external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ใครเดินทางบ่อยต้องรู้ ประกันอุบัติเหตุสำคัญอย่างไร?

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #ttb #ttballfree #บัตรเดบิต #บัตรเดบิตttb #บัญชีเงินฝาก #ประกันอุบัติเหตุ #เคล็ดลับใช้บัตรเดบิต #MakeREALChange
9 ก.ย. 2567

  • รู้จักประกันอุบัติเหตุและเข้าใจความสำคัญ
  • ประกันอุบัติเหตุ มีกี่ประเภทและคุ้มครองอะไรบ้าง
  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลคืออะไร คุ้มครองอย่างไร
  • คลายข้อสงสัย ทำประกันอุบัติเหตุที่ไหนดี

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างที่ไม่มีการบอกล่วงหน้า แต่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประสบอุบัติเหตุ และส่งผลกระทบทางอ้อมแก่ครอบครัว หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประสบอุบัติเหตุ ฉะนั้นการมีหลักประกันให้มั่นใจว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คุณและครอบครัวจะได้รับความช่วยเหลือให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ลำบากไปได้ด้วยดี แต่ถึงอย่างไรประกันอุบัติเหตุ ก็มีข้อควรรู้ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อกรมธรรม์สักฉบับ เช่น ประกันอุบัติเหตุมีกี่ประเภทและแบบใดเหมาะกับเรา? หรือ อุบัติเหตุที่ประกันคุ้มครองและไม่คุ้มครอง รวมถึงเคล็ดลับการเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุให้คุ้มค่าและคุ้มครองทุกความต้องการของคุณ


ประกันอุบัติเหตุสำคัญอย่างไร

หากคุณมีความจำเป็นต้องเดินทางบ่อย การมีประกันอุบัติเหตุนั้นสำคัญอย่างยิ่งเพราะความเสี่ยงแก่การเกิดอุบัติเหตุ มักแปรผันตามความถี่ของการเดินทาง หากการเดินทางครั้งใดต้องพลาดเจอเหตุการณ์เลวร้าย บริษัทผู้ให้บริการประกันอุบัติเหตุจะเข้ามาดูแลภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล หรือจ่ายเงินชดเชยในกรณีที่เจ้าของประกันอุบัติเหตุ สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพและเสียชีวิต

ข้อดีและความสำคัญของประกันอุบัติเหตุ

  • กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุให้ความคุ้มครองทุกช่วงอายุ
  • ราคาเบี้ยประกันอุบัติเหตุถูกกว่าประกันภัยรูปแบบอื่น ๆ
  • ค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุคงที่จึงวางแผนการเงินได้ง่ายขึ้น
  • ซื้อประกันอุบัติเหตุได้ความคุ้มครองทันที โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • คุ้มครองอุบัติเหตุที่บาดเจ็บเล็กน้อยไปจนถึงการเสียชีวิต
  • ชดเชยเงินในกรณีเจ้าของประกันอุบัติเหตุเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ
  • ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวจากอุบัติเหตุ


ประกันอุบัติเหตุมีกี่ประเภทและแตกต่างกันอย่างไร

1. ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือ ประกันภัย PA (Personal Accident Insurance) เป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครอง แก่เจ้าของและครอบครัวของผู้ถือกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุฉบับนั้นโดยเฉพาะ แบ่งประเภทตามรูปแบบความคุ้มครอง ดังนี้

  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) กรมธรรม์ให้ความคุ้มครองทั่วไป
    เป็นประกันภัยที่ถือว่ามีค่าเบี้ยราคาถูก เหมาะสำหรับบุคคลที่สำรวจแล้วว่าตนเองมีความเสี่ยงน้อย ทั้งจากการเดินทาง การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น พนักงานประจำที่เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ แม่บ้านหรือแม่ค้าออนไลน์ที่ทำงานในบ้าน ประกันภัย PA แบบคุ้มครองทั่วไป ราคาไม่แพงแต่ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมอุบัติเหตุขั้นพื้นฐาน อาทิ อุบัติเหตุจากการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว แต่แผนประกันประเภทนี้มักจะไม่มีการจ่ายเงินชดเชยในกรณีที่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล (รายละเอียดแตกต่างตามบริษัทผู้ให้บริการประกันภัย)
  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) กรมธรรม์ให้ความคุ้มครองขั้นสูง
    แม้ว่าจะเป็นการคุ้มครองขั้นสูงแต่ราคาค่าเบี้ยประกันก็ไม่แพงต่างจากประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลแบบคุ้มครองทั่วไปมากเท่าไร แผนประกันภัย PA ประเภทนี้จะให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุครอบคลุมมากขึ้น จึงเหมาะกับผู้ที่สำรวจตนเองแล้วว่ามีความเสี่ยงจากการเดินทาง การทำงาน งานอดิเรกหรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น นักกีฬาปีนหน้าผา (Rock Climbing), กระโดดร่ม (Skydiving), ร่มร่อน (Hang Gliding), Free Running, Wake Board, Kite Surf, Jet Ski ผู้ที่ซื้อแผนประกันประเภทนี้จะได้รับเงินชดเชยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต

2. ประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่ม
เป็นกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุที่ให้ความคุ้มครองแก่กลุ่มสมาชิกที่รวมตัวกันเพื่อซื้อประกันฉบับนั้น ๆ หรือชื่อเรียกที่หลายคนคุ้นเคยในนาม ‘สวัสดิการ’ จากนายจ้างที่ซื้อประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่มมอบให้พนักงานในสังกัด โดยคิดค่าเบี้ยประกันเหมาจ่ายเป็นรายหัวภายในบริษัท

3. ประกันอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน นิสิตและนักศึกษา
กรมธรรม์ประเภทนี้คล้ายกับประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่ม แต่เป็นการซื้อประกันภัยกลุ่มโดยโรงเรียนและมหาวิทยาลัย มอบให้นักเรียน นิสิตและนักศึกษาในสถาบันการศึกษาเพื่อคุ้มครองนักเรียนในสังกัดจากอุบัติเหตุต่าง ๆ


ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ให้ความคุ้มครองกรณีใดบ้าง

สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ชี้แจงรายละเอียดความคุ้มครองของแผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ อบ.1 และ อบ.2 ดังนี้

แผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล แบบ อบ.1 ให้ความคุ้มครอง

  • การสูญเสียอวัยวะ สายตา และเสียชีวิต
  • การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน
  • การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง หรือการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง

แผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล แบบ อบ.2 ให้ความคุ้มครอง

  • การสูญเสียนิ้วมือ นิ้วเท้า
  • การสูญเสียการรับฟัง และการพูดออกเสียง
  • การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน หรือการทุพพลภาพถาวรบางส่วน
  • การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง หรือการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
  • การสูญเสียอวัยวะ สายตา และเสียชีวิต

ข้อควรรู้ก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุ


ข้อควรรู้ก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุ
กรณีใดที่จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ดังนี้

  • ไม่คุ้มครอง : อุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้สารเสพติดหรือของมึนเมา
  • ไม่คุ้มครอง : กรณีอาหารเป็นพิษ หรือการติดเชื้อโรค ยกเว้นได้รับคำวินิจฉัยจากแพทย์ว่าติดเชื้อจากแผลที่เกิดอุบัติเหตุ
  • ไม่คุ้มครอง : กรณีบาดเจ็บจากการทำร้ายตัวเอง หรือเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย
  • ไม่คุ้มครอง : การรักษาทางทันตกรรมหรือศัลยกรรม ยกเว้นได้รับคำวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีสาเหตุจากการเกิดอุบัติเหตุ
  • ไม่คุ้มครอง : อาการปวดกระดูกจากการเสื่อมของร่างกาย ยกเว้นได้รับคำวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีสาเหตุจากการเกิดอุบัติเหตุ
  • ไม่คุ้มครอง : อุบัติเหตุในสงคราม การจลาจลและการก่อการร้าย
  • ไม่คุ้มครอง : อาการบาดเจ็บจากการระเบิดของกัมมันตภาพรังสี


เลือกซื้อกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ อย่างไรให้คุ้มค่า

การเป็นเจ้าของแผนประกันภัยอุบัติเหตุ ช่วยให้คุณอุ่นใจหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ก่อนตัดสินใจซื้อประกันอุบัติเหตุสักฉบับ จึงต้องสำรวจความต้องการของตนเองว่าในชีวิตประจำวันมีการเดินทาง การทำงานหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมากน้อยเพียงใด เมื่อสำรวจความต้องการของตนเองแล้ว สามารถใช้ปัจจัยด้านล่างประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุได้เลย


ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ซื้อประกันอุบัติเหตุได้คุ้มค่ามากขึ้น

1. เลือกซื้อประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองอย่างครอบคลุม
แผนประกันภัยควรเหมาะกับการใช้ชีวิตประจำวัน หรือกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ หากคุณมีหน้าที่การงานที่ต้องเดินทางบ่อย เราแนะนำให้เลือกประกันภัย PA ที่คุ้มครองขั้นสูง แต่ถ้าคุณคือแม่บ้านที่ไม่ค่อยได้เดินทางไปไหน สามารถซื้อแผนประกันภัยส่วนบุคคลแบบทั่วไป ไว้เป็นตัวช่วยที่คอยดูแลและให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุจากการทำงานบ้าน เช่น มีดบาด น้ำร้อนลวก หรือลื่นล้ม

2. เลือกซื้อประกันอุบัติเหตุจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ
อุบัติเหตุไม่สามารถรอช้าได้สักวินาทีเดียว บริษัทผู้ให้บริการประกันอุบัติเหตุของคุณจึงต้องมีใจรักการบริการ เข้าถึงง่าย
ติดต่อได้ทุกที่ ทุกเวลา เช่น ประกันอุบัติเหตุ ทีทีบี ที่ติดต่อง่าย
แจ้งเคลมประกันออนไลน์ไวในแอป ttb touch ได้ทุกที่ ทุกเวลา

เปิดบัญชีเงินฝาก พร้อมบัตรเดบิต ttb all free ให้ฟรีประกันอุบัติเหตุ

ฟรี !! ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไม่ต้องสมัคร ไม่ต้องรออนุมัติ
สิทธิพิเศษ…สำหรับผู้เปิดบัญชีเงินฝาก ทีทีบี ออลล์ฟรี (ttb all free) รับทันทีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล จาก บมจ.ธนชาตประกันภัย (TNI) เบิกค่ารักษาฟรีและให้ความคุ้มครอง 20 เท่าของเงินฝาก สูงสุด 3 ล้านบาท รับสิทธิ์ประกันภัยฟรีต่อเนื่องง่าย ๆ แค่คง เงินในบัญชีเงินฝากไว้ไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท คงเหลือทุกวันตลอดทั้งเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันสิ้นเดือน เพียงเท่านี้คุณก็จะได้รับความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุ ในเดือนถัดไปอัตโนมัติ โดยไม่ต้องสมัครและไม่มีค่าใช้จ่าย

คืนความคุ้มค่าให้ลูกค้า บัตรเดบิต ทีทีบี ออลล์ฟรี สำหรับผู้เปิดบัญชีเงินฝาก ทีทีบี ออลล์ฟรี (ttb all free) สามารถใช้สิทธิ์จากประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ทีทีบี โดยที่ไม่ต้องสำรองจ่ายเพียงแสดงบัตร all free E-Care Card จากแอป ttb touch สามารถใช้ได้กับสถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ เบิกค่ารักษาสูงสุด 3,000 บาท/อุบัติเหตุ ไม่จำกัดครั้ง

หากเกิดเหตุสุดวิสัยจำเป็นต้องเข้ารักษาในสถานพยาบาลที่ไม่ได้เข้าร่วมแคมเปญ คุณสามารถแจ้งเคลมประกันอุบัติเหตุออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ภายหลัง

ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง โดยผลิตภัณฑ์ประกันภัยเป็นของ บมจ.ธนชาตประกันภัย

รายละเอียดการเปิดบัญชีเงินฝากและเงื่อนไขการรับสิทธิ์ประกันอุบัติเหตุจากบัตรเดบิต ทีทีบี ออลล์ฟรี คลิก

สำหรับผู้ที่สนใจเป็นเจ้าของบัตรเดบิต ttb สามารถศึกษารายละเอียดบัตรเดบิต และสมัครบัตรเดบิตออนไลน์ในแอป ttb touch สมัครด้วยตัวเองที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องเสียเวลามาสาขา

เพื่อให้ผู้ถือบัตรเดบิตไม่พลาดสิทธิพิเศษที่ได้รับ ควรตรวจสอบเงื่อนไขและระยะเวลาในการร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางของธนาคาร เช่น เว็บไซต์ของธนาคาร หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ttb contact center 1428

ที่มา
สมาคมประกันวินาศภัยไทย https://www.tgia.org/insurance/accident