external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

รู้ทันประเภทของหนี้สิน คืออะไร จัดการยังไงไม่ให้รัดตัว

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #หนี้สินคืออะไร #บัตรกดเงินสด #บัตรกดเงินสดทีทีบี แฟลช #ttbflash
23 ก.ย. 2567

ในยุคที่เศรษฐกิจไม่มั่นคงและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน การมีความรู้ ความเข้าใจ และรู้ทันประเภทของหนี้สิน จึงเป็นทักษะจำเป็นที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะหนี้สินไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวกำหนดคุณภาพชีวิตและอนาคตทางการเงินของเราได้ด้วย

วันนี้ ttb จึงอยากชวนคุณมารู้ทันประเภทของหนี้สิน คืออะไร? มีกี่ประเภท จัดการยังไงไม่ให้รัดตัว เพื่อหยุดปัญหาหนี้เรื้อรังได้อย่างยั่งยืน จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย


หนี้สิน คืออะไร

หนี้สิน คือภาระผูกพันทางการเงินที่บุคคลหรือองค์กรมีต่อบุคคลอื่นหรือสถาบันการเงิน โดยทั่วไปเกิดจากการกู้ยืมเงินหรือการซื้อสินค้าและบริการโดยยังไม่ได้ชำระเงิน ซึ่งจำเป็นต้องชำระคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด พร้อมดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมตามที่ตกลงกัน


หนี้สินมีกี่ประเภท

เมื่อพูดถึงหนี้สิน หลายคนอาจนึกถึงเพียงเงินกู้จากธนาคารเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง หนี้สินมีอะไรบ้าง 10 อย่าง ที่เราอาจเผชิญในชีวิตประจำวัน แต่จริง ๆ แล้วสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ หนี้ดี และหนี้ไม่ดี หรือหนี้ที่ไม่ก่อนประโยชน์

หนี้ดี

หนี้ดี คือหนี้สินที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะช่วยสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่คุณในอนาคต เช่น หนี้บ้าน หนี้รถที่ทำให้คุณได้สินทรัพย์เพิ่ม หนี้สินจากการลงทุนในธุรกิจจากการกู้สินเชื่อบุคคล หรือหนี้เพื่อการศึกษา

การมีหนี้สินเหล่านี้ จัดว่าอยู่ในหนี้ดี เนื่องจากก่อให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของเราได้มากกว่า ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจกู้เงิน ควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ และความเป็นจำเป็นในการเป็นหนี้ว่า เราจำเป็นแค่ไหนถึงจะต้องกู้เงินก้อนนี้ไป ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าหนี้สินที่เป็นอยู่จะเป็นหนี้ดี ก็ควรที่จะวางแผนจัดการบริหารการเงินให้ดี เพื่อจัดการหนี้สินให้หมดไป เพิ่มสภาพคล่องมากขึ้นในแต่ละเดือน

หนี้สินมีกี่ประเภท


หนี้ที่ไม่ก่อประโยชน์ (Non-Performing Loan)

หนี้ไม่ดี หรือหนี้ที่ไม่ก่อประโยชน์ คือหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง แต่ยังไม่ได้สินทรัพย์กลับคืนมา อาทิ หนี้ส่วนบุคคลแบบมีหลักทรัพย์ อาทิ สินเชื่อบ้านแลกเงิน หรือสินเชื่อรถแลกเงิน และไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน อาทิ สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งเหตุของการเป็นหนี้เหล่านี้ อาจเกิดจากเหตุฉุกเฉินทางการเงินที่ไม่คาดฝันมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น กู้เพื่อซ่อมบ้าน ซ่อมรถ ค่ารักพยาบาลเจ็บป่วยของคนในครอบครัว ธุรกิจสะดุด ขาดสภาพคล่อง ซึ่งเราสามารถดำเนินการกู้สินเชื่อเหล่านี้ได้ แต่ควรบริหารจัดการหนี้ก้อนนี้โดยไว และควรกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว


สาเหตุของการเป็นหนี้

การเป็นหนี้มักเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันหรือเกิดจากการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม การเข้าใจสาเหตุของการเป็นหนี้จึงเป็นก้าวแรกในการจัดการหนี้สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสาเหตุหลัก ๆ ของการเป็นหนี้ มีดังนี้

การใช้จ่ายเกินตัว

หนึ่งในสาเหตุหลักของการเป็นหนี้สิน คือการใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่มี ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย การลงทุนที่เกินกว่ารายได้ การใช้บัตรเครดิตอย่างไม่ยั้งคิด หรือการมีไลฟ์สไตล์ที่เกินกำลัง จนนำไปสู่การใช้จ่ายเกินตัวได้

เหตุการณ์ไม่คาดฝันในชีวิต

บางครั้งหนี้สิน อาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การเจ็บป่วยกะทันหัน ทรัพย์สินเสียหาย การสูญเสียงาน หรือภัยธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ต้องกู้ยืมเงินเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว

การขาดความรู้ทางการเงิน

การไม่เข้าใจหลักการบริหารการเงินพื้นฐาน เช่น การวางแผนงบประมาณ การแบ่งสัดส่วนรายได้เพื่อการออมและการใช้จ่าย หรือแม้แต่การลงทุนอย่างชาญฉลาด อาจนำไปสู่การตัดสินใจทางการเงินที่ผิดพลาดได้ง่าย เช่น การใช้จ่ายเกินตัว การพึ่งพาบัตรเครดิต หรือการลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงเกินไป ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหนี้สินและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้


วิธีจัดการหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดหนี้ที่เกินความจำเป็นและรักษาความสมดุลทางการเงิน การจัดการหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นทักษะสำคัญที่ทุกคนควรมี โดยมีวิธีการดังนี้

การทำงบประมาณส่วนบุคคล

การทำงบประมาณช่วยให้เราเห็นภาพรวมของรายรับและรายจ่ายทั้งหมด โดยระบุรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงกำหนดเงินส่วนที่สามารถใช้ในการชำระหนี้ เพื่อทำให้เราสามารถวางแผนการใช้จ่ายและการชำระหนี้ได้อย่างเหมาะสม

การจัดลำดับความสำคัญในการชำระหนี้

ควรเริ่มจากการชำระหนี้สินหมุนเวียนที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงก่อน เช่น หนี้บัตรเครดิต ก่อนที่จะจัดการกับหนี้สินอื่น ๆ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยในระยะยาว

การเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้

เมื่อประสบปัญหาทางการเงินและไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้ ควรเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้หรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้กู้สามารถบริหารจัดการหนี้สินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การรวมหนี้

การรวมหนี้ คือวิธีการจัดการทางการเงินที่รวมหนี้สินหลาย ๆ ก้อน ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้ผ่อนชำระต่างๆ มารวมเป็นหนี้ก้อนเดียวภายใต้สัญญาฉบับใหม่ อย่างบัตรกดเงินสดเงินทีทีบี แฟลช ช่วยให้คุณโอนยอดหนี้จากที่อื่นมาไว้ที่เดียว ลดค่างวดรายเดือน เพิ่มสภาพคล่องค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันให้คุณ ในอัตราดอกเบี้ยคงที่เริ่มต้น 13% ต่อปี ผ่อนนานสูงสุดถึง 99 เดือน นอกจากนี้บัตรกดเงินสด ทีทีบีแฟลช ยังสามารถเบิกถอนเงินสดได้ผ่านตู้ ATM ทั่วประเทศ หรือง่าย ๆ ได้ผ่านแอปพลิเคชัน ttb touch ไม่ต้องแบกภาระค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสด ค่าแรกเข้าและรายปี พกไว้ถึงแม้ยังไม่มีเหตุฉุกเฉินทางการเงิน ก็อุ่นใจกว่า พร้อมบริการผ่อนชำระสินค้า 0% ได้นานสูงสุดถึง 60 เดือน เฉพาะร้านค้าที่ร่วมรายการ ให้คุณไม่ต้องเสียเงินเก็บ เงินก้อน และนำไปวางแผนบริหารต่อยอดได้อีกด้วย

ดังนั้นเพื่อลดภาระในการชำระหนี้และทำให้การบริหารจัดการหนี้สินง่ายขึ้น การรวมหนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาหนี้สินจำนวนมาก และต้องการหาทางออกในการแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างยั่งยืน

การจัดลำดับความสำคัญในการชำระหนี้)


สรุปเกี่ยวกับประเภทของหนี้สินที่ควรรู้

หนี้สินเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิต แต่หากมีการจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ มีวินัย มีความรู้ในการบริหารเงิน และความเข้าใจในประเภทของหนี้สิน ไม่ว่าจะมีหนี้สินหมุนเวียนหรือหนี้สินระยะยาว ก็จะช่วยให้เรารักษาความสมดุลทางการเงิน ก้าวพ้นจากภาระหนี้สินได้ในที่สุด

หากคุณกำลังมองหาทางออกในการจัดการหนี้สิน ทีทีบีพร้อมให้คำปรึกษาทางการเงินที่เหมาะสมกับคุณ ไม่ว่าจะเป็นวงเงินสำรองพร้อมใช้ จากบัตรกดเงินสดทีทีบีแฟลช สินเชื่อส่วนบุคคล แคชทูโก สินเชื่อรถแลกเงิน หรือสินเชื่อบ้านแลกเงิน เรายินดีช่วยคุณวางแผนการเงินเพื่ออนาคตที่มั่นคง

**กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 18%-25% ต่อปี สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล
**กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.93% - 23% ต่อปี สำหรับสินเชื่อรถ
**กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 6.57% - 10.23% ต่อปี สำหรับสินเชื่อบ้าน