สามสี่ปีก่อน เมื่อได้ยินเรื่อง “สังคมไร้เงินสด” หรือ Cashless Society ก็ยังดูเป็นเรื่องไกลตัวจากสังคมไทยในตอนนั้น
แต่พอมามองดูอีกที ในปี 2022 นี้ กลับพบว่า เรายืนอยู่ในสังคมไร้เงินสดไปเกินครึ่งตัวแล้ว ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น finbiz by
ttb ได้รวบรวมข้อมูลอันเป็นเหตุผล ที่เราเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างรวดเร็วไว้ที่บทความนี้
เริ่มจากไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลายประเทศพยายามผลักดันให้สังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นจริง เช่นประเทศสวีเดน ที่เป็นประเทศแรก ๆ
ของโลก โดยปัจจุบันเป็นสังคมไร้เงินสดแบบเกือบ 100% ซึ่งในปี 2023 ก็คาดว่า
เราอาจจะไม่เห็นการใช้เงินสดในสวีเดนอีกต่อไปแล้ว ฝั่งเอเชีย
จีนก็เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของการใช้เงินผ่านระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็วตั้งแต่มี Alipay และ Wechat pay
ซึ่งในตอนนั้นที่ ที่ไทยเรายังมองว่าเป็นเรื่องที่อาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 8-10 ปี แต่พอกลับมาดูที่ไทยในวันนี้
ร้านค้าเล็ก ๆ ก็ต้องรับชำระค่าสินค้าผ่านระบบดิจิทัลได้ มิฉะนั้นจะหมายถึงการเสียลูกค้าเลยทีเดียว
สิ่งที่ไม่คาดคิด การมาของโควิด-19 ตัวเร่งความเปลี่ยนแปลง
จากข้อมูลของวีซ่า ได้แสดงว่าตั้งแต่ช่วงโควิด-19 เป็นต้นมา
มีจำนวนผู้บริโภคที่หันมาเลือกใช้วิธีการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
และพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างถาวร โดยการรับรู้และคุ้นเคยของการชำระเงินบนระบบดิจิทัลของคนไทยคือ
ชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดมากที่สุด 94% ตามด้วยการชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน 92%
และการแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรไร้สัมผัส (Contactless Card) 89%
ยิ่งล่าสุดธนาคารแห่งประเทศได้ประกาศแนวนโยบายการรู้จักและการบริหารติดตามความเสี่ยงร้านค้าสำหรับการชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
(Know Your Merchant : KYM)
เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจชำระเงินใช้เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการรู้จักและบริหารติดตามความเสี่ยงร้านค้า
โดยเพิ่งเริ่มบังคับใช้ไปเมื่อ 1 มกราคม 2565 ที่ผ่านมานี้ ยิ่งตอกย้ำให้แน่ใจว่า
ประเทศไทยของเรานั้นกำลังอยู่ในสังคมไร้เงินสดอย่างแท้จริง
เพราะ “สังคมไร้เงินสด” ไม่ใช่แค่กระแส แต่คือจุดเริ่มของอนาคต และเป็นประโยชน์กับ SME หลายประการ
เมื่อมีสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้การจ่ายเงินผ่านระบบดิจิทัลเป็นเรื่องใกล้ตัวและด้วยประโยชน์อีกหลาย ๆ ประการ
จะทำให้สังคมไร้เงินสดอยู่กับเราตลอดไปและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจากประโยชน์เหล่านี้ ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับตัวตาม
เพื่อพัฒนาไปพร้อมกันในอนาคต
- ประโยชน์ทางด้านสุขภาพ ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคที่สะสมอยู่ตามเงินสด
การเปลี่ยนมาจ่ายเงินด้วยมือถือหรือการใช้บัตรเดบิต เครดิต ที่ไม่ต้องส่งต่อผ่านหลายมือ และทำความสะอาดได้ง่ายกว่า
จึงช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรค เชื้อไวรัสต่าง ๆ
- สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ทั้งในมุมของลูกค้า และร้านค้า หากร้านค้าสามารถรับชำระค่าสินค้า
และบริการได้จากช่องทางอื่น ๆ นอกจากเงินสด ก็สามารถลดขั้นตอนเกี่ยวกับเงินสด เช่นการไปที่ตู้ ATM การทอนเงิน
โดยสามารถรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วย Mobile Banking บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบริการพร้อมเพย์ (PromptPay) ได้ทันที
- จัดการการเงินได้ง่ายและลดการตกหล่นหายระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นการพลัดตกหล่นหายจริง ๆ
หรือการที่เงินหายในกระบวนการ เช่น การทอนเงินผิดพลาด การลงบัญชีรับเงินสดที่ผิดพลาด การทุจริต
รวมไปถึงการจี้ปล้นที่อาจขึ้นได้
- การทำธุรกรรมกับต่างประเทศที่ง่ายขึ้น โดยโอนเงินไปต่างประเทศได้โดยตรง
ไม่ต้องเดินทางไปต่างประเทศก็สามารถค้าขายได้ ยิ่งปัจจุบันเราสามารถโอนเงินไปต่างประเทศได้สะดวก ปลอดภัย ด้วยโมบายล์
แบงก์กิ้ง แอปพลิเคชัน ซึ่งไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องกรอกเอกสาร หรือต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคาร
- ช่วยให้ประเทศพัฒนาและลดต้นทุนทางเศรษกิจภายในประเทศ
พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคทำให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยี กฎหมายและมาตรการใหม่ ๆ ที่ทันสมัย
การพัฒนาระบบของธนาคารและสถาบันการเงิน และลดต้นทุนทางเศรษฐกิจในการผลิตเหรียญและพิมพ์ธนบัตร
รวมถึงการพัฒนาด้านระบบจัดการภาษีที่มีความถูกต้องแม่นยำ ทำให้ประเทศไทยยกระดับมาตรฐาน ซึ่งเป็นส่วนในการพัฒนาประเทศ
- ปฐมบทสู่โลกดิจิทัลในอนาคต
การจับจ่ายผ่านระบบดิจิทัลที่ผู้ประกอบการหลายท่านคุ้นเคยแล้วในวันนี้
จะเป็นบทเริ่มต้นสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการคุ้นเคยกับเทคโนโลยี
และสามารถก้าวทันนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่ ๆ ในอนาคตอันใกล้
เครื่องมือที่ SME
ยุคดิจิทัลขาดไม่ได้เพื่อสนับสนุนให้สามารถรองรับการจับจ่ายผ่านระบบดิจิทัล
ช่องทางดิจิทัล จาก ทีทีบี หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า Digital Collections Solutions
ที่จะช่วยผู้ประกอบการพร้อมก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้อย่างมั่นใจ
เครื่องรับชำระเงิน ที่รับได้ทั้งบัตรเครดิต และเดบิต จากทุกประเทศทั่วโลก ด้วย QR Payment หรือการชำระผ่าน E-Wallet
ที่มีการโอนเงินเข้าบัญชีร้านค้าในวันถัดไป เครื่องรูดบัตร ทีทีบี ยังสามารถให้บริการแบบไร้สัมผัส สะดวก
และลดการสัมผัสบัตรระหว่างลูกค้าและพนักงานที่อาจมีความเสี่ยง
ให้ร้านค้าสามารถใช้ QR Code ในการรับชำระเงินจากทุกธนาคาร และสามารถรับเงินได้จากหลายสาขาของหน้าร้านค้า เข้าบัญชีทันที
พร้อมระบบแจ้งเตือนเมื่อมีเงินเข้าบัญชี และยังสามารถจัดการสิทธิ์ในการเข้าระบบสำหรับพนักงานหน้าร้านค้าได้อีกด้วย
บริการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ผ่านลิงก์ชำระเงินแบบออนไลน์ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่หน้าร้าน
หรือจุดรับชำระเงิน สามารถชำระได้รวดเร็วผ่านลิงก์ ให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีหน้าเว็บไซต์
เพียงส่งลิงก์ ผ่าน SMS, Email หรือบน Social Media Platform ไม่ว่าจะเป็น LINE, Facebook Message ได้ง่ายๆ
นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบการชำระได้ทันทีที่ลูกค้าปลายทางชำระเรียบร้อยแล้ว
ที่มา:
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- ไทยโพสต์
- งานสัมมนา “รู้ลึกจับกระแสค้าปลีก พิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย...พร้อมปรับยังไงให้รอด” โดย finbiz by ttb
- กรุงเทพธุรกิจ
- ลงทุนแมน
- marketeeronline
- TOYOTA LEASING THAILAND
- Kapook Money
- VBeyond