external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

3 วิธีรับมือกับปัญหาหนี้ครัวเรือน สามารถจัดการหนี้ได้อย่างไรบ้าง

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #หนี้ครัวเรือน #บัตรกดเงินสดทีทีบีแฟลช #ttbflash
6 ก.พ. 2568

สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในปัจจุบันกำลังเป็นประเด็นที่น่ากังวล โดยเฉพาะในช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว แต่ปัญหาหนี้ครัวเรือนก็ยังคงเป็นปัญหาที่หนักหน่วงสำหรับคนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในขณะที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวตาม ส่งผลให้หลายครอบครัวต้องพึ่งพาการกู้ยืมเพื่อรักษาระดับการใช้ชีวิต มาดูกันว่าเราจะมีวิธีรับมือกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่กำลังเผชิญอยู่ได้อย่างไรบ้าง


หนี้ครัวเรือน คืออะไร

หนี้ครัวเรือน คือภาระหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินของบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้จ่ายส่วนตัวหรือการประกอบธุรกิจ ครอบคลุมการกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมถึงสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) อย่างบริษัทบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งนี้ไม่นับรวมหนี้นอกระบบ


ประเภทของหนี้ครัวเรือน

การทำความเข้าใจประเภทของหนี้ครัวเรือนจะช่วยให้เราสามารถจัดการและวางแผนการชำระหนี้ได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้

หนี้ที่สร้างรายได้ (productive loan) หรือหนี้ดี

หนี้ที่สร้างรายได้หรือหนี้ดี คือการกู้ยืมเพื่อการลงทุนที่จะสร้างผลตอบแทนหรือมูลค่าเพิ่มในอนาคต เช่น หนี้เพื่อการศึกษาที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานและรายได้ที่สูงขึ้น หนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าเช่าในระยะยาวและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามเวลา หรือหนี้เพื่อการลงทุนในธุรกิจที่สร้างรายได้ หนี้ประเภทนี้มักมีดอกเบี้ยต่ำกว่าและสร้างประโยชน์ระยะยาวให้กับผู้กู้

หนี้ที่ไม่สร้างรายได้ (non-productive loan) หรือหนี้พึงระวัง

หนี้ประเภทนี้เป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือการใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้จากการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย หนี้จากการซื้อรถยนต์เพื่อใช้ส่วนตัวหรือหนี้จากการท่องเที่ยวพักผ่อน นอกจากนี้ หนี้ประเภทนี้อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นหนี้เสียได้ เนื่องจาก หนี้เหล่านี้มักมีดอกเบี้ยสูง หากวางแผนการชำระหนี้ไม่ดีก็อาจผิดนัดชำระหนี้ และส่งผลกระทบต่อประวัติเครดิตได้ในอนาคต


สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในปัจจุบัน

จากผลสำรวจล่าสุดของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลำรวจของสถาถนการณ์ในปัจจุบัน พบว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในปี 2567 อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยครัวเรือนไทยมีภาระหนี้สินเฉลี่ยสูงถึง 606,378 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 8.4% จากปี 2566 ที่มีภาระหนี้เฉลี่ย 559,408 บาทต่อครัวเรือน ที่น่าสนใจคือ ในจำนวนหนี้ทั้งหมดนี้ เป็นหนี้ในระบบ 69.9% และหนี้นอกระบบ 30.1% เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 16 ปีที่มีการสำรวจ และยังสูงสุดเป็นอันดับ 7 ของโลก

ปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่ 99.7% มีภาระหนี้สิน โดยส่วนใหญ่จะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค หนี้ที่อยู่อาศัย หนี้เพื่อธุรกิจและหนี้การศึกษา ในขณะเดียวกันก็พบว่าสัดส่วนรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ มีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย จึงทำให้ในช่วงปีที่ผ่านมา ประวัติสัติการชำระหนี้ของประชาชนประมาณ 71.1% เคยผิดนัดชำระหนี้ และอีก 28.4% ยังไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือสัดส่วนหนี้นอกระบบที่พุ่งสูงขึ้นถึง 30.1% สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนในระบบ หรือไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ จึงต้องหันไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด บางรายถูกเรียกดอกเบี้ยสูงถึง 20% ต่อเดือน หรือ 240% ต่อปี ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังเสี่ยงต่อการถูกข่มขู่ คุกคามหรือยึดทรัพย์สินหากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด


3 วิธีจัดการหนี้ครัวเรือน

การจัดการกับปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีแผนการที่ชัดเจนและเป็นระบบ มาดูกัน 4 วิธีที่จะช่วยให้คุณจัดการกับหนี้ครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. รวมหนี้เป็นก้อนเดียว

ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญของคนไทย โดยเฉพาะเมื่อมีหนี้หลายก้อนจากหลายแหล่ง ทำให้การบริหารจัดการหนี้เป็นเรื่องยุ่งยากและมีภาระดอกเบี้ยสูง การรวมหนี้เป็นก้อนเดียวจึงเป็นทางออกที่ทำให้คุณสามารถบริหารจัดการหนี้ได้ง่ายขึ้น ในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและยังสามารถรักษาประวัติการชำระเงินได้อีกด้วย

บัตรกดเงินสด ทีทีบี แฟลช

แนะนำบริการโอนยอดหนี้มาอยู่กับบัตรกดเงินสด ทีทีบี แฟลช นี้

อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 13% ต่อปี และคงที่เท่าเดิม ผ่อนชำระคืนได้นานสูงสุดถึง 99 เดือน เดือนที่ 100 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ไม่มีค่าธรรมเนียมการรวมหนี้และยังมีเงินสดสำรอง จัดการเรื่องด่วน เหตุการณ์ในฉุกเฉินได้ พร้อมให้คุณนำไปปิดหนี้บัตร ลดภาระค่างวดต่อเดือนให้น้อยลง ขยายเวลาผ่อนชำระได้นานขึ้นอีกด้วย

*เงื่อนไขการพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

2. ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น คืออีกวิธีที่จะสามารถจัดการหนี้ครัวเรือนได้ เริ่มจากการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกได้ เช่น การทำอาหารกินเองแทนการสั่งเดลิเวอรี่ การใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการขับรถส่วนตัว การยกเลิกสมาชิกบริการที่ไม่จำเป็น ฯลฯ แทน

3. หาช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม

การหาเพิ่มรายได้เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในการจัดการหนี้ครัวเรือน ปัจจุบันมีช่องทางการสร้างรายได้เสริมมากมาย เช่น การรับงานฟรีแลนซ์ การขายของออนไลน์ การให้บริการสอนพิเศษหรือการทำงาน Part-time ในช่วงวันหยุด โดยรายได้พิเศษเหล่านี้ควรนำไปชำระหนี้เป็นลำดับแรก ไม่ควรนำไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เพื่อให้สามารถปลดหนี้ได้เร็วขึ้น

เก็บออมหรือลงทุน เพิ่อลดภาระหนี้


สรุปบทความ

การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งความมุ่งมั่นและวินัยทางการเงิน เริ่มตั้งแต่การทำความเข้าใจประเภทของหนี้ การวางแผนจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ ไปจนถึงการสร้างวินัยทางการเงินในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการรวมหนี้เป้นก้อนเดียว การควบคุมค่าใช้จ่าย การหารายได้เพิ่ม ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถหลุดพ้นจากวงจรหนี้สินได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่กำลังมองหาตัวช่วยในการบริหารและจัดการหนี้ บริการสินเชื่อบุคคลจากทีทีบีอาจเป็นทางเลือกที่ช่วยให้คุณจัดการภาระหนี้ได้ง่ายขึ้น ด้วยบริการโอนยอดหนี้มาที่บัตรกดเงินสด ทีทีบี แฟลช ไม่มีค่าธรรมเนียมในการโอนยอด สมัครได้ง่ายผ่าน 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ เว็บไซต์ ttb แอป ttb touch และttb ทุกสาขาทั่วประเทศ

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว : อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี เงื่อนไขการพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด