external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ไม่กลุ้มเรื่องกู้
แค่รู้วิธีจัดการหนี้สไตล์
“มนุษย์เงินเดือน”

ไม่กลุ้มเรื่องกู้ แค่รู้วิธีพิชิตหนี้สไตล์ “มนุษย์เงินเดือน”

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #ttbpayroll #DebtConsolidation #รวบหนี้
6 ก.ย. 2566

  • หนี้ดี vs หนี้ที่พึงระวัง
  • บริหารจัดการหนี้ ฉบับมนุษย์เงินเดือน

 

เมื่อพูดถึง “หนี้สิน” มนุษย์เงินเดือนหลายคนอาจทำหน้าเครียด แต่ความจริงแล้ว การเป็นหนี้นั้นไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดีเสมอไป หากรู้จักวางแผนบริหาร และจัดการ คุณก็จะสามารถขอสินเชื่อต่าง ๆ ได้ แบบที่ไม่กระทบกับการเงินในชีวิตประจำวัน

fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงอยากชวนมนุษย์เงินเดือนมาทำความเข้าใจ และวางแผนเรื่องพิชิตหนี้ โดยเริ่มจากทำความรู้จักกับ “หนี้ดี vs หนี้ที่พึงระวัง” เพื่อให้รู้จักหนี้แต่ละประเภทมากขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณสามารถวางแผนการเงินได้อย่างรอบคอบก่อนขอสินเชื่อทุกครั้งนั่นเอง


หนี้ดี vs หนี้ที่พึงระวัง:


fintips-หนี้ดีและหนี้พึงระวัง


หนี้ดี

หนี้ดี คือ หนี้ที่สามารถสร้างรายได้ นำมาซึ่งโอกาสในการมีการเงินที่ดีขึ้นให้กับคุณได้ อธิบายง่าย ๆ คือคุณสามารถได้ประโยชน์ หรือโอกาสมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการเป็นหนี้นั้น ตัวอย่างหนี้ดี เช่น

1. หนี้เพื่อการศึกษา: เปรียบเสมือนการลงทุนเพื่อสร้างอนาคต เพิ่มโอกาสก้าวหน้าทางอาชีพ และด้านอื่น ๆ ในชีวิต

2. หนี้เพื่อที่อยู่อาศัย: เช่น บ้าน หรือคอนโด เนื่องจากที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่จำเป็น และในระยะยาว บ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัยจะเป็นสินทรัพย์ หรือยังมีแนวโน้มที่จะคงมูลค่า หรือเพิ่มมูลค่าทางการเงินให้กับคุณ และเมื่อคุณผ่อนหมด ก็จะเป็นเจ้าของสินทรัพย์นี้อย่างเต็มตัว ไม่ต้องเสียค่าเช่า หรือผ่อน และสามารถขายคืนตลาดได้ จึงนับว่าเป็นหนี้ดี

3. หนี้เพื่อสร้างอาชีพ: เช่น การซื้ออุปกรณ์เพื่อการประกอบอาชีพ อาทิ คอมพิวเตอร์, เครื่องจักร ฯลฯ นับเป็นการลงทุน เพื่อสร้างรายได้ให้กับอนาคต


หนี้ที่พึงระวัง

หนี้ที่พึงระวัง คือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ไม่สร้างโอกาสการเงินที่ดีขึ้น ไม่สามารถสร้างรายได้ในอนาคตให้กับคุณได้ และมักนำมาซึ่งปัญหาทางการเงิน เช่น การขาดสภาพคล่อง ขาดความสามารถในการผ่อนชำระ โดยไม่จำเป็น เป็นต้น

1. เป็นหนี้โดยไม่คิด: หลายครั้งที่คำว่า “ซื้อก่อน ผ่อนทีหลัง” ทำให้มนุษย์เงินเดือนต้องเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น หากคุณหยุดคิดก่อนซื้อสักนิด ว่าของชิ้นนั้นจำเป็นหรือไม่ คุณอาจจะไม่ต้องเสียเงินก้อนโตเพื่อชำระหนี้ก็ได้ แต่หากคุณต้องการจะซื้อของชิ้นนั้นจริง ๆ ก็ควรวางแผนการผ่อนชำระล่วงหน้าให้ดีเสียก่อน

2. หนี้ตามเทรนด์: สินค้าตามกระแส และแฟชั่นต่าง ๆ เมื่อซื้อเกินความจำเป็น หรือเกินกำลัง มักทำให้มนุษย์เงินเดือนต้องเป็นหนี้ เช่น โทรศัพท์รุ่นใหม่ ฯลฯ


5 เทคนิคบริหารจัดการหนี้ ฉบับมนุษย์เงินเดือน

หากไม่อยากเป็นหนี้จนเกินตัว fintips มีเคล็ดลับง่าย ๆ มาฝาก สิ่งสำคัญอย่างแรก ระวังอย่าให้สัดส่วนการผ่อนชำระหนี้สูงกว่า 45% ของรายได้ต่อเดือน เพื่อลดการผ่อนไม่ไหว ไม่กระทบกับสภาพคล่องทางการเงิน นอกจากนี้ก่อนขอสินเชื่อ หรือมีหนี้ ควรวางแผนอย่างรอบคอบ โดยต้องคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

fintips-จัดการหนี้

1. ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระ: โดยคุณควรคำนวณรายรับ - รายจ่าย และเงินที่เหลือใช้ในแต่ละเดือนของคุณก่อน เพราะจะทำให้คุณรู้ว่าคุณสามารถผ่อนได้ไหวแค่ไหน ในอัตราดอกเบี้ยเท่าไร

2. ประเภทของสินเชื่อ: ในปัจจุบันมีสินเชื่อหลากหลายประเภท ซึ่งมีลักษณะ และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน คุณควรศึกษารายละเอียด เพื่อทำความเข้าใจ และเปรียบเทียบสินเชื่อแต่ละประเภทให้ครบถ้วน รวมถึงค่าปรับชำระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนตัดสินใจสมัครสินเชื่อนั้น ๆ

3. อัตราดอกเบี้ย และการคิดดอกเบี้ย: ก่อนขอสินเชื่อทุกครั้ง ควรศึกษาอัตราดอกเบี้ย และวิธีการคิดดอกเบี้ยเสมอ เช่น ดอกเบี้ยคงที่ และดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ซึ่งมีวิธีคิดดอกเบี้ยต่างกัน หรือหากมีรายได้พิเศษเข้ามาเพิ่ม คุณควรเลือกโปะสินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยแบบใดจึงจะได้ประโยชน์มากที่สุด เป็นต้น

4. ระยะเวลาในการผ่อนชำระ: เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องวางแผนล่วงหน้า เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการเงิน และสภาพคล่องทางการเงินของคุณ ดังนั้นควรวางแผนก่อนว่า จะผ่อนชำระจำนวนเงินเท่าไร และใช้ระยะเวลาในการผ่อนนานแค่ไหนจึงจะปิดยอดได้ เพื่อการวางแผนการเงินในอนาคตนั่นเอง

5. ปัจจัยอันตรายที่ต้องเลี่ยง: หลีกเลี่ยงการผ่อนชำระล่าช้า หรือการผิดนัดชำระ เพราะข้อมูลเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้เป็น “ข้อมูลเครดิต” ซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อการยื่นกู้ครั้งต่อไปในอนาคตได้ และสิ่งที่ควรระวังของมนุษย์เงินเดือน คือไม่ควรเป็นหนี้นอกระบบ แม้จะกู้ง่าย ได้เงินเร็วก็ตาม แต่จะต้องเจอดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด และหากเกิดปัญหา จะไม่สามารถขอไกล่เกลี่ยหนี้ตามระบบได้


การเงินสะดุดเพราะเป็นหนี้ แก้ไขได้!

เมื่อมนุษย์เงินเดือนประสบปัญหาการเงินฝืดเคือง และยังมีหนี้ที่ต้องชำระ จะทำอย่างไรดีให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ fintips มีเคล็ดลับการเงินมาบอก เพื่อหาทางออกให้คุณ

1. สำรวจพฤติกรรมการใช้เงิน: เริ่มต้นด้วยการเริ่มทำบันทึกรายรับ - รายจ่าย เพื่อหาที่มาของสิ่งที่ทำให้การเงินสะดุด และเป็นการวางแผนการเงินเพื่ออนาคตที่กำลังจะมาถึงอีกด้วย

2. ไม่ก่อหนี้เพิ่ม: เมื่อการเงินมีปัญหา การหารายได้เสริมอย่างเดียวอาจจะไม่พอ สิ่งสำคัญคือ ต้องหยุดก่อหนี้เพิ่มด้วย เพื่อเป็นการตัดวงจรหนี้ที่ไม่รู้จบ

3. การรวบหนี้: หากคุณกำลังเผชิญปัญหาค่างวดหนัก จนผ่อนแทบไม่ไหวทุกเดือน เพราะมีหนี้หลายก้อน การรวบหนี้สามารถช่วยลดภาระให้คุณได้


“รวบหนี้” คืออะไร และดีอย่างไร?

การรวบหนี้ (Debt Consolidation) คือ การนำหนี้หลายก้อนที่คุณมีอยู่ มารวบไว้เป็นก้อนเดียว ช่วยให้คุณเหลือหนี้แค่ที่เดียว ไม่ต้องวุ่นวายจ่ายหลายก้อน โดยนำทรัพย์สิน เช่น บ้าน หรือ รถยนต์ มาใช้เพื่อขอสินเชื่อกับธนาคาร แล้วนำเงินที่ได้ไปปิดหนี้ต่าง ๆ ซึ่งในระหว่างนี้ บ้าน หรือ รถยนต์ ที่นำมา ก็จะยังคงอยู่ และคุณยังสามารถใช้ได้ตามปกติ

ไม่ว่าคุณจะเป็นหนี้บ้าน, หนี้รถยนต์, หนี้บัตรเครดิต… ทีทีบี ก็สามารถรวบหนี้เป็นก้อนเดียวให้คุณได้ นอกจากจะง่ายต่อการชำระค่างวดแล้ว ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคุณลงอีกด้วย และยังได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ให้การเงินของคุณได้กลับมามีสภาพคล่องขึ้นอีกครั้ง

เริ่มต้นลงมือตั้งแต่วันนี้ การเงินที่ดีขึ้นเป็นไปได้อย่างแน่นอน!

fintips-รวบหนี้กับทีทีบี


ที่มา: bot.or.th