ต่อจากตอนที่แล้ว ที่ได้กล่าวถึงว่า Scope และเนื้อหาของ Scope 1 สำหรับครั้งนี้มาต่อกันที่ Scope 2 และ 3 ที่จะเป็นสิ่งต่อมาที่องค์กรสามารถจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้
เจาะลึก Scope 2 และ 3
Scope 2 : Indirect emissions from purchased energy เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม จากการใช้พลังงานที่องค์กรซื้อหรือนำเข้ามา โดยที่องค์กรไม่ได้ผลิตเอง มีทั้งหมด 5 รายการ ได้แก่ ไฟฟ้า ไอน้ำ ความร้อน ความเย็น อากาศอัด
สำหรับวิธีการเก็บข้อมูลสามารถดูได้จากใบเสร็จ เช่น บิลจากการไฟฟ้าจะแจ้งกำลังไฟฟ้าที่ใช้เป็นกิโลวัตต์ชั่วโมงหรือหน่วย ซึ่งปัจจุบันองค์กรที่ต้องการจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีทางเลือกที่จะลดผลกระทบที่หลากหลายกิจกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมนี้ ธุรกิจสามารถจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จาก Scope 2 ด้วยการ
- การใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เช่น ติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียน เช่น แผงโซลาร์เซลล์หรือกังหันลม เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง หรือซื้อพลังงานหมุนเวียน
- การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) เช่น เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน หรือปรับปรุงระบบจัดการพลังงาน
- การเพิ่มความรับรู้และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การประหยัดพลังงานภายในองค์กร เช่น การฝึกอบรมและการสื่อสารเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน หรือทำโปรแกรมลดการใช้พลังงานให้พนักงานมีส่วนร่วม
- คอยตรวจสอบติดตามและวิเคราะห์การใช้พลังงาน พร้อมทั้งรายงานผลและตั้งเป้าหมาย
- ร่วมมือกับผู้ให้บริการพลังงานเพื่อพัฒนาทางเลือกพลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Scope 3 : Other indirect emissions การปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยองค์กรภายนอกที่เกิดขึ้นในซัพพลายเชน ทั้งทางต้นน้ำและปลายน้ำที่เกี่ยวข้องกับองค์กรหรือผลิตภัณฑ์
การวัดและการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการวัดใน Scope 1 และ Scope 2 เพราะ Scope 3 ครอบคลุมการปล่อยก๊าซที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่ไม่อยู่ในความควบคุมโดยตรงขององค์กร แต่เกิดขึ้นในซัพพลายเชนทั้งทางต้นน้ำและปลายน้ำ ดังนี้ :
การจำแนกการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใน Scope 3
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใน Scope 3 สามารถจำแนกออกเป็น 15 ประเภทหลักตามมาตรฐานของ GHG Protocol ได้แก่ :
ต้นน้ำ (Upstream)
1. การผลิตสินค้าหรือบริการที่องค์กรซื้อมาใช้
2. การผลิตและการขนส่งสินค้าทุน
3. กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและพลังงาน (การได้มาของเชื้อเพลิงและพลังงาน)
4. การขนส่งและการจัดจำหน่ายสินค้าหรือวัตถุดิบต้นน้ำมาถึงองค์กร
5. การจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมขององค์กร
6. การเดินทางเพื่อธุรกิจ
7. การเดินทางไป-กลับของพนักงาน
8. สินทรัพย์ที่องค์กรเช่า
ปลายน้ำ (Downstream)
9. การขนส่งและการจัดจำหน่ายสินค้าออกจากองค์กร
10. การแปรรูปสินค้าที่องค์กรจำหน่าย
11. การใช้ผลิตภัณฑ์โดยลูกค้า
12. การจัดการของเสียของสินค้าหลังการใช้งานหรือหมดอายุ
13. การปล่อยเช่าสินทรัพย์ที่องค์กรเป็นเจ้าของ
14. กิจกรรมของแฟรนไชส์ที่องค์กรเป็นเจ้าของ
15. การลงทุนในกิจการหรือโครงการต่างๆ
การจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใน Scope 3
การจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใน Scope 3 ต้องการการวางแผนและการดำเนินการที่ซับซ้อนมากกว่าการจัดการใน Scope 1 และ Scope 2 โดยวิธีการหลักๆ มีดังนี้ :
1. การวางแผนและการประเมินผล (Planning and Evaluation) ทำการวางแผนระยะยาวเพื่อลดการปล่อยก๊าซในซัพพลายเชน และการติดตามประเมินผล
2. การให้ข้อมูลและการรายงาน (Information and Reporting) การเก็บรวบรวมข้อมูลและการรายงานการปล่อยก๊าซใน Scope 3 อย่างโปร่งใสต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการเผยแพร่ความสำเร็จและความท้าทายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
3. การมีส่วนร่วมของซัพพลายเชน (Supply Chain Engagement) ซึ่งต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ ลูกค้า คู้ค้า หรือผู้เช่าสินทรัพย์ เพื่อช่วยกันสนับสนุนให้หันมาปรับปรุงกระบวนการผลิต เลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมไปถึงการขอข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการจัดทำโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกัน
ซึ่งปัจจุบันทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) มีระเบียบออกมาแล้วว่าจะบังคับให้รายงาน Scope 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
ในการรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร สามารถนำไปขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) ที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ โดยจะออกเป็น Certificate เพื่อรับรองว่าองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่ในแต่ละ scope เพื่อเป็นการแสดงถึงการตระหนักรู้ถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมและเพื่อหาแนวทางในการลดก๊าซเรือนกระจก รวมไปถึงสามารถนำไปขึ้นทะเบียนเพื่อซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอน หรือทำการชดเชยคาร์บอนกับองค์กรอื่น ๆ ได้
กิจกรรมในการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้ง 3 scope เป็นการสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในทั้งซัพพลายเชน และยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม รวมถึงเป็นโอกาสในการเข้าถึง สินเชื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันทุกองค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญเนื่องจากความยั่งยืนเป็นวาระของโลก หรือการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 2 ก็มีสินเชื่อที่มาสนับสนุนอย่างสินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ทีทีบี (ttb solar rooftop solution) อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันทุกองค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญเนื่องจากความยั่งยืนเป็นวาระของโลก หรือการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 2 ก็มีสินเชื่อที่มาสนับสนุนอย่างสินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ทีทีบี (ttb solar rooftop solution) อีกด้วย
สินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ทีทีบี (ttb solar rooftop solution
เป็นผลิตภัณฑ์ สินเชื่อเงินกู้ระยะยาว เพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ทีทีบี สนับสนุนเงินลงทุนเพื่อติดตั้งและบำรุงรักษาโซลาร์รูฟท็อป พร้อมมีพันธมิตรดูแลแบบครบวงจร ตั้งแต่การจัดหาผู้ติดตั้งที่มีความชำนาญสูงและมีประสบการณ์ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพื่อที่จะเข้าไปประเมินหน้างานจริง ให้คำแนะนำ คำนวณความเหมาะสมของขนาดในการติดตั้ง มีการติดตั้งด้วยแผงและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ช่วยดำเนินการในการขออนุญาตติดตั้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และออกหนังสือค้ำประกันการผลิตกระแสไฟฟ้า รวมถึงดูแลบำรุงรักษาแผงโซลาร์ตลอดอายุสินเชื่อ ซึ่งเหมาะองค์กรที่กำลังมองหาทางเลือกสำหรับพลังงานหมุนเวียนอย่างยิ่ง
ที่มา :
- ธนาคารทหารไทยธนชาต
- งานสัมมนา Sustainable Growth - The Way to Business of the Future โดย ttb
- สถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CAA), องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)
- GHG Protocal
- Blockfint