วนกลับมาอีกครั้งกับเทศกาลลดหย่อนภาษีปี 2566 สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าเรามีการวางแผนภาษีล่วงหน้า อย่างการคำนวณดูว่าในปีนี้เราต้องเสียภาษีเท่าไหร่ แล้วหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีเตรียมไว้ อาทิ กองทุนลดหย่อนภาษี SSF / RMF ก็จะสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้หลักหมื่นถึงหลักแสนเลย แล้วในปีนี้จะมีรายการลดหย่อนภาษีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ทาง ttb advisory มีอัปเดตมาให้แบบครบ ๆ และนอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยวางแผนภาษีอย่าง My Tax มาแนะนำกันอีกด้วย
ซึ่งการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2567 นั้น สามารถยื่นภาษีแบบเอกสารหรือกระดาษ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2567 หรือจะยื่นภาษีแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 8 เม.ย. 2567
รายการลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรบ้าง ?
รายการลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรบ้าง ? ค่าลดหย่อน เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้วจะช่วยทำให้เราเสียภาษีน้อยลงหรืออาจจะไม่เสียภาษีเลยก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งรายการลดหย่อนภาษีจะมีการเปลี่ยนแปลงและอัปเดตทุก ๆ ปี โดยรายการลดหย่อนภาษีปี 2566 นี้แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้
กลุ่มลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
- ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- คู่สมรส (จดทะเบียนสมรส - ไม่มีรายได้) 60,000 บาท
- บุตร คนละ 30,000 บาท หากเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ถ้าเป็นบุตรบุญธรรม สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- อายุไม่เกิน 20 ปี
- ถ้าอายุ 21 - 25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
- บุตรมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี
ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป จะสามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
- ค่าดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท โดยพ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และสามารถหักลดหย่อนสำหรับพ่อแม่ของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท โดยผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวคนพิการ
กลุ่มประกันและการลงทุน
- ประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ของเราและคู่สมรส ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต (คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และอาจจะลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
- จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก โดยนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน คือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีการลงทุนในปีนั้น
- ขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 30,000 บาท
ทั้งนี้ กองทุน RMF, กองทุน SSF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- เป็นดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่อยู่อาศัย โดยเราต้องอาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย
- ต้องเป็นการกู้เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่บนที่ดินของตัวเอง หรือกู้เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม
- ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศ
- หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถรวมกันได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- กรณีกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน
- เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) 100,000 บาท
- ช้อปดีมีคืน 40,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หนังสือ (รวมถึง e-book) และสินค้า OTOP ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
- มีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
- มีใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ลดหย่อนเพิ่มได้อีก 10,000 บาท
- ใช้สำหรับการซื้อสินค้าในช่วงวันที่ 1 ม.ค. - 15 ก.พ. 66
กลุ่มเงินบริจาค
- บริจาคพรรคการเมือง 10,000 บาท
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา สนับสนุนกีฬา พัฒนาสังคมต่าง ๆ มูลนิธิด้านสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคอื่น ๆ มูลนิธิและองค์กรสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
ตัวอย่างการคำนวณภาษี ด้วยการซื้อกองทุน SSF เพื่อประหยัดภาษี
นายฟินมีเงินเดือน 35,000 บาท รวมรายได้ทั้งปี 420,000 บาท ผ่อนบ้านอยู่ 1 หลัง และซื้อของที่เข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืน 30,000 บาท จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่าไหร่ ?
นายฟินมีเงินเดือน 35,000 บาท รวมรายได้ทั้งปี 420,000 บาท จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน 50,000 บาท (ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท) และค่าลดหย่อนช้อปดีมีคืนอีก 30,000 บาท เมื่อคิดเงินได้สุทธิแล้วจะอยู่ที่ 171,000 บาท
การคำนวณภาษีจะเป็นการคิดคำนวณแบบขั้นบันได ซึ่งเงินได้สุทธิ 171,000 บาท จากข้อมูลอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2566 จะอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีฐาน 5% แต่เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาทแรก จะได้รับการยกเว้นภาษี ทำให้จะคิดภาษีเพียงแค่ 21,000 บาท ดังนั้นนายฟินจะเสียภาษีอยู่ที่ 1,050 บาท
แต่หากนายฟินต้องการประหยัดภาษีก็สามารถหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ อย่างเช่น กองทุนลดหย่อนภาษี SSF จำนวน 21,000 บาท (ซึ่งสามารถซื้อ SSF ได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท) จะทำให้นายฟินมีเงินได้สุทธิเหลือเพียง 150,000 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษี (0 – 150,000 บาทแรก) หรือก็คือนายฟินจะไม่เสียภาษีเลยนั่นเอง และนอกจากการลงทุนในกองทุน SSF จะสามารถช่วยประหยัดภาษีแล้ว ยังสามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้อีกด้วย
และสำหรับใครที่ต้องการหากองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี SSF / RMF ทาง ttb advisory ก็มีทางเลือกกองทุนที่หลากหลายให้เลือกสรรมากมาย สามารถเลือกตามระดับตามความเสี่ยงที่รับได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/personal/investment/mutual-funds และนอกจากนี้ ยังสามารถทดลองวางแผนการลงทุนตามเป้าหมายพร้อมลดหย่อนภาษีได้ ทาง ttb calculator และลงทุนผ่าน ttb smart port – SSF ที่มีผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลบริหารจัดการพอร์ตให้อีกด้วย ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/tsp
หากสนใจเปิดบัญชีกองทุน และลงทุนผ่านแอป ttb touch สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ttb investment line หรือโทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9:00 น. – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
เปลี่ยนภาษีให้เป็นเรื่องง่าย กับ My Tax
ฟีเจอร์ใหม่ My Tax บนแอป ttb touch ผู้ช่วยจัดการภาษีแบบครบวงจร ที่มาพร้อมฟีเจอร์ครบครันด้านภาษี ช่วยให้คุณวางแผนเพื่อประหยัดภาษีได้ล่วงหน้า สะดวก ใช้งานก็ง่าย แถมไม่ต้องยุ่งยากกับเอกสารอีกด้วย
1. ดึงข้อมูลอัตโนมัติจาก ttb
สะดวกยิ่งกว่า สำหรับลูกค้า ทีทีบี เพียง log-in เข้าแอป ttb touch คลิกที่ฟีเจอร์ My Tax ระบบจะนำข้อมูลเงินได้และค่าลดหย่อนล่าสุดของคุณจากฐานข้อมูลที่มีอยู่กับ ทีทีบี มาใช้ตั้งต้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการคำนวณภาษีให้อัตโนมัติ
2. วางแผนภาษีและตั้งเป้าหมาย
ช่วยเรื่องการวางแผนประหยัดภาษีล่วงหน้า และตั้งเป้าหมายที่คุณต้องการเพื่อไม่ให้ลืม และพลาดโอกาสลดหย่อนภาษี เพราะรู้ได้ทันทีว่าลดหย่อนภาษีด้วยอะไรได้บ้าง ทั้งประกัน กองทุน รวมถึงบริจาค และยังช่วยคำนวณสิทธิ์ลดหย่อนสูงสุดตามสิทธิ์ของคุณให้ทันที จะได้บริหารจัดการเงินเพื่อทยอยลดหย่อนได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องรอซื้อทีเดียวแค่ตอนปลายปี
3. แนะนำผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษี
ช่วยแนะนำตัวเลือกลดหย่อนภาษีที่เหมาะกับแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF หรือ RMF ตามความเสี่ยงที่รับได้ หรือประกันที่เหมาะสม รวมถึงสามารถบริจาคเพื่อลดหย่อนภาษีได้ครบ จบ ในที่เดียวบน My Tax เพื่อให้คุณไม่พลาดทุกรายการลดหย่อนภาษี อีกทั้งยังช่วยบันทึกข้อมูลการซื้อผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษีให้อัตโนมัติอีกด้วย
4. แฟ้มจัดเก็บเอกสาร
My Tax มอบพื้นที่จัดเก็บเอกสารภาษีไว้ให้คุณใช้งานฟรี เป็นเหมือนแฟ้มสำหรับรวบรวมเอกสารเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ ไม่ต้องยุ่งยากในการค้นหา หมดกังวลเรื่องเอกสารหาย
โปรโมชันกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2566
ซื้อหรือสับเปลี่ยนเข้ากองทุน RMF/ SSF ของ บลจ. 5 แห่ง ที่เข้าร่วมโปรโมชัน หรือโอนกองทุน LTF จาก บลจ. อื่นเข้ากองทุน LTF ของ บลจ. 4 แห่ง ที่เข้าร่วมโปรโมชัน (ยกเว้น ONEAM) ทุก ๆ 50,000 บาท ของการลงทุนในแต่ละ บลจ. จะได้รับเงินลงทุนเพิ่มในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) จำนวน 100 บาท (ตามเงื่อนไขของ บลจ. ที่ได้ลงทุน) ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 29 ธันวาคม 2566 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/rmf-ssf-2023
โปรโมชันพิเศษ ! เพิ่มโอกาสมั่งคั่ง ด้วย DCA กับกองทุน ttb smart port
รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port เมื่อลงทุนขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป ติดต่อกัน 12 เดือน โดยเริ่มตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 29 ธันวาคม 2566ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/tspdca2023
คำเตือน :
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด / กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ /กองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการลงทุนให้ครบถ้วน / สอบถามข้อมูล และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ttb ทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 - 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
หมายเหตุ :
ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปใช้ซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว
ที่มา : www.rd.go.th