external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Emotional Eating กินตามอารมณ์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพทางการเงินที่ดี

#ttb #fintips #เคล็ดลับการเงิน #บัตรเครดิต #บัตรเครดิตttb #เคล็ดลับใช้บัตรเครดิต #ผ่อนบัตรเครดิต #EmotionalEating #กินตามอารมณ์ #ttbcreditcard #MakeREALChange
4 ก.ค. 2567

  • Emotional Eating หากตามใจปากอาจกระทบสุขภาพทางการเงิน
  • ทำไมกินตามอารมณ์ถึงส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินขาดความสมดุล
  • หมดปัญหา Emotional Eating ลดเครียดเพิ่มความสุขด้วยบัตรเครดิต ttb

คุณเคยได้ยินเรื่องของ Emotional Eating (กินตามอารมณ์) หรือไม่? พูดง่าย ๆ ก็คือการกินเพื่อระบายความเครียด แน่นอนว่าการกินก็ต้องคู่กับค่าใช้จ่าย หากคุณตามใจปากอาจเกิดปัญหามากกว่าที่คิด นอกจากปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย อีกอย่างที่ตามมา คือ ปัญหาสุขภาพด้านการเงิน เราจึงอยากแนะนำให้เจ้าของบัตรเครดิตทุกคน ทราบถึงสาเหตุและวิธีแก้ไขภาวะ Emotional Eating เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สุขภาพร่างกายและสุขภาพการเงินของคุณแข็งแรงอยู่เสมอ

Emotional Eating คืออะไร


Emotional Eating คืออะไร

Emotional Eating คือ การรับประทานอาหารตามอารมณ์ เป็นภาวะที่เกิดจากการเรียกร้องของจิตใจ มากกว่ากระเพาะอาหาร เช่น ระหว่างรอสัมภาษณ์งาน นาย A หยิบช็อกโกแลตขึ้นมาทานอยู่หลายครั้ง เพราะอยากลดความตื่นเต้นจากการรอสัมภาษณ์งาน ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในภาวะกินตามอารมณ์ มักจะชอบทานขนมจุกจิก ของหวาน หรือ ของกินที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง อาจเพราะว่าวัตถุดิบของอาหารเหล่านี้จะมีน้ำตาลที่มีคุณสมบัติในการลดความเครียดเป็นส่วนประกอบหลัก


Emotional Eating ตามใจปากอาจกระทบสุขภาพการเงิน

การกินตามอารมณ์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นภัยต่อเงินในกระเป๋าของคุณด้วย เมื่ออยากกิน..ต้องได้กิน แปลว่าคุณไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ หลายคนคิดว่าหนี้บัตรเครดิตมาจากสินค้าและบริการที่มีราคาสูงเพียงอย่างเดียว

ความจริงแล้วหนี้บัตรเครดิตเกิดจากเรื่องใกล้ตัวได้ง่ายกว่าอะไรเสียอีก ในหนึ่งเดือนคุณจะซื้อโทรศัพท์สักกี่หน? แต่ในหนึ่งเดือนคุณใช้บัตรเครดิตจ่ายค่าอาหารไปกี่อย่าง? เพราะคิดว่าค่าอาหารคือค่าใช้จ่ายจำนวนไม่มาก ผู้ใช้บัตรเครดิตเลยติดกับดักการกินตามอารมณ์ รู้ตัวอีกทีก็เมื่อบิลมาอยู่ในมือแล้วพบว่าค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปกับค่าอาหารรวมกันแล้ว มากกว่าค่าผ่อนโทรศัพท์สุดหรูรุ่นใหม่เสียอีก


ทำไมกินตามอารมณ์ ถึงกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน

  • เพิ่มอัตราเสี่ยงการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ หากคุณไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการกินเป็นระยะเวลานาน ๆ บัตรเครดิตของคุณก็จะเต็มไปด้วยรายการค่าใช้จ่ายอาหารจุกจิก จำนวนเงินไม่เยอะแต่ใช้บ่อย เช่น ใช้จ่ายค่าไอศกรีมพาร์เฟ่ต์ (parfait) ราคาต่อถ้วยไม่เกิน 100 - 200 บาทแต่กินแบบนี้เป็นประจำทุกเย็นหลังเลิกงาน เพื่อบรรเทาอาการเครียดจากการทำงานที่วุ่นวาย หากคิดดูเล่น ๆ คุณทำงานเดือนละ 20 วันและกินไอศกรีมราคา 100 บาททุกวันที่ไปทำงาน รวมแล้วก็เป็นเงิน 2,000 บาท ถ้าคุณได้รับเงินเดือนตามค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย คือ 15,000 บาท แค่ค่าของหวานที่ทานเพื่อความสบายใจก็ปาไป 2,000 บาท ยังไม่รวมค่าประกันสังคมที่หักจากยอดเงินเดือน ค่าเดินทางไป-กลับบ้านและที่ทำงาน ค่าใช้จ่ายไม่กี่อย่างที่พูดมาก็ทำให้เงินเดือนของคุณเหลือน้อยเสียเต็มทน หากยังไม่สามารถระงับอาการอยากกินตามอารมณ์ได้ รับรองเลยว่าค่าบัตรเครดิตงวดที่กำลังจะมาถึง คุณต้องกดปุ่มชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำอย่างแน่นอน
  • เพิ่มอัตราเสี่ยงก่อหนี้บัตรเครดิตระยะยาว เมื่อปล่อยใจให้ล่องลอยไปตามความอยาก และก้าวขาทั้งสองข้างเข้าสู่สถานะการเป็นเจ้าของบัตรเครดิตที่ จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ วังวนของการเป็นหนี้จะก่อตัวอย่างช้า ๆ แบบที่ไม่ให้คุณรู้ตัว หากคอยเช็คยอดการใช้จ่ายบนบัตรเครดิตเป็นประจำ คุณจะสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงของหนี้บัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตอนที่คุณเคยผ่อนบัตรเครดิตเต็มจำนวน ถ้ารู้ตัวว่าหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นแล้ว ให้รีบจัดสรรชำระค่าบัตรเครดิตงวดนั้นอย่างไวที่สุด เพื่อลดอัตราค่าดอกเบี้ยที่ถูกนำไปคิดเป็นหนี้ในทุก ๆ วัน และอย่าลืมวางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับบัตรเครดิตงวดหน้าอย่างรัดกุม หากไม่จำเป็นคุณไม่ควรกลับไปใช้บริการจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำอีกแล้ว

วิธีจัดการปัญหา Emotional Eating


จัดการปัญหา Emotional Eating อย่างไร

ปัญหา Emotional Eating หรือ การกินตามอารมณ์ คือปัญหาด้านจิตใจ เราเข้าใจว่าเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข แต่หากคิดถึงผลกระทบด้านการเงินแล้ว เราอยากแนะนำวิธีที่จะช่วยบรรเทาให้อาการดีขึ้นกว่าเดิม ดังนี้

  • ยอมรับว่าปัญหาทุกอย่างมีเข้ามาและออกไป การนำจิตใจไปผูกไว้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตจะทำให้อารมณ์ ความรู้สึกของคุณถูกกระตุ้นจากปัญหาภายนอกง่ายเกินไป เราไม่สามารถบังคับให้ใคร หรือ อะไรเป็นไปตามที่ใจอยาก ถ้ายอมรับว่าการเจอกับปัญหาคือเรื่องปกติ เราจะอยู่กับมันง่ายขึ้น เราไม่ต้องแก้ปัญหาทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต ถ้าคุณรู้สึกตื่นเต้นที่ต้องนำเสนอแผนงานต่อหน้าผู้บริหาร ก็ปล่อยให้จิตใจได้ตื่นเต้นอย่างที่มันควรจะเป็น
  • มองหาทางเลือกอื่นนอกจากการกิน ถ้าการกินตามอารมณ์ทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลาย เราอาจมองหาวิธีอื่นที่ไม่เดือดร้อนเงินในกระเป๋า เช่น การเดินเล่นในสวนสาธารณะ ไม่ต้องวิ่งก็ได้แค่เดินชมนกชมไม้ ยืนมองผู้คนที่มาออกกำลังกาย ความเครียดที่สุมอยู่ในใจอาจคลายลงบ้าง หรือ เป็นการทำงานบ้านให้ลืมความเศร้าก็น่าสนใจ จะมัวแต่คิดถึงเรื่องไม่ดีไปทำไม เอาความเครียดที่มีมาระบายผ่านการทำความสะอาดดีกว่า เครียดนิดหน่อยก็กวาดบ้าน เครียดมากขึ้นก็ถูพื้น ยิ่งเครียดบ้านยิ่งสะอาด


พกบัตรเครดิต ttb ติดตัวไว้ ด้วยการใช้สิทธิประโยชน์สุดคุ้ม

การวางแผนจัดการด้านการเงิน คือ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เงินของคุณมีสุขภาพดี ในแต่ละเดือนคุณสามารถตั้งงบประมาณค่าอาหารและแบ่งจัดสรรค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้รายจ่ายทั้งหมดในเดือนนั้น ไม่กระทบวงเงินสูงสุดที่บัตรเครดิตให้มา

คุณควรมีบัตรเครดิตสักใบที่ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี พร้อมกับบริการที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นเครดิตเงินคืนที่ให้เงินคืนเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดค่าใช้จ่ายจริง หรือ ได้รับ คะแนนสะสมตามยอดค่าใช้จ่ายที่นำไปแลกเป็นรางวัลทั้ง ส่วนลดค่ากิน ค่าเที่ยว ค่าที่พักฯลฯ ได้ตามความต้องการ

บัตรเครดิต ttb เหมาะกับใคร?


บัตรเครดิต ttb แต่ละใบเหมาะกับใคร

  • บัตรเครดิต ttb so fast เหมาะกับสายเครียด กิน ช้อป แล้วชอบสะสมคะแนน แลกรับรางวัล บัตรเครดิตใบนี้จะให้คะแนนทันทีที่รูดใช้จ่ายทุก 10 บาท รับ 1 คะแนนและใช้คะแนนสะสมเท่ายอดซื้อ แลกรับ Cashback สูงสุด 12% กับร้านค้าที่ร่วมรายการ พร้อมรับฟรี ประกันอุบัติเหตุจากการเดินทาง วงเงินคุ้มครองสูงถึง 6 ล้านบาท รายละเอียดเพิ่มเติม
  • บัตรเครดิต ttb so smart เหมาะกับสายเครียดแล้วกลัวเงินหมดกระเป๋า แค่พกบัตรใบนี้ก็อุ่นใจเพราะคุณจะได้รับเครดิตเงินคืน 1% ทุกการใช้จ่าย ไม่ต้องรอโปรโมชั่นโดยที่เงินคืนจะโอนเข้าบัญชี ทีทีบี โน ฟิกซ์ พร้อมรับฟรี ประกันอุบัติเหตุจากการเดินทาง วงเงินคุ้มครอง 6 ล้านบาท รายละเอียดเพิ่มเติม
  • บัตรเครดิต ttb so chill เหมาะกับสายเครียดแล้วชอบชิลล์ ปล่อยใจจอย ๆ คล่องตัวทุกการใช้จ่าย รูดก็ชิลล์ กดเงินสดก็ชิลล์ แถมฟรีค่าธรรมเนียมกดเงินสด 3% พร้อมรับดอกเบี้ยพิเศษ 3 รอบบัญชีแรก และรับเงินคืน 5% จากดอกเบี้ยที่เรียกเก็บเมื่อจ่ายตรงเวลา รวมถึง ฟรีประกันอุบัติเหตุจากการเดินทางวงเงินคุ้มครอง 6 ล้านบาท และสิทธิพิเศษเฉพาะปี 2024 พิเศษ! ทุก 25 บาท รับ 1 คะแนน รับคะแนนทุกการใช้จ่าย(ระยะเวลาโปรโมชันเฉพาะบัตรเครดิต ttb so chill 1 มี.ค. 2567 ถึง 31 ธ.ค. 2567) รายละเอียดเพิ่มเติม
  • บัตรเครดิต ttb absolute เหมาะกับสายเครียดแล้วชอบไปเที่ยวต่างประเทศ เพียงพกบัตรนี้ก็สามารถใช้สิทธิพิเศษได้ทั่วโลก พร้อมรับส่วนลดค่าธรรมเนียมแปลงสกุลเงินต่างประเทศ (FX Rate) เหลือเพียง 1% จากปกติ 2.5% และรับคะแนนสะสม X2 เมื่อใช้จ่ายออนไลน์ และสิทธิประโยชน์สำหรับบัตรเครดิตเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะ ฟรี บริการห้องรับรอง Airport Lounge 2 ครั้ง/ปีปฏิทิน และรับฟรี ประกันอุบัติเหตุจากการเดินทาง วงเงินคุ้มครองกว่า 16 ล้านบาท รายละเอียดเพิ่มเติม
  • บัตรเครดิต ttb Global House เหมาะกับสายเครียดแล้วขอพักใจอยู่บ้าน ใครที่เครียดแล้วไม่อยากออกไปเจอความวุ่นวาย ชอบนอนเล่นอยู่บ้านต้องมีบัตรเครดิต ttb ใบนี้เลย เพราะเมื่อช้อปของแต่งบ้านรับทันทีส่วนลด 3% ตั้งแต่บาทแรกที่โกลบอลเฮ้าส์ (ยกเว้นวัสดุก่อสร้าง) และลด 5% ทันที สำหรับค่าบริการที่โกลบอลเฮ้าส์ รายละเอียดเพิ่มเติม

Emotional Eating คืออะไร


นอกเหนือสิทธิประโยชน์ของแต่ละบัตรเครดิต ttb ลูกค้าทุกท่านจะได้รับสิทธิประโยชน์เมื่อได้ใช้บัตรเครดิตของ ttb คือ บริการ ttb so goood บริการที่สามารถเปลี่ยนยอดใช้จ่ายเป็นผ่อนบัตรเครดิตด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน ทุกรายการ เมื่อมียอดใช้จ่ายขั้นต่ำ 1,000 บาท/เซลล์สลิป สามารถใช้ได้ทุกร้านทุกรายการ ไม่ต้องรอคอยโปรโมชันเลยทีเดียว หากสนใจสมัครบัตรเครดิต ttb หรือ มีคำถามเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดการสมัครบัตรเครดิตทุกใบได้ที่นี่เลย บัตรเครดิต

ไม่ว่าอยากกินอะไรก็ ไม่ต้องเครียดว่าจะกระทบสุขภาพการเงิน ขอเพียงแค่ไม่ลืมที่จะวางแผนการเงิน ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี และไม่ให้พลาดโอกาสการเข้ารับสิทธิพิเศษที่ช่วยเซฟค่าใช้จ่าย หมั่นตรวจสอบเงื่อนไขและระยะเวลาในการร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางของธนาคาร เช่น เว็บไซต์ของธนาคาร หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ttb Contact Center 1428


Source ที่มาของข้อมูล :
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/emotional-eating