ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เอสเอ็มอีต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแบบไม่สมดุล finbiz by ttb จึงขอนำเสนอข้อมูลและแนวทางจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics เพื่อให้ผู้ประกอบการ SME ได้เห็นทิศทางการฟื้นตัว พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการรักษาตลาดเดิมให้คงไว้ และบุกการเปิดตลาดใหม่เพิ่มรายได้ โดยยังสามารถควบคุมต้นทุนให้ทำกำไรได้ต่อไป และก้าวผ่านสถานการณ์นี้ไปได้อย่างราบรื่น
เราจะแบ่งภาคธุรกิจเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคผลิต ภาคการค้า และภาคการบริการ และเทียบการฟื้นตัวกับช่วงเวลาก่อนโควิด-19 หรือในช่วงปลายปี 2019 โดยในช่วงปลายปี 2019 เป็น 100%
ข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics พบว่า
- ภาคผลิตฟื้นตัวใกล้ระดับเดิมที่ 99% จากนโยบายผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด การเปิดประเทศ รวมถึงภาคส่งออกที่กลับมาเติบโตได้ต่อเนื่อง และมีทิศทางการเติบโตในปี 2022 เพิ่มขึ้น 4-6% ในขณะที่มีโครงสร้างต้นทุนจากวัตถุดิบ 82% และ ค่าดำเนินการ 7%
- ภาคการค้าปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศแตะระดับ 95% และมีทิศทางการเติบโตในปี 2022 เพิ่มขึ้น 5-8% ในขณะที่มีโครงสร้างต้นทุนจากวัตถุดิบ 76% และ ค่าดำเนินการ 13%
- ภาคบริการฟื้นตัวที่ระดับ 70% เทียบก่อนโควิด และมีทิศทางการเติบโตในปี 2022 เพิ่มขึ้น 5-10% ในขณะที่มีโครงสร้างต้นทุนจากวัตถุดิบ 70% และ ค่าดำเนินการ 18%
ทั้งนี้ปี 2022 มีปัจจัยกดดันจากการแพร่ระบาดจากโรคโควิด-19 “สายพันธุ์โอมิครอน” และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง วัตถุดิบการเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักกับผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะกลุ่มรายย่อยลงไปที่มีความเข้มแข็งทางการเงินต่ำ ให้เร่งปรับตัวเพื่อรับมือสถานการณ์
ดังนั้นด้วยทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและและโครงสร้างต้นทุนที่ไม่เหมือนกันในแต่ละประเภทธุรกิจ กลยุทธ์ที่นำมาใช้จึงต่างกันไปตามการฟื้นตัวและของธรรมชาติของธุรกิจเพื่อช่วยให้ก้าวผ่านสถานการณ์เศรษฐกิจในปีนี้ได้อย่างเหมาะสม
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ได้แนะกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับแต่ละภาคธุรกิจ ดังนี้
- ภาคการผลิต มีแนวโน้มกลับมาเติบโตต่อเนื่อง โดยมีโครงสร้างต้นทุนส่วนใหญ่เป็นด้านวัตถุดิบ จึงควรปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มช่องทางขายบน Platform Online เพิ่มจุดผลิต จุดกระจายสินค้าเพื่อครอบคลุมพื้นที่ขายให้เพิ่มมากขึ้น หรือเพิ่มช่องทางตลาดใหม่ ๆ
ส่วนระยะต่อไป ควรให้ความสำคัญด้านต้นทุนมากขึ้น โดยปรับปรุงกระบวนการผลิตและบริหารจัดการการผลิตให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
- ภาคการค้า ที่มีทิศทางการฟื้นตัวชัดเจนและเติบโตต่อเนื่อง แต่ด้วยโครงสร้างต้นทุนดำเนินงานมีสัดส่วนสูงกว่าภาคการผลิต ภาคการค้าจึงสามารถเน้นลดต้นทุนในส่วนดำเนินงานได้ง่ายกว่า เช่น ลดการทำงานซ้ำซ้อน คุมสต็อกสินค้าให้มีปริมาณเหมาะสมเพื่อลดการสูญเสียหรือล้าสมัย รวมถึงใช้บริการพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น บริการขนส่งที่ช่วยลดต้นทุนค่าแรงและค่าพลังงานได้บางส่วน พร้อมกับการเพิ่มช่องทางรายได้จากการขายเพิ่มเติม ด้วยการพึ่งพากำลังซื้อของผู้บริโภคที่เริ่มฟื้นตัว และอาจหาช่องทางรายได้ใหม่ จากตลาดที่เปิดกว้างบนพื้นที่ Online ที่ต้นทุนต่ำกว่าการขายหน้าร้าน
- ภาคบริการ แนวโน้มการฟื้นตัวดีขึ้นด้วยกำลังซื้อในประเทศ ในขณะที่กำลังซื้อต่างชาติมีโอกาสหลังเปิดประเทศมากขึ้น
โดยกลุ่มภาคบริการควรให้ความสำคัญกับการลดต้นทุน โดยเฉพาะด้านการดำเนินงาน เนื่องจากมีสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น ๆ โดยเริ่มจากการลดหรือรวมกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน เพื่อลดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับกิจการ การเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจจากการเพิ่มทักษะฝีมือ รวมถึงใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนบางส่วน
และในระยะถัดไปเมื่อพบสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น ธุรกิจควรเร่งด้านช่องทางรายได้เพิ่มเติมโดยการหาเครือข่ายพันธมิตรเพื่อเพิ่มฐานลูกค้า หรือเพิ่มรูปแบบงานบริการที่ใกล้เคียงกับธุรกิจเดิมเป็นฐานรายได้ใหม่ เพื่อรักษาพื้นที่กำไรเพิ่มในระยะถัดไป
จากทิศทางต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นและแนวโน้มการฟื้นตัวที่แตกต่างกันในแต่ภาคธุรกิจ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ SME สามารถกำหนดกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจของตนเอง เพื่อที่จะได้บริหารต้นทุนและจัดการช่องทางการตลาด เพื่อนำไปสู่ผลประกอบการที่ยังดำเนินต่อไปได้
สภาพคล่องเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น
ด้วยปัญหาเงินเฟ้อยิ่งทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ผู้ประกอบการ SME ที่มีสภาพคล่องย่อมได้เปรียบ แม้ว่าการปรับกลยุทธ์แนะนำว่าจะต้องลดต้นทุน แต่จากประสบการณ์ของผู้ประกอบการ SME ที่ finbiz by ttb ได้รวบรวมมาพบว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจก้าวข้ามผ่านสถานการณ์ต่าง ๆ ไปได้ คือการมีสภาพคล่อง finbiz by ttb จึงขอนำเสนอ สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ท แอนด์ ฟาส (ttb sme smart and FAST) ที่จะช่วยเข้ามาเสริมสภาพคล่องของธุรกิจ
สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ท แอนด์ ฟาส (ttb sme smart and FAST) มีจุดเด่นที่
- อนุมัติไว รู้ผลได้เร็วสุดภายใน 7 วัน
- วงเงินเพียงพอ สูงสุด 10 ล้านบาท
- วงเงินสินเชื่อเบิกเกินบัญชี (O/D)
- วงเงินกู้ระยะยาว (Long Term Loan) เพื่อการลงทุนในกิจการ
- ผ่อนชำระนาน สูงสุดถึง 12 ปี
- สะดวก เพราะ
- สามารถดูยอดวงเงินผ่านอินเทอร์เน็ตหรือโมบายแบงก์กิ้ง ได้ทุกเวลา
- เมื่อได้วงเงินแล้ว โอนฟรี ผ่าน ttb business one คู่กับบัญชีธุรกิจ ttb sme one bank
สนใจสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ท แอนด์ ฟาส (ttb sme smart and FAST) อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ที่มา :
- ttb analytics
- ประชาชาติธุรกิจ
finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ ต่อยอด เอสเอ็มอี สู่การเป็น Smart SME
ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัล และเติบโตอย่างยั่งยืน
“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”