SCAMPER เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพของงาน ซึ่งประกอบด้วย
S = Substitute (การทดแทน)
การแทนที่ หรือหาส่วนใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่มาทดแทนส่วนของปัญหา / ผลิตภัณฑ์ / กระบวนการ เช่น ใช้กรรมวิธีการผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ใช้ระบบการทำงานใหม่ ๆ ใช้วัสดุใหม่ ๆ ใช้พลังงานแบบใหม่ เปลี่ยนส่วนประกอบบางส่วนใหม่
คำถามที่จะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่
-
สามารถใช้อะไรหรือวัตถุใดมาทดแทนได้บ้าง
-
มีวัสดุหรือทรัพยากรอะไรบ้างที่สามารถนำมาทดแทนเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์
-
สามารถใช้ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการอื่นใดได้บ้าง
-
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณเปลี่ยนความรู้สึกหรือทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์นี้
-
คุณสามารถเปลี่ยนคนที่เกี่ยวข้องได้หรือไม่
-
สามารถเปลี่ยนรูปร่าง / สี / เสียง / กลิ่นได้อย่างไร
-
สามารถใช้แนวคิด / ผลิตภัณฑ์ / บริการนี้ในสถานที่อื่นได้หรือไม่
C = Combine (การผสมหรือผนวกรวม)
เป็นการนำสิ่งสองสิ่งหรือ มากกว่ามารวมกัน เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ แตกต่างไปจากเดิม เช่น การสร้างรถไฮบริด (ไฟฟ้า+ปิโตรเลียม) เพื่อการประหยัดและลดมลภาวะ เมดิคอลสปา (การผนวกรวมแพทย์สมัยใหม่กับแพทย์แผนตะวันออก) เพื่อไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ การทำคอนเวอร์เจนซ์ ผนวกรวมเทคโนโลยีแบบมีสาย , ไร้สาย อินเตอร์เน็ต เคเบิลทีวี การโอนเงินและความบันเทิงหลายรูปแบบเข้าด้วยกันเป็น นวัตกรรมการบริการแบบใหม่
คำถามที่จะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่
-
ความคิดหรือส่วนใดที่สามารถรวมกันได้ ?
-
สามารถรวมหรือผสานกับวัตถุอื่นได้หรือไม่ ?
-
จะเกิดอะไรขึ้นถ้ารวมผลิตภัณฑ์นี้กับผลิตภัณฑ์อื่น ?
-
สิ่งที่สามารถรวมเพื่อเพิ่มการใช้งานของผลิตภัณฑ์นี้ ?
-
จะรวมทักษะและทรัพยากรที่มีเพื่อปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ได้อย่างไร ?
A = Adapt (การปรับเปลี่ยนให้ก้าวหน้า/ดีขึ้น)
คิดว่าส่วนใดของปัญหา / ผลิตภัณฑ์ /กระบวนการ สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อลบจุดอ่อน เพิ่มโอกาสหรือคิดว่าคุณสามารถเปลี่ยนลักษณะได้อย่างไร เช่นการปรับเปลี่ยน แนวคิดของโรงพยาบาล (ที่ดูน่ากลัว) ให้มีการบริการ / ความสวยงาม เหมือนโรงแรม ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ของ Hospitel (Hospital + Hotel)
คำถามที่จะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่
-
สามารถใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นี้ให้ต่างออกไปจากของเดิมที่เป็นอยู่ได้อย่างไร
-
สามารถใช้ประโยชน์ในลักษณะอื่น ๆ ได้อย่างไร
-
ปรับตัวหรือปรับผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์หรือการใช้งานอื่นได้อย่างไร
-
ใครหรือสิ่งใดที่นำมาเป็นต้นแบบเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์นี้ได้บ้าง
-
สามารถใช้ผลิตภัณฑ์หรือไอเดียอะไรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
-
ประสบการณ์ในอดีตให้ไอเดียอะไรบ้าง
M = Modify (การปรับเปลี่ยน)
การดัดแปลง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขบางส่วนเล็ก ๆน้อย ๆ จากของเดิม เพื่อทำให้ดีขึ้น เช่น การปรับเปลี่ยน สี รูปทรง เสียง การเคลื่อนไหว การใช้งาน เป็นต้น
คำถามที่จะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่
-
เราจะปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์นี้ได้อย่างไรบ้าง
-
สามารถดัดแปลงผลิตภัณฑ์นี้ได้ตรงส่วนไหนบ้าง
-
จะเปลี่ยนรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ได้อย่างไรบ้าง
-
สามารถเพิ่มอะไรในการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์นี้ได้
-
สิ่งที่สามารถขยายใหญ่ขึ้นทำให้ใหญ่ขึ้น / สูงขึ้น / แข็งแรงขึ้น ได้อย่างไร
-
องค์ประกอบอะไรของผลิตภัณฑ์นี้ที่ดัดแปลง / ปรับปรุง / แก้ไขได้บ้าง เพื่อให้ดีขึ้น
P = Put to other uses (การนำไปใช้เพื่อประโยชน์หรือวัตถุประสงค์อื่น)
เป็นการประยุกต์สิ่งที่มีอยู่เข้ากับสิ่งอื่นโดยที่ยังคงรักษาความเป็นสิ่งเดิมอยู่ เช่น การนำมูลสัตว์มาทำแก๊ส, การนำวัชพืช มาถักทอเป็นกระเป๋า / เครื่องใช้สำหรับตลาดระดับสูง
คำถามที่จะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่
-
คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ / บริการ / ไอเดียนี้ได้จากที่ไหน ?
-
ใครสามารถใช้ผลิตภัณฑ์นี้ได้บ้าง ?
-
ผลิตภัณฑ์นี้จะทำงานแตกต่างกันอย่างไร ?
-
เด็ก / หรือผู้ใหญ่จะใช้มันได้อย่างไร ?
-
สามารถรีไซเคิลของเสียจากผลิตภัณฑ์นี้เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้หรือไม่ ?
E = Eliminate (การตัดทิ้ง/การขจัดออก)
การพัฒนาโดยการตัดส่วนต่าง ๆ หรือส่วนประกอบ หรือตัดฟังก์ชั่นที่ไม่จำเป็นออกบางส่วน หรือการทำงานบางส่วนออกมา เช่น เตียงนอน / รถยนต์ในอดีตและปัจจุบันเราจะเห็นการตัดทิ้งหลายส่วนออกไป ทำให้ดูง่าย ๆ สวยงาม ไม่เทอะทะ
คำถามที่จะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่
-
สามารถตัด / ลด ส่วนประกอบออกได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้ประสิทธิภาพตรงใจลูกค้า
-
สามารถลดความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์นี้ได้อย่างไร
-
คุณลักษณะส่วนหรือกฎที่คุณสามารถกำจัดทิ้งไป
-
ส่วนใดที่สามารถตัดออกได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนฟังก์ชันของมัน
-
สามารถทำให้มันเล็กลงเร็วขึ้นเบาหรือสนุกมากขึ้นได้อย่างไร
-
อะไรบ้างที่จำเป็นหรือไม่จำเป็น
R = Rearrange/Reverse (จัดระบบใหม่/เปลี่ยนทิศทางใหม่)
ถ้าส่วนหนึ่งของปัญหา / ผลิตภัณฑ์ / กระบวนการทำงานในสิ่งที่ตรงกันข้าม หรือทำในลำดับที่แตกต่างกัน หรือในการออกแบบ กลับหน้าเป็นหลัง กลับซ้ายเป็นขวา กลับดำเป็นขาว จากบวกเป็นลบ หรือทำให้เกิดผลตรงกันข้าม สลับบทบาท เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนขั้วใหม่ จากที่เคยมีอยู่หรือเป็นอยู่จะช่วยทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิมขึ้นได้
คำถามที่จะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่
-
จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากลับกระบวนการนี้หรือจัดเรียงลำดับตามลำดับใหม่
-
เกิดอะไรขึ้นถ้าทำตรงข้ามกับสิ่งที่กำลังพยายามที่จะทำตอนนี้
-
ส่วนประกอบใดที่สามารถใช้ทดแทนเพื่อเปลี่ยนลำดับของผลิตภัณฑ์นี้ได้
-
เกิดอะไรขึ้นถ้าคุณคิดว่ามันถอยหลัง / ขึ้นแทนการลง
ลองใช้เทคนิค SCAMPER ดู จะพบว่าสามารถปรับปรุงและค้นหาความคิดใหม่ ๆ ได้มากมายทีเดียวครับ