external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Economic analysis

คาดเศรษฐกิจปี 2568 โตเพียง 2.6% ชี้ความเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจไทยสูงขึ้น

ttb analytics ประเมินการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะอยู่ที่ 2.6% ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว รวมถึงการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวดีกว่าปีที่ผ่านมา แต่ระดับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังคงต่ำสุดในภูมิภาค และต่ำกว่าศักยภาพเดิมในอดีต มองไปข้างหน้า ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจาก 1) การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากหนี้ครัวเรือนในระดับสูงและความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ประกอบกับผลบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด 2) แรงส่งที่มาจากภาคท่องเที่ยวและบริการลดลงจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าใกล้ระดับปกติมากขึ้น และ 3) การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจและการค้าโลก รวมถึงอานิสงส์จากการหันไปส่งออกเพื่อเลี่ยงเส้นทางการค้าของผู้ผลิตจีนไปยังสหรัฐฯ จะเริ่มลดลง

19 ธันวาคม 2567

ttb analytics ประเมินนโยบายขึ้นภาษีของสหรัฐฯ กระทบขั้นต่ำ 1 ใน 4 ของมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐ เหตุจากการกีดกันการค้ากับจีน แนะไทยเร่งหนุน FDI รับผลดีจากการเป็นฐานการผลิตและเร่งเจาะตลาดอื่นชดเชย

ttb analytics ประเมินนโยบายขึ้นภาษีของสหรัฐฯ กระทบขั้นต่ำ 1 ใน 4 ของมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐ เหตุจากการกีดกันการค้ากับจีน แนะไทยเร่งหนุน FDI รับผลดีจากการเป็นฐานการผลิตและเร่งเจาะตลาดอื่นชดเชย

22 พฤศจิกายน 2567

ttb analytics มองส่งออกไทยในระยะยาวแข่งยากหากไม่พัฒนา ประเมินเกือบ 70% ของผู้ประกอบการไทยกำลังถูกดิสรัปจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

ttb analytics มองการแข่งขันของภาคส่งออกไทยในตลาดโลกจะมีความท้าทายมากขึ้นในระยะข้างหน้า ทั้งจากมิติของสินค้าส่งออกหลักที่มีคู่แข่งมากขึ้น และมิติของกฎระเบียบการค้าโลกที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกและนำเข้าจากจีนสูง รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีการนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยในช่วงหลัง เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ รวมถึงยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งคิดเป็นเกือบ 70% ของผู้ประกอบการไทยทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งปรับตัวทั้งกลยุทธ์การค้าและการเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการค้าโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

10 ตุลาคม 2567

ttb analytics ชี้แนวโน้มค่าเงินบาทและราคาทองคำเคลื่อนไหวไปในทางเดียวกันมากขึ้น เหตุพฤติกรรมของคนไทยยังคงนิยมลงทุนทองคำ ท่ามกลางตลาดการเงินโลกที่ยังผันผวน ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งน้อยลง

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ชี้แนวโน้มเงินบาทในช่วงต่อไปจะมีความผันผวนมากขึ้น จากความสัมพันธ์ระหว่างค่าเงินบาทและราคาทองคำที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต หลังเห็นพฤติกรรมของคนไทยที่นิยมลงทุนและเก็งกำไรในทองคำมากขึ้น ความผันผวนของตลาดการเงินโลกในช่วงหลังซึ่งส่งผลบวกต่อการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ตลอดจนความเปราะบางของปัจจัยพื้นฐานด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทำให้ทองคำมีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมากขึ้น แนะภาคธุรกิจเตรียมพร้อมเครื่องมือทางการเงินรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า

5 กันยายน 2567

ttb analytics ชี้การลงทุนไทยอยู่ในภาวะ “Under Investment” หวั่นแรงส่งจากการบริโภคอย่างเดียวไม่เพียงพอพยุงเศรษฐกิจระยะยาว แนะ 4 ข้อเร่งเสริมก่อนเศรษฐกิจจะโตช้าลง

การลงทุนรวมของไทยลดลงอย่างรวดเร็ว สวนทางกับการบริโภคภาคเอกชนที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจมากขึ้น โดยที่ผ่านมา การบริโภคภาคเอกชนสามารถรักษาระดับการเติบโตได้ดีเฉลี่ย 3.1% เทียบกับการลงทุนรวมที่ขยายตัวเพียง 0.7% (CAGR ปี 2540-2566) ส่วนหนึ่งจากผลของนโยบายกระตุ้นการบริโภคที่เข้ามาประคองเศรษฐกิจในแต่ละช่วง ส่งผลให้สัดส่วนการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจาก 52% ต่อจีดีพีในปี 2550 เป็น 60% ของจีดีพีในปี 2566 และทำให้ขนาดของมูลค่าการบริโภคภาคเอกชนในปัจจุบันใหญ่กว่าการลงทุนรวม (ภาครัฐและภาคเอกชน) ถึง 2.4 เท่า

25 กรกฎาคม 2567

ttb analytics มองการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ระลอกใหม่ยังไม่กระทบการค้าจีนอย่างมีนัย

ttb analytics มองการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ระลอกใหม่ยังไม่กระทบการค้าจีนอย่างมีนัย ชี้จีนใช้ยุทธศาสตร์สร้างความได้เปรียบทางการค้า หวั่นไทยขาดดุลการค้ากับจีนรุนแรงขึ้นในระยะยาว

23 พฤษภาคม 2567

ttb analytics มองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าและเผชิญความท้าทายรอบด้าน ประเมินเศรษฐกิจปี 2567 ขยายตัว 2.6% ชี้วิกฤตโควิด-19 จุดชนวนปัญหาเชิงโครงสร้างรุนแรงขึ้น หวั่นกระทบความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ

ttb analytics ประเมินว่า แม้ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2566 ที่ผ่านมา ยังพอมีแรงสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว แต่ภาพรวมการใช้จ่ายของภาคประชาชนกลับเห็นสัญญาณเปราะบางขึ้น สะท้อนจากการบริโภคภาคเอกชนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารและโรงแรม (เช่น การใช้จ่ายสินค้าจำเป็น ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่า ค่าซื้อยานพาหนะ ฯลฯ) ขยายตัวได้เพียง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) สวนทางกับการใช้จ่ายในส่วนของร้านอาหารและโรงแรมเติบโตถึง 46.5%

22 กุมภาพันธ์ 2567

ttb analytics ประเมินสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยสิ้นปี 2567 อาจเพิ่มขึ้นแตะระดับ 91.4% ต่อจีดีพี ชี้ 3 ปัจจัยหนี้ครัวเรือนในระยะต่อไปยังน่ากังวล

ttb analytics มองว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนยังคงน่าเป็นห่วงทั้งในมิติของปริมาณการก่อหนี้ที่ไม่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นเร็วและคุณภาพหนี้มีแนวโน้มด้อยลง ส่วนหนึ่งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเชื่องช้า ส่งผลให้ระดับรายได้ของครัวเรือนฟื้นตัวได้อย่างจำกัด ขณะที่ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้และคุณภาพของหนี้ อีกทั้งอุปสรรคจากการไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบของลูกหนี้บางส่วน ทำให้ต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบและเผชิญกับปัญหาวังวนหนี้ไม่รู้จบ

26 มกราคม 2567

ttb analytics ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นช้า ประเมินเศรษฐกิจปี 2567 ขยายตัวเพียง 3.1% มองไปข้างหน้ายังน่าห่วงจากความไม่แน่นอนสูงรอบด้าน

ttb analytics มองว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่กลับสู่ระดับศักยภาพจากการฟื้นตัวที่ล่าช้าและไม่ทั่วถึงในหลายภาคส่วน โดยเราได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 ลงจาก 2.8% เหลือ 2.4% สำหรับปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.1% โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับผลบวกชั่วคราวจากมาตรการกระตุ้นการบริโภค

15 ธันวาคม 2566

มองส่งออกไทยครึ่งปีหลังฟื้นตัวจากผลของฐานต่ำ ชี้โมเมนตัมการค้าโลกยังไม่แน่นอนสูง ประเมินทั้งปีติดลบ 1.1%

ttb analytics ประเมินส่งออกไทยตลอดปี 2566 จะพลิกหดตัว 1.1%YoY เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ขยายตัว 5.7%YoY โดยการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มดีขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำเป็นสำคัญ ประกอบกับอุปสงค์สินค้าอุตสาหกรรมที่จะปรับดีขึ้นตามวัฎจักรการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงสินค้าเกษตรและอาหารที่จะได้แรงหนุนจากประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อย่างไรก็ดี การชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่อาจลุกลามไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความไม่แน่นอนจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มข้นขึ้น ตลอดจนสภาพอากาศแปรปรวนที่อาจส่งผลต่อปริมาณสินค้าเกษตร ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันภาพรวมการส่งออกของไทยในระยะต่อไป

17 สิงหาคม 2566