external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Retail Therapy คืออะไร ทำไมช้อปปิ้งถึงแก้เครียด

#ttb #fintips #บัตรเครดิต #บัตรเครดิตttb #สมัครบัตรเครดิตttb #RetailTherapyShopping
1 มิ.ย. 2566

  • ตามใจตัวเองเกินไปอาจเสี่ยงต่อสุขภาพทางการเงินจากการช้อปปิ้งจนเกินตัว
  • ฝึกทักษะทางการเงินด้วยสูตร 50/30/20 บริหารรายได้ต่อเดือนให้พอใช้

 

Retail Therapy คืออะไร

Retail Therapy คืออะไร

หากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่หมดไปกับการซื้อสิ่งของต้องใจ นี่อาจเป็นสัญญานว่าเรากำลังใช้การช้อปปิ้งเข้ามาช่วยบำบัดความเครียด หรือที่เรียกกันว่า Retail Therapy ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป อ้างอิงจากงานวิจัย พบว่า 62% ของนักช้อปจ่ายเงินซื้อของเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อได้เดินเลือกซื้อสิ่งของใหม่ๆ เข้าร้านนู้นออกร้านนี้ หรือ ช้อปปิ้งออนไลน์ที่ได้กดเข้าไปดูสินค้าในร้าน คลิกใส่ตะกร้าไว้ก่อนแม้ไม่จำเป็นต้องใช้ ความสุขที่เกิดขึ้นทำให้คนส่วนใหญ่รู้สึกดีกับชีวิตมากขึ้น ลืมความเศร้าหรือเรื่องแย่ๆ ที่เกิดขึ้นไปได้ชั่วคราว

แต่ทว่า Retail Therapy อาจสร้างปัญหาระยะยาวให้เครียดกว่าเดิมได้ ทั้งในแง่สุขภาพจิต เพราะหากตามใจตัวเองด้วยการซื้อของอยู่เรื่อยๆ อาจนำไปสู่การเสพติดการช้อปปิ้งที่เห็นอะไรก็ซื้อโดยไม่วางแผนไตร่ตรองให้ดี และที่สำคัญยังเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพทางการเงินจากการช้อปปิ้งจนเกินตัว จนอาจต้องนำเงินเก็บมาใช้ หรือสร้างหนี้จากภาระค่าใช้จ่าย เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยทักษะทางการเงินที่ดีเพื่อไม่ให้ความสุขประเดี๋ยวประด๋าวกลับมาทำร้ายกันในภายหลัง


ช้อปปิ้งอย่างไรให้สุขภาพการเงินดี ไม่ทำร้ายเงินเก็บ

ช้อปปิ้งอย่างไรให้สุขภาพการเงินดีไม่ทำร้ายเงินเก็บ

นักช้อปย่อมอยากรู้ว่าต้องเติมสุขทางใจแบบไหนที่ไม่ทำให้เงินรั่วไหลจากกระเป๋า เพราะสุขภาพการเงินที่ดีย่อมทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นตามไปด้วย เริ่มต้นที่การสร้างทักษะทางการเงินจากการวางแผนการใช้จ่ายด้วยการ ตั้งงบประมาณ จัดลำดับความสำคัญ และ ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ปรับนิสัยให้ช้อปปิ้งอย่างมีวินัยเพื่อความสุขระยะยาว


ตั้งงบประมาณ

การมีงบตั้งไว้เป็นเป้าหมายในการคุมรายจ่ายไม่ให้เกินตัว เช่น ตั้งเป้าไว้ว่ารางวัลตัวเองได้เท่าไหร่และไม่จ่ายเกินกว่านั้น จะช่วยให้นักช้อปรักษาสุขภาพการเงินที่ดีไว้ได้ ซึ่งการตั้งงบประมาณทำได้หลายวิธี ได้แก่

กฎ-50-30-20

  • ใช้กฏ 50/30/20 สูตรสำเร็จเพื่อบริหารรายได้ต่อเดือนให้พอใช้ โดยให้ 50% ของรายได้สำหรับใช้จ่ายเรื่องจำเป็น เช่น ค่าเช่า ค่าบ้าน ค่ากิน อีก 30% ไว้สำหรับรายจ่ายจิปาถะ เช่น ช้อปปิ้งกินเที่ยว ส่วน 20% คือส่วนที่ควรเก็บออมหรือชำระหนี้เพิ่มเติม
  • ใช้ระบบหักบัญชีอัติโนมัติ หากการห้ามใจตัวเองเป็นเรื่องยากการเปิดบัญชีฝากประจำที่จะหักเงินจากบัญชีรายรับเข้าบัญชีเงินออมอาจช่วยให้นักช้อปสามารถสำรองเงินส่วนจำเป็นเก็บไว้ในบัญชีเผื่อในยามฉุกเฉินได้


จัดลำดับความสำคัญ

หนึ่งวิธีช่วยให้นักช้อปมีสุขภาพการเงินที่ดีคือการให้ความสำคัญกับสิ่งที่จำเป็นมากกว่าสิ่งที่ต้องการเพื่อบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มต้นโดยการทำลิสต์รายจ่ายจำเป็นที่เกิดขึ้นในทุกเดือน เช่น ค่าเช่าที่อยู่อาศัย ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเดินทางและอื่นๆ จากนั้นจึงตั้งเป้าหมายทางการเงิน เช่น เคลียร์ค่าผ่อนบ้าน เตรียมเงินเกษียณ เก็บเงินดาวน์รถ เพื่อให้มองเห็นทิศทางได้ว่าควรจัดสรรเงินต่อเดือนไปกับส่วนใหญ่ แล้วจึงจัดหมวดหมู่ตามความสำคัญให้กับรายจ่ายจิปาถะ เช่น ค่ากินข้าวนอกบ้าน ค่าช้อปปิ้ง หรือรายจ่ายที่เสียไปกับงานอดิเรกต่างๆ ท้ายที่สุดจะช่วยให้นักช้อปสามารถจัดลำดับความสำคัญได้อย่างเห็นภาพมากขึ้น ช่วยลดการเสียเงินให้กับความอยากได้ชั่ววูบ


ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

คนเรามักให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ กับตัวเองจนบางทีก็สะสมเป็นเงินก้อนใหญ่ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะช่วยให้ติดตามได้ว่าเราสปอยล์ตัวเองเกินไปหรือไม่ เริ่มต้นที่การปรับนิสัยโดยการย้อนดูงบประมาณที่ตั้งไว้แต่แรกจากนั้นจึงเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายว่าเทไปทางฝั่งไหน แล้วจึงปรับนิสัยการใช้จ่ายในส่วนนั้นให้น้อยลง เช่น เปลี่ยนการนั่งคาเฟ่เป็นการทำเครื่องดื่มกินเอง การมองหาทางเลือกอื่นๆ จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่าย สิ่งสำคัญคือการตั้งเป้าหมายให้ตรงความเป็นจริงและเป็นไปได้ โดยค่อยๆ ปรับตัวจากการประหยัดรายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ แทนการตัดงบตัวเองในคราวเดียวเพราะอาจทำให้เครียดได้ รวมทั้งให้รางวัลตัวเองเป็นครั้งคราว


มีตัวช่วยเพิ่มความคุ้มเป็นของตัวเอง

ท้ายที่สุด การมีตัวช่วยเสริมคือหนึ่งทางของคนฉลาดใช้ที่เพิ่มความคุ้มให้กับรายจ่ายที่เสียไป โดยเฉพาะนักช้อปที่ซื้อของออนไลน์อยู่แล้วเป็นประจำ หรือ คนทำงานที่มีของชิ้นใหญ่ตั้งใจซื้อเป็นรางวัลความขยัน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ต้องซื้อของใช้ให้เจ้าตัวน้อยทุกเดือนเยอะๆ หรือ นักเดินทางที่ต้องจองตั๋วเครื่องบิน บัตรเครดิต ttb คือหนึ่งตัวเลือกที่ดีที่ช่วยคืนความคุ้มกลับเข้ากระเป๋าทั้งในรูปแบบของ คะแนนสะสมและเครดิตเงินคืน ตัวเลือกที่แตกต่างแต่คุ้มค่า จะรู้ได้อย่างว่าควรเลือกสมัครบัตรเครดิตแบบไหนระหว่าง บัตรเครดิตแบบสะสมคะแนนกับบัตรเครดิตแบบรับเครดิตเงินคืน ก็อยู่ที่ไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายว่าเป็นคนพกบัตรเครดิตแทนเงินสดเพื่อความสะดวกคล่องตัวในการใช้จ่าย หรือ คนที่พกบัตรเป็นตัวช่วยเพิ่มส่วนลดเมื่อซื้อสินค้าและบริการเพราะต้องการจ่ายน้อยลง บัตรเครดิตแต่ละใบจาก ttb มีผลตอบแทนกลับคืนต่างกันแต่ความคุ้มค่าไม่เป็นรองใคร ให้ทุกการใช้จ่ายสำคัญๆ ได้ทั้งส่วนลด เครดิตเงินคืน หรือของรางวัลกลับคืน

บัตรเครดิต ttb ตัวเลือกที่ดีที่ช่วยคืนความคุ้มค่า

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตได้ที่นี่ https://www.ttbbank.com/th/personal/credit-cards หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามหรือขอคำแนะนำได้ที่ ทีทีบี คอนแทค เซ็นเตอร์ 1428


อ้างอิง Atalay, A. S., & Meloy, M. G. (2011). Retail therapy: A strategic effort to improve mood. Psychology and Marketing,