- โรคมะเร็งคือหนึ่งในโรคแจ็กพอตที่เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แม้จะวัยทำงานที่ดูแข็งแรงแค่ไหน ก็มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งได้แบบไม่รู้ตัว
- การป้องกันและเตรียมพร้อมรับมือกับโรคร้ายไว้เสมอจึงเป็นสิ่งที่วัยทำงานควรเริ่มทำ ตั้งแต่การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง ไปจนถึงหาวิธีดูแลตัวเองหากเป็นโรคร้ายขึ้นมาจริง ๆ
- ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่คุ้มครองโรคมะเร็งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เราพร้อมสู้กับโรคร้าย เพราะจะช่วยดูแลค่าใช้จ่ายก้อนโตที่ตามมาพร้อมการรักษา ให้คุณสู้กับโรคร้ายได้อย่างสบายใจ
หนึ่งในโรคร้ายแรงที่ทำให้คนล้มมานักต่อนักนั้น ได้แก่ ‘มะเร็ง’ ไม่ว่าจะเป็นอาการที่อาจทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หรือการรักษาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งมักจะมาพร้อมกับสิ่งที่หลายคนกังวลที่สุด ก็คือค่ารักษาก้อนโต ที่อาจจะทำให้รู้สึกเหมือนล้มทั้งยืน
สถิติที่น่าตกใจจากกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า อัตราการเกิดโรคมะเร็งสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยมีอัตราผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงถึงปีละ 139,206 ราย ตามรายงานแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ. 2561-2565) และมีรายงานตัวเลขเพิ่มเติมจาก WHO ว่าในปี 2563 ในไทยมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอีกกว่า 190,636 ราย
และในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในไทยพบว่า โรคมะเร็งที่คนไทยเป็นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก จะเห็นได้ว่าล้วนเป็นมะเร็งที่เกิดกับอวัยวะภายใน ซึ่งผู้ป่วยหลายคนแทบจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนเองเป็นมะเร็ง จนกว่าจะมีอาการแสดงออกมาชัดเจน เช่น น้ำหนักลงเฉียบพลัน ปัสสาวะหรืออาเจียนเป็นเลือด อาการเหล่านี้จะแตกต่างกันตามโรค กว่าจะรู้ตัวก็มักจะไปถึงระยะลุกลามแล้ว
แต่อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไป เพราะไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็ง หรือวิธีเตรียมตัวรับมือหากเป็นโรคมะเร็งขึ้นมาจริง ๆ วันนี้ทีทีบีมีวิธีป้องกันโรคมะเร็งแบบเบื้องต้น พร้อมทั้งวิธีรับมือในวันที่โรคมะเร็งมาเยือน มาฝากทุกคนกัน ถ้าคุณปฏิบัติตามนี้ ก็จะช่วยลดโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็ง และยังช่วยสร้างความพร้อมที่จะรับมือในวันที่โชคร้าย ให้คุณไม่รู้สึกเหมือนล้มทั้งยืนแน่นอน
ป้องกันมะเร็งเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง
1. เลิกบุหรี่
บุหรี่คือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด มีสถิติที่ยืนยันว่าการเกิดมะเร็งปอดกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ การเลิกบุหรี่จึงเป็นตัวแปรสำคัญในการลดโอกาสการเกิดมะเร็งปอดได้
2. ลดการดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลาย ๆ โรค เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคตับแข็ง ที่อาจพัฒนาต่อไปเป็นมะเร็งตับได้ นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นจำนวน 2-5 แก้วต่อวันยังเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านมถึง 41 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตาม การดื่มแอลกอฮอล์บางชนิด อย่างไวน์แดง ก็มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งบางชนิดได้ ดังนั้นการดื่มแต่พอดีเพียง 1 แก้วต่อวัน จึงจะได้รับประโยชน์จากแอลกอฮอล์
3. ออกกำลังกาย 30 นาทีต่อวัน
งานวิจัยเปิดเผยว่าการออกกำลังกายแค่เพียง 30 นาทีต่อวัน ช่วยลดโอกาสเสียชีวิตจากมะเร็งได้ถึง 11 เปอร์เซ็นต์ และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และลดโอกาสในการเป็นโรคเบาหวาน อย่างน้อยเพียงคุณเริ่มวิ่งตั้งแต่วันนี้ เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาว
4. ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งบางชนิดสามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ อย่างมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากไวรัส HPV เราสามารถฉีดวัคซีน HPV เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับผู้หญิงแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ ตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์และร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี ในช่วงอายุ 9 – 26 ปี ส่วนผู้ชายก็แนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ด้วย เพื่อป้องกันมะเร็งทวารหนักและโรคหูดหงอนไก่
5. ทาครีมกันแดด ป้องกันมะเร็งผิวหนังได้
รังสีอัลตร้าไวโอเล็ต (UV) ในแดดเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งผิวหนัง วิธีป้องกันสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป และควรหลีกเลี่ยงแดดช่วงเวลา 11 โมงถึงบ่าย 3 โมง เพราะเป็นช่วงที่รังสี UV รุนแรงที่สุด
แต่ไม่ว่าจะป้องกันดีอย่างไร โรคมะเร็งก็ยังเป็นโรคแจ็กพอตที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดอยู่ดี อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกเพศ ทุกวัย แม้กระทั่งคนวัยทำงานอย่างเรา ๆ ที่ดูเป็นคนแข็งแรง สุขภาพดี ก็อาจจะเป็นมะเร็งได้แบบไม่รู้ตัว ยิ่งถ้าหากเรามีคนในครอบครัวหรือเครือญาติเป็นมะเร็ง ก็มีแนวโน้มที่โรคมะเร็งจะส่งต่อกันทางพันธุกรรมได้
เพราะฉะนั้นการเตรียมหาวิธีรับมือไว้ก็ไม่เสียหาย ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการดูแลตนเอง การวางแผนเข้ารับการรักษา การเยียวยาทางด้านจิตใจ และที่สำคัญที่สุดคือการจัดการกับค่าใช้จ่ายที่ตามมาจากการรักษา
จากข้อมูลของ WHO เปิดเผยว่าผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 1 ใน 6 คนนั้น ไม่ได้เข้ารับการรักษา เพราะปัญหาทางด้านการเงิน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากเป็นโรคร้ายนั้น ไม่ได้มีแค่ค่ารักษาพยาบาล แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทางไปหาหมอ ค่าอาหารที่จะต้องพิถีพิถันมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดูแลร่างกายให้กลับมาเป็นปกติ เช่น การออกกำลังกาย การท่องเที่ยวเพื่อผ่อนคลายสภาพจิตใจ เป็นต้น ซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีในการรับมือกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้แตกต่างกัน แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณพร้อมรับมือได้ คือการทำประกัน ที่จะมาช่วยดูแลค่าใช้จ่าย หากคุณตรวจพบโรคร้าย
ทีทีบีขอแนะนำ ประกันชีวิตและสุขภาพ ทีทีบี อีซี่ แคร์ พลัส เหมาจ่ายครบทุกการรักษา และครอบคลุมโรคมะเร็งทุกระยะ แบบเจอ จ่าย จบด้วย คุณจะสบายใจได้ไม่ว่าจะรักษาแบบผู้ป่วยใน ก็เหมาจ่าย คุ้มครองสูงสุด 5,000,000 บาท ไม่จำกัดค่าห้อง ผู้ป่วยนอกคุ้มครองเหมา ๆ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สูงสุด 30,000 บาทต่อปี และที่สำคัญ หากตรวจพบโรคมะเร็งทุกระยะ จะได้รับเงินก้อนสูงสุดหลักล้านบาท ให้คุณนำเงินก้อนนี้ไปใช้เป็นค่ารักษาและค่าดูแลตัวเองตามที่คุณต้องการ ทั้งหมดนี้ ค่าเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 32 บาทต่อวัน และยังสามารถนำค่าเบี้ยประกันสุขภาพไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท ตามเกณฑ์กรมสรรพากร
เริ่มดูแลตัวเองและคนที่คุณรักตั้งแต่วันนี้ เพื่อชีวิตที่มั่นคงกว่าเดิม
หมายเหตุ
- เงื่อนไขเป็นไปตามความคุ้มครองที่ระบุในกรมธรรม์ / ผลประโยชน์ขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เลือก / ค่าห้องครอบคลุมห้องเตียงเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล รวมอยู่ในวงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายสำหรับผู้ป่วยใน / ค่าเบี้ยฯ เริ่มต้น 32 บาทต่อวัน คำนวณจากเบี้ยประกันภัยเพศชาย อายุ 35 ปี แผนคลาสสิกแผน 1 / ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- รับประกันชีวิตโดยบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต และรับผิดชอบในฐานะนายหน้าเท่านั้น
References:
1. https://www.princsuvarnabhumi.com/content-common-cancer/
2. https://www.ryt9.com/s/prg/3307198
3. https://www.bangkokbiznews.com/social/976618
4. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/621/Lungcancer
5. https://www.synphaet.co.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A/
6. https://dmh.go.th/news/view.asp?id=1241
7. http://www.sportstriton.com/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B0150%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%82/
8. https://www.bangkokhospital.com/content/hpv-vaccine
9. https://www.bbc.com/thai/features-62207721
10. https://www.roojai.com/article/health-insurance-tips/what-if-cancer-diagnosed-but-no-insurance/
11. https://www.chulacancer.net/services-list-page.php?id=514
12. https://www.bangkoklife.com/th/articles/0/124
13. https://www.muangthai.co.th/en/article/health-care-after-cancer-treatment