external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

สรุปขั้นตอนง่าย ๆ ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2565

#fintips#วางแผนการลงทุน#คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา2565#ยื่นภาษีออนไลน์2565#ssf
18 ต.ค. 2565

ช่วงสิ้นปีวนมาอีกครั้งแล้ว หลาย ๆ คนอาจกำลังวางแผนเที่ยว วางแผนเก็บเงินหรือวางแผนเริ่มต้นสำหรับปีใหม่ 2566 ที่กำลังจะมาถึง แต่สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ สิ่งสำคัญที่ต้องวางแผนเลยคือเรื่องของ “การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” เพราะเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ตามปีปฏิทินภาษี 2565 ซึ่งแม้จะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี แต่ก็ต้องยื่นภาษีอยู่ดี เพื่อแสดงรายได้ทั้งปีของเราที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปีที่ผ่านมา


ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี ?

  • คนโสด มีรายได้จากเงินเดือนปีละ 120,000 บาทขึ้นไป หรือรายได้อื่น ๆ ปีละ 60,000 บาทขึ้นไป
  • คนมีคู่ มีรายได้จากเงินเดือนปีละ 220,000 บาทขึ้นไป หรือรายได้อื่น ๆ ปีละ 120,000 บาทขึ้นไป

ซึ่งปกติมนุษย์เงินเดือนจะยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 1 ครั้ง โดยสามารถยื่นแบบเอกสารหรือกระดาษ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2566 หรือจะยื่นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะขยายไปจนถึงวันที่ 8 เม.ย. 2566


วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ขั้นตอนที่ 1 คำนวณเงินได้สุทธิ

อย่างแรกเลยคือเราต้องคำนวณหาเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีก่อน โดยสามารถหาได้จากการนำรายได้ทั้งปีมารวมกัน แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ตามสูตร

รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

ซึ่งเราสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนค่าลดหย่อน จะมีอยู่หลายอย่างที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ แต่ที่เราสามารถนำมาลดหย่อนได้ทันทีเลย คือ ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท แต่ในปีภาษี 2565 รัฐบาลมีการลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 33 ลง 2 ครั้ง ในรอบเดือน พ.ค. - ก.ค. และต.ค. - ธ.ค. เหลือเพียง 6,300 บาท


ขั้นตอนที่ 2 เทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ต่อมาให้นำเงินได้สุทธิมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได โดยนำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้น เพื่อหาว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ ตามสูตร

ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด


ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้

วิธีคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


จากตัวอย่างข้างต้น ในปี 2565 นายทีมีรายได้จากเงินเดือน 50,000 บาท รวมทั้งปี 600,000 บาท จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนจากประกันสังคม 6,300 บาท

จะได้เงินได้สุทธิ 600,000 - 100,000 - 60,000 - 6,300 = 433,700 บาท จากนั้นให้นำเงินได้สุทธิ 433,700 บาท ไปเทียบอัตราภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งจะอยู่ระหว่างฐาน 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10%

ดังนั้น นายทีจะต้องเสียภาษี (433,700 - 300,000) 10% + 7,500 = 20,870 บาท

จะเห็นได้ว่า นายทีจะต้องเสียภาษีถึง 20,870 บาท แต่ถ้านายทีอยากประหยัดภาษีมากกว่านี้ ต้องหาตัวช่วยเพื่อมาลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม ซึ่งตัวลดหย่อนภาษี 2565 ที่ทาง ttb advisory จะแนะนำคือ การลงทุนในกองทุนรวม SSF (Super Savings Fund) และ RMF (Retirement Mutual Fund) เพราะนอกจากจะสามารถลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ยังเป็นการลงทุนเพื่อวางแผนเกษียณในระยะยาวอีกด้วย โดยจะมีเงื่อนไข ดังนี้

  • SSF คือ กองทุนรวมเพื่อการออม เน้นการออมระยะยาว สามารถนำไปลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
  • RMF คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เน้นออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณอายุ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรกและขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ แต่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยซื้อปีเว้นปีก็ได้เช่นกัน


กองทุนรวมลดหย่อนภาษี ttb smartport

กองทุนรวม ลดหย่อนภาษี


กองทุนเปิด ttb smart port 1 preserver เพื่อการออม

กองทุนรวมกลุ่ม Mid Term General Bond เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้เอกชน โดยมีตราสาร non-investment grade / unrated ไม่เกิน 20% ของ NAV ความเสี่ยงระดับ 4 เหมาะสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ เน้นรักษาเงินต้น และอยากเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก


กองทุนเปิด ttb smart port 2 nurturer เพื่อการออม

กองทุนรวมกลุ่ม Conservative Allocation เน้นลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ และ/หรือทรัพย์สินทางเลือก โดยมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนไม่เกิน 40% ของ NAV ความเสี่ยงระดับ 5 เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ และเป็นคนที่ค่อนข้างรับความผันผวนได้น้อย


กองทุนเปิด ttb smart port 3 balancer เพื่อการออม

กองทุนรวมกลุ่ม Moderate Allocation เน้นลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ และ/หรือทรัพย์สินทางเลือก โดยมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนไม่เกิน 80% ของ NAV ความเสี่ยงระดับ 5 เหมาะสำหรับคนที่ชอบกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายและมีเป้าหมายให้เงินทำงานแทนในระยะยาว


กองทุนเปิด ttb smart port 4 explorer เพื่อการออม

กองทุนรวมกลุ่ม Aggressive Allocation เน้นลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ และ/หรือทรัพย์สินทางเลือก โดยมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนได้ตั้งแต่ 0 - 100% ของ NAV ความเสี่ยงระดับ 5 เหมาะสำหรับคนที่เน้นลงทุนเพื่อเป้าหมายให้เงินเติบโต อยากสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นและรับความผันผวนได้


กองทุนเปิด ttb smart port 5 go-getter เพื่อการออม

กองทุนรวมกลุ่ม กลุ่ม Equity General เน้นลงทุนในตราสารทุนเป็นหลักโดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ความเสี่ยงระดับ 6 เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสร้างโอกาสทำกำไรจากหุ้นทั่วโลก จิตใจแข็งแกร่ง สามารถรับความผันผวนได้สูง

ทั้งนี้เราสามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อีกทั้งมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลบริหารจัดการพอร์ตให้ เรียกได้ว่า “ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว” เพราะนอกจากจะได้สิทธิลดหย่อนภาษี 2565 ช่วยให้เสียภาษีน้อยลง แล้วยังได้ลงทุนเพื่อการเกษียณอีกด้วย

สนใจทดลองตั้งเป้าหมายและลงทุนได้เลย เพียง 1 บาท ก็เริ่มลงทุนได้ด้วย ttb smart port สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal สามารถเปิดบัญชีกองทุน และลงทุนผ่านแอป ttb touch ได้ง่ายๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ttb investment line หรือโทร. 1428 กด#4 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9:00 น. – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)


หมายเหตุ:

  • ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว
  • การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน /ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต /ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม / ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / ผู้ลงทุนสามารถรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb Investment Line โทร. 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9:00 – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)