ทุกระบบเศรษฐกิจเริ่มต้นทาง “การแลกเปลี่ยน” ด้วยระบบการค้าเสรีในปัจจุบัน ยิ่งแลกเปลี่ยนได้มากเท่าไหร่ก็จะเป็นผลดีมากเท่านั้น ระบบการค้าระหว่างต่างประเทศจึงมีความสำคัญกับเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างมาก
โดยในปีที่ผ่านมาแม้จะเป็นช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่ทุกอย่างชะลอตัวเป็นส่วนใหญ่ แต่ธุรกิจนำเข้าและส่งออก กลับมีการเติบโตถึง 23% โดยคิดเป็นการนำเข้า 29.8% และการส่งออก 17.1% จึงส่งผลให้ GDP ภาพรวมของประเทศไทยขยายตัว 1.6% ถือว่าเป็นพระเอกขี่ม้าขาวที่มาช่วยเศรษฐกิจไทยในยุคโควิด ที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว
โดยในเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา คือ ตัวเลขการส่งออกมีมูลค่ารวมสูงถึง 922,313 ล้านบาท เติบโต 19.5% เป็นมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดในรอบ 30 ปี นับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติการส่งออกตั้งแต่ปี 2534 ดุลการค้า เพิ่มขึ้น 34,960 ล้านบาท
โดยสินค้าสำคัญ 3 หมวดประกอบด้วย 1.สินค้าการเกษตร 2.สินค้าเกษตรอุตสาหกรรม และ3.สินค้าอุตสาหกรรม
ซึ่งสาเหตุที่ปริมาณการค้า เติบโตแบบก้าวกระโดดในครั้งนี้ เป็นผลจากปี 2563 ที่เกิดวิกฤติโควิด19 อย่างหนัก ทำให้อัตราการค้าระหว่างประเทศลดลงอย่างรุนแรง แต่พอเข้าสู่ปี 2564 ตลาดโลกได้มีการรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดได้ดีขึ้น ทำให้มีการฟื้นตัว อย่างก้าวกระโดด และสืบเนื่องจากความต้องการสินค้าทั่วโลกอย่างเร่งด่วน ทำให้ราคาสินค้า ปรับตัวสูง การผลิตทั่วโลกจึงยังคงขยายตัว จึงทำให้ผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกมีโอกาสเติบโตได้ดี โดยการคาดการณ์ในปี 2565 นี้ จะยังขยายตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการส่งออก ที่ค่าเงินบาทมีการอ่อนค่าลงมาก ซึ่งสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าได้คาดการณ์ว่า การส่งออกจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น 3-4% ในปีนี้ คิดเป็นมูลค่ากว่า 2.8 แสนล้านดอลลาร์
จากตัวเลขการนำเข้าและส่งออกที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงเป็นโอกาสใหม่ ๆ ให้ผู้ประกอบการ SME ถึงแม้สัดส่วนของผู้ประกอบการ SME มีสัดส่วนมูลค่าการนำเข้าส่งออกอยู่ประมาณ 13% ของมูลค่าโดยรวมทั้งหมด โดยประเทศที่ส่งออกมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาเป็นจีนและญี่ปุ่น ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศที่เรานำเข้ามากที่สุด คือ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ตามลำดับ แต่โอกาสก็มักมาพร้อมความท้าทายเสมอ ซึ่งหากผู้ประกอบการสามารถรับมือกับความท้าทายได้โอกาสทางธุรกิจก็รออยู่แค่เอื้อม
ความท้าทายในการส่งออกของ SME โอกาสใหม่ สู่ตลาดใหม่
เมื่อสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศเติบโตสวนทางตลาด หากผู้ประกอบการ SME มีเพียงตลาดภายในประเทศ ต้องเริ่มมีการเตรียมตัวเพื่อการส่งออก หรือหากมีการส่งออกอยู่แล้ว ต้องเผื่อความเสี่ยงจากความผันผวน ซึ่งเป็นความท้ายทายใหม่
แม้ว่าโอกาสในต่างประเทศจะมีมากกว่า แต่ยังคงมีหลายอย่างที่ต้องจัดการ เช่น
- จำนวนคู่แข่งที่มีมากและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น
- ความแตกต่างของวัฒนธรรมส่งผลให้ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างที่นานขึ้น
- กฎระเบียบ กฎหมาย และภาษี ที่ใช้ในการควบคุมทางการค้า การทำธุรกิจ เป็นต้น
- ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
- สถานการณ์โลกที่เข้าไปจัดการหรือควบคุมไม่ได้
ซึ่งยิ่งเราเป็น SME รายไม่ใหญ่มากที่กำลังเติบโตจึงต้องเร่งหาทางออกเอาชนะความท้าทายทั้งหมดให้เร็วยิ่งขึ้น
ความท้าทายในการนำเข้าของ SME โอกาสใหม่ที่ ช่วยสร้างความแตกต่าง
สำหรับตลาดการนำเข้า ยังคงเป็นโอกาสใหม่ที่ทำให้การผลิตสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างดี และมีประสิทธิภาพโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่า ถูกกว่า แต่ก็ยังคงมีความท้าทายที่เกิดขึ้นในเรื่องของ
- ความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งในปีนี้ถือว่าผันผวนอย่างหนัก และมีการกระทบหลายภาคส่วน จึงต้องเตรียมการรับมือ
- การหาแหล่งค่าเงิน ที่น่าเชื่อถือไว้ใจได้
- กลไกของกฎระเบียบทั้งหมดรวมไปถึงภาษี
5 เคล็ดลับความสำเร็จที่จะทำให้ SME สามารถ ชนะทุกความท้าทาย จนโลดแล่นในวงการการค้าระหว่างประเทศได้
1. ขยายตลาดไปต่างประเทศด้วยการตลาดออนไลน์
ช่องทางออนไลน์สามารถพลิกธุรกิจให้เติบโตได้ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจเล็กที่สามารถส่งออกได้อย่างประสบความสำเร็จในยุคโควิดของคุณริต้า เช็ง นักธุรกิจสาวชาวจีนที่ได้นำแบรนด์ เสื้อผ้าไทยกว่า 30 แบรนด์ ส่งออกขายในเว็บไซต์เถาเป่า โกลบอล (Taobao Global) เว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในจีน จนสร้างรายได้มหาศาล
2. การหาความรู้เกี่ยวกับประเทศที่ส่งออก
รู้เขา รู้เรา รบ 100 ครั้ง ชนะ 100 ครั้ง คำเปรยที่ยังได้ผลแม้ต้องดำเนินการธุรกิจในต่างประเทศ โดยผู้ประกอบการ SME ควรหาความรู้ทั้งกฎหมายการค้า ภาษี สถิตินำเข้าส่งออกที่น่าสนใจ รวมไปถึงเทคนิคที่สร้างสินค้าให้โดนใจ SME สามารถเข้าใจ insight แต่ละประเทศได้ โดยในไทยสามารถเริ่มจากหาข้อมูลได้จาก
โดยสำหรับการหาข้อมูลกฎหมายข้อบังคับทางการค้าและภาษีในต่างประเทศนั้น ดูได้จากกระทรวงการค้าของประเทศนั้น ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ หรือการเข้าไปติดต่อสถานทูตของแต่ละประเทศ
การเข้าใจ Insight ผู้บริโภคหรือเทคนิคการทำสินค้าต่าง ๆ ให้เริ่มศึกษาจากคู่แข่ง ในต่างประเทศ ลองดูว่าสินค้าหรือบริการที่คล้ายกันนั้น ใช้เทคนิคอะไรบ้าง และเจาะไปที่การตลาดที่เหมาะสมในแบบประเทศนั้น ๆ เป็นต้น
3. การเกาะกลุ่ม การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ
โดยปกติรัฐบาลจะมีโครงการช่วยผลักดันทั้งการนำเข้าและส่งออก ผ่านกลไกต่าง ๆ ทั้งการเริ่มต้น ไปจนถึงการออกสู่ต่างประเทศ เช่น การจัดงานออก trade show การจัดอบรมเพื่อผู้ส่งออกโดยเฉพาะ เป็นต้น
โดยตัวอย่างในปี 2565 นี้ ที่รัฐบาลมีแผนสำคัญที่จะทำ คือ การส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพผู้ประกอบการ ส่งเสริมการส่งออกสินค้าแบบออนไลน์และออฟไลน์ (ไฮบริด) เพื่อให้ SME ดำเนินธุรกิจ ได้อย่างราบรื่น ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน อีกทั้งยังมีการจัดเจรจาการค้า ผ่านช่องทางออนไลน์ (OBM) ร่วมมือกับ Tmall Global (จีน) Amazon (สหรัฐฯ) BIG Basket (อินเดีย) รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ และ การจัดงานเจรจาการค้าออนไลน์เสมือน Mirror and Mirror ซึ่ง SME สามารถติดตามได้จากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ DITP
4. การมีวงเงินสินเชื่อที่สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะ
เงินทุนถือเป็นความท้าทายในระดับต้น ๆ การก้าวข้ามขีดจำกัดนี้ได้ จะช่วยให้สามารถสร้างความแตกต่างด้วยการใช้ประโยชน์จากการนำเข้าได้ โดยการหาแหล่งสินเชื่อที่รองรับการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะนั้นเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะจะช่วยให้ผู้ประกอบการ คว้าโอกาสได้เมื่อมีโอกาสเข้ามา เพราะไม่ขาดแคลนสภาพคล่องทางการเงิน และเหมือนได้ที่ปรึกษาทางการทำธุรกิจต่าง ๆ มาช่วยสนับสนุน ลดขั้นตอนความยุ่งยาก และถูกต้องตามกฎการค้ารวมไปถึงเรื่องภาษีต่าง ๆ
5. การบริหารความผันผวนของสกุลเงินต่างเทศ
ความท้าทายใหญ่อีกประการของ SME ที่นำเข้าและส่งออกที่ต้องเผชิญ กับการบริหารจัดการกับสกุลเงินต่างประเทศที่ผันผวนตลอดเวลา การซื้อขายด้วยสกุลเงินท้องถิ่นจะช่วยลดความท้าทายเรื่องความผันผวนของค่าเงินดอลล่าร์ (USD) ได้ ซึ่งผู้ประกอบการควรมีบัญชีที่สามารถบริหารหลายสกุลเงินเพียงบัญชีเดียว เพื่อลดความยุ่งยากในการเปิดบัญชี FCD หลายบัญชี เมื่อมีคู่ค้าหลายประเทศ รวมถึงความสามารถในการทำธุรกรรมการค้าผ่านออนไลน์ เอื้อความสะดวก คล่องตัว เพื่อให้สามารถทำการค้ากับต่างประเทศที่มี time zone ไม่ตรงกันได้ง่ายขึ้น รวมถึงต้องมองหาระบบธนาคารดิจิทัลสำหรับธุรกิจที่ปลอดภัยมั่นใจได้มาสนับสนุน
จาก 5 ข้อเคล็ดลับในการทำการค้าระหว่างประเทศให้ประสบความสำเร็จ finbiz by ttb ขอแนะนำบัญชีและบริการที่สนับสนุนธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศจาก ttb ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อเพื่อผู้นำเข้า บริการโอนเงินไปต่างประเทศ และที่สำคัญ บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน ทีทีบี (ttb multi-currency account) บัญชีที่สามารถบริหารจัดการหลายสกุลเงินในบัญชีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน การแลกเปลี่ยนเงิน และการเรียกดูรายการเดินบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Statement) ที่สะดวก ง่าย และรวดเร็ว ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ทีทีบี บิสสิเนสวัน พร้อมรับดอกเบี้ยเงินฝากทันที เมื่อมีรายการโอนเงินเข้าบัญชี
จุดเด่นของ ttb multi-currency account บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน ทีทีบี เมื่อใช้ร่วมกับ ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ
ตอบทุกโจทย์ของการนำเข้า-ส่งออกและลดปัญหาค่าเงินที่ผันผวน ค้าขายด้วยสกุลเงินท้องถิ่น ด้วยบัญชีบริหารหลายสกุลเงินที่ดีที่สุด พร้อมยกระดับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ สู่ประสบการณ์ดิจิทัลเต็มรูปแบบกับ ttb SME ด้วย
- บัญชีบริหารหลายสกุลเงินที่ดีที่สุด ttb multi-currency account นำเข้า-ส่งออก ด้วย 11 สกุลเงินหลักรวมถึงสกุลเงินบาท (THB, USD, EUR, GBP, JPY, AUD, CNY, CAD, SGD, CHF, DKK) จากบัญชีเดียว ซื้อ ขาย รับ จ่าย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศได้ในระบบเดียว
- ใช้เพียงเลขบัญชีเดียว บริหารจัดการกับคู่ค้า ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมรับดอกเบี้ย เงินฝากต่างประเทศทันที
- สินเชื่อเพื่อผู้นำเข้า OD for Importer ที่เบิกใช้สะดวกและง่าย
- สุดยอดประสบการณ์ ทำธุรกรรมออนไลน์เต็มรูปแบบในระบบเดียว ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ไม่ว่าจะโอนเงิน จองเรท เช็คเรท หรือตรวจสอบยอดวงเงินสินเชื่อ และสถานะธุรกรรมได้ 24/7
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่
finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ ต่อยอด เอสเอ็มอี สู่การเป็น Smart SME
ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner
ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัล และเติบโตอย่างยั่งยืน
“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME หรือคลิกเพิ่มเพื่อน