ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถือเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าและเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยในปัจจุบันผู้ที่ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องเสียภาษีในอัตราที่แตกต่างกัน ตามประเภทการใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการเกษตร การอยู่อาศัย หรือเชิงพาณิชย์ วันนี้ ทีทีบี พร้อมสรุปรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องเสียเท่าไหร่ ใครมีหน้าที่ต้องจ่าย แบบครบจบในบทความเดียว
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร?
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งถูกนำมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่แบบเดิม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2562 และเริ่มจัดเก็บตั้งแต่ 1 มกราคม 2563
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 รัฐบาลได้มีมาตรการผ่อนปรนเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยลดภาษีลง 90% ในปี 2563-2564 และในปี 2565-2566 ปรับลดภาษีลง 10%
สำหรับในปี 2567 เป็นต้นมาจะเรียกเก็บภาษีเต็ม 100% ซึ่งเริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างเต็มรูปแบบในงวดแรกของเดือนมิถุนายน 2567 เป็นต้นมา
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีกี่ประเภท
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม และที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยแต่ละประเภทมีอัตราภาษีและเงื่อนไขการจัดเก็บที่แตกต่างกัน
1. ภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
- บุคคลธรรมดา เป็นเจ้าของที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีที่ต้องเสีย 50 - 125 ล้านบาท 0.01% 125 - 150 ล้านบาท 0.03% 150 - 550 ล้านบาท 0.05% 550 - 1,050 ล้านบาท 0.07% 1,050 ล้านบาทขึ้นไป 0.10% ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป สำหรับบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของจะได้รับการยกเว้นภาษีกรณีที่ดินมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ในขณะที่นิติบุคคลจะไม่ได้รับการยกเว้น
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษีที่ต้องเสีย |
---|---|
0 - 75 ล้านบาท | 0.01% |
75 - 100 ล้านบาท | 0.03% |
100 - 500 ล้านบาท | 0.05% |
500 - 1,000 ล้านบาท | 0.07% |
1,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.10% |
2. ภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก โดยเจ้าของมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับมูลค่า 50 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินจะเสียภาษีในอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ กรณีบ้านหลังที่สองขึ้นไปจะต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ โดยมีการแบ่งประเภทตามมาตราดังนี้
- มาตรา 3(2)(ก) หรือบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว
- มาตรา 3(2)(ข) หรือบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว
- มาตรา 3(2)(ค) หรือบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังขึ้นไป
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษีที่ต้องเสีย | ||
---|---|---|---|
มาตรา 3(2)(ก) | มาตรา 3(2)(ข) | มาตรา 3(2)(ค) | |
0 - 10 ล้านบาท | ได้รับการยกเว้นภาษี | ได้รับการยกเว้นภาษี | 0.02% |
10 - 50 ล้านบาท | 0.02% | 0.02% | |
50 - 75 ล้านบาท | 0.03% | 0.03% | 0.03% |
75 - 100 ล้านบาท | 0.05% | 0.05% | 0.05% |
100 ล้านบาทขึ้นไป | 0.10% | 0.10% | 0.10% |
3. ภาษีที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม
ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรม หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ เช่น โรงแรม ร้านค้า อาคารสำนักงาน โรงงาน จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าการใช้ประโยชน์ประเภทอื่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างคุ้มค่า
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษีที่ต้องเสีย |
---|---|
0 - 50 ล้านบาท | 0.30% |
50 - 200 ล้านบาท | 0.40% |
200 - 1,000 ล้านบาท | 0.50% |
1,000 - 5,000 ล้านบาท | 0.60% |
5,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.70% |
4. ภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ หรือที่ทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่า จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงที่สุด เพื่อกระตุ้นให้เจ้าของที่ดินนำที่ดินไปใช้ประโยชน์
มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | อัตราภาษีที่ต้องเสีย |
---|---|
0 - 50 ล้านบาท | 0.30% |
50 - 200 ล้านบาท | 0.40% |
200 - 1,000 ล้านบาท | 0.50% |
1,000 - 5,000 ล้านบาท | 0.60% |
5,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.70% |
เงื่อนไขสำคัญที่ต้องรู้ หากปล่อยที่ดินรกร้างว่างเปล่าเกิน 3 ปีติดต่อกัน อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก 3 ปี แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 3%
อย่างไรก็ตาม ที่ดินที่อยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อทำประโยชน์ หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือถูกลิดรอนสิทธิตามกฎหมาย หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นศาล จะได้รับการยกเว้นไม่ถือเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ใครมีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การพิจารณาผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะดูจากความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามที่ระบุในโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่
- เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน
- ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ เช่น ผู้เช่าที่ราชพัสดุ หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเริ่มเสียเมื่อไหร่
ผู้ถือครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ณ วันที่ 1 มกราคมของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับปีนั้น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ และผู้เสียภาษีต้องชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี หากพ้นกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน
วิธีคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีสูตรการคำนวณ 3 แบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของทรัพย์สินที่ถือครอง ได้แก่ ที่ดินเปล่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด จะใช้วิธีการคำนวณแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีในแต่ละขั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. วิธีคำนวณภาษีที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง
สูตรการคำนวณภาษีที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง คือ มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
2. วิธีคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
สูตรการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
3. วิธีคำนวณภาษีสำหรับห้องชุด
สูตรการคำนวณภาษีที่ดินสำหรับห้องชุด คือ มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
สรุป
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสิ่งที่เจ้าของที่ครอบครองกรรมสิทธิ์ทุกคนต้องทำความเข้าใจ หากทรัพย์สินที่ถือครองมีมูลค่าตามเกณฑ์ที่กำหนด ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีตามกำหนดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ ทั้งนี้ อัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทการใช้ประโยชน์และมูลค่าทรัพย์สิน
สำหรับใครที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และไม่อยากทิ้งไว้เปล่าๆ ให้เสียประโยชน์ สามารถนำมาเป็นทุนสร้างโอกาสทางการเงิน เพื่อต่อยอดธุรกิจหรือความฝันให้เป็นจริงได้ ด้วย สินเชื่อบ้านแลกเงิน ทีทีบี วงเงินอนุมัติสูงสุด 90% หรือสูงสุด 15 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนได้นานสูงสุด 30 ปี ดอกเบี้ยพิเศษ ฟรี! ค่าจดจำนอง ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยตลอดอายุสัญญา มีเจ้าหน้าที่สินเชื่อพร้อมให้บริการถึงที่
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว : อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 6.496% - 10.150% ต่อปี • อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบัน = 7.705%ต่อปี ณ วันที่ 1 พ.ย.67 • อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ • เงื่อนไขการสมัคร และอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด