- เคยสงสัยไหม ทำไมประเทศไทย มีหนี้ครัวเรือนสูง
- ชวนดู “8 นิสัยการเป็นหนี้ของคนไทย”
- เป็นหนี้ แก้ได้! กับ ”เคล็ดลับ Unlock ชีวิตหนี้“
- วิธี และแนวทางที่แก้ไขหนี้
เคยสงสัยไหม? ว่าทำไมปัญหาหนี้ครัวเรือนยังคงเป็นปัญหาหลักของประเทศไทย
จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2566 พบว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยมีความแตกต่างจากต่างประเทศอยู่หลายด้าน หนึ่งในนั้นก็คือ คนไทยมีหนี้ส่วนบุคคล และบัตรเครดิตสูงมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบถึง 1 ใน 3 ของยอดหนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด
เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะพาคุณมาเจาะลึก 8 นิสัยการเป็นหนี้ของคนไทย เพื่อป้องกันไม่ให้คนไทย และเหล่ามนุษย์เงินเดือนต้องเผชิญปัญหาหนี้เรื้อรัง
8 นิสัยการเป็นหนี้ของคนไทย มนุษย์เงินเดือนรู้ไว้ ก่อนสายเกินแก้
ไม่มีใครอยากเป็นหนี้ แต่การเป็นหนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผิด หรือไม่ดีเสมอไป เพราะความจริงแล้วการเป็นหนี้ หรือสินเชื่อ สามารถสร้างโอกาส และการเติบโตให้กับเราได้ แต่หากขาดความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งขาดการบริหารที่ดีและถูกต้อง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาหนี้สินไม่รู้จบ จนกระทบการเงินในระยะสั้น และระยะยาวได้
ดังนั้นเพื่อป้องกันการเป็นหนี้แบบไม่มีวันจบ…มารู้จัก “8 นิสัยการเป็นหนี้ของคนไทย” ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อกันไว้ก่อนสาย!
1. เป็นหนี้เร็ว: เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน (อายุ 25 – 29 ปี) พนักงานมากกว่า 58% เป็นหนี้ และมากกว่า 25% เป็นหนี้เสีย (NPL : Non- Performing Loan) โดยส่วนใหญ่ คือ หนี้จากบัตรเครดิต รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เมื่อขาดการวางแผนการเงินที่รอบคอบ อาจกลายเป็นหนี้เสีย นอกจากนี้ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 25 ปี ก็มีอัตราการเป็นหนี้ที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน และบางส่วนมักเป็นหนี้ที่ไม่สามารถสร้างรายได้
2. เป็นหนี้เกินตัว: เกือบ 30% ของลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มีหนี้เกิน 4 บัญชีต่อคน วงเงินรวมต่อคนสูงถึง 10 – 25 เท่าของรายได้ในแต่ละเดือน เมื่อเงินเดือนออกแล้ว จึงต้องนำเงินเดือนเกินกว่าครึ่งไปจ่ายหนี้สิน โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต และหนี้ส่วนบุคคล
3. เป็นหนี้โดยไม่ได้ข้อมูลครบถ้วน หรือถูกต้อง: หลายครั้งที่ลูกหนี้ได้รับข้อมูลไม่ครบ และไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดในการสื่อสาร หรือลูกหนี้ไม่ได้ศึกษา หรือทำความเข้าใจเงื่อนไขให้ดี
4. เป็นหนี้เพราะมีเหตุจำเป็น: อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้เกิดหนี้สิน คือปัจจัยความจำเป็นรอบตัวต่าง ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้เท่าไหร่ กว่า 62% ของครัวเรือนไทย มีเงินออมฉุกเฉินไม่พอใช้ และหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ทำให้รายได้ลดลงกะทันหัน 20% จะมีครัวเรือนเกินครึ่งที่มีเงินไม่พอจ่ายหนี้สิน ทำให้ต้องไปกู้เงินทั้งในและนอกระบบ
5. เป็นหนี้นาน: หนี้บัตรและหนี้ส่วนบุคคลสามารถผ่อนจ่ายขั้นต่ำได้ ทำให้ลูกหนี้มักเลือกผ่อนชำระในขั้นต่ำ ทำให้เป็นหนี้นานกว่าที่ควร นอกจากนี้มากกว่า 1 ใน 4 ของคนอายุเกิน 60 ปี ยังมีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระอยู่ โดยเฉลี่ย 415,000 บาทต่อคน โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้จากภาคการเกษตรที่พักชำระหนี้นั่นเอง
6. เป็นหนี้เสีย: จากที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นว่า แทบทุกข้อนั้นสามารถนำไปสู่ปัญหาหนี้เสียได้ โดยในประเทศไทยมีลูกหนี้ 10 ล้านบัญชีที่เป็นหนี้เสีย และเกือบครึ่งของจำนวนนี้ (4.5 ล้านบัญชี) เป็นหนี้เสียในช่วงของโรคระบาด COVID-19
7. เป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น: เมื่อเป็นหนี้เสียจนสายเกินแก้แล้ว มักจะเกิดปัญหาการเป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น เกือบ 20% ของบัญชีหนี้เสียที่ถูกยื่นฟ้อง โดย 1 ใน 3 ของลูกหนี้ในคดีจะจบด้วยการยึดทรัพย์ขายทอดตลาด แต่ก็ยังคงปิดหนี้ไม่ได้
8. เป็นหนี้นอกระบบ: อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปัญหาหนี้หนักขึ้น คือการเป็นหนี้นอกระบบ โดย 42% ของกว่า 4,600 ครัวเรือนทั่วประเทศที่ขอความช่วยเหลือแก้หนี้ มีหนี้นอกระบบเฉลี่ยคนละ 54,300 บาท ซึ่งเกิดจากการที่มีรายได้ไม่แน่นอน, ขาดความรู้เรื่องการเงิน, ขาดหลักประกัน, เลือกกู้นอกระบบเอง หรือขอสินเชื่อในระบบจนเต็มวงเงินแล้ว
หากคุณคนที่กำลังเผชิญปัญหาเหล่านี้… ทีทีบี มีตัวช่วยแก้หนี้ด้วย ttb พิชิตหนี้
“รวบหนี้” ตัวช่วย Unlock ชีวิตหนี้
การรวบหนี้ (Debt Consolidation) คือ การนำหนี้หลายก้อนที่คุณมีอยู่มารวมไว้ในที่เดียว เพื่อให้สามารถผ่อนชำระได้ง่าย และจ่ายค่างวดเบาลง โดยการนำรถยนต์ หรือบ้าน มาเป็นหลักค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อกับธนาคาร และนำเงินที่ได้ไปปิดหนี้ก้อนอื่น ๆ ซึ่งในระหว่างหนี้คุณจะยังคงสามารถใช้รถยนต์ และบ้านได้ตามปกติ
ตัวอย่าง นาย A เงินเดือน 35,000 บาท มีหนี้ที่ต้องผ่อนชำระขั้นต่ำรวม 27,700 บาท/เดือน
โดยแบ่งหนี้เป็น 3 ก้อนดังนี้
- หนี้บัตรเครดิต ยอดหนี้รวม 45,000 บาท ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก 16% ต่อปี ผ่อนจ่ายเดือนละ 4,500 บาท
- หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล 32,000 บาท ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก 22% ต่อปี ผ่อนจ่ายเดือนละ 3,200 บาท
- หนี้รถยนต์ 250,000 บาท ดอกเบี้ยคงที่ 3.5% ต่อปี จ่ายค่างวดเดือนละ 20,000 บาท
เมื่อนำหนี้ทั้ง 3 ก้อนมารวบเคลียร์หนี้กับ สินเชื่อรถแลกเงิน ทีทีบีไดรฟ์ เคลียร์หนี้ ช่วยให้คุณสามารถนำไปใช้ปิดยอดหนี้ได้ และยังผ่อนสบายอีกด้วย
เช่น ในกรณีนี้หากคุณใช้รถยนต์ ปี 2018 มาค้ำประกัน โดยขอวงเงินสูงสุดที่ 327,000 บาท (ขึ้นอยู่กับการประเมินของธนาคาร) ในอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4.05% หากคุณเลือกผ่อน 60 เดือน คุณจะเหลือภาระที่ต้องจ่ายต่อเดือนเพียง 7,013 บาท
นั่นหมายความว่า ภาระต่อเดือนลดลงถึง 20,687 บาทเลยทีเดียว! จ่ายน้อยลง และยังเกิดสภาพคล่องทางการเงินขึ้นอีกเยอะ
3 ขั้นตอนง่าย ๆ สู่การปลดหนี้กับทีทีบี… รวบหนี้จบ หมดปัญหาเรื่อง
- คลิก เพื่อลงทะเบียนกับ รถแลกเงินเคลียร์หนี้
หรือ คลิก เพื่อลงทะเบียนกับ บ้านแลกเงินเคลียร์หนี้
กรอกข้อมูลที่หน้าเว็บไซต์ให้ครบถ้วน จากนั้นรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ - เตรียมเอกสารให้เจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่จะติดต่อเพื่อขอรับเอกสารตามข้อมูลที่ระบุไว้ - เจ้าหน้าที่เข้ารับเอกสาร และประเมินราคาให้ถึงที่
ที่มาข้อมูล 8 ข้อเท็จจริงการเป็นหนี้ของคนไทย: ธนาคารแห่งประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2566)
fintips by ttb – เปลี่ยนเรื่องเงินให้เป็นเรื่องง่ายไปกับ ทีทีบี
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารฯ กำหนด