ถึงแม้ว่าการเดินทางในปัจจุบันจะสะดวกสบายขึ้นมาก แต่ “รถยนต์” ก็ยังมีความสำคัญและมีบทบาทในชีวิตประจำวันของใครหลาย ๆ คน ซึ่งการซื้อรถยนต์นั้นถือเป็นค่าใช้จ่ายระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและศึกษารายละเอียดให้ดี ก่อนซื้อ ลองมาดูกันว่าถ้าอยากมีรถยนต์สักคัน ควรวางแผนการเงินอย่างไรและมีขั้นตอนอะไรบ้าง
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าไฟแนนซ์ เงินดาวน์และเงินผ่อนคืออะไร ?
- การจัดไฟแนนซ์ คือ การขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ธนาคาร หรือบริษัทไฟแนนซ์ เพื่อนำเงินมาซื้อรถยนต์
- เงินดาวน์ เป็นการจ่ายเงินสดบางส่วนก่อนการจัดไฟแนนซ์ ยิ่งดาวน์เยอะเท่าไหร่ ภาระในการผ่อนชำระต่อเดือนก็จะยิ่งต่ำลงเท่านั้น เช่น ดาวน์ 20% หรือ 25% ซึ่งนอกจากจะผ่อนชำระต่อเดือนไม่สูงมากแล้ว ยังอาจจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราพิเศษด้วย
- เงินผ่อนชำระ คือ เงินที่ต้องจ่ายให้ไฟแนนซ์ทุกเดือน จนกว่าจะครบตามสัญญา
ขั้นตอนที่ 1 เลือกรถยนต์ให้เหมาะสมกับรายได้
หากใครที่ต้องการจะซื้อรถยนต์ด้วยเงินผ่อน ควรผ่อนไม่เกินประมาณ 40% ของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งถ้าเอาเงินผ่อนที่เหมาะสมเป็นตัวตั้ง ก็จะทำให้เราคิดย้อนกลับไปได้ว่า ราคารถที่เหมาะสมที่เราควรจะซื้อเป็นจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งจะช่วยให้เราเลือกซื้อรถได้เหมาะสม ไม่เป็นภาระจนเกินไป โดยวิธีคิดคือ (เงินผ่อนต่อเดือน x จำนวนเดือนที่ผ่อน)/(1+ดอกเบี้ย) x %ยอดเงินกู้)
ตัวอย่างเช่น มีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน ถ้าหากต้องการดาวน์ 20% ผ่อนชำระ 60 งวด ดอกเบี้ย 3.5% ต่อปี ราคารถยนต์ที่เหมาะสมคือเท่าไหร่ ?
- เงินผ่อนต่อเดือน : ควรผ่อนรถไม่เกิน 30,000 x 40% = 12,000 บาท
- ราคารถยนต์ : (12,000 บาท x 60 เดือน )/(1+3.5%) x 80%) = 869,565.22 บาท
ดังนั้น ราคารถยนต์ที่เหมาะสมกับรายได้ 30,000 บาท คือประมาณ 870,000 บาท
ขั้นตอนที่ 2 ค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ 1 คัน
การมีรถยนต์ 1 คัน นอกจากค่าใช้จ่ายอย่างค่างวดหรือค่าผ่อนชำระในแต่ละเดือนที่ต้องรับผิดชอบแล้ว ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะตามมาอีก โดยเราจะสรุปค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ต่อปี ดังนี้
สรุปค่าใช้จ่ายต่อปีประมาณ 250,400 บาท หรือ 20,867 บาทต่อเดือน แต่นี่ยังไม่รวมค่าเสื่อมราคา ค่าล้างรถ ค่าน้ำมันที่อาจปรับเพิ่มขึ้น ค่าเปลี่ยนยางทุก 2 ปีอีกด้วย หากใครที่ต้องการจะซื้อรถยนต์ก็ต้องวางแผนการเงินในค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มเติม หรือศึกษาวิธีการใช้รถยนต์ที่สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ เช่น การวางแผนการเดินทางจากสภาพจราจร การใช้ความเร็ว การเช็กแรงดันลมยาง การตั้งอุณหภูมิแอร์ การบรรทุกสิ่งของในรถ หรือเปลี่ยนเป็นซื้อรถไฟฟ้า (EV) แทน เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 คำนวณเงินที่ต้องเตรียม
จากตัวอย่างข้างต้น หากมีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน ราคารถที่เหมาะสมคือประมาณ 870,000 บาท มาดูกันว่า ถ้าต้องซื้อรถยนต์ราคาประมาณนี้อย่างเช่น HONDA CITY e:HEV RS ราคา 839,000 บาท สีขาวแพลทินัม โดยดาวน์ 20% จะต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ ?
ดังนั้น เงินที่ต้องเตรียมสำหรับซื้อรถยนต์ HONDA CITY e:HEV RS สีขาวแพลทินัม คือ 193,300 บาท ซึ่งเป็นการคำนวณโดยคร่าว ๆ สามารถปรับลดได้ตามโปรโมชันของแต่ละศูนย์บริการ แต่ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ที่จำเป็นจะต้องเตรียมเลยคือ เงินดาวน์
และหากใครยังไม่มีไอเดียในการวางแผนเตรียมเงินสำหรับการซื้อรถยนต์ ทาง ttb advisory ขอแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยจัดการให้เป้าหมายของเราเป็นไปได้ง่ายและมีโอกาสสำเร็จได้มากขึ้น อย่างการทดลองตั้งแผนการลงทุน DCA กองทุนรวม ด้วย ttb smart port calculator ที่มีแผนการลงทุนให้เลือกมากมาย ครอบคลุมทุกเป้าหมายตามระดับความเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 4 วางแผนเก็บเงินดาวน์รถยนต์ด้วย ttb smart port calculator
Step 1 : ตั้งเป้าหมายการลงทุน
วิธีการเก็บเงินเพื่อเตรียมเงินสำหรับซื้อรถยนต์แบบง่าย ๆ เริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายอย่าง การเตรียมเงินดาวน์รถยนต์ในอีก 3 ปีข้างหน้า ใช้เงินทั้งสิ้น 200,000 บาท และเลือกระดับความเสี่ยงที่รับได้ไม่เกิน +/- 4% หรือมากกว่า
Step 2 : เลือกแผนการลงทุนด้วย DCA รายเดือน
เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้ว ระบบจะแสดงแผนการลงทุนต่าง ๆ ซึ่งมีให้เลือกทั้งลงทุนด้วยเงินก้อนเดียว ลงทุนด้วยเงินก้อนผสมรายเดือน หรือทยอยลงทุนเท่ากันทุกเดือน ก็สามารถเลือกให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของเราได้ ซึ่งวิธีที่เหมาะสมกับมนุษย์เงินเดือนคือ การเลือกลงทุนในแผน smart port 2 โดยตั้งแผนทยอยลงทุนหรือ DCA ไว้อัตโนมัติรายเดือน เดือนละ 5,199 บาท จะมีโอกาสได้ผลตอบแทน 12,822 บาท โดยใช้เงินต้นเพียง 187,178 บาท
ซึ่งเราสามารถดูกลยุทธ์การลงทุนของแผนการลงทุนที่เราเลือกได้ด้วย โดยแผนการลงทุน tsp2-nurturer ที่เราเลือกนั้น มีการลงทุนทั้งในตราสารหนี้และตราสารทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จะเห็นได้ว่าหากเรามีการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม จะช่วยให้เรามีโอกาสเก็บเงินดาวน์รถยนต์ได้ง่ายสำเร็จตามเป้าหมายได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างวินัยในการออม เป็นการซ้อมผ่อนก่อนเริ่มผ่อนจริง ประหยัดเงินต้นได้เยอะ และไม่ต้องเสียเวลาในการจัดพอร์ตการลงทุนเองอีกด้วย เพราะมีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการลงทุนอย่าง Amundi และ Eastspring ที่จะคอยดูแลปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติทุกเดือน และหากใครต้องการคำแนะนำก็สามารถรับคำปรึกษาได้ที่ ttb advisory
โปรโมชันพิเศษ! เพิ่มโอกาสมั่งคั่ง ด้วย DCA กับกองทุน ttb smart port
รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port เมื่อลงทุนขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป ติดต่อกัน 12 เดือน โดยเริ่มตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 29 ธันวาคม 2566
เงื่อนไขของรายการส่งเสริมการขาย
- รายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน (DCA) พิจารณาจากเงินลงทุนครั้งแรกที่เกิดจากการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน โดยยอดเงินลงทุนครั้งแรกต้องเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 29 ธันวาคม 2566 และต้องเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือนจำนวน 12 เดือน นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องลงทุนในกองทุน ttb smart port ซึ่งประกอบด้วยกองทุน 1) tsp1-preserver 2) tsp2-nurturer 3) tsp3-balancer 4) tsp4-explorer 5) tsp5-gogetter
- รายการส่งเสริมการขายตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนต้องมีการตั้งแผนการลงทุน (โดยไม่รวมการซื้อเป็นครั้งๆ) และลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือนในกองทุนเดียวกันของชุดกองทุนใน ttb smart port ทั้งนี้จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) และคำนวณเป็นรายกองทุน โดยนับเฉพาะยอดซื้อในกองทุน ttb smart port ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน
- บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด จะสรุปยอดเงินลงทุนที่เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน และจ่ายหน่วยลงทุนของกองทุน ttb smart port ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถืออยู่ ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เมื่อลงทุนครบจำนวน 12 เดือน ตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) โดยจะดำเนินการแบ่งจ่ายเป็น 4 รอบ ได้แก่
รอบที่ 1 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 - มีนาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
รอบที่ 2 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเมษายน 2566 - มิถุนายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 สิงหาคม 2567
รอบที่ 3 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกรกฎาคม 2566 - กันยายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
รอบที่ 4 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
(หากวันที่ทำการจ่ายหน่วยลงทุนตรงกับ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะดำเนินการจ่ายหน่วยลงทุนในวันทำการถัดไป) - บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วันทำรายการโอนหน่วยลงทุนพิเศษเพื่อซื้อกองทุนเพิ่ม และกำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยมิต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า และคำตัดสินของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ว่ากรณี ใดๆ ให้ถือเป็นที่สุด
- หากผู้ลงทุนได้รับโปรโมชันจากรายการส่งเสริมการขายนี้แล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิในรายการส่งเสริมการขายอื่นในช่วงเวลาเดียวกันอีก
- ผู้ได้รับสิทธิ์โปรโมชันพิเศษเป็นผู้รับผิดชอบในภาษีที่เกิดขึ้นทั้งหมด (ถ้ามี) ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
คำเตือน :
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด / กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการลงทุนให้ครบถ้วน / สอบถามข้อมูล และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ttb ทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 - 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
หมายเหตุ :
ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปใช้ซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว
ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, finspace