external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ผ่อนจ่ายภาษีผ่านบัตรเครดิต เคล็ดลับบริหารเงินสำหรับคนยุคใหม่

#ttb #fintips #เคล็ดลับการเงิน #บัตรเครดิต #บัตรเครดิตttb #ttbcreditcard #MakeREALChange #Tax #ภาษี #ผ่อนจ่ายภาษี2024

17 เม.ย. 2567


  • ยื่นภาษีอย่างไรให้คุ้มค่า ไม่เสียค่าดอกเบี้ย ไม่เสียค่าธรรมเนียม
  • ใครผ่อนจ่ายภาษีได้บ้าง ทำได้ทุกคนหรือเปล่า มีเงื่อนไขอย่างไร
  • บัตรเครดิต ttb คุ้มหลายต่อ แบ่งจ่ายภาษีนานสูงสุด 10 เดือน*

 

การยื่นจ่ายภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ยังมีหลาย ๆ คนไม่เข้าใจโดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเข้าสู่วัยทำงาน หรือ มือใหม่หัดจ่ายภาษี ยิ่งกว่านั้นภาษียังจัดว่าเป็นการลงทุนชนิดหนึ่ง ดังนั้นมือใหม่หัดจ่ายภาษีที่กำลังจะลงสนามแห่งการลงทุน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีโค้ชคอยดูแล ให้คำแนะนำ…บทความนี้ ttb จึงขอมาไกด์แนวทางการจ่ายภาษี ตั้งแต่ข้อมูลและขั้นตอนการยื่นภาษี เกณฑ์ผ่อนจ่ายภาษี ไปจนถึงวิธีการจ่ายภาษีที่คุ้มค่าและสามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้เสียภาษี

การชำระภาษีคืออะไร_ชำระภาษีช่องทางไหนได้บ้าง


การชำระภาษี คืออะไร

ภาษี (Tax) คือ เงินที่ประชาชนคำนวณจากรายได้ตลอดทั้งปีและจ่ายให้กับรัฐเพื่อไปใช้บำรุง ปรับปรุงและพัฒนาประเทศชาติ ทั้งเรื่องของสาธารณูปโภค ชีวิตความเป็นอยู่ อาหารการกิน สิ่งแวดล้อม การคมนาคม การเจ็บไข้ได้ป่วยและอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหน่วยงานที่ดูแลให้บริการงานภาษีคือ กรมสรรพกร ดังนั้นการชำระภาษี คือ การนำส่งเงินให้แก่รัฐเป็นประจำในทุก ๆ ปี โดยภาษีจะแบบออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ภาษีทางตรง คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่เก็บจากประชาชนทั่วไปที่มีรายได้จากการประกอบอาชีพต่าง ๆ ทั้งนี้ผู้ที่มีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องจ่ายภาษี รวมถึงวัยทำงานที่มีรายได้จากงานประจำอย่างเดียวโดย เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี แต่ถ้าใครได้รับเงินเดือนมากกว่า 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 26,583 บาท ต้องยื่นภาษี เพื่อแสดงรายได้ทั้งปีให้แก่สรรพกรเหมือนคนทั่วไป เพียงแต่คุณจะได้รับการละเว้นการจ่ายเงินภาษีในปีนั้น ๆ
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่เก็บจากเจ้าของธุรกิจ บริษัท ห้างหุ้นส่วน

2. ภาษีทางอ้อม หรือที่เราคุ้นหูกับคำว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีส่วนนี้ คือ เงินที่เราจ่ายผ่านการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการต่าง ๆ ภาษีชนิดนี้จะถูกคำนวณรวมกับราคาสินค้าและบริการที่เราจ่ายให้ร้านค้าไปแล้ว


วิธียื่นและชำระภาษีออนไลน์

ผู้มีรายได้หรือวัยทำงานทุกคนสามารถยื่นภาษีแบบออนไลน์ด้วยตัวเอง ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพกรในระยะเวลาที่กำหนด แต่ถึงอย่างไรการยื่นภาษีก็ยังมีขั้นตอน ข้อมูลและเอกสารหลาย ๆ อย่างที่นักลงทุนมือใหม่ยังไม่เข้าใจ เราจึงขอมาแนะนำวิธีการยื่นภาษีออนไลน์ ฉบับเข้าใจง่าย รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เอกสารที่ต้องใช้ ขั้นตอนการยื่นภาษีและอื่น ๆ สามารถอ่านบทความได้ที่ วิธียื่นภาษี by ttb


ชำระภาษีผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

1. ชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ คุณสามารถ Walk-in เข้าไปยื่นภาษีได้ตามวัน - เวลาราชการ จ่ายภาษีกับสรรพกรโดยตรงไม่จำเป็นต้องใช้เงินสดเพียงอย่างเดียว เพราะสำนักงานในแต่ละพื้นที่รองรับธุรกรรมทางการเงินผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต ฯลฯ แต่ถ้าคุณเลือกวิธีนี้อาจต้องไฮไลท์ตัวใหญ่ ๆ ไว้ด้วยว่า ชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่คือ ‘ยื่นภาษีแบบกระดาษ’ ต่างจากวิธีอื่น ๆ ที่เป็นการยื่นภาษีแบบออนไลน์

2. ชำระภาษีผ่านระบบ E-Payment อีเพย์เมนเป็นการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถผูกกับบัตรเครดิต บัตรเดบิตและอื่น ๆ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง โดยวัยทำงานทุกคนสามารถเลือก ชำระภาษีผ่านระบบ E-Payment ได้ในเว็บไซต์ efiling.rd.go.th

3. ชำระภาษีผ่าน Counter Service นักลงทุนมือใหม่สามารถเข้าไปดาวน์โหลดและปรินต์ใบชำระภาษีที่มีบาร์โค้ดในเว็บไซต์ rd.go.th จากนั้นเลือกเดินเข้าธนาคาร ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือไปรษณีย์ไทย เพื่อจ่ายภาษีผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสได้ตามความสะดวก

ช่องทางชำระภาษีเพิ่มเติม หากนักลงทุนคนไหนยังไม่เจอวิธีที่โดนใจ ยังมีการจ่ายภาษีผ่านตู้ ATM หรือ เครื่องรับเงินฝากของธนาคาร ด้วยการนำข้อมูลจากใบนำฝากชำระเงินค่าสินค้าและบริการ (Pay In Slip) ข้อมูลใช้แค่ระบุเลขประจำตัวประชาชน หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก และรหัสควบคุม 15 หลัก พร้อมกับจำนวนภาษีที่คุณต้องจ่าย


การผ่อนชำระภาษี คืออะไร

การชำระภาษีเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับผู้มีรายได้บางคน เมื่อบวกลบคูณหารออกมาแล้ว อาจต้องใช้เงินก้อนใหญ่เพื่อเคลียร์ค่าภาษีกันเลยทีเดียว กรมสรรพกรจึงเปิดช่องทางอำนวยความสะดวกให้ผู้จ่ายภาษีสามารถ ‘ผ่อนชำระภาษี’

ใครสามารถขอผ่อนชำระภาษีได้บ้าง? ผู้ที่มีรายได้และมียอดชำระภาษีรวมเป็นเงินตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป มีสิทธิ์ผ่อนจ่ายภาษีโดยแบ่งชำระ 3 งวด ซึ่งการผ่อนชำระภาษีจะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หากจ่ายค่าภาษีแต่ละงวดได้ตรงเวลา ก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ


สิ่งที่ควรระวัง สำหรับผู้ที่ต้องการผ่อนชำระภาษี

  • ระวังการเลือกวิธีชำระภาษี ในการจ่ายภาษีครั้งแรก นักลงทุนมือใหม่ต้องตัดสินใจอย่างถี่ถ้วน เพราะหากคุณผ่อนจ่ายภาษีและเลือกชำระภาษีแบบกระดาษที่สำนักงานสรรพกร การจ่ายครั้งต่อไปจะไม่สามารถเปลี่ยนมาเป็นการจ่ายแบบออนไลน์ได้อีก
  • ระวังค่าปรับจากการชำระภาษีไม่ตรงกำหนด ผู้ที่ยื่นภาษีหลายคนมักหลงลืมกำหนดการจ่ายภาษีงวดที่ 2 งวดที่ 3 การชำระภาษีต่างจากการจ่ายบัตรเครดิตหรือธุรกรรมอื่น ๆ เพราะถ้าคุณขาดการจ่ายภาษีเพียง 1 งวด กรมสรรพกรจะตัดสิทธิ์การผ่อนชำระและคุณต้องกลับไปจ่ายค่าภาษีที่เหลือพร้อมกับเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีงวดที่เหลือด้วย


ข้อดีของการผ่อนชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

ในเมื่อการชำระภาษีมีช่องทางหลากหลายและมีวิธีจ่ายภาษีมากมาย นักลงทุนคงมีคำถามในใจแล้วว่าวิธีไหนที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายจากค่าภาษีของเราได้ …ไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือวิธีที่ยากเย็นอะไร เพราะการจ่ายภาษีที่คุ้มค่าคือ ‘ผ่อนชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต’

  • สะดวกสบาย ชำระภาษีได้ทุกที่ทุกเวลาแค่ไม่กี่คลิก การดำเนินการที่ยุ่งยากก็จะจบไปทันที
  • แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้มากกว่า สรรพกรอนุญาตให้ผ่อนจ่ายภาษี 3 งวด แต่ธนาคารผู้ให้บริการบัตรเครดิต มีทางเลือกการแบ่งจ่ายที่จำนวนงวดมากกว่าเช่น บัตรเครดิต ttb แบ่งจ่ายภาษี นานสูงสุด 10 เดือน (ระยะเวลาการใช้สิทธิประโยชน์ 15 มกราคม 2567 - 30 เมษายน 2567)
  • ปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากการพกเงินสดติดตัว รวมถึงข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ ที่เราดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบ จะได้รับการบันทึกไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารผู้ให้บริการบัตรเครดิตนั้น ๆ


วางแผนชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต ttb

วัยทำงานคนไหนหรือนักลงทุนมือใหม่ที่กำลังมองหาบัตรเครดิตที่ตอบโจทย์ครบทุกด้าน ไม่ว่าจะความสะดวกในการจ่ายภาษี จำนวนงวดที่ช่วยแบ่งเบาเงินก้อนโตหรือและผู้ให้บริการที่ไว้ใจได้ บัตรเครดิตที่คุณมองหา อยู่ที่นี่แล้ว

โปรโมชันบัตรเครดิต ttb ผ่อนจ่ายภาษีได้_2024


บัตรเครดิต ttb แบ่งชำระภาษีรายเดือนนานสูงสุด 10 เดือน

พิเศษ สำหรับผู้ที่ถือบัตรเครดิต ttb เท่านั้น !! สิทธิ์ประโยชน์การแบ่งจ่ายภาษีรายเดือนสบาย ๆ นานสูงสุด 10 เดือน ผ่านแอปพลิเคชัน ttb touch ไม่ต้องควักเงินก้อนโตระหว่างนี้สามารถนำเงินสดไปลงทุนได้อย่างชิลล์ ๆ เพียงแค่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและจ่ายภาษีตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปก็เลือกได้เลยว่าต้องการแบ่งจ่ายภาษีออกเป็น 3 เดือน (ดอกเบี้ย 0%) หรือ 6 เดือน และ 10 เดือน (ดอกเบี้ย 0.49% ต่อเดือน)


วิธีการทำรายการแบ่งจ่ายผ่าน so goood :

  1. จากหน้าหลักผ่านแอป ttb touch ไปที่ปุ่ม บัญชี ที่แถบเมนูด้านล่าง
  2. เลือกเมนูบัตร และเลือกบัตรที่ต้องการทำรายการ และคลิก แบ่งจ่าย so goood
  3. อ่านรายละเอียดโปรแกรมแบ่งจ่าย so good
  4. เลือกรายการชำระ THE REVENUE DEPARTMENT BANGKOK ที่ต้องการแบ่งจ่ายรายเดือน
  5. เลือกโปรแกรมการแบ่งจ่ายรายเดือนที่ต้องการ โดยสามารถเลือกระยะเวลาแบ่งชำระได้ 3, 6, 10 เดือน (อัตราดอกเบี้ยขึ้นกับระยะเวลาแบ่งชำระ)
  6. ตรวจสอบรายละเอียด ทำเครื่องหมายเพื่อยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข จากนั้นกด ยืนยัน
  7. ทำรายการโปรแกรมแบ่งจ่าย so goood สำเร็จ

ระยะเวลาการใช้สิทธิประโยชน์ 15 มกราคม 2567 - 30 เมษายน 2567
รายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม คลิกอ่านที่นี่


บัตรเครดิต ttb สะสมคะแนน ใช้ลดหย่อนภาษีปีต่อไป

ผู้ถือบัตรเครดิต ttb สามารถใช้คะแนนสะสมเพื่อแลกของรางวัล ttb rewards plus เป็นเงินเพื่อการบริจาคให้แก่มูลนิธิและหน่วยงานที่ร่วมโครงการ ขั้นต่ำเพียงแค่ 1,000 คะแนน และสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ในปีถัดไป อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดและเงื่อนไขการแลกของรางวัลจากการใช้คะแนนสะสมของบัตรเครดิต ttb

แต่หากมองหาของรางวัลหรือสิทธิพิเศษอื่น ๆ นอกจากการบริจาค บัตรเครดิตของเราก็มีสิทธิ์ประโยชน์ดี ๆ จากการแลกของรางวัล ttb rewards plus ตั้งการ ดีลพิเศษด้านการเงิน บัตรส่วนลด ร้านอาหารและภัตราคาร รถ การเดินทาง การท่องเที่ยว อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน อุปกรณ์เทคโนโลยี สุขภาพ สปาและความงาม

สำหรับผู้ที่สนใจเป็นเจ้าของบัตรเครดิต ttb ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี สามารถศึกษารายละเอียดบัตรเครดิต หรือ สมัครบัตรเครดิต ออนไลน์บนเว็บไซต์ของธนาคารและในแอป ttb touch สามารถสมัครบัตรเครดิตด้วยตัวเองที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องเสียเวลามาสาขา

ผู้ถือบัตรเครดิต ttb ควร “ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี” และไม่ให้พลาดสิทธิพิเศษที่ช่วยเซฟค่าใช้จ่าย ควรตรวจสอบเงื่อนไขและระยะเวลาในการร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางของธนาคาร เช่น เว็บไซต์ของธนาคาร หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ttb Contact Center 1428


ที่มา
กรมสรรพากร : https://www.rd.go.th/272.html
Accrevo : https://www.accrevo.com/

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด