โลกยุคปัจจุบันที่มีความผันผวน และความไม่แน่นอนอย่างมาก ความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้น เราจะทำอย่างไรให้ ธุรกิจสามารถเป็นผู้ชนะในตลาดนี้ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้มีข้อสรุป จากการอภิปรายกลุ่ม ในหัวข้อ Winning in Volatile Markets หนึ่งในหลักสูตร ttb digital LEAN supply chain รุ่น 17 ที่ได้รับเกียรติจากคุณวิภาส ปวโรจน์กิจ กรรมการผู้จัดการ บมจ. ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากนมโคคุณภาพโฟร์โมสต์ และอีกหลากหลายแบรนด์ คุณบุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีทีบี และคุณพรรณวลัย อินทราพิเชฐ หัวหน้าบริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี ที่มาแบ่งปันประสบการณ์ทั้งจากในวงการอุตสาหกรรมอาหารและจากมุมมองของธนาคาร
“Mindset is a Magnet ความคิดดี ดึงดูดสิ่งดี เพื่อเรา เพื่อโลก”
คุณวิภาส เล่าถึงแนวคิดที่ฟรีสแลนด์คัมพิน่า มีต่อการดูแลโลก และสิ่งเหล่านี้ ทำให้ได้ส่งต่อสารอาหารดี ๆ ไปให้ผู้คนยังส่วนต่าง ๆ ของโลก และยังเป็นการถนอมโลกให้มากที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้องค์กรได้รับสิ่งดี ๆ กลับคืนมา และปลูกฝังไว้ในกรอบความคิด (Mindset) พนักงานทุกคน สอดคล้องกับเทรนด์อาหารในปัจจุบันและอนาคต ที่การผลิตอาหารจะต้องช่วยดูแลโลกมากขึ้น
เทรนด์ที่ต้องจับตามองสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
ต่อเนื่องจากกรอบความคิด (Mindset) ที่ดี ความคิดที่ดีต่อโลกนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงวิสัยทัศน์ของธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง แต่กำลังเป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งธุรกิจได้สามารถทนุถนอมโลกได้มากกว่าก็จะเป็นที่จะได้รับการยอมรับได้มากกว่า ซึ่งในปัจจุบันเราอาจจะพอเห็นภาพบ้างแล้วถึงความรักษ์โลกของผู้บริโภค ซึ่งในอนาคตจะยิ่งมีความสำคัญมากกว่าในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นความรักษ์โลก รวมถึงความเป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย
- อาหารที่ลดปัญหาขยะ กากอาหารและสิ่งแวดล้อม ธุรกิจต้องคำนึงถึงทั้งกระบวนการผลิตที่รวมไปถึงวัตถุดิบ จะต้องสร้างขยะ หรือสร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หรือไม่สร้างปัญหาเลยได้ยิ่งดี เช่น การเลือกใช้น้ำตาลที่ทำจากอ้อยที่ไม่ได้เกิดจากการเผาไร่ หรือการเลี้ยงสัตว์ที่ปล่อยก๊าซหรือของเสียน้อยที่สุด เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับโลก ซึ่งในระยะแรก อาจจะมีต้นทุนที่มากกว่าเดิม แต่จะเป็นผลดีในระยะยาวแน่นอน
- อาหารที่ลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ ไม่เพียงแค่กระบวนการผลิตและวัตถุดิบเท่านั้น เมื่อเราส่งต่ออาหารออกไป บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ จะต้องไม่ไปทำลายสิ่งแวดล้อมเพิ่มอีก ซึ่งอาจเลือกบรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลง่าย หรือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้แบบถูกวิธีไม่เกิดมลพิษเพิ่มเติม
- องค์กรที่ผลิตอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสังคม เรื่องของผลิตภัณฑ์อย่างเดียวจะยังไม่พอ ในอนาคตอันใกล้ผู้บริโภคจะเลือก ผลิตภัณฑ์จากองค์กรที่มีประโยชน์ต่อสังคมด้วย เช่น การซื้อผลิตภัณฑ์นี้ จะสามารถให้ประโยชน์ต่อเกษตรกร หรือผู้คนในถิ่นต่าง ๆ เป็นต้น
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเทรนด์อุตสาหกรรมอาหารยุคใหม่ที่จะมีผลต่อธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงต้องเริ่มจากชุดความคิดของผู้นำก่อนและถ่ายทอดมายังผู้คนในองค์กรให้สำเร็จ สอดคล้องกับทางด้านคุณพรรณวลัย อินทราพิเชฐหัวหน้าบริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี ที่กล่าวถึงการทำตลาดในยุคปัจจุบัน ที่ต้องมีกลยุทธ์ 4C
กลยุทธ์ 4C เข้าถึงและได้ใจกับผู้บริโภคในยุคสมัยนี้
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ปัจจุบันดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ไปแล้ว มีตัวเลขทางสถิติมากมายถึงการเปลี่ยนแปลงของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และการทำธุรกรรมทางการเงินบนธนาคารดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น ซื้อ ขาย รับ จ่าย ก็เป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว จนสามารถกล่าวรวม ๆ ได้ว่า ประชากรไทยราว ๆ 75% ซื้อ ขาย รับ จ่าย บนโลกดิจิทัล แต่แล้วกลยุทธ์อะไรกันล่ะที่จะทำให้ลูกค้าสนใจและอยู่กับเราเรื่อยไป
4C คือ กลยุทธ์การตลาด ที่เข้าใจลึกไปถึงความคิดอ่าน ลูกค้าคิดหรือรู้สึกกับสินค้าและบริการอย่างไร และเราสามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างไร เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงจุด โดย 4C ประกอบด้วย
- Care คุณภาพของสินค้าต้องมีความจริงใจ ให้ของดี มีคุณภาพ ความคุ้มค่าของสินค้า ความเข้าใจในความต้องการใช้สินค้าของลูกค้า
- Convenience ผู้บริโภคสมัยนี้ ใจร้อนขึ้นและต้องความสะดวกรอบด้าน เช่น หาของต้องง่าย จ่ายเงินต้องง่าย ซื้อซ้ำก็ต้องง่าย สะดวกทุกทาง
- Consistency การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้าไม่ได้มีผู้ขายเป็นเรารายเดียวอีกต่อไปแล้ว เราไม่สามารถแสดงความมีตัวตน หรือจุดยืนของธุรกิจของเราต่อลูกค้าหนึ่งรายเพียงครั้งเดียว ความต่อเนื่องของการสื่อสารให้ลูกค้าเห็นตัวตนธุรกิจของเราอยู่เสมอ เมื่อลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์จะต้องนึกได้ทันทีว่า จะซื้อกับใคร
- Complain freak รับฟังเสียงของลูกค้า ให้ความสนใจและแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งปัจจุบันการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ก็สะดวกขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เมื่อเก็บข้อมูลแล้วจะต้องวิเคราะห์ให้ได้ เพื่อให้สามารถออกผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แก้ไขตรงจุด
ไม่เพียงพฤติกรรมผู้บริโภคเท่านั้นที่เปลี่ยนไป โลกทางการเงินก็เช่นกัน
ทางด้านคุณบุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีทีบี ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางการเงินที่ในปัจจุบันมีความผันผวนเป็นอย่างมาก โดยเล่าว่าเหตุการณ์แบบนี้ได้เคยเกิดเมื่อ 40 ปีที่แล้ว อย่างในปี ค.ศ.1980 ก็มีวิกฤตเศรษฐกิจค่าครองชีพที่สูงขึ้น วิกฤตเงินเฟ้อ ภาวะถดถอย (recession) ซึ่งเริ่มจากรายได้จากการขายน้ำมันของกลุ่ม OPEC ซึ่งในปี 2022 ก็เป็นเรื่องของต้นทุนพลังงานและ เงินเฟ้อที่ดีดตัวสูงขึ้น โดยปกติเงินเฟ้อ ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จะควบคุมให้อยู่ที่ 2-3 % แต่ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 10% และอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างสหรัฐอเมริกาก็ปรับขึ้นเกือบ 3% โดยสำหรับประเทศไทยนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังคงควบคุมอยู่ แต่คาดว่าในการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป ของธนาคารแห่งประเทศไทย เราอาจจะเห็นดอกเบี้ยถึง 1.25% ได้ในปลายปีนี้ และเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าที่สุดในรอบ 20 ปี ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ กระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการนำเข้า และความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละสกุล ซึ่งกระทบต่อผู้นำเข้า-ส่งออกเป็นอย่างมาก
เครื่องมือดี สถานการณ์ก็ได้เปรียบ
ตามที่กล่าวไปข้างต้น ปัจจุบันการซื้อ ขาย รับ จ่าย บนระบบดิจิทัลได้กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว หากธุรกิจใดที่ยังไม่ได้เริ่มเข้าสู่วงการดิจิทัลก็คงจะลำบากที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นเครื่องมือธนาคาร เช่น ธนาคารดิจิทัล เครื่องมือในการจัดการร้านค้า ทำ QR Code รับจ่าย หรือจะเป็นเครื่องรับรูดบัตรเครดิต/เดบิตที่หน้าร้าน หรือจะเป็นระบบ Link รับชำระเงินแบบออนไลน์ก็ควรต้องเร่งหามาใช้ หรือจะเป็นเครื่องมือดิจิทัลอื่น ๆ เช่นระบบช่วยควบคุมวงเงินค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันที่สามารถดูรายการผ่านระบบดิจิทัลก็เป็นเครื่องมือทางธนาคารที่น่าสนใจ
อย่างทีทีบีเอง ก็มีเครื่องมือเหล่านี้ไว้ให้ใช้บริการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทีทีบี บิสสิเนสวัน (ttb business one) ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ttb smart shop เป็นตัวช่วยในการจัดการร้านค้า รับชำระเงินง่ายๆ ผ่าน QR Code จากทุกธนาคาร ttb quickpay และ ttb digital invoice management บริการสร้าง Link เพื่อการรับชำระเงินออนไลน์ที่สามารถเลือกออก digital invoice และ digital receipt ได้ด้วย และ ttb fleet card บัตรเติมน้ำมันทีทีบี ที่ช่วยควบคุมวงเงินค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปลอดภัยไม่ต้องพกเงินสด ใช้ได้ที่สถานีบริการน้ำมันที่ร่วมรายการทั่วประเทศ สามารถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือได้แบบเรียลไทม์ ผ่านระบบ Web Fleet Service ได้อีกด้วย
ทางด้านเครื่องมือที่ช่วยปิดความเสี่ยงด้านความผันผวนของสกุลเงินต่างประเทศก็มีเช่นกัน อย่าง ttb multi-currency account บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน ทีทีบี บัญชีที่สามารถบริหารจัดการหลายสกุลเงินในบัญชีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน การแลกเปลี่ยนเงิน และการเรียกดูรายการเดินบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Statement) ที่สะดวก ง่าย และรวดเร็ว ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ทีทีบี บิสสิเนสวัน พร้อมรับดอกเบี้ยเงินฝากทันที เมื่อมีรายการโอนเงินเข้าบัญชี ตอบทุกโจทย์ของการนำเข้า-ส่งออกและลดปัญหาค่าเงินที่ผันผวน ด้วยการค้าขายด้วยสกุลเงินท้องถิ่น โดยใช้บัญชีบริหารหลายสกุลเงิน พร้อมยกระดับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ สู่ประสบการณ์ดิจิทัลเต็มรูปแบบ
ยิ่งในปัจจุบันที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมเงินเฟ้อส่งผลกระทบโดยตรงกับอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐที่มีการปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 20 ปี แต่ที่ได้เปรียบกว่าครั้งก่อน ๆ คือ ครั้งนี้เรามีเครื่องไม้เครื่องมือทางธนาคารที่ช่วยปิดความเสี่ยงลงได้ และสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าก่อนมาก ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีกว่าในยุคก่อน ๆ ธนาคารแนะนำให้กระจายการใช้หลายสกุลเงินโดยเฉพาะสกุลเงินท้องถิ่นเพื่อช่วยลดต้นทุนจากความผันผวนของดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา :
- หลักสูตร ttb digital LEAN supply chain รุ่น 17
ttb Digital LEAN Supply Chain หลักสูตรพัฒนาต่อยอดมาจาก ttb LEAN Supply Chain
ให้ความรู้ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพให้ซัพพลายเชนอย่างแท้จริงมายาวนานกว่า 10 ปี ซึ่งช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพหนึ่งในโครงการ finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ธุรกิจผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จากพันธมิตรชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัลและเติบโตอย่างยั่งยืน
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME หรือคลิกเพิ่มเพื่อน