เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทีเอ็มบีธนชาต ผนึกกำลังกับ หอการค้าจังหวัดต่าง ๆ ทั่วไทย จัดงานสัมมนา “ttb SME พันธมิตรสู่ความสำเร็จ” เพื่อกระตุ้นให้ SME มุ่งสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน เริ่มต้นด้วยภาคตะวันออก กับจังหวัดเศรษฐกิจหลักอย่างระยองและชลบุรี โดยมีข้อมูลเศรษฐกิจที่อัปเดตได้น่าสนใจ โดย ดร. จิรเมธ มโนศิรินุกูล ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ฉายภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้ และเจาะลึกความได้เปรียบของพื้นที่ EEC สำหรับนักธุรกิจภาคตะวันออก
เศรษฐกิจไทยในปีนี้ SME เดินหมากอย่างไรให้แข็งแกร่ง
จากข้อมูลของ ttb analytics ประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้โตที่ 3.4% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 2.6% ซึ่งเป็นการเติบโตต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ซึ่งปัจจัยหนุนหลักที่จะช่วยให้เศรษฐกิจปีนี้มาจากภาคการท่องเที่ยวที่ประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 18 ล้านคน โดยคาดว่าช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ราว 9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 0.60% ของ GDP ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว รวมส่งผลทางอ้อมไปถึงธุรกิจอื่น
แต่อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ก็ยังเป็นการฟื้นตัวบนความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการ SME ที่มีโครงสร้างต้นทุนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ควรเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อเตรียมรับมือกับภาวะต้นทุนสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยพยายาม พัฒนาคุณภาพ สร้างความแตกต่าง สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อตอบสนองให้กับกลุ่มลูกค้าโดยเฉพาะบนกลยุทธ์การทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง (Precision Marketing) เพื่อเพิ่มพื้นที่ทำกำไรให้กับผู้ประกอบการได้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ และรองรับภาวะต้นทุนที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน
เจาะลึกเศรษฐกิจภาคตะวันออก
เศรษฐกิจของภาคตะวันออกมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แบ่ง เป็นอุตสาหกรรม 62.6% ภาคบริการ 30.2% และด้านการเกษตรอีก 7.2% โดยในขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 17% ของเศรษฐกิจไทย โดยสัญญาณฟื้นตัวสะท้อนผ่านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ที่มาจากผลการจับจ่ายใช้สอยของคนในพื้นที่ ซึ่งพบการฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ โดยช่วงที่เหลือทั้งปียังคาดว่าน่าจะยังมีทิศทางที่เป็นบวก จากแรงส่งของภาคท่องเที่ยวที่ปีนี้คาดว่าจะมีเม็ดเงินส่วนเพิ่มจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นอีกราว 9 แสนล้านบาท ซึ่งภาคตะวันออกก็เป็นจุดหมายปลายหลักจุดหนึ่งของกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะได้รับผลดีจากเม็ดเงินดังกล่าว อันจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาคตะวันออกให้ขยายตัวต่อเนื่อง
ดร. จิรเมธ มโนศิรินุกูล ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics
ส่วนด้านอสังหาริมทรัพย์ ถูกขับเคลื่อนด้วยอสังหาริมทรัพย์แนวราบ จากหน่วยโอนที่สูงเพิ่มขึ้นถึง 120% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด ทั้งในกลุ่มบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด แต่ในส่วนของแนวสูง พบว่าคอนโดมิเนียมยังไม่ฟื้นตัวจากหน่วยโอนที่อยู่เพียงระดับ 60% เท่านั้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด ส่วนของภาพรวมในระดับราคาของแนวราบมีทิศทางสูงขึ้นด้วยแรงส่งของกลุ่มลูกค้ากลาง-บนที่มีกำลังซื้อ ในขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์แนวสูงเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวจากอุปสงค์ของอาคารชุดที่ลดลง โดยเฉพาะในส่วนของการซื้ออาคารชุดเพื่อการลงทุน โดยแนวโน้มช่วงที่เหลือของปี ตลาดอสังหาภาคตะวันออกยังอยู่ในทิศทางที่เติบโตจำกัด จากปัญหาเรื่องต้นทุนก่อสร้างและต้นทุนทางการเงินที่ปรับเพิ่มต่อเนื่อง ส่งผลให้ยูนิตที่คงเหลือนั้น อาจใช้เวลา ราว 3-5 ปีถึงจะขายได้หมด
แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลบวกต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ คือ ความตอบรับและความสำเร็จของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC : Eastern Economic Corridor) ซึ่งช่วยกระตุ้นการจ้างงานผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ ซึ่งการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายประชากรให้เข้ามาพื้นที่ ซึ่งช่วยกระตุ้นอุปสงค์การซื้อที่อยู่อาศัย และเป็นการสร้างโอกาสพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทพาณิชกรรมไปพร้อม ๆ กัน
กลยุทธ์รับมือความท้าทาย ด้วยการสร้างมูลค่าสินค้า
จากการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับภาคเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว การใช้กลยุทธ์ด้านราคามาแข่งขันเป็นสิ่งที่ทำให้ SME ยิ่งเสียเปรียบ เพราะจะทำให้เกิดสงครามราคา และเสียภาพลักษณ์ของแบรนด์ อีกทั้งยังทำให้ผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าในช่วงเวลาที่ลดราคาเท่านั้นอีกด้วย ดังนั้น สำหรับ SME การสร้างมูลค่าสินค้าจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม โดยอาศัยความสร้างสรรค์ และจุดยืนที่ชัดเจนของแบรนด์สินค้า
ลงทุนอย่างคุ้มค่า เพื่อพัฒนาแบรนด์และสินค้า
การจะเป็นแบรนด์สินค้าที่แข็งแกร่งและยั่งยืนได้ก็ต่อเมื่อสินค้ามีจุดยืน มีภาพลักษณ์ที่แตกต่าง มีเรื่องราวที่น่าสนใจ และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งการวิจัยและพัฒนาสิ่งเหล่านี้ ล้วนมาพร้อมการลงทุน ซึ่งจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสามารถทำให้ธุรกิจแข่งขันได้และยืนหยัดอย่างยั่งยืน การเลือกสินเชื่อธุรกิจที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง finbiz by ttb ขอแนะนำ สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส (ttb sme smart biz) สินเชื่อธุรกิจสำหรับเอสเอ็มอี เป็นสินเชื่อที่พัฒนาขึ้นมาให้เหมาะกับลักษณะของธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางโดยเฉพาะ
จุดเด่นของสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส (ttb sme smart biz)
- ผู้ประกอบการสามารถเลือกระยะผ่อนที่เหมาะสมได้ ซึ่งยาวนานสูงสุดได้ถึง 20 ปี
- ให้บริการวงเงินสินเชื่อแบบครบวงจร ทั้งสินเชื่อระยะยาวเพื่อขยายธุรกิจ สินเชื่อสำหรับการหมุนเวียนกิจการ สินเชื่อสำหรับทำธุรกรรมต่างประเทศ และอื่น ๆ
- มีวงเงินสูงสุดถึง 50 ล้านบาท
- ใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกันได้ทุกประเภท ได้แก่ สถานประกอบการ, ออฟฟิศ, บ้าน, ที่ดินเปล่า และเงินฝาก
- ในกรณีรีไฟแนนซ์ สามารถปลดล็อกข้อจำกัด และเงื่อนไขการใช้สินเชื่อของธนาคารเดิม ได้ง่าย ด้วยการดำเนินการย้ายวงเงินที่ไม่ซับซ้อน ช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการโอนเงินฟรี แบบไม่มีค่าธรรมเนียม ผ่านบริการธนาคารออนไลน์ ttb business one ช่วยลดต้นทุนในแต่ละเดือน
อ่านรายละเอียดผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่นี่ ttb sme smart biz
การสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์จะทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องตกอยู่ในภาวะสงครามราคา ดังนั้นจึงเป็นกลยุทธ์ที่ SME จะต้องศึกษาค้นคว้าและหาวิธีที่เหมาะสม ซึ่งความเข้าใจในภาวะเศรษฐกิจและศึกษาหาความได้เปรียบจากสถานการณ์ต่าง ๆ จะทำให้ SME สามารถนำมาปรับปรุงธุรกิจ และยืนหยัดอย่างยั่งยืนแข็งแกร่งได้ในอนาคต
ที่มา :
- งานสัมมนา ttb SME พันธมิตรสู่ความสำเร็จ จังหวัดระยอง และ ชลบุรี
- ttb analytics
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
- เว็บไซต์ fillgoods
finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ธุรกิจ
ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner
ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัล และเติบโตอย่างยั่งยืน
“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME หรือคลิกเพิ่มเพื่อน