ใครจะคาดคิดว่าทำงานอยู่ดีๆ ก็อาจมีเรื่องให้เจ็บตัวได้ง่ายๆ เพราะไลฟ์สไตล์ชีวิตการทำงานที่ยุ่งเหยิงและความเร่งรีบในแต่ละวันทำให้อุบัติเหตุระหว่างทำงานถูกมองเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วตามสถิติประกันสังคมในปี 2022 ดังรายละเอียดปรากฏในข้อมูลสถิติกองทุนเงินทดแทน พบว่ามีคนทำงานต้องขอหยุดงานเพราะอุบัติเหตุระหว่างทำงานกว่า 78,245 คน โดยกว่า 29.51% ต้องหยุดงานนานเกินกว่า 3 วัน เจ็บตัวว่าแย่แล้ว ยังต้องมาเจ็บใจกับค่ารักษาอีกรอบ มนุษย์เงินเดือนจะเอาตัวรอดทางการเงินอย่างไรดีในวันที่ต้องเจ็บตัว
ในแต่ละปี วัยทำงานเจ็บตัวกับเรื่องอะไรบ้าง
อุบัติเหตุในที่ทำงานอาจไม่ใช่เรื่องไกลตัวเกินไปนักหากดูจากตัวเลขสถิติจากประกันสังคมในปี 2022 ที่ผ่านมาจะพบว่าชีวิตประจำวันของการทำงานมีเหตุให้เลือดตกยางออกได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเพราะ โดนสิ่งของทิ่มแทง ตกจากที่สูง หกล้ม/ลื่นล้ม รวมกว่า 78,245 คน
ตัวเลขนี้รวบรวมจากการประสบอันตรายในทุกสายอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่ข้องเกี่ยวกับเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่าง ภาคการผลิตและการขนส่ง และพนักงานเครื่องจักรหรือประกอบชิ้นส่วนมักมีเหตุให้ต้องลาหยุดจากการบาดเจ็บรวมกันมากที่สุดถึง 56.50% ของอาชีพทั้งหมด ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการโดนวัตถุสิ่งของทิ่มแทง หล่นทับและกระแทก และการบาดเจ็บในที่ทำงานมักมีลักษณะของบาดแผลลึก ข้อต่อเคล็ด กระดูกหักแตกร้าวรวมกว่า 56,872 ราย อ้างอิงจาก สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ภาพรวมทั่วประเทศ ปี 2564 จากเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม
ตัวเลขนี้อาจเป็นข้อฉุกคิดให้คนทำงานด้วยกันเองเริ่มมองเห็นความเสี่ยงที่ขยับเข้าใกล้มากขึ้นและไม่ลืมถึงความสำคัญของตัวช่วยทางการเงินเพื่อเป็นเบาะรองรับในยามกายล้มตัวเจ็บ เช่น เงินสำรองฉุกเฉิน หรือ ประกันอุบัติเหตุ
Emergency Fund เบาะรองรับทางการเงินสร้างอย่างไร
เมื่อได้รู้ถึงความเสี่ยงของการบาดเจ็บจากการทำงานที่อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หลายคนอาจเริ่มมีคำถามเกี่ยวกับเบาะรองรับในยามฉุกเฉินจากเงื่อนไขชีวิตที่ต่างกัน เช่น ยังไม่ได้เริ่มทำ ไม่ได้ทำประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันสุขภาพเผื่อไว้ เป็นคนใช้เงินเดือนชนเดือนและอาจไม่พอเหลือเป็นเงินสำรองฉุกเฉินเพราะภาระค่าใช้จ่ายสูง
นอกจากนี้อาชีพที่ต่างกัน ความเสี่ยงของการบาดเจ็บก็ย่อมเสี่ยงตาม หรือลักษณะประกันสังคมที่ถ้าเป็นกรณีประสบอันตรายฉุกเฉินต้องสำรองจ่ายไปก่อน ทั้งยังความกังวลจากภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นตามมาหรือกรณีร้ายแรงที่อาจไม่สามารถกลับมาทำงานอย่างเดิมได้ เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลสำคัญให้คนวัยทำงานเริ่มสร้างเบาะรองรับทางการเงินอย่าง Emergency Fund หรือ เงินสำรองฉุกเฉิน เพื่อในวันที่ภัยมาถึงก็ยังคงยืนหยัดได้ ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
มีกระปุกเก็บเงินโดยเฉพาะ
การเริ่มต้นเก็บเงินที่ดีที่สุดคือการมีเป้าหมายที่ชัดเจน วิธีหนึ่งที่จะช่วยสร้างวินัยในการออมเงินอย่างจริงจังคือการมีกระปุกเก็บเงินที่เจาะจงกับแผนการในอนาคต เช่น มนุษย์เงินเดือนที่ต้องการสะสมเงินสำรองฉุกเฉินไว้สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด อย่างการประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บหรือการต้องออกจากงานแบบฉุกละหุก สามารถสร้างเกราะป้องกันใจจากเรื่องไม่คาดฝัน ได้ด้วยการเปิดบัญชีเงินฝาก ตรงกับโจทย์การใช้งาน เช่น เปิดบัญชีเงินฝากที่มีประกันอุบัติเหตุมาให้ฟรี อย่าง บัญชี ttb all free เพียงคงเงินฝากไว้ในบัญชีไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ทุกวันตลอดทั้งเดือน เพื่อออมเงินค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่ต้องจ่ายเพิ่มเก็บเข้ากระเป๋าตัวเองไว้เอง
ใช้แอปพลิเคชันเข้ามาช่วย
ลำพังทำงานอย่างเดียวก็เอาเวลาชีวิตของมนุษย์ทำงานไปเกินกว่าครึ่ง จึงเป็นเหตุผลให้เรื่องของการวางแผนทางการเงินและดูแลสุขภาพตัวเองกลายเป็นเรื่องรองลงไป สิ่งหนึ่งที่จะช่วยแบ่งเบาให้คนงานยุ่งรับมือเรื่องเงินได้ดีขึ้นได้คือการใช้แอปพลิเคชันเข้ามาช่วยจัดการสารพัดเรื่องการเงิน อย่างแอป ttb touch ที่สามารถเลือกลิมิตวงเงินที่ออกจากบัญชีเงินฝากในแต่ละวัน เปลี่ยนวงเงินใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตให้พอเหมาะตามเป้าหมายการออม ช่วยลดการใช้จ่ายตามใจและเกินตัว รวมทั้งมีตัวเลือกให้เปิด-ปิดการใช้จ่ายออนไลน์บนบัตรเดบิตเพื่อลดการช้อปปิ้งออนไลน์ที่ทำได้ง่ายมากๆ ดังนี้
- จากหน้าหลักไปที่ปุ่ม บัญชี ที่แถบเมนูด้านล่าง
- เลือกเมนูเงินฝากที่ต้องการทำรายการ
- เลือกแถบข้อมูลบัญชี
- เลื่อนลงมาที่หัวข้อ การจัดการบัญชี เลือกเมนู บัตรเดบิต
- เลือกบัตรที่ต้องการตั้งค่า
- เลือก กำหนดวงเงินและการใช้บัตร
- ตั้งค่าวงเงินการใช้บัตร และตั้งค่ารายการ เพื่อกำหนดวงเงินการถอนเงิน หรือวงเงินการซื้อสินค้าและบริการผ่านบัตรเดบิต และในหัวข้อ การอนุญาต สามารถตั้งค่า เปิด/ปิด การใช้งานบัตรในต่างประเทศ, การใช้งาน Paywave หรือการใช้ซื้อสินค้า/บริการ online ได้เลยทันที
- ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง และใส่ PIN เพื่อยืนยันการทำรายการ
- ทำการตั้งค่าบัตรเดบิตสำเร็จ
ยั้งใจไม่แตะเงินฉุกเฉิน
เชื่อว่าการหักห้ามใจไม่เอาเงินเก็บส่วนฉุกเฉินออกมาใช้อาจเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะเมื่อตั้งใจกันเงินส่วนนี้เอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินเท่านั้น เช่น สำรองเผื่อเกิดอุบัติเหตุเจ็บป่วย มีความจำเป็นต้องออกจากงาน มีเรื่องให้ซ่อมรถซ่อมบ้าน หรือเรื่องฉุกเฉินอื่นๆ สิ่งสำคัญคือต้องไม่นำเงินส่วนนี้มาใช้กับเรื่องไม่เร่งด่วนโดยเด็ดขาด
มีตัวช่วยเป็นเบาะ 2 ชั้นเบาใจกว่า
ท้ายที่สุดแล้ว เพราะทุกคนมีชีวิตและร่างกายเดียว การเลือกความคุ้มครองให้กับตัวเองจึงไม่เพียงเพื่อรองรับการบาดเจ็บทางกายเท่านั้น แต่ยังโอบรับความรู้สึกทางใจทั้งของตัวเองและคนที่รัก ตัวช่วยทางการเงินอย่างบัตรเดบิต ttb all free จึงเพิ่มความคุ้มครองได้อีกชั้น แม้ใช้ชีวิตสมบุกสมบันก็สามารถอุ่นใจได้กว่าเดิม ได้ทั้งออมเงินและประกันอุบัติเหตุในทีเดียว เพราะฝากเงินไว้ในบัญชี ttb all free ไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ทุกวัน ตลอดทั้งเดือนได้ฟรีประกันอุบัติเหตุ เบิกค่ารักษาฟรี สูงสุด 3,000 บาท / อุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และ มีความคุ้มครองชีวิต 20 เท่าของเงินฝาก สูงสุด 3 ล้านบาท
หากว่าใครกำลังมองหาบัญชีเงินฝากและบัตรเดบิตไว้ใช้ ได้รับเพิ่มประกันอุบัติเหตุฟรี สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เปิดบัญชีเงินฝาก ทีทีบี ออลล์ฟรี หรือ ทีทีบี คอนแทค เซ็นเตอร์ โทร 1428