เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกปี ที่ผู้มีรายได้ต้องทำการยื่นภาษีแก่กรมสรรพากร
สำหรับภาษีบุคคลธรรมดา ส่วนนิติบุคคลอย่างผู้ประกอบการ SME
เองก็ต้องทำการยื่นภาษีประจำปีเช่นกัน ซึ่งก่อนทำการยื่นภาษีควรตรวจสอบ
สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ประกอบการ SME
เพื่อช่วยให้ประหยัดเงินเป็นผลกำไรได้มากขึ้น
4 ประเภทของภาษีที่ SME ต้องชำระ
ผู้ประกอบการ SME มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อธิบายแบบสั้น ๆ ก็คือ
ภาษีที่กรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บกับผู้ประกอบการ SME อัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 30
ของกำไรสุทธิ ซึ่งหลักการคิดภาษีนิติบุคคลคือ (รายได้ - รายจ่าย = กำไร)
และนำกำไรไปคิดภาษีที่ต้องจ่ายนั่นเอง ซึ่งภาษีที่เกี่ยวข้องกับ SME
จะประกอบไปด้วย
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT
เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าสินค้าหรือบริการที่มีการซื้อขาย
โดยผู้ประกอบการที่มียอดขายมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ขอจดทะเบียน VAT
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มคือร้อยละ 7 จากยอดมูลค่าสินค้าและบริการ ซึ่งประกอบด้วย
-
ภาษีขาย
คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้จดทะเบียน VAT
เรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อในการขายสินค้าบริการเป็นภาษีที่ต้องนำส่งกรณีขายมากกว่าซื้อ
-
ภาษีซื้อ
คือ
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการต้องชำระให้ผู้ขายในการซื้อสินค้า
เป็นภาษีที่ขอคืนได้ถ้าน้อยกว่าภาษีขายในรอบนั้น
3. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
เป็นภาษีที่ผู้ประกอบการทำการหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 40 เพื่อนำส่งรัฐ
ในกรณีที่มีการจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงาน หรือค่าจ้างให้ทำสินค้า
ก็ต้องมีการหักภาษีที่จ่าย อัตราร้อยละ 3
4. ภาษีป้ายและภาษีโรงเรือนที่ดิน
ภาษีป้าย
เป็นภาษีที่ต้องเสียเมื่อมีป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ
เครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือเพื่อหารายได้ หรือเป็นป้ายโฆษณา
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีก็คือเจ้าของป้ายนั่นเอง
ส่วนภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง
และที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน
เช็กให้ดีสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับ SME มีอะไรบ้าง
ผู้ประกอบการ SME
หลายต่อหลายคนมองข้ามหรือละเลยในการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ทำให้ต้องเสียภาษีมากกว่าปกติ ฉะนั้นก่อนยื่นภาษีควรตรวจสอบสิทธิประโยชน์ต่อไปนี้
ได้รับการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
หากผู้ประกอบการ SME มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี
ส่วนผู้ประกอบการที่มีกำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท
เสียภาษีอยู่ที่ 15% เกิน 3,000,000 บาทขึ้นไป เสีย 20%
อุปกรณ์การทำงานก็หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ ดังนี้
- คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หักได้ 40%
- อาคารโรงงาน หักได้ 25%
- เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักร หักได้ 40%
จ้างผู้สูงอายุก็มีข้อดี เพราะนำมาลดหย่อนภาษีได้
ด้วยมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า
โดยที่ผู้ประกอบการ SME ต้องมีการจ้างงานผู้สูงอายุที่มีอายุ 60
ปีขึ้นไปเป็นลูกจ้างของบริษัท หรือมีการขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
เป็นค่าจ้างผู้สูงอายุที่มีค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท ต่อเดือน
ส่งเสริมให้มีการนำนวัตกรรมมาใช้ ก็ได้รับการลดหย่อนภาษี
ด้วยมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
โดยผู้ประกอบการ SME ต้องยื่นใช้สิทธิไปยัง สวทช. เพื่อตรวจสอบ
เป็นการหักรายจ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
ที่ได้รับการประกาศกำหนดฯ หักได้ 2 เท่า
หากส่งเสริมและพัฒนาพนักงานให้เกิดการเรียนรู้
ก็สามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนได้
ด้วยมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือพนักงาน
เป็นการที่ผู้ประกอบการ SME หักรายจ่ายในการส่งพนักงานไปฝึกอบรม
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา สามารถหักได้ 2 เท่า
หากมีการใช้เครื่อง EDC รับชำระเงินก็ใช้ลดหย่อนได้
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่อง EDC)
เป็นการหักรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าธรรมเนียม
จากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC
เรื่องของภาษี เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ และจัดการอยู่เป็นประจำทุกปี
ผู้ประกอบการ SME ควรมีผู้เชี่ยวชาญ หรือที่ปรึกษาทางการเงิน
ที่ทำให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างราบรื่น
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 40 เพื่อนำส่งรัฐ ซึ่ง SME
จะต้องต้องมีการหักภาษีที่จ่าย อัตราร้อยละ 3
ในกรณีที่มีการจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงาน หรือค่าจ้างให้ทำสินค้า ซึ่ง finbiz by
ttb ขอนำเสนอตัวช่วยที่ทำให้ผู้ประกอบการ SME ประหยัดเวลา และแม่นยำมากขึ้น
ด้วยบริการเสริม ttb e-withholding tax service บริการหักภาษีและนำส่งภาษีออนไลน์
ทีทีบี ที่มาพร้อมกับ บริการการจ่ายเงินเดือนพนักงาน ttb payroll
ที่ธนาคารทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1)
พร้อมการจ่ายเงินเดือนพนักงานโดยอัตโนมัติ
และนำส่งภาษีในนามบริษัทให้แก่กรมสรรพากร โดยบริษัทไม่ต้องดำเนินการเอง
เพียงลูกค้าจ่ายเงินเดือนพนักงานผ่าน ttb payroll plus และแจ้งความจำนงค์กับธนาคารเพื่อให้ธนาคารทำการหักภาษี
จุดเด่นของ ttb payroll plus บริการจ่ายเงินเดือน
และดูแลสวัสดิการพนักงานครบจบในที่เดียว
-
ประหยัดต้นทุน ไม่มีค่าธรรมเนียมในการโอนจ่ายเงินเดือนพนักงาน
และไม่จำกัดจำนวนพนักงาน เมื่อทำธุรกรรมด้วยระบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง
-
สิทธิประโยชน์มากมาย สำหรับพนักงาน ที่ใช้บัญชี ทีทีบี ออลล์ฟรี
เป็นบัญชีรับเงินเดือน กดเงินที่ตู้ ATM ฟรีทุกธนาคารทั่วประเทศ
ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โอนเงิน เติมเงิน จ่ายบิล ไม่มีค่าธรรมเนียม
-
ได้ดูแลสวัสดิการพนักงานในราคาประหยัด
ด้วยแพ็กเกจประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุในราคาพิเศษ
ทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ง่าย
“เป็นได้มากกว่า แค่การโอนเงิน”
ด้วยบริการเสริมที่ดูแลพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้ง 4 พลัส
-
สิทธิประโยชน์ของพนักงาน ( Employee Benefits)
กดโอนจ่ายฟรีทั่วประเทศพร้อมอัตรา ดอกเบี้ยพิเศษบัญชีเพื่อออมและสินเชื่อ
-
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดย ผู้ดูแลมืออาชีพ
เพื่อวางแผนการออมระยะยาว
- ให้พนักงานมีเงินเพียงพอใช้จ่ายยามเกษียณ
-
ประกันกลุ่ม (Group Insurance) ราคาสุดพิเศษพร้อมการจ่ายเบี้ยประกัน
เป็นรายเดือน
-
บริหารจัดการงานบุคคลแบบดิจิทัล (Digital HRM) ครบทุกฟีเจอร์
ครอบคลุมการใช้งานทั้งบริษัท และ พนักงาน
สนใจการใช้ระบบ ttb payroll plus สามารถดูรายละเอียดที่เว็บไซต์เพิ่มเติมได้
คลิกที่นี่
ที่มา :
finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME
ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner
ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัล และเติบโตอย่างยั่งยืน
“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”