- รู้จักโครงสร้าง “แก๊งคอลเซ็นเตอร์”
- รูปแบบและวิธีการรับมือ
ใครคือผู้โชคดีที่ยังไม่เคยได้รับสายลึกลับจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์บ้างครับ? บางคนไม่ได้เจอแค่ครั้งเดียว แต่เจอแทบจะทุกรูปแบบ ทั้งแก๊งหลอกลวงการส่งพัสดุ แก๊งไปรษณีย์ตกค้าง หรือแก๊งหลอกโอนเงินจากต่างประเทศ แล้วคุณมีวิธีรับมืออย่างไรกันบ้างครับ มาทำความรู้จักรูปแบบของการหลอกลวงที่ปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และวิธีรับมือ เพื่อให้ไม่ตกเป็นเหยื่อกันเลยครับ
รู้จักโครงสร้าง “แก๊งคอลเซ็นเตอร์”
แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะมีนายทุนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ มีทีมงาน แบ่งเป็นแผนก เช่น แผนกสร้างสรรค์เรื่อง ซึ่งคอยสร้างเรื่องราว เขียนสคริปต์และบทพูด แผนกจิตวิทยา ทำหน้าที่วิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อนำมาทำเป็นสคริปต์ แผนกเทรนนิ่ง สร้างทีมฝึกวิธีการพูด ทั้งที่มาด้วยความเต็มใจและหลอกมา (ซึ่งมีคนจากประเทศไทยด้วย) แผนกหาเหยื่อ เพื่อเข้าร่วมทีมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แผนกหา “บัญชีม้า” (หรือบัญชีทางผ่านเพื่อรับโอนเงินระหว่างเหยื่อและมิจฉาชีพ เป็นการโกงเงินบนโลกออนไลน์ที่ต้องใช้บัญชีธนาคาร หรือการซื้อขายของผิดกฎหมาย) ดำเนินการโอนเงินเข้าสู่เครือข่าย
ทีมงาน
แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะมีนายทุนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ มีทีมงาน แบ่งเป็นแผนก เช่น แผนกสร้างสรรค์เรื่อง ซึ่งคอยสร้างเรื่องราว เขียนสคริปต์และบทพูด แผนกจิตวิทยา ทำหน้าที่วิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อนำมาทำเป็นสคริปต์ แผนกเทรนนิ่ง สร้างทีมฝึกวิธีการพูด ทั้งที่มาด้วยความเต็มใจและหลอกมา (ซึ่งมีคนจากประเทศไทยด้วย) แผนกหาเหยื่อ เพื่อเข้าร่วมทีมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แผนกหา “บัญชีม้า” (หรือบัญชีทางผ่านเพื่อรับโอนเงินระหว่างเหยื่อและมิจฉาชีพ เป็นการโกงเงินบนโลกออนไลน์ที่ต้องใช้บัญชีธนาคาร หรือการซื้อขายของผิดกฎหมาย) ดำเนินการโอนเงินเข้าสู่เครือข่าย
ที่ตั้ง
มีฐานบัญชาการตั้งอยู่ที่ต่างประเทศ และนายทุนชาวต่างชาติ มีกฎหมายเอื้อให้นักลงทุน จึงไม่ได้เกิดเป็นคดีความภายในประเทศ ส่วนสถานที่ทำงานมีลักษณะเป็นห้องเช่าที่อยู่ร่วมกัน
อุปกรณ์ที่ใช้
ต้องบอกว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในรูปแบบดิจิทัลนี้ อาศัยอุปกรณ์ที่ล้ำสมัยและมีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมาก เพื่อช่วยให้การหลอกลวงเหยื่อประสบความสำเร็จ มาดูกันว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ลงทุนไปกับอะไรบ้าง
- อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
- เบอร์โทรระหว่างประเทศ VOIP (Voice Over Internet Protocol) หรือการสื่อสารทางเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ใช้โทรผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- เส้นทางการโอนเงินที่หลอกจากเหยื่อคือ โอนเข้าบัญชีไปยังบัญชีต่างประเทศ
วิธีการทำงาน
แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะมีรูปแบบการทำงานที่มีการอัปเดตข้อมูล และเปลี่ยนเรื่องราวไปเรื่อย ๆ มีการทำ “บัญชีม้า” หรือการรับจ้างเปิดบัญชี เพื่อให้โอนเงินเป็นทอด ๆ ตามรอยได้ยาก รวมไปถึงใช้วิธีแลกเงินเป็นคริปโต หรือบิทคอยน์
กลุ่มเป้าหมายของ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์”
แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายก่อนจะทำการโทร โดยกลุ่มเป้าหมายจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
- คนยากจน คนตกงาน มองหางาน ชีวิตลำบาก อยากมีฐานะทางการเงินที่ดี
- คนมีฐานะ มีเงินเก็บ อยู่กับบ้านเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยตามข่าวสาร โดยเหยื่อไม่จำกัดเพศ วัย การศึกษา หรือศาสนาแต่อย่างใด ทุกคนสามารถถูกหลอกได้ทั้งสิ้น
กลุ่มเป้าหมายของ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์”
1. เนื้อหาที่ใช้ในการสนทนา
จะเกี่ยวกับเรื่องเงินเป็นหลัก เป็นการขอข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ เช่น หมายเลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด หมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขบัญชี เป็นต้น โดยใช้วิธีจิตวิทยาเข้าช่วย ทำการโน้มน้าวให้เหยื่อตกใจ หวาดกลัว จนรีบให้ข้อมูล หรือกระตุ้นให้เกิดความโลภ แล้วรีบเร่งให้เหยื่อให้ข้อมูลส่วนตัวแบบไม่ทันได้ตั้งตัว
2. เครื่องมือในการหลอกลวง
เป็นการติดต่อเหยื่อทางโทรศัพท์ผ่านทางข้อความเสียงอัตโนมัติ และการให้คนโทรมาพูดคุย ซึ่งคนร้ายจะแอบอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่สรรพากร เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่บริษัทขนส่ง หรือเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ เป็นต้น
3. หมายเลขโทรศัพท์
จะเป็นหมายเลขโทรศัพท์จริงของหน่วยงานที่แอบอ้างแต่ใช้เทคโนโลยีแปลงสัญญาณโทรศัพท์เป็นหมายเลขของหน่วยงานที่แอบอ้างหรือใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่สามารถติดต่อกลับได้ เพื่อให้ยากต่อการติดตามจับกุม หรือเป็นหมายเลขที่ยาวกว่าปกติทั่วไป เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อว่าเป็นการติดต่อมาจากหน่วยงานจริง ๆ
วิธีการรับมือกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ต้องบอกว่าหลาย ๆ คนที่เคยโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรมาหลอกมีวิธีการรับมือที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับคนที่ยังไม่เคยโดน สามารถรับมือได้ดังต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ
- ตั้งสติก่อนรับสายทุกครั้ง ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ให้แน่ชัดก่อนกดรับสาย
- ระลึกอยู่ในใจว่า สถาบันการเงิน และภาคราชการไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทางโทรศัพท์
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเรามีความเกี่ยวพันอย่างไรกับการหลอกลวงนี้หรือไม่
- ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวใด ๆ และรีบวางสายให้เร็วที่สุด
- หลังวางสายให้ตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานหรือสถาบันที่ถูกแอบอ้างทันที
- หากพลาดพลั้งเป็นเหยื่อให้ติดต่อไปยังสถาบันการเงินเพื่อระงับหรือขอความช่วยเหลือทันที
การทำธุรกรรมทางการเงินทุกวันนี้ต้องเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเลือกทำธุรกรรมผ่านธนาคารหลักอย่างเป็นทางการ หากเกิดเหตุการณ์โดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง ให้ตั้งสติ เก็บรวบรวมหลักฐาน เช่น เบอร์โทรศัพท์ เวลาที่ติดต่อ เลขที่บัญชีของคนร้าย ตู้เอทีเอ็ม/สาขา ที่โอนเงิน เป็นต้น แล้วติดต่อไปยังธนาคารเพื่อแจ้งระงับการโอนเงิน หากไม่สามารถระงับการโอนเงินได้ ให้รวบรวมหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ติดต่อไปยังเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อทำการตรวจสอบและบล็อกเบอร์เหล่านั้น
พร้อมรายงานแจ้งไปยังช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
- AIS 1185
- True 9777
- Dtac 1678
- แจ้งเบาะแส แจ้งสายด่วน สอท. 1441
- ศูนย์ PCT O81-866-3000
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เบอร์ 1599
- แจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com
ขอบคุณข้อมูลจาก
- เว็บไซต์ antifakenewscenter
- เว็บไซต์ nationtv
- เว็บไซต์ kapook
- เว็บไซต์ it24hrs
Sources
https://money.kapook.com/view207198.html
https://www.it24hrs.com/2022/lost-phone-number-information/
https://www.nationtv.tv/news/378864640
https://www.antifakenewscenter.com/คลังความรู้/เช็กเลย-กลโกงธนาคารออนไลน์/
https://www.komchadluek.net/news/512600
https://www.tnnthailand.com/news/criminal/111917/