ในการปรับปรุงกระบวนการตอนที่แล้ว เราได้นำเสนอไปแล้ว ถึงการปรับปรุงคุณภาพใน 3 M ที่อยู่ในกระบวนการ (Process) สำหรับตอนนี้ เราไปดูอีก 2 M ที่อยู่ในขั้นตอน Input และ Output ซึ่งก็คือ Material และ Measurement กันเลยดีกว่า และสำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่านตอนที่แล้ว คลิกอ่านได้ที่นี่
มาลองหาแนวทางการปรับปรุงกระบวนการในแต่ละองค์ประกอบกันเถอะ
M : Material วัตถุดิบ/ปัจจัยนำเข้า (Material)
Just In Time (Pull System) ระบบการผลิตแบบดึง เป็นระบบที่การผลิตจะเป็นการผลิตตามความต้องการของลูกค้า เมื่อเกิดการซื้อจริงจากลูกค้า ซึ่งจะปรับกำลังการผลิตทั้งสายการผลิต ให้ผลิตตามความต้องการของลูกค้าเท่านั้น
AI&ML (Artificial Intelligence & Machine Learning ) โดย AI หมายถึงการทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานที่ไม่ได้ถูกตั้งค่าโปรแกรมไว้ก่อนได้ซึ่งเราให้ความหมายว่ามันคือความชาญชฉลาด ส่วน ML หมายถึงอัลกอริทึมที่เมื่อเราป้อนข้อมูลให้มันได้มากพอเพื่อเรียนรู้ (Training) มันจะสามารถจดจำรูปแบบ (Recognize) กับข้อมูลที่ได้รับมาใหม่ได้ ดังนั้นแต่ละอัลกอริทึมจะเป็นตัวกำหนดว่ามันจะเรียนรู้อย่างไรด้วยวิธีไหน โดยสรุปก็คือ AI หมายถึงการสร้างเครื่องจักรให้มีความชาญฉลาด ส่วน ML คือการสร้างอัลกอริทึมจากข้อมูลที่เรียนรู้มา โดยเราสามารถใช้ AI และ ML มาช่วยพยากรณ์จำนวนลูกค้า ความต้องการของลูกค้าได้ และทำการสั่งผลิตเองให้ตรงกับข้อมูลที่พยากรณ์ไว้แล้ว
M : Measurement เครื่องมือวัด และการตรวจสอบ (Measurement)
ตรวจสอบระบบการวัด Gage R&R คือ เป็นตัวเลขที่แสดงถึงความสามารถในการวัด โดยผู้ควบคุมต้องทำให้ค่า GR&R น้อยที่สุด หากค่า GR&R ยิ่งสูงจะแสดงว่าระบบการวัดด้อยประสิทธิภาพส่งผลให้ข้อมูลที่ได้จากการวัดไม่น่าเชื่อถือ และจะส่งผลโดยตรงกับการตัดสินใจควบคุมกระบวนการผลิต
Gage R&R ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ 1. Repeatability และ 2. Reproducibility
- Repeatability เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถในการอ่านซ้ำของเครื่องมือวัด โดยจะต้องใช้คนทำการวัดคนเดียว งานชิ้นเดิม บนสภาวะแวดล้อมเดียวกัน วัดซ้ำบนเครื่องมือวัดนั้นหลาย ๆ ครั้ง เพื่อดูว่าค่าที่ได้จ่ากการวัดแต่ละครั้งนั้นใกล้เคียงกันหรือไม่ เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด
- Reproducibility เพื่อที่จะดูว่าภายใต้สภาวะแวดล้อมเดียวกัน เครื่องมือวัดเครื่องเดียวกัน และชิ้นงานเดิม แต่เปลี่ยนผู้วัด ค่าที่วัดออกมาจะยังคงเชื่อถือได้หรือไม่ เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของคนวัด
การรักษาสภาพและระดับของคุณภาพหลังการปรับปรุงกระบวนการ
หลังจากกระบวนการได้รับการปรับปรุงแล้ว เราจะต้องควบคุมอยู่การปรับปรุงยังคงอยู่ในระดับมาตรฐานต่อเนื่องตลอดไป โดยการ
- กำหนดตัวชี้วัด (KPI) เช่น ยอดขาย, จำนวนที่ผลิตได้ทั้งหมด, จำนวนของดี, จำนวนของเสีย
- ทำให้เป็นงานมาตรฐานและฝึกอบรม (Standard Work & Training)
และจากเนื้อหาทั้งหมดในตอนนี้ก็จะทำให้ผู้ประกอบการทราบแนวทางในการปรับปรุง และควบคุม เพื่อนำไปพัฒนากระบวนการการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพได้
และจากเนื้อหาทั้งหมด ก็จะได้หัวใจหลักของ LEAN Six Sigma ดังนี้
ที่มา :
- โครงการ ttb Digital LEAN Supply Chain รุ่นที่ 17
- Moo Story
- techtalkthai.com
- 9experttraining.com
- datawow.co.th
- สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต
- bsigroup.com
- mmthailand.com
- isidsea.co.th
finbiz by ttb
โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม
พร้อมองค์ความรู้ ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
เพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวผ่านความท้าทายของโลกปัจจุบัน
ปรับตัวตอบโจทย์ยุคดิจิทัล พร้อมมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME