external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ถึงเป็นหนี้
ก็มีชีวิตการเงินที่ดีได้นะ

3 เทคนิคจัดการหนี้ช่วงโควิด ทำอย่างไรให้ดอกเบี้ยถูกลง-มีเงินเหลือ

1 ต.ค. 2564

3 เทคนิคจัดการหนี้ช่วงโควิด ทำอย่างไรให้ดอกเบี้ยถูกลง-มีเงินเหลือ 3 เทคนิคจัดการหนี้ช่วงโควิด ทำอย่างไรให้ดอกเบี้ยถูกลง-มีเงินเหลือ

 

-----------(อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม)------------

 

ในยุคนี้ หลายคนคงได้รับผลกระทบด้านการเงิน เช่น รายได้ลด ค่าใช้จ่ายเพิ่ม งานเสริมหดหาย แต่บางคนอาจจะได้รับผลกระทบหนักกว่านั้น เพราะว่ายังมีหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนในจำนวนที่ไม่ใช่น้อย ๆ หากประหยัดตรงนี้ได้น่าจะสบายขึ้นอีกหลายเท่าตัว

เมื่อพูดถึงหนี้ อีกเรื่องที่มีปัญหาตามมาก็คงไม่พ้นดอกเบี้ย เพราะหลายคนเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล จนปวดหัวและไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไรดี บทความนี้จึงมี 3 ขั้นตอนด่วนชวนจัดการหนี้มาฝากกันเพื่อให้เงินที่เหลือในกระเป๋าทุกท่านเพิ่มขึ้น


ข้อแรก ลิสต์รายการที่เป็นหนี้ออกมาทั้งหมด

ก่อนที่เราจะรู้ว่าปัญหาหนี้ที่เรามีมันมากแค่ไหน เราต้องรู้ตัวเองก่อนว่าเรามีหนี้เท่าไร จ่ายต่อเดือนแค่ไหน? ซึ่งหลายคนมักจะลืมที่จะลิสต์รายการต่างๆออกมาเพราะมัวแต่ชักหน้าไม่ถึงหลัง แต่อย่างไรก็ตามมันจำเป็นต้องทำ เพราะจะช่วยให้เรารู้ว่าหนี้แต่ละก้อน มีดอกเบี้ยเท่าไหร่ยอดจ่ายต่อเดือนแค่ไหน ทำให้เราวางแผนได้ง่ายขึ้น (หยิบกระดาษ ปากกา แล้วมาลิสต์ไปด้วยกันเลย)

ข้อแรก ลิสต์รายการที่เป็นหนี้ออกมาทั้งหมด


ข้อสอง ดูกระแสเงินสดที่มีในตอนนี้ว่าจะจ่ายไหวแค่ไหน

สิ่งที่ต้องรู้หลังจากเห็นจำนวนหนี้ทั้งหมดของเราแล้ว คือสถานะการเงินที่เรามี ดูให้ดีว่ารายรับของเรามีเท่าไร รายจ่ายของเรามีแค่ไหน แล้วเราเหลือเงินเพียงพอที่จะจ่ายหนี้ตามข้อแรกได้หรือไม่

ถ้าเกิดเช็คแล้วพบว่า กระแสเงินสดของเรานั้นเป็นบวกอยู่ก็พอจะสบายใจได้ แต่ถ้าเกิดเริ่มติดลบหรือมีไม่พอกับการจ่ายหนี้ แบบนี้เราก็จะได้คิดต่อว่าต้องแก้ปัญหาอย่างไรต่อไป แต่ขอบอกไว้อีกอย่างว่า นอกจากดูเงินแล้ว อย่าลืมดูจำนวนดอกเบี้ยด้วย เพราะถ้าหากดอกเบี้ยมันสูงเกินไป การลดดอกเบี้ยได้ในช่วงนี้ ก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรทำไม่แพ้กัน เพราะมันช่วยลดได้ทั้งรายจ่าย และเพิ่มเงินในกระเป๋าของเราได้ด้วย

หลังจากที่พิจารณาดูแล้ว เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้ตัวเองแล้วปัญหาอยู่ตรงไหน ไม่เป็นไร เรามาแก้กันต่อในข้อสามกันเลยดีกว่า

ข้อสอง ดูกระแสเงินสดที่มีในตอนนี้ว่าจะจ่ายไหวแค่ไหน


ข้อสาม มองหาหนทางในการลดรายจ่ายและดอกเบี้ย

ทางเลือกที่ง่ายและทำได้เร็ว คือ การรวมหนี้เป็นก้อนเดียว หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการรวบหนี้ วิธีการก็คือ ขอสินเชื่อมาใหม่ 1 ก้อน เพื่อเอาไปเคลียร์หนี้เดิมให้หมด เราก็จะเหลือภาระผ่อนแค่ทางเดียว

ข้อสาม มองหาหนทางในการลดรายจ่ายและดอกเบี้ย

สินเชื่อที่เราเลือกใช้ หากเรามีบ้าน หรือรถที่เป็นชื่อของเราแล้ว สามารถนำไปใช้ค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อ จะช่วยให้ดอกเบี้ยต่ำลงได้มากเมื่อเทียบกับบัตรเครดิต หรือสินเชื่อบุคคลที่ดอกเบี้ยประมาณ 16-25% ต่อปี หรือถ้าวงเงินไม่สูงมากก็อาจเลือกสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันที่ดอกเบี้ยต่ำลง ก็เป็นทางเลือกในการจัดการหนี้ที่สะดวกเช่นกัน

ข้อดีของวิธีนี้คือ อัตราดอกเบี้ยต่ำลง ขณะเดียวกันก็ช่วยให้เราจ่ายค่างวดต่อเดือนน้อยลง จึงทำให้เรามีเงินสดเหลือมากขึ้น เพื่อไว้ใช้จ่ายกับเรื่องจำเป็นในเวลานี้ก่อนนั่นเอง

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจคิดว่าพูดน่ะมันง่ายแต่ทำจริงก็คงยาก ลองมาดูตัวอย่างเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นกัน

ยกตัวอย่างเช่น หากปัจจุบันเรามีนี้บัตรเครดิต 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 16% ต่อปี ผ่อนจ่ายขั้นต่ำเดือนละ 5,000 บาท มีสินเชื่อบุคคลยอดหนี้คงเหลือ 30,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 22% ต่อปี ผ่อนจ่ายค่างวดเดือนละ 3,000 บาท และมีสินเชื่อรถยนต์กับที่อื่น ยอดหนี้คงเหลือ 150,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.50% ต่อปี จ่ายค่างวดเดือนละ 10,000 บาท รวมแล้วเรามีภาระหนี้เดือนละ 18,000 บาท

สิ่งที่เราต้องคิดต่อคือ จำนวนรายได้ที่ได้รับและค่าใช้จ่ายที่มีอยู่ในแต่ละเดือนเป็นเท่าไหร่ และยังมีเงินเหลือพอที่จะจ่ายหนี้เดือนละ 18,000 บาทหรือไม่ รวมถึง

ดอกเบี้ยที่จ่ายอยู่ตรงนี้มันมากเกินไปหรือเปล่า และถ้าเราต้องการมีสภาพคล่องที่มากขึ้น หรืออยากลดดอกเบี้ย ก็อาจต้องมองหาแนวทางการรวบหนี้เข้ามาเป็นทางเลือก

โดยวิธีการรวบหนี้ที่ว่าคือ การรวมเป็นหนี้ก้อนเดียว ด้วยสินเชื่อประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน หรือ สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีหลักประกันเช่น สินเชื่อบ้านแลกเงิน หรือรถแลกเงิน ซึ่งอยู่ที่สถานะ และความพร้อมว่าจะเลือกทางไหนที่ประหยัดให้สูงสุด

จากตัวอย่างที่ว่ามา ถ้าเราพิจารณาวิธีการรวบหนี้ด้วยสินเชื่อรถแลกเงิน ทีทีบีไดรฟ์ เคลียร์หนี้ โดยนำรถยนต์ Honda Civic 2017 มาใช้เป็นหลักประกัน เราจะได้วงเงินสินเชื่อสูงถึง 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4% ต่อปี และระยะเวลาผ่อน 72 เดือน เราจะเหลือภาระค่าผ่อนเพียงเดือนละ 9,214 บาท

จากวงเงิน 500,000 บาท เรานำเงินส่วนหนึ่ง 230,000 บาท ไปปิดหนี้เดิมทั้ง 3 ก้อนให้เรียบร้อย เพื่อรวบให้เหลือภาระหนี้กับทีทีบีเพียงทางเดียว และยังมีเงินเหลืออีก 270,000 บาท ไว้เสริมสภาพคล่องหรือใช้จ่ายกับเรื่องจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน

ทีทีบี ก็มี สินเชื่อที่จะใช้รวบหนี้ ให้เลือกหลายรูปแบบ

หลายคนมักจะกลัวสินเชื่อที่มีหลักประกันอย่างบ้านหรือรถ เพราะคิดว่าเสียความเป็นเจ้าของไป หรือถ้าเป็นหนี้แล้วเราจะใช้สินทรัพย์เหล่านี้ไม่ได้ แต่ความเป็นจริงแล้ว เรายังสามารถอยู่บ้านหรือขับรถได้เหมือนเดิม เพียงแต่เรานำไปค้ำประกันเพื่อสร้างสภาพคล่องเพิ่มเติมในช่วงที่ต้องการเงินสด และในความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวินัยในการจ่ายหนี้ตรงตามเวลา และไม่สร้างหนี้เพิ่ม ก็จะช่วยให้เราปลดหนี้ได้ตามแผนที่ตั้งใจไว้

เพียงแค่เราเข้าใจสินเชื่อ และมีความรอบรู้เรื่องกู้ยืม ก็จะช่วยให้เราแก้ไขปัญหาด้านการเงิน และนำไปสู่การมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้

สำหรับคนที่กำลังหนักใจกับภาระหนี้ช่วงนี้ อย่าลืมนำ 3 ขั้นตอนที่เล่ามานี้ไปปรับใช้ดู เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและเพิ่มสภาพคล่องในช่วงนี้ไว้ก่อน หรือหากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินเชื่อที่จะใช้รวบหนี้ ทีทีบี ก็มีให้เลือกหลายรูปแบบ ทั้งสินเชื่อบ้านแลกเงิน ทีทีบี, สินเชื่อรถแลกเงิน ทีทีบีไดรฟ์ และสินเชื่อบุคคล ทีทีบี แคชทูแคร์ หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/personal/loans