การเป็นหนี้เสีย หรือ NPL คือ ปัญหาทางการเงินที่หลายคนอาจพบเจอเมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
หนี้เสีย คือ สถานะที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินระบุว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสถานะทางการเงินและโอกาสในการกู้ยืมในอนาคต วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหนี้เสียและผลกระทบที่มีต่อการกู้เงินกัน เพื่อช่วยให้คุณสามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หนี้เสีย NPL คืออะไร
หนี้เสีย หรือ NPL (Non-Performing Loan) คือ หนี้ที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่หมายถึงการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลา 90 วัน หนี้เสียเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การขาดรายได้ที่เพียงพอ การบริหารจัดการเงินไม่ดี หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การเจ็บป่วย หรือการสูญเสียงาน
หนี้เสีย คือหนี้มีผลกระทบต่อทั้งผู้กู้และธนาคาร ในมุมมองของผู้กู้ การมีหนี้เสียจะทำให้ประวัติการเงินของเรามีปัญหาและส่งผลให้การขอกู้ในอนาคตยากขึ้น ธนาคารจะมองว่าคุณมีความเสี่ยงสูงและอาจปฏิเสธการให้สินเชื่อใหม่ หรือเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
สำหรับธนาคาร การมีลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดจะทำให้มีหนี้ที่ต้องติดตามและบริหารจัดการเพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุน และต้องตั้งสำรองสำหรับหนี้เสียเพิ่มขึ้น
หนี้เสียมีอะไรบ้าง
- บัตรเครดิต : หนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตและไม่สามารถชำระเงินตามกำหนดเวลา
- สินเชื่อบุคคล : หนี้ที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือเพื่อการลงทุน
- สินเชื่อรถยนต์ : หนี้ที่เกิดจากการกู้เงินซื้อรถยนต์และไม่สามารถชำระเงินตามสัญญา
หนี้เสีย กับเครดิตบูโร ต่างกันอย่างไร
หนี้เสียและ เครดิตบูโร เป็นสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน แต่ไม่เหมือนกัน
เครดิตบูโรเป็นรายงานประวัติการชำระหนี้ที่ธนาคารใช้ในการพิจารณาการให้กู้เงิน ในขณะที่หนี้เสียคือสถานะของหนี้ที่ไม่สามารถชำระได้ การมีหนี้เสียจะส่งผลให้ประวัติเครดิตบูโรของเราเป็นลบ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการกู้เงินในอนาคต
หนี้เสียส่งผลต่อการกู้ธนาคารไหม
NPL คือ หนี้เสียที่ส่งผลอย่างมากต่อการกู้เงินจากธนาคาร เพราะธนาคารจะมองว่าเรามีความเสี่ยงสูงในการไม่ชำระหนี้ หากเรามีประวัติการเป็นหนี้เสีย ธนาคารอาจปฏิเสธการให้สินเชื่อหรือคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น ดังนั้น การแก้ไขหนี้ NPL จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำโดยเร็วที่สุด
วิธีแก้หนี้เสีย ก่อนโดน Blacklist
การแก้ไขปัญหาหนี้เสียไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ก่อนที่เราจะถูกขึ้นบัญชีดำ หรือ Blacklist ซึ่งจะทำให้การกู้เงินในอนาคตยากขึ้น ลองทำตามวิธีต่อไปนี้
1. ไม่สร้างหนี้เพิ่ม
หยุดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและไม่ก่อหนี้เพิ่ม เช่น
- งดใช้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด
- หลีกเลี่ยงการก่อหนี้ใหม่ทุกรูปแบบ
- ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น สมาชิกฟิตเนส หรือบริการสตรีมมิ่งต่างๆ
- พยายามใช้เงินสดในการซื้อสินค้าและบริการ เพื่อควบคุมการใช้จ่าย
2. จัดลำดับการจ่ายหนี้
วิธีจัดการหนี้เสีย คือ จัดลำดับความสำคัญในการชำระหนี้จะช่วยให้เราจัดการภาระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น
- เริ่มจากหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุด เช่น หนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสด
- จ่ายมากกว่ายอดขั้นต่ำเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดเงินต้นและดอกเบี้ยในระยะยาว
- อย่าละเลยหนี้อื่น ๆ พยายามจ่ายอย่างน้อยยอดขั้นต่ำเพื่อรักษาประวัติการชำระเงิน
3. รวมหนี้
พิจารณาการรวมหนี้เสียจากธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ซึ่งอาจช่วยลดภาระการผ่อนชำระรายเดือนได้
โดยนำเงินกู้ก้อนใหม่มาปิดหนี้เก่าทั้งหมด เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและมียอดผ่อนชำระเพียงที่เดียว
4. รีบเจรจากับธนาคาร
ติดต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ หลายธนาคาร รวมถึง ทีทีบี มีโปรแกรมช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาในการชำระหนี้
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดหนี้เสีย
- ประเมินศักยภาพก่อนยื่นกู้
- ชำระหนี้ตรงเวลา
- ปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
- ปรึกษาธนาคารเมื่อเริ่มมีปัญหาทางการเงิน
- หาความรู้เกี่ยวกับการเงินเพิ่มเติม
- ใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดเฉพาะเมื่อจำเป็น
- วางแผนการเงินระยะยาว
สรุปเกี่ยวกับหนี้เสีย (NPL)
การเป็นหนี้อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อชีวิตของเราหลายด้าน แต่ปัญหาการเป็นหนี้นั้นใช่ว่าจะหาทางออกไม่ได้ หนึ่งในช่องทางการชำระหนี้ที่หลายคนเลือกใช้คือการกู้สินเชื่อจากธนาคารหากจำเป็นต้องใช้เงินยามฉุกเฉิน
ทีทีบี ขอแนะนำ สินเชื่อบุคคล และ บัตรกดเงินสด ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม พร้อมเงื่อนไขที่ยืดหยุ่น เพื่อช่วยให้คุณจัดการภาระทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุดท้ายนี้ อย่าลืมยึดหลักสำคัญในการบริหารการเงิน นั่นคือ "กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว" เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหนี้เสียในอนาคต และหากคุณกำลังพิจารณาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ทีทีบีพร้อมให้คำปรึกษาและบริการอย่างตรงไปตรงเพื่อให้การเงินของคุณราบรื่น