ในครั้งที่แล้ว finbiz by ttb ได้เล่าถึง LEAN SIX SIGMA และทำความรู้จักเบื้องต้นไปแล้ว สำหรับตอนนี้เราจะกล่าวถึงวิธีทำให้ไปถึง SIX SIGMA ซึ่งคือกระบวนการ DMAIC นั่นเอง สามารถอ่านตอนที่แล้วได้โดยคลิกที่นี่
DMAIC เป็นการปรับปรุงแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic Approach) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานตามแนวคิดของ Six Sigma
DMAIC เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980 โดยเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบวิธี Six Sigma โดย Bill Smith ซึ่งเป็นวิศวกรของ Motorola โดยจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ขั้นตอนที่เชื่อมโยงกัน ได้แก่ การกำหนด การวัด การวิเคราะห์ การปรับปรุง และการควบคุม ซึ่งแต่ละขั้นตอนได้รับการออกแบบให้ส่งผลแบบสะสมขึ้นไปเรื่อย ๆ กล่าวคือ เป็นการต่อยอดข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนก่อนหน้าและนำไปทำซ้ำหลายๆ ครั้ง
Define (การระบุปัญหา) :
ก่อนที่จะเริ่มทำการแก้ปัญหา DMAIC จะต้องเริ่มต้นที่ขั้นตอนการระบุปัญหา พร้อมกับระบุเหตุผลว่าทำไมจำเป็นจำต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป้าหมายสุดท้ายปลายทาง เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและจุดหมายที่อยากจะไปอย่างถ่องแท้
Measure (การวัด) :
การกำหนดตัวชี้วัด เพื่อใช้ในการวัดปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อรวบรวมข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการหาสาเหตุ สามารถใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการเปลี่ยนแปลงระหว่างโปรเจคและใช้เพื่อเปรียบเทียบเมื่อสิ้นสุดโครงการได้
Analyze (การวิเคราะห์ปัญหา) :
การวิเคราะห์ปัญหาคือการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่แล้วมาทำ Root Cause Analysis (RCA) หรือการหาต้นตอของปัญหา ว่าแท้จริงแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไร เครื่องมือในการทำ Root Cause Analysis มีอยู่มากมาย ซึ่งมี 3 เครื่องมือที่นิยมใช้ในการหาต้นตอสาเหตุ ได้แก่ การวางผังกระบวนการ (Process Map), การวิเคราะห์ด้วยแผนผังก้างปลา (Fish bone diagram) และ การตั้งคำถามด้วยทำไม (5-Why analysis) ซึ่งเราจะมากล่าวถึง 3 เครื่องมือนี้ในตอนต่อไป
Improve (การปรับปรุง) :
การปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่ได้วิเคราะห์ต้นตอของปัญหามาจากขั้นตอนที่แล้ว การแก้ไขปัญหาอาจะเริ่มจากการระบุวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้เพื่อเลือกวิธีแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดเพื่อจะนำมาใช้จริง
Control (การควบคุม) :
การสร้างแผนการติดตามตรวจสอบและควบคุมเพื่อประเมินผลกระทบของกระบวนการใหม่พร้อมกับติดตามผลว่า สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ นอกจากนี้ เราควรเตรียมแผนรับมือในกรณีที่มีปัญหาขึ้นมาใหม่ และจัดทำเอกสารในการบันทึกกระบวนการปรับปรุงโดยมีการควบคุมให้อยู่ในการปรับปรุงตลอดเวลา โดยไม่ลดคุณภาพของกระบวนการลง
อะไรคือข้อดีของ DMAIC คืออะไร
ประโยชน์หลักของ DMAIC คือเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ได้ผล ซึ่งสามารถสร้างมาตรฐานของกระบวนการทำงานขององค์กรของเราได้ โดยมีแนวทาง 5 ขั้นตอนที่ชัดเจน และสามารถจัดทำเอกสารประกอบเพื่อสรุปการตัดสินใจและความคืบหน้าทั้งหมดได้ นอกจากนั้นยังสามารถเป็นกระบวนการที่ทำซ้ำได้เรื่อย ๆ เพื่อควบคุมคุณภาพของการทำงาน
การปรับปรุงกระบวนการด้วย DMAIC อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่องค์กรพบปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไข สิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ DMAIC คือแนวทางนี้ไม่ใช่วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดที่พร้อมใช้งานทันทีสำหรับองค์กรหรือธุรกิจ แต่เป็นกระบวนการค้นหาและช่วยให้พบวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรและการทำงานโดยผ่านการทำซ้ำและการปรับปรุงเพิ่มเติม แม้ว่าองค์กรจะไม่จำเป็นต้องใช้ DMAIC กับทุกปัญหาที่เผชิญ แต่การเริ่มนำแนวทางนี้เข้ามาใช้ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงกระบวนการขึ้นอย่างแท้จริงอันนำไปสู่ความสำเร็จที่วัดได้ในที่สุด
DMAIC จึงเป็นกรอบความคิดในการแก้ไขปัญหาที่ หาวิธีแก้ที่ตรงจุดไม่ได้ ไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง แก้แล้วปัญหาก็ยังกลับมาซ้ำ ๆ หรือกลายไปเป็นปัญหาใหม่ DMAIC ฝึกให้เราไม่ด่วนสรุปปัญหาและรีบลงไปแก้โดยไม่เห็นข้อมูลในการตัดสินใจ DMAIC ไม่เหมาะกับปัญหาที่เรารู้วิธีแก้ หรือปัญหาเกิดจากปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้
ที่มา :
ttb digital LEAN supply chain โครงการพัฒนาต่อยอดมาจาก LEAN Supply Chain by ttb
ให้ความรู้ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพให้ซัพพลายเชนอย่างแท้จริงมายาวนานกว่า 10 ปี ซึ่งช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพหนึ่งในโครงการ finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ธุรกิจผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จากพันธมิตรชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัลและเติบโตอย่างยั่งยืน
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME หรือคลิกเพิ่มเพื่อน