external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ชีวิตการเงินดีขึ้นก่อนสิ้นปี
แค่ “เริ่ม” ปรับรายจ่าย

ชีวิตการเงินดีขึ้นก่อนสิ้นปี แค่ “เริ่ม” ปรับรายจ่าย

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #จัดการรายจ่าย #ลดรายจ่ายรายปี #ใช้ชีวิตฟรีรอบด้าน
20 ธ.ค. 2564

  • เริ่มรู้จักรายจ่ายที่มี
  • เริ่มเรียงลำดับความสำคัญของบรายจ่าย ด้วย Eisenhower box
  • เริ่มแยกประเภทเป้าหมาย เพื่อปรับรายจ่ายให้ดีขึ้น

 

เมื่อเวลาไม่เคยคอยใคร 1 ปีผ่านไปไวกว่าที่คิด ใกล้สิ้นปีแบบนี้มีเรื่องมากมายให้เราต้องวางแผน ทั้งแผนเที่ยววันหยุดยาว ถือเป็นช่วงปลายของการดำเนินการเรื่องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ การตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพหรือประกันชีวิต รวมถึงการเตรียมการยื่นลดหย่อนภาษี โดยไม่ลืมที่จะทบทวนรายได้ และการใช้จ่ายของตนเองที่ผ่านมาตลอดทั้งปี เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยน และวางแผนสำหรับปีหน้า และปีต่อ ๆ ไปได้อย่างเหมาะสม

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของปี Fintips ขอชวนทุกคนมาทบทวนการเงินตลอดปีที่ผ่านมา เตรียมพร้อมตั้งรับ และเริ่มต้นใหม่ โดยเริ่มต้นจาก 3 เรื่องง่าย ๆ ที่ลงมือทำตอนนี้ก็ยังไม่สาย

“เริ่มรู้ เริ่มเรียง เริ่มแยก” 3 เริ่ม ลดค่าใช้จ่ายเปลี่ยนการเงินให้ดีขึ้นส่งท้ายปี


1. เริ่มรู้จักรายจ่ายที่มีอยู่ตอนนี้

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักตัวเองให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการ เริ่ม รู้จักกับรายจ่ายแต่ละประเภทของตนเอง ทบทวนว่าที่ผ่านมาเราใช้เงินหมดไปกับอะไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้สามารถวางแผนและปรับการใช้จ่ายให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

โดยทั่วไปแล้ว รายจ่ายของเราหลัก ๆ จะมี 3 ประเภท

เริ่มรู้จักรายจ่ายที่มีอยู่ตอนนี้


รู้จักกับรายจ่ายทั้งปีของตัวเองแล้ว ถ้าหากยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ว่าเราควรจะบริหารจัดการที่รายการที่เขียนออกมายาวเป็นหางว่าวพวกนี้ยังไงดี Fintips จะขอแนะนำเคล็ดลับการเงินง่าย ๆ แต่ได้ผลดี ในการจัดลำดับความสำคัญของรายจ่าย ด้วยเครื่องมือการบริหารเวลาสุดเจ๋ง ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงินได้สุดปัง


2. เริ่มเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย ด้วย Eisenhower box

คุณเชื่อเรื่องความสำคัญของเวลาหรือไม่ ถ้าใช่ การเงินก็เช่นกัน เวลาในชีวิตไม่เพียงพอจากการบริหารจัดการที่ไม่รอบคอบฉันใด การเงินก็ต้องใช้ ‘สติ’ และการไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนเพื่อแบ่งสรรปันส่วนอย่างชาญฉลาดฉันนั้น ได้เวลา เริ่ม เรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย

เจ้าตาราง 4 ช่อง ที่ชื่อว่า Eisenhower box รู้จักกันดีในฐานะเครื่องมือสร้างไลฟ์สไตล์สุด Productive ด้วยการจัดลำดับความสำคัญรายการสิ่งที่ต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยวิธีการเดียวกันนี้ จะสามารถช่วยให้เราสามารถเห็นภาพรวมรายการรายจ่ายที่มีทั้งหมด ทำให้การจัดความสำคัญของรายจ่ายกลายเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก 

แล้วเราจะเรียงลำดับความสำคัญรายจ่ายที่มีได้ยังไง หากนำหลักการทั่วไปของ Eisenhower box มาใช้ เราจะสามารถแบ่งรายจ่ายที่มีออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ สำคัญ-เร่งด่วน, สำคัญ-ไม่เร่งด่วน, ไม่สำคัญ-เร่งด่วน, และไม่สำคัญ-ไม่เร่งด่วน

ลองเริ่มเรียงลำดับความสำคัญ ของรายจ่ายของคุณ

1. รายจ่ายที่ สำคัญ - เร่งด่วน (ต้องทำ) เป็นรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายทันทีหรือภายในเวลาที่กำหนด หากไม่จัดการให้ทันเวลา อาจจะเกิดผลกระทบที่ร้ายแรงตามมาได้ เช่น ค่าเทอมลูก ค่าผ่อน/เช่าที่อยู่อาศัย ค่างวดรถ ฯลฯ แม้ในสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบให้รายได้ที่เคยมีลดลง แต่รายจ่ายส่วนนี้ยังอยู่ ซึ่งมักเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ที่เราจ่ายเป็นประจำและปรับลดได้ยาก

2. รายจ่ายที่ สำคัญ - ไม่เร่งด่วน (ควรทำ) คือรายจ่ายเพื่อเป้าหมายที่ควรทำ ซึ่งหากทำแล้วจะให้ผลดีแก่ชีวิตในอนาคต มีความสำคัญแต่สามารถผ่อนผันเอาไว้จัดการทีหลังได้ เช่น เงินออมเพื่อการเกษียณ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เราอาจพิจารณาเพื่อลดหรือพักการออมไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เรียกได้ว่า สามารถปรับเปลี่ยนหรือวางแผนใหม่ได้ตามความเหมาะสม

3. รายจ่ายที่ ไม่สำคัญ - เร่งด่วน (ไม่น่าทำ) เป็นเรื่องที่ทำก็ดี ไม่ทำก็ได้ ไม่ส่งผลกระทบมากมาย แต่พอจ่ายไปแล้ว กลับทำให้เราต้องมานั่งกุมขมับ เสียดายหรือเสียใจภายหลัง เช่น คนใกล้ชิดขอหยิบยืมเงิน ซื้อของที่อาจไม่จำเป็นในช่วงเวลาลดราคา สังสรรค์กับเพื่อนหลังเลิกงาน เป็นต้น และในวันที่ต้องการลดรายจ่าย รายจ่ายส่วนนี้จึงเป็นรายการที่ควรพิจารณาเพื่อลดหรือตัดออกเป็นลำดับต้น ๆ

4. รายจ่ายที่ ไม่สำคัญ - ไม่เร่งด่วน (อย่าทำ) คือรายจ่ายเพื่อความบันเทิง หรือเรื่องฟุ่มเฟือยเป็นส่วนใหญ่ และถือเป็นราจ่ายลำดับแรก ๆ ที่ควรตัดทิ้ง แม้ในยามที่ไม่มีวิกฤตการเงินก็ตาม เช่น อาหารมื้อหรูในโอกาสไม่พิเศษ สินค้าตามกระแสของมันต้องมี โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ล่าสุดทั้งที่ของเดิมก็ใช้ได้ดี

เมื่อลองเปรียบเทียบทั้ง 4 ช่อง แน่นอนว่าช่องแรก คือรายจ่ายที่ สำคัญ - เร่งด่วน นั้นเป็นลำดับแรกที่จำเป็นและควรให้ความสำคัญมากที่สุด แต่เมื่อพิจารณาถึงผลในระยะยาว อาจทำให้เกิดภาวะชักหน้าไม่ถึงหลัง เนื่องจากขาดการวางแผนการเงินที่ดีไว้ล่วงหน้า

ดังนั้น จึงไม่ควรละเลยหรือเพิกเฉยต่อรายจ่ายในช่องที่ 2 (สำคัญ - ไม่เร่งด่วน) ซึ่งเป็นรายจ่ายเพื่อการออม และผลประโยชน์ในอนาคต แม้ในภาวะเศรษฐกิจไม่สู้ดี รายจ่ายประเภทนี้จะสามารถปรับลดหรืองดเว้นไปก่อนได้ แต่ก็เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น การบริหารจัดการรายจ่ายประเภทนี้

เกิดปัญหาขึ้นแน่ หากเราใช้เงินส่วนใหญ่ไปกับรายจ่ายในช่องที่ 3 (ไม่สำคัญ - เร่งด่วน) และ 4 (ไม่สำคัญ - ไม่เร่งด่วน) จากคนที่มีรายได้และรายจ่ายที่สมเหตุสมผล ก็จะกลายเป็นบุคคลมีปัญหาทางการเงินทันที เรียกได้ว่า ได้เสริมสุขทางใจในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่กลับต้องทนทุกข์ไปอีกแสนนาน


3. เริ่มแยกประเภทเป้าหมายเพื่อปรับรายจ่ายให้ดีขึ้น

แล้วเราควรบริหารจัดการรายจ่ายแต่ละช่องยังไง ให้ได้ชื่อว่าเป็นคนที่มีสุขภาพการเงินที่ดีส่งท้ายปีนี้ ต้อนรับปีใหม่ งั้นเรามาลอง เริ่ม แยกประเภทแต่ละเป้าหมาย เพื่อปรับรายจ่ายให้ดีขึ้น

หากเป้าหมายของคุณคือการมีสภาพคล่องทางการเงิน และเงินออมเพื่อการใช้จ่ายในอนาคต การวางแผนการเงินและจัดการรายจ่ายจึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งไม่ใช่แค่การทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบส่ง ๆ แต่เป็นการทำงบประมาณล่วงหน้ารายปี/รายเดือน นอกจากจะเป็นการบริหารรายจ่ายอย่างรอบคอบแล้ว ยังทำให้สามารถคาดการณ์และจัดการความเสี่ยง และสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้เป็นอย่างดี

แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในช่องที่ 1 (สำคัญ - เร่งด่วน) เป็นอะไรที่ควรได้รับการจัดการก่อน แต่ต้องไม่ลืมเป้าหมายในระยะยาวของเรา ดังนั้น อาจเป็นการดีกว่า ถ้าเราจะตัดรายจ่ายให้กับช่องที่ 2 (สำคัญ - ไม่เร่งด่วน) ก่อนรายจ่ายอื่น ๆ โดยไม่มีรีรอให้เงินเหลือแล้วค่อยมาเก็บออม แถมยังมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายในช่อง 3 และ 4 เพื่อความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้อีกด้วย

ลงมือทำอะไรที่ใช่ ใช้จ่ายเฉพาะกับสิ่งที่คู่ควร และเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์

วางแผนการเงินได้ดี ปรับรายจ่ายที่มีได้อย่างชาญฉลาดแล้ว ต้องไม่ลืมเลือกผลิตภัณฑ์การเงินที่ส่งเสริมเป้าหมายและไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล สุขใจสิ้นปี สุขภาพการเงินดีในปีหน้า

บัญชี ttb all free อีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้เราสามารถไปถึงเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งเอาไว้ได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว ด้วยบัญชียุคใหม่ที่ช่วยให้เราลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไม่ต้องจ่ายได้ แม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น

ttb all free บัญชีช่วยลดค่าใช้จ่าย ใช้ฟรี คุ้มครบ และมีฟรีประกันคุ้มครอง

สิทธิประโยชน์มากมายที่รวมไว้ในบัญชีเดียว ให้คุณได้ใช้งานด้านการเงินสะดวก คุ้มค่า ตัดรายจ่ายที่จำเป็นแต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายไปได้อีกเยอะ

อยากลดค่าใช้จ่าย เลือกใช้ ttb all free บัญชียุคใหม่ ใช้ชีวิตฟรีรอบด้านไปพร้อมสุขภาพการเงินที่ดี


ที่มา

  • จัดการรายจ่ายอย่างไร… เมื่อรายได้ลดลง (2563) ณัฐนันท์ เอื้อวัฒนะสกุล
  • บริหารเวลาสุดเจ๋ง สู่การบริหารเงินสุดปัง (2563) Indybook