- ทำความรู้จักกับรถยนต์ไฟฟ้า EV ให้มากขึ้น
- ประเมินไลฟ์สไตล์การใช้งานของตนเองก่อนตัดสินใจลงทุนซื้อรถ
- วางแผนทางการเงิน ประเมินความสามารถในการซื้อ
ตอนนี้คาดว่าหลายๆคนกำลังมองหารถคันใหม่ หรืออยากเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV ซึ่งตอนนี้กระแสรถ EV กำลังมาแรง ในยุคน้ำมันแพงเช่นนี้ ก็อาจจะเกิดการลังเลได้ว่า จะหันไปใช้รถ EV แทนดีหรือไม่
สำหรับใครที่กำลังเลหรือกำลังตัดสินใจว่าจะออกรถ EV ดีมั้ย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับรถ EV กันให้มากขึ้น ว่า ดีอย่างไร เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเราหรือไม่ เพื่อให้ทุกคนนำมาประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อกัน กับ 10 ข้อควรรู้ ก่อนออกรถ EV ไปอ่านกันเลย
1. ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า
ประเภทรถยนต์ไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรรู้ก่อนออกรถ EVเป็นอันดับแรก ๆ เลย เพราะรถ EVแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกัน ทั้งเรื่องของพลังงานที่ใช้และการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันเราสามารถแบ่งรถยนต์ไฟฟ้า EV ในไทย ได้ 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
- รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle : HEV)
ใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงสลับกับพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ได้ ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงกว่าการใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียว - รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV)
ใช้น้ำมันและพลังงานไฟฟ้าเหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด แต่จะสามารถเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟได้จากภายนอก (Plug-in) - รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV)
ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ 100% ทำให้สามารถวิ่งได้ระยะทางไกลต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง - รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle : FCEV)
ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) โดยเป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากการเติมเชื้อเพลิงภายนอก
2. การเสียภาษีของรถ EV
รถยนต์ไฟฟ้า EV ที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ในระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2568 จะได้ลดภาษีลงร้อยละ 80 โดยรถเก๋งที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีน้ำหนัก 1,800 กิโลกรัม ปกติจัดเก็บภาษีประจำปี 1,600 บาท ลดภาษีประจำปีแล้วจะคงเหลือ 320 บาท ซึ่งการลดภาษีประจำปีเป็นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่รถนั้นจดทะเบียน
3. รถยนต์ไฟฟ้า EV ราคาแพงไหม
ไปจนถึงราคาแพงหลัก 10 ล้าน แต่ตอนนี้ทางรัฐบาลได้มีนโยบายให้เงินอุดหนุนสำหรับรถ EV ที่ใช้แบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไปจะได้รับเงินอุดหนุน 70,000 บาทต่อคัน และรถ EV ที่ใช้แบตเตอรี่ขนาด 30 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงขึ้นไป เงินอุดหนุน 150,000 บาทต่อคัน
4. รูปแบบการชาร์จ
หลายคนที่สนใจออกรถ EV ซึ่งสำคัญที่เราต้องรู้คือเรื่องรูปแบบการชาร์จว่ามีประเภทไหนบ้าง แบบไหนเหมาะกับไลฟ์สไตล์การเดินทางของเราเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนรถ EV ซึ่งปัจจุบันรถ EV มีรูปแบบการชาร์จหลักถึง 3 รูปแบบเพื่อตอบสนองกับการใช้งานของเรามากที่สุดดังนี้
- การชาร์จแบบเร็ว QUICK CHARGER เป็นการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) โดยใช้ตู้ EV Charger ตามสถานีชาร์จรถไฟฟ้าทั่วไป
- การชาร์จแบบธรรมดาแบบ DOUBLE SPEED CHARGE (เครื่องชาร์จ WALL BOX) เป็นการชาร์จด้วยไฟกระแสไฟฟ้าสลับ (AC Charging) ส่วนใหญ่จะเห็นกันในรูปของตู้ชาร์จติดผนังตามห้างสรรพสินค้าหรือโรงแรม
- การชาร์จฯ แบบธรรมดา แบบ NORMAL CHARGE เป็นการแบบต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง ซึ่งที่มิเตอร์ไฟของบ้านจะต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 15(45)A และเต้ารับไฟในบ้านต้องได้รับการติดตั้งใหม่เป็นเต้ารับเฉพาะสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากรถ EV ต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูงขณะทำการชาร์จ จึงควรต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้านให้มีความเหมาะสมต่อปริมาณความต้องการกระแสไฟฟ้าก่อนนั่นเอง
5. การขับรถ EV ลุยน้ำ
โดยปกติแล้วไม่ว่าจะเป็นรถประเภทไหนก็ไม่ควรขับลุยน้ำที่ท่วมสูง สำหรับรถ EV เองแม้จะมีเครื่องยนต์ที่น้อยและไม่มีระบบเกียร์หรือพวกน้ำมันของเหลวในรถมากมาย แต่หากน้ำท่วมสูงเลยขอบประตูรถแล้วก็ไม่แนะนำให้ขับต่อ เพราะน้ำอาจเข้ามาในตัวรถจนทำให้ระบบต่าง ๆ เสียหายหรือหยุดการทำงานได้ แต่หากขับรถที่ลุยน้ำท่วมมาควรไล่น้ำออกจากผ้าเบรก โดยแตะเบรกซ้ำ ๆ ประมาณ 5–10 นาที จากนั้นควรนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้าไปตรวจเช็กที่ศูนย์รถยนต์อีกครั้ง
6. ชาร์จไฟกี่นาทีถึงจะเต็ม
การชาร์จแบบธรรมดาด้วยไฟบ้านเป็นกระแสสลับจะใช้เวลา 12-16 ชม. ส่วนการชาร์จแบบรวดเร็วจากตู้ไฟฟ้า EV Charger จะใช้เวลา 4–7 ชม. และชาร์จแบบด่วนตามสถานีชาร์จนอกบ้านที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง จะใช้เวลา 40-60 นาที ดังนั้น หากไม่สะดวกในการตามหาสถานีชาร์จ เราก็ควรจะต้องวางแผนการเดินทางให้ดี หรือควรเผื่อเวลาสำหรับการชาร์จจะดีที่สุด
7. รถ EV วิ่งได้ไกลแค่ไหน
จริง ๆ แล้วรถจะวิ่งได้ไกลไหมนั้นขึ้นอยู่กับระยะทางในการขับขี่และขนาดของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า EV โดยความจุของแบตเตอรี่ 60-90 kW จะสามารถวิ่งได้ไกลประมาณ 338-473 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ดังนั้น รถ ev อาจจะไม่เหมาะกับการเดินทางไกล ๆ แต่ก็สามารถใช้ได้หากเราวางแผนเรื่องการเดินทางและตรวจสอบสถานีชาร์จก่อนออกเดินทางแล้ว
8. รถ EV ประหยัดได้อย่างไร
โดยจะมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่มีความแตกต่างกันตามประเภทของการเติมพลังงาน แหล่งที่รับพลังงานมา และนโยบายของรัฐบาล โดยหากชาร์จไฟที่บ้านผ่านมิเตอร์แบบ TOU ค่าพลังงานไฟฟ้าจะอยู่ที่หน่วยละประมาณ 2.6369 บาท/หน่วย ส่วนการชาร์จแบบ DC Fast charge ตามสถานีชาร์จสาธารณะ อาจจะมีค่าบริการอยู่ประมาณ 7.5 บาท/หน่วย ซึ่งไฟฟ้า 1 หน่วย จะสามารถขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าได้ระยะทางประมาณ 4-7 กิโลเมตร/หน่วยเลยทีเดียว
9. การบำรุงรักษาแพงไหม?
รถยนต์ไฟฟ้า EV จะมีชิ้นส่วนน้อยกว่าทั้งรถปกติ ส่งผลให้มีค่าดูแลรักษาที่ต่ำกว่าตามไปด้วย เช่น ไม่มีค่าเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ส่วนอะไหล่ทั่วไปอย่างไฟส่องสว่าง คอนโซล หรือเบาะนั่ง จะมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาคล้ายกับรถยนต์ทั่วไปตามแบรนด์นั้น ๆ
10. ความปลอดภัยของรถ EV
รถ EV มีการออกแบบรถให้เกิดความปลอดภัย ด้วยการใส่อุปกรณ์เสริมป้องกันภัย และดีไซน์พื้นที่เหลือเผื่อสำหรับการยุบตัว และกระจายแรงกระแทก (Crumple Zone) ไม่ให้กระแทกผู้โดยสารเร็ว หรือแรงเกินไปในกรณีอุบัติเหตุได้
แต่อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้า EV จะเหมาะกับเราหรือไม่นั้น อาจจะขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของเราด้วย เช่น หากเราอยู่คอนโดที่ใช้รถสาธารณะเป็นหลักหรือนำรถยนต์ไฟฟ้าออกมาใช้ไม่บ่อย ราคาน้ำมันอาจจะไม่เป็นปัญหากับเรามากนัก แต่หากเราอาศัยอยู่บ้านที่ต้องเติมน้ำมันบ่อย ๆ เพื่อขับรถไป-กลับที่ทำงานไกล ๆ การเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับเราเลย แต่ไม่ว่าเราจะมีไลฟ์สไตล์แบบไหน การออกรถยนต์ใหม่สักคันก็ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เพราะรถยนต์ต้องอยู่กับเราอีกนาน เราจึงต้องลองพิจารณาให้ดีว่ารถคันนั้นเหมาะกับการใช้ชีวิตของเราหรือไม่
เมื่อรู้แล้วว่าตัวเองเหมาะกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV หรือไม่ อย่าลืมวางแผนทางการเงิน ประเมินความสามารถในการซื้อ หรือ ผ่อนชำระ ว่าสามารถแบกรับค่าใช้จ่าย ค่าดูแลต่างๆที่จะเกิดขึ้นไหวไหม และสำหรับใครที่สนใจอยากได้รถยนต์ใหม่ หรือรถยนต์ไฟฟ้า ต้องการจัดไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยต่ำ ติดต่อขอสินเชื่อรถยนต์ใหม่ได้ที่ https://applyautoloan.ttbbank.com/new/select-car หรือ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.ttbbank.com/th/personal/loans/hire-purchase/new-car