได้นำไปขับบ่อยสักเท่าไร

สำหรับคนที่กำลังตัดสินใจออกรถคันแรก การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ช่วยให้ความคุ้มครองได้ครอบคลุมมากที่สุด อย่างเช่น ประกันรถยนต์มอเตอร์ 1 ไลท์ ที่เหมาะสำหรับอายุรถยนต์ตั้งแต่ 1-16 ปี และให้ความคุ้มครองทั้งกรณีที่เกิดความเสียหายต่อรถยนต์ สูญหาย ไฟไหม้ ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก และความคุ้มครองต่อผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร ประกันชั้น 1 จาก ทีทีบี ที่มีค่าเบี้ยราคาสบายกระเป๋า และเก็บค่าเสียหายส่วนแรกไม่เกิน 5,000 บาท รับประกันโดย บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน)

*ทั้งนี้ผู้ซื้อประกันภัยรถยนต์ ทีทีบี ควรศึกษารายละเอียดประกันภัย และควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ค่าภาษีรถยนต์และค่าพรบ.

รถยนต์มีค่าภาษีประจำปี กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถต้องเสียภาษีรถยนต์ทุกปี หากไม่ปฏิบัติตามและไม่จ่ายภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับ เจ้าของรถต้องดำเนินเรื่องเพื่อขอทะเบียนใหม่ และโดนเรียกเก็บค่าภาษีย้อนหลัง ราคาค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ขนาดเครื่อง 600 ซีซีแรก คำนวณซีซีละ 50 สตางค์ , ขนาดเครื่อง 601–1,800 ซีซี คำนวณซีซีละ 1.50 บาท และขนาดเครื่อง 1,801 ซีซีขึ้นไป คำนวณซีซีละ 4 บาท

ค่าประกัน พรบ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นข้อบังคับที่รถทุกคันต้องทำ หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นมา ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองนั่นเอง และค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่งอยู่ที่ 645.21 บาท

ค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์

แน่นอนว่าต้องมีรายจ่ายค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์ อะไหล่และอุปกรณ์ของรถยนต์จะเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมรถ ค่าเปลี่ยนอุปกรณ์อะไหล่ ค่าเปลี่ยนถ่ายของเหลวในรถยนต์ ทั้งน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันเกียร์ก็จะตามมา เราแนะนำให้นำรถยนต์เข้าไปเช็กสภาพเป็นประจำ ไม่ว่าจะเดินทางไกลหรือใกล้ รถของคุณต้องได้รับการตรวจสภาพทุก ๆ 6 เดือนหรือ 1 ปีเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนคนอื่น

ค่าที่จอดรถ ค่าทางด่วน ค่าล้างรถ

ค่าที่จอดรถ ค่าผ่านทางด่วน ค่าล้างรถ ค่าปรับกรณีฝ่าฝืนกฎจราจร ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เรียกว่าค่าใช้จ่ายแฝง เจ้าของรถบางคนอาจมีที่จอดรถฟรีในบ้าน แต่เมื่อขับออกมาก็ต้องยอมจ่ายค่าจอดรถที่รอเรียกเก็บ ณ ปลายทางของคุณอยู่ดี ค่าใช้จ่ายแฝงแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ต้องจ่าย หลายอย่างขึ้นอยู่กับพฤติกรรมส่วนตัวของผู้ขับขี่ เช่น ค่าปรับที่ขับรถฝ่าไฟแดง แน่นอนว่าคนขับที่มีความประพฤติดีจะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หรือ ค่าล้างรถที่เจ้าของรถบางคันก็ล้างด้วยตัวเอง แต่บางรายก็ใช้บริการล้างรถตามจุดให้บริการต่าง ๆ

แม้ว่าการมีรถยนต์จะนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมาย แต่สำหรับหลายคน “รถยนต์” คือสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้เดินทางทุกวัน เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และเพิ่มสภาพคล่องให้กับคนมีรถ สามารถสมัครบัตรเครดิต ทีทีบี ติดตัวไว้ใช้ยามจำเป็น พร้อมรับสิทธิพิเศษจากโปรโมชันมากมายที่ช่วยให้การใช้จ่ายคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นได้ โดยสามารถศึกษารายละเอียดบัตรเครดิต ได้ที่เว็บไซต์ของธนาคาร และแอปพลิเคชัน ttb touch

ผู้ถือบัตรเครดิต ttb ควร “ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16%” และเพื่อไม่ให้พลาดสิทธิพิเศษที่ช่วยเซฟค่าใช้จ่าย ควรตรวจสอบเงื่อนไขและระยะเวลาในการร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางของธนาคาร เช่น เว็บไซต์ของธนาคาร หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ttb contact center 1428

ที่มา : https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/knowledge/article/31-what-to-know-before-buying-a-car