หากใครที่กำลังมองหาเฟอร์นิเจอร์ไม้สักสไตล์มินิมอลเก๋ ๆ มาแต่งบ้าน หากค้นหาในเสิร์ชเอนจิน จะต้องพบกับ เฟอร์นิเจอร์ไม้สักเก่า โดย หม่อนสม เฟอร์นิเจอร์ อย่างแน่นอน เพราะนี่คือ “บริษัท เนเจอร์ แฟคทอรี่ บาย หม่อนสม จำกัด” ผู้นำด้านเฟอร์นิเจอร์ไม้สักที่โดดเด่นด้วยดีไซน์ และยังมี โรงงานที่จัดหาวัสดุ ผลิต และจัดจำหน่ายไปจนถึงขนส่งถึงมือลูกค้า ครั้งนี้ finbiz by ttb ได้รับโอกาสพูดคุยกับคุณปอ สุธิพร สุระเดช ตำแหน่งประธานกรรมการ และทายาทรุ่นที่ 3 ของ เนเจอร์ แฟคทอรี่ บาย หม่อนสม...
คุณปอเล่าถึงที่มาของคำว่า “หม่อนสม” โดยคำว่า “หม่อน” เป็นภาษาเหนือที่หมายถึงคุณทวด โดยธุรกิจได้เริ่มต้นจากยุคของคุณทวดสมซึ่งเป็นรุ่นที่ 1 จนดำเนินการมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 3 โดยในสมัยคุณทวด ท่านได้เริ่มจากการนำไม้สักถูกกฎหมายออกไปขาย จากนั้นในรุ่นที่2 ได้เริ่มมีการพัฒนาธุรกิจมาทำเป็นไม้พื้นปาร์เก้ จนถึงในรุ่นที่ 3 คุณปอเองมองเห็นโอกาสจากความท้าทายที่ว่าไม้สักนอกจากจะขายเป็นไม้วัตถุดิบหรือเศษไม้สักที่เป็นไม้พื้นปาร์เก้แล้ว ยังสามารถสร้างมูลค่าให้เพิ่มขึ้นไปได้อีก ในรุ่นของคุณปอเองได้พัฒนาเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้สักเน้นการค้าส่ง แต่ด้วยแรงผลักดันของยุคสมัยที่เปลี่ยนไปจึงต้องพัฒนาไปอีกขั้นด้วยการออกแบบและผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้สักที่มีรูปลักษณ์ทันสมัย ทิ้งภาพเดิม ๆ ที่ว่าไม้สักต้องดูโบราณออกไปเลย นอกจากรูปลักษณ์แล้วยังอัดแน่นด้วยคุณภาพ ด้วยการเลือกวัตถุดิบที่ดี ไม้สักคุณภาพที่ต้องมาจากแหล่งถูกกฎหมายผ่านการคัดสรรด้วยประสบการณ์ เทคโนโลยีผลิตที่ทันสมัย และวิสัยทัศน์ที่ปลูกฝังในตัวพนักงานทุกคนให้ “ผลิตเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นงาน ให้เหมือนทำเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้านตัวเอง” และนี่คือสิ่งที่ “หม่อนสม เฟอร์นิเจอร์” ก้าวล้ำ นำไปอีกขั้น
พลิกทุกสถานการณ์ให้เป็นโอกาส...ธุรกิจออนไลน์ไปได้ไกล เมื่อผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น Spark The Idea ฝ่าวิกฤตด้วยการสร้างตัวตนบนออนไลน์
จากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป การตลาดออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น “หม่อนสม เฟอร์นิเจอร์” ได้เริ่มเปิดตัวในสื่อโซเชียลมีเดีย แต่ในช่วงแรก ๆ ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวมากนัก เพราะช่วงนั้นเองยังถือว่าผู้คนยังไม่ได้ให้ความสนใจในการซื้อขายออนไลน์ เป็นเพียงแต่ที่สำหรับเสพข้อมูลเท่านั้นเอง โดยจุดเปลี่ยนของธุรกิจคือการเข้ามาของสถานการณ์โควิด-19 ที่ผู้คนเข้ามาบนตลาดออนไลน์อย่างเต็มตัว “หม่อนสม เฟอร์นิเจอร์” จึงไม่ลังเลใจที่จะเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสในทันที นี่คือจุดที่ทำให้เราเกิด Spark The Idea มาเริ่มทำธุรกิจบนออนไลน์ “เดิมเราเน้นเป็นการรับผลิต และขายส่ง แต่มีครั้งหนึ่งที่ถือเป็นจุดเปลี่ยน โดยเราได้รับออเดอร์สั่งผลิตเพื่อรับไปจำหน่ายในงานแฟร์หลาย ๆ แห่งทั่วประเทศ แต่พอโควิดมา งานเราที่ผลิตแล้วเกือบทั้งหมดถูกยกเลิก นั่นคือจุดเปลี่ยนให้ต้องเร่งเครื่องในตลาดออนไลน์อย่างเต็มที่” และเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจ ว่าธุรกิจมีตัวตนอยู่จริงสามารถผลิต และจัดส่งให้ลูกค้าได้ตามที่ต้องการ หม่อนสมจึงจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และพัฒนาเป็นบริษัทในเวลาต่อมา ซึ่งปัจจุบัน บริษัท เนเจอร์ แฟคทอรี่ บาย หม่อนสม มีกิจการและพันธมิตรครอบคลุมตั้งแต่ผลิตไปจนขนส่งถึงมือลูกค้า สร้างความเชื่อมั่นและความประทับใจจนกระทั่งลูกค้าบอกต่อกันปากต่อปาก จนทำให้ปัจจุบันช่องทางออนไลน์กลายเป็นสัดส่วนหลักของธุรกิจ รองลงมาคือหน้าร้าน และลูกค้าโครงการ
พัฒนาแผนธุรกิจเสมอ ผลิตภัณฑ์ต้องล้ำสมัย คือหัวใจความยั่งยืน
อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เนเจอร์ แฟคทอรี่ บาย หม่อนสม สามารถยืนอยู่ในจุดที่โดดเด่น คือ แผนธุรกิจที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา คุณปอได้เผยว่า แผนธุรกิจของหม่อนสม เฟอร์นิเจอร์ มีการพัฒนาอยู่เสมอ มองตลาดเพียงแค่ปัจจุบันไม่เพียงพอ จะต้องมองไปถึงอนาคต การออกแบบผลิตภัณฑ์ก็เช่นเดียวกัน จะต้องมองไปถึงอนาคตและเทรนด์ของวัตถุดิบ ว่าอะไรกำลังจะมาอยู่ในเทรนด์และจะนำมาประกอบกับเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างไรให้งดงามโดดเด่น ซึ่งตรงนี้ต้องมีทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งวิเคราะห์เทรนด์จากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ การดูแลและพัฒนาบุคลากรจึงเป็นสิ่งมองข้ามไม่ได้ การตลาดก็ต้องเข้มแข็งเช่นเดียวกัน อย่างอนาคตหม่อนสม เฟอร์นิเจอร์คาดว่าจะเจาะตลาดทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ รวมถึงลูกค้าโครงการให้มากขึ้นและเหนียวแน่นขึ้น ดังนั้น ผลิตภัณฑ์จะต้องพัฒนาให้ครอบคลุมลักษณะการใช้งาน การซื้อขายรับจ่ายของลูกค้าและคู่ค้าของเราจำเป็นจะต้องเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ เช่นการรองรับการจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตสำหรับออเดอร์ยอดใหญ่ ๆ หรือตัวช่วยในการวิเคราะห์ยอดขายได้จากทุกช่องทาง
โซลูชันที่รองรับแผนธุรกิจ หม่อนสม เฟอร์นิเจอร์ ไว้วางใจโซลูชันจากทีทีบี ttb
จากแผนธุรกิจที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้น โซลูชันจากธนาคารที่มองหา ต้องเป็นมากกว่าเรื่องการเงิน จึงทำให้คุณปอ ตัดสินใจเลือกโซลูชันจากทีทีบี “ด้วย DNA ของหม่อนสมที่พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง การดูแลบุคลากรต้องดีด้วย รวมถึงต้องครบเครื่องเรื่องซื้อขายรับจ่าย ทั้งบนออนไลน์ ออฟไลน์ รองรับการกระจายสาขา และมีรายงานวิเคราะห์ข้อมูลแบบรวมศูนย์ นี่คือสิ่งที่ทีทีบีตอบโจทย์” เพราะโซลูชันธุรกิจจากทีทีบีรองรับสิ่งที่ต้องการทั้งหมด เนเจอร์ แฟคทอรี่ บาย หม่อนสม เลือกใช้บัญชีเงินเดือน ทีทีบี – สำหรับพนักงานบริษัทที่ได้มากกว่าการเป็นบัญชีเงินเดือน เพราะมีเรื่องของสวัสดิการพนักงาน ช่วยให้พนักงานดำเนินชีวิตอย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น เพราะพนักงานเปรียบเสมือนหัวใจของธุรกิจ การดูแลพนักงานด้วยสวัสดิการที่ดี ทำให้พนักงานมีความมั่นใจและมีแรงบันดาลใจในการทำงาน รวมถึงการรับเงินเดือนที่ระบุชัดเจนในรายการเคลื่อนไหวของบัญชีว่าเป็น “เงินเดือน” ก็เสริมสร้างให้พนักงานมีเครดิตทางการเงินที่ดีขึ้นด้วย
สำหรับการดำเนินธุรกิจออนไลน์ก็มี บริการรับชำระเงินออนไลน์ ทีทีบี ควิกเพย์ บริการลิงก์สำหรับรับชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าในการตัดสินใจในการชำระยอดใหญ่ ๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะรองรับการใช้งานผ่านบัตรเครดิต สามารถส่งลิงก์ผ่านช่องทางบนโซเชียลมีเดียได้เลยโดย ทำให้การซื้อขายสะดวก ไม่สะดุด คุยกับลูกค้าและปิดจบการขายได้ทันที ช่องทางหน้าร้านก็มีเครื่องรูดบัตร EDC และ แอปจัดการร้านค้า ทีทีบี สมาร์ทช็อป (ttb smart shop)ที่สร้าง QR Code สำหรับรับชำระเงินระบุยอดได้ รองรับการใช้งานแบบหลายสาขา สามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานได้ไม่จำกัด ทำให้ธุรกิจสามารถเตรียมพร้อมไปต่อได้หากมีการขยายสาขาในอนาคต และมีรายงานเจาะลึกแบบที่ต้องการทำให้ง่ายต่อการวางแผน และต่อยอดธุรกิจ
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอปพลิเคชันจัดการร้านค้า ทีทีบี สมาร์ทช็อป คลิก
ต้องการสมัครแอปพลิเคชันจัดการร้านค้า ทีทีบี สมาร์ทช็อป เพื่อใช้ในธุรกิจของคุณ คลิก
หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี โทร. 02 643 7000 วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08:30-20:00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดธนาคาร
finbiz by ttb
โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม
พร้อมองค์ความรู้ ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
เพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวผ่านความท้าทายของโลกปัจจุบัน
ปรับตัวตอบโจทย์ยุคดิจิทัล พร้อมมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME