ผลการสำรวจของ Twitter Marketing พบว่า 60% ของนักการตลาดมีแผนเพิ่มงบการตลาด เพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น ขณะที่ผลสำรวจจาก BClutch.co พบว่าการลงโฆษณาบน Google มีเปอร์เซ็นต์ทางการตลาดสูงกว่าแพลตฟอร์มอื่นถึง 4 เท่า นั่นแสดงให้เห็นว่า จากนี้ธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการตลาดมากยิ่งขึ้น ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดก็คือ การส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นยอดขายให้ธุรกิจไปต่อได้อย่างไม่สะดุด แถมมีรายได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการโปรโมทสินค้าและบริการให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกด้วย
การส่งเสริมการขาย หรือ โปรโมชัน คืออะไร?
การส่งเสริมการขาย คือ การทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว นอกจากการทำการตลาดทางตรง เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และการขายโดยพนักงานขาย การส่งเสริมการขาย หรือ Sale Promotion เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มยอดขาย เพิ่มแรงจูงใจในการซื้อด้วยเงื่อนไขพิเศษ หรือการจูงใจด้วยผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า ผู้แทนจำหน่าย ผู้กระจายสินค้า โดยจะจัดกิจกรรมแตกต่างออกไปจากช่วงเวลาปกติ ซึ่ง 5 กลยุทธ์กระตุ้นยอดขายต่อไปนี้ เป็นเทคนิคส่งเสริมการขายที่ช่วยธุรกิจ SME ได้ มีอะไรกันบ้างมาดูกันเลย
1. จัดโปรโมชัน
การจัดโปรโมชันเพื่อส่งเสริมการขาย ทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการให้ส่วนลด ซื้อ 1 แถม 1 หรือการซื้อเป็นเซต คุ้มกว่าซื้อแยกชิ้น หรือการแจกโคดหรือคูปองส่วนลด ที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้รวดเร็วขึ้น และยังรวมไปถึงสินค้าราคาพิเศษในเวลาจำกัด (Flash Sale) หากซื้อสินค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด จะได้สินค้าราคาพิเศษกว่าสินค้าขายราคาปกติ ส่วนโปรโมชันที่นิยมใช้มากที่สุดต้องยกให้ การแข่งขันชิงโชคและการแจกของรางวัล เมื่อมีของรางวัลมาเป็นตัวกระตุ้นให้ซื้อสินค้าเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม วิธีการนี้จะเป็นการเพิ่มยอดขาย ที่เห็นผลเร็วที่สุดขณะที่การแจกสินค้าตัวอย่าง ให้ทดลองใช้ฟรี การแจกสินค้าตัวอย่าง ก่อนจะวางขายสินค้าตัวใหม่ ถือเป็นการส่งเสริมการขายที่นิยมทำกัน สามารถเข้าถึงคนเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ซื้อได้ทำความรู้จักกับแบรนด์ก่อน และทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อในครั้งหน้า
เทคนิค โปรโมชันตัวเลข เช่น วันที่ 11 เดือน 11 สามารถปรับใช้ได้กับแทบทุกแบรนด์สินค้า แต่อาจต้องเพิ่มส่วนลด หรือสินค้าราคาพิเศษเข้าไป ตัวอย่างการทำโปรโมชันวันสำคัญ 11.11 ที่ประสบความสำเร็จคือร้าน E-Commerce ชื่อดังใช้วิธีนี้ในการทำโปรโมชันสามารถทำยอดขายได้ถึง 1,000 ล้านบาทในเวลาแค่ 2 ชั่วโมง
2. การผลิตสินค้า Co-branding
กลยุทธ์ทางการตลาดในช่วงหลายปีมานี้ที่แบรนด์นิยมนำมาใช้ คือการจับมือร่วมกับแบรนด์อื่นเพื่อผลิตสินค้าที่เรียกว่า Collaboration หรือ Co-Branding นั่นเองยกตัวอย่างเช่นแบรนด์กาแฟจับมือกับแบรนด์รองเท้ากีฬา สร้างสินค้าใหม่ที่น่าสนใจออกมาทำให้ได้ยอดขายถล่มทลายจนบางครั้งถึงขั้นหมดสต๊อกต้องสั่งผลิตเพิ่มก็มี
เทคนิค การ Collab แบรนด์สินค้าเหมาะกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในระดับหนึ่งแบรนด์ด้านแฟชั่นจะมีโอกาสทำการตลาดได้ประสบความสำเร็จมากกว่า
3. การออกบูธ และพบปะลูกค้า
การจัดงานแสดงสินค้าหรือการออกบูธ เป็นเทคนิคการส่งเสริมการขายที่ได้รับความนิยมสูงในอดีต แม้ว่าในยุคโควิดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ทำให้การจัดงานแสดงต่าง ๆ ต้องหยุดชะงักไป แต่การแสดงสินค้ายังเป็นเทคนิคส่งเสริมการขายที่เข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง และจูงใจให้ซื้อสินค้าได้เร็วสุดวิธีหนึ่ง โดยเฉพาะ ถ้าเป็นสินค้าหรือบริการรูปแบบใหม่ ที่ต้องการให้ลูกค้าทดลอง หรือมีการอธิบาย สาธิต
เทคนิค กลยุทธ์ทางการตลาดนี้เหมาะกับการเปิดตัวสินค้าใหม่ การหาลูกค้าใหม่ๆ หรือการเปิดตัวแนะนำร้านใหม่ เป็นต้น
4. สาธิตวิธีการใช้ และคุณสมบัติ
การสาธิตวิธีใช้ผลิตภัณฑ์ เป็นการดึงดูดความสนใจผู้บริโภคให้มายังหน้าร้าน และทำความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการสาธิตวิธีใช้มักทำบริเวณหน้าร้าน ห้างสรรพสินค้า จุดออกบูธ จุดจัดแสดงสินค้า หรือสถานที่จัดงานอีเว้นท์
เทคนิค ปัจจุบันการสาธิตการใช้สินค้า มีรูปแบบใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ทำวิดีโอ Testimonial แนะนำสินค้า รวมถึงการใช้ Influencer รีวิวสินค้า เป็นต้น แม้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็ได้รับผลตอบรับดีจากลูกค้าที่ชื่นชอบและซื้อใช้ตาม
5. ทำการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย
เทคนิคส่งเสริมการขายด้วยการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นที่นิยมมากในยุคนี้ เพราะทำได้อย่างรวดเร็ว ง่าย และได้รับผลตอบรับเร็ว ไม่ว่าจะทำการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มใด ๆ เช่น Facebook, Twitter, Instagram, หรือ YouTube แต่ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้ประสบความสำเร็จที่สุด
เทคนิค โซเชียลมีเดียเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทุกแบรนด์สินค้าสามารถใช้ในการทำการตลาดได้ จะทั้งทำการตลาดโดยตรงบนโซเชียล หรือจะทำการลิงก์ไปยังเว็บไซต์ หรือดึงลูกค้าให้ไปยังหน้าร้านก็ได้
เครื่องมือส่งเสริมการตลาดยุคดิจิทัล
เมื่อเราทราบแล้วว่า หนึ่งในเทคนิคส่งเสริมการขายสำหรับ SME คือการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ฉะนั้นผู้ประกอบการธุรกิจ SME จึงควรใช้เครื่องมือส่งเสริมการตลาดยุคดิจิทัลนี้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากที่เคยโฟกัสไปที่การทำคอนเทนต์ให้ปัง จนเป็นที่รู้จัก เข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมาก เปลี่ยนมาเป็นความสามารถในการจบการขายได้ในตัว ด้วยการนำ Sale และ Marketing มาผสมผสานกัน ผ่านข้อมูลของผู้บริโภคที่มีอยู่ในมือ นำมาปรับเป็นการสร้าง Awareness, Engagement และ Conversation โดย 4 เครื่องมือทางการตลาดสำหรับการทำ Digital Marketing คือ
1. Chanel
ช่องทางกลุ่มเป้าหมาย ในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Facebook (Chat Messenger) Instagram, Youtube, TikTok, Twitter และ Google เป็นช่องทาง เชื่อมโยงระหว่างสินค้าหรือบริการกับกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งเราควรรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเรา นิยมหรือมีพฤติกรรมการใช้สื่อใดเป็นหลัก เพื่อที่จะได้ทุ่มงบประมาณให้ถูกที่ถูกเวลา
2. Content
เนื้อหาคอนเทนต์ต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มีความคิดสร้างสรรค์ แตกต่าง น่าจดจำ
3. Conversation Marketing
มีการพัฒนาคอนเทนต์และการสื่อสารระหว่างแบรนด์ และผู้บริโภคผ่าน Chatbot เป็นต้น
4. Data Driven
ยุคที่ใครมีฐานข้อมูลลูกค้ามากกว่าจะมีโอกาสทางการตลาดมากกว่า Data มีส่วนช่วยทำให้เกิดความเข้าใจพฤติกรรมและเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคได้
กรณีศึกษาของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
ร้านอาหารชื่อดังแห่งหนึ่ง ได้ทำโปรโมชันรับประทานหมูสไลซ์ไม่อั้น เป็น Super Flash Deal จัดขึ้นเพียง 3 วันเท่านั้น ในช่วงเวลาที่ผู้บริโภคมีความกังวลต่อการออกมารับประทานอาหาร นอกบ้าน แต่ผลปรากฏว่าจากโปรโมชันดังกล่าว ดันยอดขายโต 150%
ซึ่งในยุคที่เต็มไปด้วยช่องทาง Marketplace บนโซเชียลมีเดียมากมาย ของดีมีคุณภาพอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องเร่งเสริมด้วยเทคนิคส่งเสริมการขายแบบ Digital Promotion ที่มีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าได้มากขึ้น เรามีตัวอย่างการคิดโปรโมชันออนไลน์มาฝาก
- การทำระบบสมาชิก เพื่อสะสมแต้มผ่าน Line OA ยิ่งซื้อมาก ยิ่งได้แต้มมาก
- ลงทะเบียนทางเว็บไซต์วันนี้ รับฟรี! ของสมนาคุณ
- FLASH SALE ดีลสุดคุ้ม ราคาพิเศษ เวลาพิเศษ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรีบซื้อในทันที
- คูปองส่วนลด เพื่อลูกค้าคนพิเศษ
- การแข่งขัน ชิงโชค เช่น การแข่งขันหา Top Spender ผู้ที่มียอดใช้จ่ายสูงที่สุด
การส่งเสริมการขาย ทำแล้วดีต่อธุรกิจ SME อย่างไร?
แน่นอนว่าการส่งเสริมการขาย ช่วยธุรกิจ SME ในการเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี เป็นการช่วยกระตุ้นเพิ่มยอดขาย ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น และรักษาฐานลูกค้าเดิมให้มั่นคง
- สร้างแรงจูงใจให้กับลูกค้า เกิดการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อได้
- ส่งเสริมให้ลูกค้าซื้อในปริมาณมากขึ้น เพราะจะคุ้มค่ากว่า
- รักษาฐานลูกค้าเดิม และขยายฐานลูกค้าใหม่
- ลูกค้ามีโอกาสทดลองสินค้าในข้อเสนอที่คุ้มค่า
ลูกค้าสนใจแล้ว ช่องทางการขายต้องพร้อม
วางแผนส่งเสริมการขายมาเป็นอย่างดี อย่าให้พลาดเพียงเพราะขั้นตอนสุดท้ายที่ลูกค้าตัดสินใจแล้วว่าจะซื้อ ไม่น่าเชื่อว่ากว่า 75% ของลูกค้าออนไลน์ที่เข้ามาสนใจสินค้าแล้ว แต่ต้องกลับออกไปมือเปล่า เพียงเพราะการรับชำระเงินของธุรกิจหรือของร้านไม่ทันใจและซับซ้อน
ซึ่งไม่เพียงแต่หน้าร้านออนไลน์เท่านั้น หน้าร้านออฟไลน์ก็มีลูกค้าจำนวนหนึ่งที่ไม่นิยมพกเงินสด หากร้านค้าไม่ได้เตรียมช่องทางรับชำระเงินที่หลากหลาย ก็อาจจะพลาดท่าเสียลูกค้าให้กับร้านค้าที่สามารถรับชำระด้วยช่องทางอื่น ๆ
เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการขาย ttb ขอแนะนำบริการกลุ่มบริการ Digital Collections ที่ตอบโจทย์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อาทิเช่น
- ช่วยให้ร้านค้า มีช่องทางรับชำระที่หลากหลาย สามารถรับได้ทั้งเงินสด เงินโอน บัตรเครดิต และบัตรเดบิต การชำระผ่าน QR Code หรือการใช้ลิ้งก์ชำระเงินแบบออนไลน์
- ลดการสัมผัสเงินสด บัตรเครดิต และบัตรเดบิต ที่อาจเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่าง ๆ ช่วยให้พนักงานและลูกค้าปลอดภัยยิ่งขึ้น
- ลดความเสี่ยงของการทุจริตภายในสำหรับการรับเงินสด
- มีระบบช่วยสรุปยอดรายวัน สามารถเห็นยอดรวมรายรับจากหลายช่องทาง ใช้เวลาน้อย มีความถูกต้อง และตรวจสอบได้
- สามารถรับชำระเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง
กลุ่มบริการ Digital Collections จาก ttb
กลุ่มบริการเรียกเก็บเงินผ่านช่องทางดิจิทัล หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า Digital Collections Solutions ที่จะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการบริหารจัดการการรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการด้วยช่องทางที่หลากหลาย ลดการเสียโอกาสเรื่องข้อจำกัดในการรับชำระเงิน และรับรายงานยอดรายรับอย่างรวดเร็ว ซึ่งประกอบด้วย
บริการเครื่องรูดบัตร ทีทีบี (ttb EDC)
เครื่องรับชำระเงิน ที่รับได้ทั้งบัตรเครดิต และเดบิต จากทุกประเทศทั่วโลก ด้วย QR Payment หรือการชำระผ่าน E-Wallet ที่มีการโอนเงินเข้าบัญชีร้านค้าในวันถัดไป เครื่องรูดบัตร ทีทีบี ยังสามารถให้บริการแบบไร้สัมผัส สะดวก และลดการสัมผัสบัตรระหว่างลูกค้าและพนักงานที่อาจมีความเสี่ยง
แอปพลิเคชันจัดการร้านค้า ทีทีบี สมาร์ทช็อป (ttb smartshop)
ให้ร้านค้าสามารถใช้ QR Code ในการรับชำระเงินจากทุกธนาคาร และสามารถรับเงินได้จากหลายสาขาของหน้าร้านค้า เข้าบัญชีทันที พร้อมระบบแจ้งเตือนเมื่อมีเงินเข้าบัญชี และยังสามารถจัดการสิทธิ์ในการเข้าระบบสำหรับพนักงานหน้าร้านค้าได้อีกด้วย
บริการรับชำระเงินออนไลน์ ทีทีบี ควิกเพย์ (ttb quick pay)
บริการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ผ่านลิงก์ชำระเงินแบบออนไลน์ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่หน้าร้าน หรือจุดรับชำระเงิน สามารถชำระได้รวดเร็วผ่านลิงก์ ให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีหน้าเว็บไซต์ เพียงส่งลิงก์ ผ่าน SMS, Email หรือบน Social Media Platform ไม่ว่าจะเป็น LINE, Facebook Message ได้ง่ายๆ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบการชำระได้ทันทีที่ลูกค้าปลายทางชำระเรียบร้อยแล้ว
ที่มา :
Digimusketeers
brandfuffet
moneywecan
khaosod
post family
1 belief
Bangkok Biz NEWS
The Bangkok Insight
finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ ต่อยอด เอสเอ็มอี สู่การเป็น Smart SME
ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner
ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัล และเติบโตอย่างยั่งยืน
“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME หรือคลิกเพิ่มเพื่อน